Custom Search
donate car tax deduction | donate car to charity | donate car to charity california | donate car to charity los angeles | donate car without title | donate cars for kids | donate my car | donate my car to charity | donate your car | donate your car bay area | donate your car california | donate your car for kids | donate your car in maryland | donate your car nyc | donate your car tax deduction | donate your car to charity
รauto donation charities | best car donation program | best charity car donation program | best place to donate car | best place to donate car for tax deduction | california car donation | california donate car | car donation | car donation bay area | car donation ca | car donation california | car donation dc | car donation deduction | car donation in california |
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Engine แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Engine แสดงบทความทั้งหมด

เปิดตัว MG ZS ท้าดวลครอสโอเวอร์ Honda HR-V และ Mazda CX-3

เมื่อ MG เปิดตัว ZS รถเอสยูวีรุ่นใหม่ออกทำตลาดด้วยราคาค่าตัวที่น่าสนใจ ทำให้ลูกค้าที่มองหารถอเนกประสงค์ได้มีทางเลือกเพิ่มเติมขึ้นมาทันที
ถึงแม้ MG ZS จะมีขนาดเครื่องยนต์ที่เล็กกว่าคู่แข่ง แต่ด้วยราคาจำหน่ายที่ย่อมเยากว่าอย่างชัดเจน ทำให้คนที่กำลังตัดสินใจเลือกรถเอสยูวีขนาดเล็กสักคันย่อมต้องเกิดอาการลังเล เราขอรวบรวมข้อมูลของรถในกลุ่มนี้ทั้ง MG ZS, Honda HR-V และ Mazda CX-3 มาเปรียบเทียบให้เห็นกันชัดๆ

Honda HR-V


โดดเด่นด้วยรูปทรงที่เน้นความสปอร์ตผสมผสานกับความหรูหราตามตำแหน่งการตลาด “สปอร์ต+พรีเมียม” มือจับเปิดประตูด้านท้ายซ่อนอยู่บริเวณเสาหลังคาหลังเพื่อให้ตัวรถดูปราดเปรียวยิ่งขึ้น อ็อปชั่นตัวท็อปค่อนข้างครบครันอย่างมาก แต่เราขอนำเสนอรุ่นล่างสุดคือรหัส S ที่ถูกตัดทอนอุปกรณ์หลายชิ้นไป

เอชอาร์-วี รุ่น S ไม่มีหลังคาซันรูฟ ไฟหน้าเป็นแบบมัลติรีเฟล็กเตอร์ ไม่มีเดย์ไทม์รันนิ่งไลท์ ไฟท้ายเป็นแอลอีดี มีระบบปิดไฟหน้าอัตโนมัติ กระจกมองข้างปรับและพับไฟฟ้าพร้อมไฟเลี้ยวในตัว ไม่มีไฟตัดหมอก ล้ออัลลอยใช้ขนาด 17 นิ้ว พร้อมกับมีสปอยเลอร์หลัง


โครงสร้างภายในโดยรวมคล้ายกับฮอนด้า แจ๊ส ตกแต่งด้วยสีดำ แผงคอนโซลเอียงเข้าหาคนขับซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของรถฮอนด้าเกือบทุกรุ่น ใช้วัสดุผ้าสลับกับหนังสังเคราะห์ มีระบบตาร์ทเครื่องยนต์แบบปุ่มสตาร์ท ระบบฮอนด้า สมาร์ท คีย์ ระบบปรับอากาศควบคุมด้วยการสัมผัส เบาะที่นั่งปรับมือ เครื่องเสียงรองรับการเชื่อมต่อบลูทูธตามสมัยนิยม มีลำโพง 4 ตัว ระบบความปลอดภัยครบครันพอตัวเหมือนกับรุ่นท็อป แต่ขาดถุงลมนิรภัยด้านข้างคู่หน้าอัจฉริยะและม่านนิรภัยซึ่งมีเฉพาะในรุ่นที่สูงกว่า

เครื่องยนต์มีขนาดใหญ่พอตัว บล็อกเบนซิน 4 สูบ SOHC i-VTEC ความจุ 1.8 ลิตรแบบเดียวกับฮอนด้า ซีวิค ให้พละกำลัง 141 แรงม้า แรงบิด 172 นิวตันเมตร ประกบกับเกียร์อัตโนมัติแปรผันต่อเนื่อง CVT พร้อมโหมด Paddle Shift 7 สปีด รองรับน้ำมัน E85 ขับเคลื่อนล้อหน้า

สำหรับราคาจำหน่าย รุ่นเริ่มต้น S อยู่ที่ 9.33 แสนบาท รุ่น E ราคา 9.99 แสนบาท รุ่น E Limited ราคา 1.05 ล้านบาท และรุ่นท็อปไลน์ EL ค่าตัว 1.099 ล้านบาท

