Custom Search
donate car tax deduction | donate car to charity | donate car to charity california | donate car to charity los angeles | donate car without title | donate cars for kids | donate my car | donate my car to charity | donate your car | donate your car bay area | donate your car california | donate your car for kids | donate your car in maryland | donate your car nyc | donate your car tax deduction | donate your car to charity
รauto donation charities | best car donation program | best charity car donation program | best place to donate car | best place to donate car for tax deduction | california car donation | california donate car | car donation | car donation bay area | car donation ca | car donation california | car donation dc | car donation deduction | car donation in california |
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ระบบห้ามล้อ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ระบบห้ามล้อ แสดงบทความทั้งหมด

การทำงานของระบบส่งกำลังและระบบห้ามล้อของรถยนต์


อธิบายการทำงานของระบบช่วงล่างของรถยนต์ ในระบบส่งกำลังและห้ามล้อ

หลักการพื้นฐานของระบบเบรก


หลังจากที่คุณเหยียบเบรก แรงจากเท้าของคุณจะถูกส่งผ่านไปที่เบรก โดยใช้ของเหลว และเป็นแรงที่มีขนาดมากกว่าที่คุณเหยียบ แรงที่เกิดขึ้นได้มาจากระบบทางกล 2 ทางคือ
  • ทางกล (คานดีด คานงัด)
  • แรงทางไฮดรอลิก

ล้อจะลดความเร็วโดยอาศัยแรงเสียดทาน ระหว่าง เบรก กับ จานล้อ และแรงเสียดทานของล้อกับถนน ในหน้าถัดไป ฟิสิกส์ราชมงคลจะอธิบายความหมายของระบบต่อไปนี้
  • คานดีด คานงัด
  • ไฮดรอลิก
  • แรงเสียดทาน

ระบบเบรกรถยนต่ทำงานอย่างไร?

   เมื่อเราเหยียบเบรก  ความเร็วของรภจะลดลง  และหยุดในที่สุด    แต่คุณทราบไหมว่า มีอะไรเกิดขึ้นบ้างขณะที่คุณเหยียบมัน   แรงที่เท้าของคุณส่งไปที่ล้อได้อย่างไร    และทำไมเกิดแรงมากมายที่สามารถหยุดรถขนาดหนักเป็นตันได้

ข้อดีและข้อเสียของระบบเบรค ABS


ข้อดีของ ABS

- ป้องกันล้อล็อกเมื่อต้องเบรกกะทันหัน ควบคุมพวงมาลัยให้ไปตามทิศทางที่ต้องการ
- ยางไม่สึกหรอไว

ข้อเสีย

- มีเสียงดังเมื่อระบบทำงาน อาจทำให้ตกใจได้
- มีอาการสะเทือนเข้ามาถึงภายในรถ
- เพิ่มระยะเบรกยาวขึ้น
- มีค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุงแพงกว่าเบรกธรรมดา

ระบบเบรค ABS ทำงานอย่างไร ?


ระบบเบรก ABS เป็นการผสมผสานระหว่างระบบกลไก และระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่คือป้องกันล้อไม่ให้เกิดการล็อกเมื่อมีการใช้เบรกหนัก

ABS จะประกอบด้วยฟันเฟืองวงแหวนที่ติดตั้งอยู่กับเพลาหมุนพร้อมเซ็นเซอร์ เมื่อล้อรถเริ่มหมุนฟันเฟืองจะหมุนตาม จากนั้นเซ็นเซอร์ก็จะทำการตรวจจับความเร็วการหมุนของฟันเฟือง แล้วรายงานอัตราความเร็วที่ได้มาไปให้กล่องสมองกล ABS ซึ่งปกติทั่วไปทุกล้อจะมีเซ็นเซอร์เพื่อตรวจสอบความเร็วติดอยู่ทุกล้อ

เมื่อทำงานสมองกล ABS จะสั่งการให้ชุดปั๊มเบรกทำงาน โดยจะมีการจับและปล่อยระหว่างจานเบรกกับผ้าเบรกที่ 16-50 ครั้งต่อวินาที หรือเปรียบได้ว่าเบรกและปล่อยรัว ๆ แบบอัตโนมัติทำให้ล้อไม่ล็อก ผู้ขับสามารถควบคุมทิศทางของรถได้

ระบบเบรค ABS คืออะไร?