Mazda CX-3


มาพร้อมแนวคิด “ฟรีสไตล์ ครอสโอเวอร์” มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่ม “YUCCIES” หรือ Young Urban Creatives ทั้งในและนอกเมือง การออกแบบภายนอกสะดุดตาด้วยเอกลักษณ์ดีไซน์โคโดะ จิตวิญญาณแห่งการเคลื่อนไหว คนที่ชื่นชอบเส้นสายพลิ้วปราดเปรียวแบบสปอร์ตย่อมถูกอกถูกใจเจ้าซีเอ็กซ์-3 แน่นอน

สำหรับซีเอ็กซ์-3 รุ่นเริ่มต้นใช้รหัส 2.0 E ไฟหน้าเป็นแบบฮาโลเจน ไม่มีทั้งไฟตัดหมอกและเดย์ไลท์ บั้นท้ายมีสปอยเลอร์ กระจกมองข้างปรับและพับไฟฟ้า พร้อมไฟเลี้ยว เสาอากาศแบบครีบฉลาม และท่อไอเสียคู่แบบสปอร์ตพร้อมปลายท่อโครเมียม

ภายในห้องโดยสาร ไม่มีระบบสมาร์คีย์ แต่มีปุ่มสตาร์ทเช่นกัน การตกแต่งใช้ผ้าสีดำทั้งหมด ส่วนวัสดุหุ้มเบาะที่นั่งเป็นสีดำสลับกับสีเทา วัสดุหุ้มพวงมาลัยเป็นยูริเทนเหมือนกับเอชอาร์-วี เบาะพับแยกส่วน 60:40 เช่นกัน มีฟังก์ชั่นการเชื่อมต่อบลูทูธ ระบบสั่งการด้วยเสียง เครื่องเสียงตามมาตรฐานพร้อมลำโพงติดตั้งมาให้ 4 ตัวเหมือนกับคู่แข่งจากฮอนด้า

ระบบความปลอดภัยในรุ่น 2.0 อีนั้นถูกตัดออกไปเกือบทั้งหมด แต่ก็ยังมีระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีและควบคุมการลื่นไถล ระบบช่วยออกตัวขณะอยู่บนทางลาดชัน ระบบป้องกันล้อล็อกเอบีเอส และถุงลมนิรภัยคู่หน้า


เครื่องยนต์ของรุ่นเริ่มต้นเป็นบล็อกเบนซิน สกายแอคทีฟ-จี ขนาด 2.0 ลิตร พละกำลังสูงสุด 156 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 204 นิวตันเมตร อัตราการประหยัดน้ำมันสูงถึง 16.4 กม./ลิตร ส่งกำลังด้วยระบบเกียร์อัตโนมัติสกายแอคทีฟ-ไดรฟ์ 6 สปีด

ราคาจำหน่ายเริ่มต้นที่ 2.0 E ราคา 8.35 แสนบาท รุ่น 2.0 C ราคา 9.1 แสนบาท รุ่น 2.0 S ค่าตัว 9.75 แสนบาท รุ่น 2.0 SP ราคา 1.083 ล้านบาท และตัวท็อป 1.5 XDL เคาะราคาที่ 1.193 ล้านบาท

MG ZS


เปิดตัวเรียกเสียงฮือฮาด้วยราคาจำหน่ายที่เข้าถึงได้ง่ายเกินคาด มาพร้อมแนวคิดสมาร์ทเอสยูวีด้วยระบบเชื่อมต่ออัจฉริยะ เทคโนโลยีไอสมาร์ท (i-SMART) สามารถรองรับการสั่งงานด้วยเสียงเป็นภาษาไทยครั้งแรกของโลก เอ็ทจี แซดเอสถูกออกแบบมาเพื่อเติมเต็มการใช้งานในเมือง และพร้อมรองรับการใช้งานนอกเมืองได้อย่างสบาย

ด้วยรราคาจำหน่ายที่ย่อมเยา เราจึงหยิบแซดเอส ตัวท็อปไลน์รหัส X มาเปรียบเทียบให้เห็นกับคู่แข่ง ไฟหน้าเป็นแบบโปรเจคเตอร์และระบบเปิด-ปิดอัตโนมัติ มีไฟเดย์ไลท์ แหงนมองหลังคามีซันรูฟแบบพาโนรามา มีไฟตัดหมอกหน้า-หลัง ไฟท้ายแอลอีดี และไฟเบรกดวงที่สามแบบแอลอีดี กระจกมองข้างปรับและพับไฟฟ้า พร้อมไฟเลี้ยว มีสปอยเลอร์หลังและราวหลัง

ภายในห้องโดยสารตกแต่งด้วยสีน้ำตาลและดำ วัสดุเป็นหนังสังเคราะห์แบบซอฟต์ทัชให้ผิวสัมผัสนุ่มนวล มีระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ เบาะพับได้ 60:40 มีหน้าจอแสดงผลอัจฉริยะ ระบบปรับอากาศแบบดิจิตอล และปุ่มสตาร์ท

ไฮไลท์อยู่ที่ระบบไอสมาร์ทที่สามารถสั่งการตัวรถได้ด้วยการออกเสียงภาษาไทย ทั้งซันรูฟ การใช้โทรศัพท์ พร้อมกับสามารถใช้หน้าจอสั่งการระบบนำทางและระบบเลขาส่วนตัว ผู้ใช้งานยังสามารถใช้โทรศัพท์เชื่อมต่อสมาร์ทโฟนในการสั่งการเปิดระบบแอร์ การล็อกประตู วางแผนการเดินทาง และอื่นๆ อีกมากมาย

ระบบความปลอดภัยเริ่มจากระบบเบรกป้องกันล้อล็อก และกระจายแรงเบรก ระบบควบคุมการทรงตัว ระบบควบคุมการเบรกในโค้ง ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีและป้องกันการลื่นไถล ระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน ระบบตรวจสอบแรงดันลมยาง ถุงลมนิรภัยคู่หน้า ด้านข้าง และม่านนิรภัย เรียกว่าแซดเอสมาพร้อมอ็อปชั่นครบครันกว่าใครเพื่อน


แต่จุดด้อยของรถยนต์สัญชาติอังกฤษรุ่นนี้คือ เครื่องยนต์ที่มีขนาดเล็กกว่าเพื่อน บล็อกเบนซิน 4 สูบ ขนาด 1.5 ลิตร ให้กำลังแรงม้าที่ 114 แรงม้า พร้อมแรงบิดสูงสุด 150 นิวตันเมตร ส่งกำลังด้วยชุดเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด พร้อม Maunal Mode

ราคาจำหน่ายของ MG ZS เริ่มต้นรุ่น C ราคา 6.79 แสนบาท รุ่นกลาง D ราคา 7.29 แสนบาท และรุ่นสูงสุด X ราคา 7.89 แสนบาท

ที่มา : www.autospinn.com

2018 Mazda CX-5 เปิดตัวพร้อมระบบหยุดการทำงานของลูกสูบ




สำหรับซีเอ็กซ์-5 รุ่นเริ่มต้นในสหรัฐอเมริกาจะมีไฟหน้าแอลอีดี ล้ออัลลอยขนาด 17 นิ้ว ระบบอินโฟเทนเมนท์รองรับการเชื่อมต่อบลูทูธ สตรีมมิ่ง และอื่นๆ มาสด้ายังแนะนำแพ็คเกจ i-Activesense ที่มีระบบควบคุมไฟหน้า ระบบแจ้งเตือนเมื่อออกจากช่องจราจร ระบบรักษาช่องจราจร ระบบครูสคอนโทรลแบบเรดาร์ ระบบช่วยเบรก ที่ปัดน้ำฝนอัตโนมัติ และไฟหน้าเปิดปิดอัตโนมัติ

เครื่องยนต์เบนซินสกายแอคทีฟ-จียังคงเป็นบล็อกเดิม มีพละกำลัง 187 แรงม้า แรงบิด 186 ฟุตปอนด์ ส่งกำลังด้วยระบบเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด ขับเคลื่อนล้อหน้าและขับเคลื่อนสี่ล้อ

มาสด้า ซีเอ็กซ์-5 ปี 2018 จะถูกส่งมอบให้ลูกค้าในช่วงปลายเดือนธันวาคมเป็นต้นไป ราคาจำหน่ายเริ่มต้นที่ 24,150 เหรียญสหรัฐ

ที่มา : Autospinn.com

เตรียมพบกับระบบเทอร์โบคู่ ในเครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบของ BMW ที่เพิ่มประสิทธิภาพมากกว่าเดิม


ตกเป็นข่าวว่าจะใช้ระบบเทอร์โบชาร์จเจอร์ 2 ตัวในเครื่องยนต์ดีเซลบล็อก 4 สูบ 2.0 ลิตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน

ระบบเทอร์โบคู่จะติดตั้งไว้ในรุ่น 18d และ 20d ซึ่งจะไม่ได้ส่งผลต่อพละกำลังมากนัก โดยจะยังคงมีเท่าเดิม 150 แรงม้า และ 190 แรงม้าตามลำดับ แต่จะช่วยด้านการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลง และยังมีมาตรฐานไอเสียทัดเทียมระดับยูโร6ซี (Euro 6c) อีกด้วย

เรายังไม่มีตัวเลขทางเทคนิคของเครื่องยนต์ทั้ง 2 รุ่น แต่คาดว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จะลดลงประมาณ 4-5% เนื่องจากประสิทธิภาพด้านความร้อนที่ดีขึ้น ขณะที่ฝาสูบและลูกสูบก็ได้รับการปรับปรุงใหม่ เช่นเดียวกับการเพิ่มแรงดันหัวฉีดมากขึ้น

เมื่อติดตั้งเทอร์โบตัวที่สอง คาดว่าการตอบสนองด้านอัตราเร่งจะดียิ่งขึ้นด้วยเช่นกันโดยเฉพาะแรงบิดในช่วงรอบต่ำที่น่าจะมีให้ใช้รวดเร็วมากขึ้น อีกหนึ่งข้อดีก็คือ เสียงเครื่องยนต์อาจเบาลงด้วย

ปัจจุบัน เครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบที่แรงที่สุดของบีเอ็มดับเบิลยูก็คือรุ่น 25d มีพละกำลังระดับ 231 แรงม้าซึ่งใช้ระบบเทอร์โบคู่อยู่แล้ว และมีความเป็นไปได้ว่าจะได้รับการปรับปรุงกลไกภายในเพิ่มเติมเพื่อยกระดับความประหยัดและอัตราการตอบสนองให้ดีกว่าเดิม
 
ที่มา : Autospinn.com

วิธีการโมเครื่องยนต์ในแรงสมใจ

วิธีการโมดิฟายปรับพื้นผิวของช่องดูดอากาศไอดีและไอเสียที่ฝาสูบของเครื่องยนต์ด้วยเครื่อง CNC 5 axis Porting and CNC Engine Block เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เครื่องยนต์สำหรับรถแข่งแรงกว่าเดิม

สาธิตเทคนิคการประกอบแหวนลูกสูบเครื่องยนต์ | How To Install Piston Rings


สอนวิธีการใส่แหวนลูกสูบด้วยเทคนิคง่ายๆ ใครๆก็ทำได้ ถ้าคุณทำตามอย่างถูกต้อง เวลาประกอบแหวนลูกสูบของเครื่องยนต์อย่างไรไม่ทำให้แหวนหักได้


กรรมวิธีการผลิตก้านสูบ | Connecting rod manufacturing for re-engineered


หลักการทำงานของ VGT VNT Turbochargers ในเครื่องยนต์

แสดงหลักการทำงานของระบบ VGT VNT Turbochargers เทอร์ชาร์จเจอร์ของเครื่องยนต์ ด้วยรูปแบบแอนิเมชั่น3มิติ

การปาดลูกสูบเพื่อโมดิฟายเครื่องยนต์ | Piston Modify Engine

สาธิตเทคนิคการใช้เครื่องMilling สำหรับปรับลดขนาดของความสูงของหัวลูกสูบเครื่องยนต์ ในมีขนาดที่พอดีกับปริมาตรของการอัดอากาศและส่วนผสมในห้องเผาไหม้ในเครื่องยนต์ 


ข้อควรระวัง ในการใช้ อินเตอร์คูลเลอร์

        การติดตั้งต้องอยู่ในจุดที่รับลมมาระบายความร้อนได้ดีที่สุด ถ้าอยู่ในจุดที่ไม่ดีจะมีผลกลับกัน ทำให้ความร้อนไอดีสูงขึ้นกลายเป็นอินเตอร์ฮีทเตอร์ได้ ต้องไม่ไปบังการระบายความร้อนของหม้อน้ำอาจทำให้ความร้อนขึ้น ท่อยางและเหล็กรัดควรใช้อย่างดีที่ออกแบบมาเพื่อท่อเทอร์โบ ที่ต้องทนแรงดันและความร้อน เพราะถ้ามีการรั่วอาจทำให้ หรือรถจะวิ่งไม่ออกเครื่องสะดุด ถ้าแตกอาจทำให้ เครื่องดับ สตาร์ทไม่ติด


ข้อดีของอินเตอร์คูลเลอร์ (Advantages of Intercooler)

ช่วยระบายความร้อนให้กับไอดี ให้มีอุณหภูมิลดลง แรงม้าสูงขึ้นลดอุณหภูมิของเครื่องยนต์และไอเสีย เทอร์โบทนทานขึ้น ลดอาการน็อคในการสันดาปเนื่องมาจากการชิงจุดระเบิด

แสดงการไหลของอากาศผ่านอินเตอร์คูลเลอร์

แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ คืออาศัยอากาศที่ผ่านมาปะทะตัวอินเตอร์เพื่อระบายความร้อน เหมาะกับเมืองร้อนที่ต้องการอุณหภูมิต่ำ

การทำงานของอินเตอร์คูลเลอร์




การทำงานของอินเตอร์คูลเลอร์

เมื่ออากาศร้อนที่ถูกอัดมาจากเทอร์โบชาร์จเจอร์ไหลผ่านอินเตอร์คูลเลอร์ ที่มีอากาศจากภายนอกซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าไหลมาปะทะกับรถยนต์ผ่านอินเตอร์คูลเลอร์ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความร้อน จนอุณหภูมิของอากาศร้อนที่จะเข้าห้องเผาไหม้นั้นลดต่ำลง มีมวลอากาศหนาแน่นมากขึ้น และมีปริมาณของออกซิเจนมากขึ้นด้วย ส่งผลให้การเผาไหม้เป็นไปอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ


ชนิดของอินเตอร์คูเลอร์ มี กี่แบบ ?




ชนิดของอินเตอร์คูเลอร์ มี 2 แบบคือ

1. แบบถ่ายเทความร้อนด้วยน้ำ จะอาศัยน้ำหล่อเย็นจากตัวหม้อน้ำเครื่องยนต์ หรือมีหม้อน้ำแยกโดยมีปั้มน้ำทำหน้าที่ปั้มน้ำจากหม้อหล่อเย็นมาระบายความร้อนที่อินเตอร์ อินเตอร์แบบนี้เหมาะกับประเทศเมืองหนาวที่ไม่ต้องการให้อุณหภูมิการเผาไหม้เย็นเท่าไหร่ และในรถแข่งขันระยะสั้นที่ใช้วิธีเอาน้ำเย็นหรือน้ำแข็งเติมลงไปในอินเตอร์คูเลอร์เลย

2. แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ คืออาศัยอากาศที่ผ่านมาปะทะตัวอินเตอร์เพื่อระบายความร้อน เหมาะกับเมืองร้อนที่ต้องการอุณหภูมิต่ำ

อินเตอร์คูลเลอร์ (Intercooler) คือ อะไร ? | หน้าที่และการทำงาน

อินเตอร์คูลเลอร์( INTER COOLER ) หรือ อัฟเตอร์คูลเลอร์ ( AFTER COOLER ) หรือ HEAT EXCHANGER แปลว่า ตัวแลกเปลี่ยนความร้อน หน้าที่คือ ระบายความร้อนของไอดีที่ถูกอัดมาจาก เทอร์โบชารจ์เจอร์ซึ่งมีความร้อนสูงให้เย็นตัวลง อากาศที่มีความร้อนสูงตามหลักฟิสิกส์ จะมีมวลอากาศน้อยความหนาแน่นต่ำ อากาศเย็นมวลอากาศมากความหนาแน่นสูงกว่า สังเกตจากเวลาอากาศเย็น รถจะวิ่งดีขึ้น อินเตอร์คูลเลอร์จะคอยระบายความร้อน ของไอดีอุณหภูมิสูงให้ลดลงมวลไอดี จะมีความหนาแน่นขึ้น การเผาไหม้ดีขึ้น เครื่องยนต์พลังแรงขึ้น

อากาศที่ถูกอัดจากเทอร์โบจะมีความร้อนสูงเนื่องมาจาก โมเลกุลของอากาศผ่านการเสียดสีกับกังหันเทอร์โบด้วยความเร็วสูงเมื่ออัดเข้าสู่ท่อไอดีแรงดันของอากาศจะทำให้โมเลกุลเกิดการกระทบกันอีกความร้อนจะเพิ่มสูงมาก จากอุณหภูมิปกติ 35 – 45 องศาจะสูงขึ้นเป็น 90 – 120 องศา และทุกๆ 1องศาของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น จะมีผลทำให้อุณหภูมิไอเสียเพิ่มขึ้นอีก 3 องศา ดังนั้นอินเตอร์คูเลอร์จะทำหน้าที่ลดความร้อนไอดีให้กลับมาที่อุณหภูมิปกติ ในอินเตอร์ที่ดีน่าจะลดความร้อนให้กลับมาอยู่ที่ 20- 50 องศาการลดความร้อนที่ดีขึ้นอยู่กับ การเลือกใช้อินเตอร์ การติดตั้ง และคุณภาพของอินเตอร์ที่นำมาติดตั้ง

ข้อดีและช้อเสียของเทอร์โบแปรผัน




ข้อดีของเทอร์โบแปรผัน

1. ลดอาการ Turbo lag หรืออาการรอรอบ ทำให้เครื่องยนต์มีแรงบิด และแรงม้าดีขึ้นตั่งแต่รอบต่ำ
2. ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น จากการสร้างแรงบิดได้ตั่งแต่รอบต่ำ เครื่องยนต์จึงอาศัยอัตราเร่งน้อยกว่า
3.ลดมลพิษ ไม่มีไอเสียที่เหลือปล่อยทิ้งทางเวสเกต ทำให้ฝุ่นละอองไนโตรเจนลดลง

ข้อเสียของเทอร์โบแปรผัน

1. ราคาสูงกว่าเทอร์โบธรรมดาทั่วๆไปเพราะใช้อุปกรณ์มากกว่า
2. การดูแลรักษายาก คราบเขม่าไอเสียอาจจับตัวกับอุปกรณ์ภายใน จนเกิดการติดขัด เสียหายได้
3. ยากในการปรับแต่ง เช่นในการเพิ่มบูชแรงดันอากาศ การติดตั้งเวสเกตแยก จึงไม่เหมาะกับรถที่ใช้ในการแข่งขันหลายร้อยแรงม้า

การทำงานของเทอร์โบแปรผัน

       
เทอร์โบ มีหน้าที่อัดอากาศเข้าสู่ห้องเผาไหม้ โดยอาศัยการหมุนของกังหันเทอร์ไบน์ ด้านไอดีที่หมุนตามเทอร์ไบน์ ด้านไอเสียด้วยความเร็วสูง จนเกิดแรงดันอากาศหรือแรงบูชขึ้นมา ดั้งนั้นการจะทำให้เกิดแรงดันอย่างรวดเร็ว ก็คือการทำให้ใบพัดด้านไอเสียหมุนให้ได้อย่างรวดเร็วที่สุด ขึ้นอยู่กับค่า A/R ของเทอร์โบหรือขนาดของโข่งหลัง โข่งหลังของเทอร์โบที่มีขนาดเล็ก ย่อมทำให้ใบพัดหมุนได้เร็วกว่าทำให้บูชมาได้เร็วกว่า แต่พอรอบปลายก็จะเกิดอาการอั้นของไอเสีย จนทำให้แรงเครื่องยนต์ตก และโข่งหลังที่มีขนาดใหญ่หรือ A/R สูง ย่อมทำให้กังหันเทอร์ไบน์หมุนได้ช้ากว่า แต่พอรอบสูงๆจะหมุนได้เร็วและไม่อั้นไอเสียทำให้เครื่องยนต์มีแรงม้าเพิ่มขึ้นในรอบปลาย ดั้งนั้นเทอร์โบแปรผันออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหานี้คือ ในเทอร์โบแปรผันจะมีครีบ Vane ทำหน้าที่กั้นอากาศไอเสียให้ไหลลงมายังกังหันเทอร์ไบน์ได้เร็วขึ้นในรอบต้น แต่พอรอบสูงขึ้นครีบก็จะกางออกเพื่อรองรับไอเสียที่ที่ออกมามากขึ้น การเปิดครีบออกของ Vane จะได้รับการควบคุมมาจาก แอกชัวเอเตอร์ ที่มีลักษณะเหมือนกระป๋องเวสเกตธรรมดา หรือมอเตอร์ไฟฟ้าที่ควบคุมการหมุนโดย ECU ต่อแกนมาดันชุด Roller ให้หมุนเพื่อไปขยับครีบให้กางออก และหุบเข้าได้ พอรอบต่ำครีบก็จะหุบตัวลงไอเสียก็จะมีความเร็วทำให้ใบพัดเทอร์ไบน์หมุนได้เร็วขึ้น จนสามารถสร้างแรงดันอากาศได้อย่างรวดเร็วไม่รอรอบ ในเวลารอบสูงครีบก็จะกางออกลดอาการต้านของแรงดันไอเสีย ทำให้ไอเสียไหลลงสู่ใบพัดเทอร์ไบน์ได้อย่างคล่องตัว แรงม้าของเครื่องยนต์ก็จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และด้วยการควบคุมการเปิดของ Vane จะเป็นตัวบังคับให้ความเร็วในการหมุนของใบพัดเทอร์ไบน์หมุนได้ที่ความเร็วจำกัด แม้ปริมาณไอเสียจะมากเพียงใด จึงทำให้เทอร์โบแปรผัน ไม่ต้องใช้เวสเกตในการควบคุมแรงดันไอเสียแต่อย่างใด

ส่วนประกอบของเทอร์โบแปรผัน หรือครีบปรับแรงดันไอเสีย




เทอร์โบแปรผัน ก็ไม่แตกต่างจากเทอร์โบธรรมดาทั่วไป ในโข่งหน้าไอดีมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ จะต่างกันที่ในด้านโข่งไอเสีย ภายในจะมีครีบปรับแรงดันไอเสีย ประกอบด้วย

1. Nozzle Vane เป็นลักษณะคล้ายครีบบางๆ คล้ายบานเกล็ดหน้าต่าง วางเรียงตัวกันรอบๆ โข่งไอเสีย ครีบแต่ละตัวจะมีหมุดต่อมายัง ชุดโรลเลอร์และจานหมุนเพื่อให้สามารถกางออก และหุบตัวได้

2. Pin เป็นหมุดเล็กๆ ครีบจะสามารถขยับกางออก ต้องอาศัยหมุดนี้เป็นตัวประครองชุดหมุนหรือ โรเลอร์



3. Roller หรือจานหมุน จะสามารถขยับตัวหมุนรอบๆโข่งไอเสีย โดยจะมีแกนต่อมาจากตัวดันเช่น มอเตอร์ไฟฟ้า หรือแอกชัวเอเตอร์ มาดันให้ชุดโรเลอร์ ขยับหมุนเพื่อไปดันให้ครีบกางออก หรือหุบเข้า

ประวัติและความเป็นมาของเทอร์โบแปรผัน


เทอร์โบแปรผัน มีชื่อเรียกกันต่างๆไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับบริษัทที่ผลิต เช่นถ้าเป็นของ Holset จะเรียกว่า VGT (Variable Geometry Turbo) แต่ถ้าเป็นของ Garrett ก็จะเรียก VNT (Variable Nozzle Turbine) และถ้าเป็นของ Borg Warner เรียกว่า VTG (Variable Turbine Geometry) เทอร์โบแบบนี้มีมานานมากแล้วในต่างประเทศ ในราวปี 1989 โดยบริษัท Shelby แต่เทอร์โบแบบนี้ในสมัยแรกๆยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากเท่าไรนัก เพราะด้วยกลไกลที่สลับซับซ้อน กว่าเทอร์โบแบบทั่วๆไป การหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องทนต่อความร้อนกว่า 1,000 องศา การกัดกร่อน สนิม และคราบเขม่าจากไอเสียทำให้เทอร์โบแบบนี้ มีปัญหาด้านอายุการใช้งานเป็นอย่างมาก แต่ด้วยความสามารถที่ดีกว่า ของเทอร์โบแบบนี้ ทำให้หลายๆ บริษัทที่ผลิตเทอร์โบต่างคิดค้น และพัฒนาจนเทคโนโลยีในปัจุจุบัน สามารถทำให้เทอร์โบแปรผันมีความคงทนขึ้นมาก จนเป็นที่นิยมในรถยนต์ต่างประเทศเกือบทุกยี่ห้อ ทั้งเครื่องยนต์เบนซิล และดีเซล จนถึงเครื่องยนต์กว่า 1,000 แรงม้าก็เริ่มมีใช้กันบ้างแล้ว เทอร์โบแบบนี้ถ้าเป็นช่างเทอร์โบบ้านเรา ต่างเห็นกันมาเป็นสิบปีแล้ว ส่วนมากตามอะไหล่เก่าเชียงกง หรือติดเครื่องรถยุโรป และส่วนมากจะเรียกกันว่า เทอร์โบบานเกล็ด สังเกตกันง่ายๆว่าโข่งไอเสียจะใหญ่กว่า เทอร์โบธรรมดามาก ภายในโข่งไอเสียจะมีครีบบางๆ คล้ายบานเกล็ดหน้าต่าง ต่อกับชุดกลไกลการเปิด – ปิด ด้วยกระป๋องคล้ายเวสเกตบ้างหรือ มอเตอร์ไฟฟ้าบ้าง ถ้าเป็นรุ่นมอเตอร์มักจะทิ้ง หรือเปลี่ยนโข่งหลังใหม่ แต่ถ้าเป็นกระป๋องลมดัน ก็ใช้ได้เลยต้องยอมรับว่า อัตตราเร่งดีกว่าเทอร์โบธรรมดาอยู่พอควร

เคยเห็นหรือยัง? เครื่องยนต์ วี 8 ที่หมุนขับเคลื่อนด้วยโซลินอย | solenoid engine Ⅴ8







สาธิตเครื่องยนต์ประดิษฐ์ DIY สร้างเป็นต้นแบบสำหรับไว้ศึกษาดูการทำงาน การขับเคลื่อนการหมุนด้วย ขดลวดโซลินอยไฟฟ้า

หลักการเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน | อธิบายหลักการและหน้าที่อย่างละเอียด

หลักการเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน

หลักการเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในของเครื่องยนต์ลูกสูบ ถ้าคุณใส่น้ำมันเชื้อเพลิงเล็กน้อย ลงในกระป๋องเล็ก ๆ ปิดฝา และจุดไฟใส่ในกระป๋อง ผลก็คือเกิดการระเบิดของน้ำมันเชื้อเพลิงในกระป๋อง การระเบิดคือการขยายตัวอย่างรุนแรงของเชื้อเพลิง มันเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ที่สามารถนำประโยชน์มาประยุกต์สร้างเครื่องยนต์ ถ้าคุณสามารถทำให้มันเกิดการระเบิดอย่างเป็นวัฏจักรได้ ให้มันเกิดการระเบิดหลาย ๆ ครั้งเช่น 100 ครั้งต่อนาที และถ้าคุณสามารถควบคุมพลังงานที่ออกมาได้นี้มาเป็นแรงในการหมุนของล้อได้ นี้ก็จะเป็นแก่นเนื้อหาของเครื่องยนต์ในรถยนต์

รถยนต์ในปัจจุบันเกือบทั้งหมดจะใช้ เครื่องยนต์วัฏจักรการทำงานแบบ 4 จังหวะ ที่เปลี่ยนพลังงานการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงไปเป็นการเคลื่อนที่ วัฏจักรการทำงาน 4 จังหวะนี้ เราจะรู้จักรกันในชื่อของ “วัฏจักรออตโต (Otto cycle)” เพื่อเป็นเกียรติแก่ นิโคลัส ออตโต ผู้ที่ประดิษฐ์เครื่องยนต์ประเภทนี้สำเร็จในปี พ.ศ. 2410

วัฏจักรออตโต เครื่องยนต์หมุน 2 รอบ จะได้งาน 1 ครั้ง ขั้นตอนจะมีดังนี้
วิดีโอการทำงานเครื่องยนต์วัฏจักรออตโต 4 จังหวะ

1.จังหวะดูด (Intake) ลูกสูบเริ่มต้นที่จุดสูงสุด เลื่อนลงมาขณะเดียวกันวาล์วไอดี (Intake valve) จะเปิด และวาล์วไอเสีย (Exhaust valve) ปิด ดูดส่วนผสมเชื้อเพลิง และอากาศที่เรียกว่า “ไอดี” เข้ามาในกระบอกสูบ ลูกสูบจะเลื่อนลงจนถึงจุดต่ำสุด นี้คือจังหวะดูด

2.จังหวะอัด (Compression) ลูกสูบเคลื่อนที่จากจุดต่ำสุดขึ้นไป วาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย จะไม่เปิด ลูกสูบเลื่อนขึ้นจนถึงจุดสูงสุดเพื่อทำการอัดส่วนผสมไอดีให้มีปริมาตรที่เล็กลง และจะเกิดความดันภายในห้องเผาไหม้จากการอัด นี้คือจังหวะอัด


3.จังหวะระเบิด, ได้งาน (Combustion) หรือจังหวะเผาไหม้ เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นสูงสุดแล้ว วาล์วไอดี และไอเสียยังปิดอยู่ หัวเทียนจะทำการจุดระเบิดไอดีที่มีความดันเกิดจากจังหวะอัด เกิดการระเบิดภายในห้องเผาไหม้อย่างรุนแรง ถีบให้ลูกสูบเลื่อนลง จังหวะนี้คือจังหวะที่นำไปใช้งานในการเคลื่อนที่ของรถยนต์ เป็นจังหวะเดียวที่ได้งานในจำนวน 4 จังหวะ

4.จังหวะคายไอเสีย (Exhaust) ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้น ขณะเดียวกันวาล์วไอเสียจะเปิด ขับไล่ไอเสียออกจากกระบอกสูบ วาล์วไอดียังคงปิดอยู่ นี้คือจังหวะคาย



เมื่อทำงานถึงวัฏจักรที่ 4 ต่อไปก็จะ วนกลับมาทำงานในวัฏจักรที่ 1 ต่อไปวนเวียนเช่นนี้จนกระทั่งดับเครื่องยนต์

ลูกสูบ (Piston) ที่อยู่ในกระบอกสูบ (Cylinder) ลูกสูบจะวิ่งขึ้นลงทำงาน จะต่อกับเพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft) โดยมีตัวเชื่อมต่อคือ ก้านสูบ (Connecting rod) เพลาข้อเหวี่ยงจะทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงพลังงานจากการระเบิด ไปเป็น การหมุน (พลังงานความร้อน ไปเป็น พลังงานกล)

ข้อน่าสังเกต การเคลื่อนที่ของลูกสูบภายในกระบอกสูบเป็นการเคลื่อนที่ขึ้นลง เป็นเส้นตรง แต่จะถูกแปลงไปเป็นการหมุนโดยมีเพลาข้อเหวี่ยงเป็นตัวแปลงให้เป็นการหมุนของเพลา เพื่อขับเคลื่อนยานยนต์
donate your car today | donate your vehicle | donating a car for taxes | donating car in california | donating my car tax deduction | donating used cars to charity | donation for cars | how donate car | how to donate a car | how to donate a car in california | how to donate my car | how to donate your car | i want to donate my car | junk car donation | places to donate cars | sacramento car donation | tax break for donating a car | tax deduction car donation | tax deduction for car donation | vehicle donate | vehicle donation | where can i donate my car | where to donate a car | where to donate car | where to donate my car

หมวดหมู่ยานยนต์

 
Support : A | B | C
Copyright © 2016. เทคโนโลยียานยนต์ - All Rights Reserved