ระบบเบรค ABS คืออะไร ทำงานอย่างไร
ระบบเบรค ABS ย่อมาจาก Anti-Lock Brake System หรือระบบป้องกันการเบรคจนล้อล็อกตาย ซึ่งเกิดมาจากการแก้ไขปัญหาการเบรครถแล้วเกิดการลื่นไถล ระบบ ABS จะประกอบด้วยฟันเฟืองวงแหวนที่ติดตั้งอยู่กับเพลาหมุน และจะมีเซนเซอร์ติดตั้งอยู่ใกล้กับฟันเฟือง เมื่อล้อรถเริ่มหมุนฟันเฟืองจะหมุนตาม แล้วเซนเซอร์ก็จะทำการตรวจจับอัตราการหมุนของฟันเฟือง แล้วรายงานอัตราความเร็วดังกล่าว ไปให้ระบบ ABSซึ่งโดยปกติทั่วไปทุกล้อจะมีเซนเซอร์เพื่อตรวจสอบความเร็วติดอยู่ทุกล้อ โดย ABS จะสั่งการผ่านเซนเซอร์ตัวนี้ เพื่อให้ชุดปั้มเบรคทำงาน โดยจะมีการจับและปล่อยระหว่างจานเบรคกับผ้าเบรคที่ 16-50 ครั้ง/วินาที เพราะการที่จับกันเร็วอย่างนี้จะทำให้ผู้ขับสามารถควบคุมทิศทางของรถได้ในขณะที่เหยียบเบรคกระทันหันเพื่อหลบสิ่งกีดขวาง หรืออุบัติเหตุ หรือเบรคในระยะที่สั้นกว่าปกติ

ABS จะทำงานก็ต่อเมื่อ ผู้ขับเหยียบเบรคเร็วและแรงกว่าปกติ หรือประมาณ 80% ซึ่งระบบจะเริ่มทำงานเองโดยอัตโนมัติ เราจะรู้สึกว่าระบบเริ่มทำงานนั่นก็คือ จะเกิดเสียงดังครืดเข้ามาในห้องผู้โดยสาร เนื่องจากการควบคุมแรงดันน้ำมันของระบบ ABS ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ขับเกิดอาการตกใจได้ แต่ห้ามถอนน้ำหนักจากเบรค ให้ผู้ขับเหยียบเบรคค้างไว้แล้วหักหลบจากสิ่งกีดขวาง แล้วจึงค่อยถอนแรงเหยียบจากเบรค อีกข้อที่ห้ามทำคือการย้ำเบรค เพราะจะไปทำให้แรงดันน้ำมันจะลดลง จึงทำให้ระบบ ABS ไม่ทำงาน แต่จากที่มีการพัฒนาระบบ ABSมากขึ้น ทุกวันนี้จึงกลายมาเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญส่วนหนึ่งในรถยนต์ เช่น HONDA JAZZ, TOYOTA YARIS, MAZDA 2 ตัวใหม่ทั้งหลายก็มีติดตั้งมากับตัวรถ

จะสังเกตุอาการของเบรครถยนต์ของคุณอย่างไรว่า ใกล้จะมีปัญหาแล้ว


สัญญาณเตือนว่าเบรกรถเริ่มมีปัญหา ให้คุณสังเกตุอาการด้วยตัวเองดังนี้

1. เบรกดัง

มักมาจากเสียงเสียดสีของผ้าเบรคกับจาน เบรครถยนต์ เช่น จานเบรคเป็นรอยเนื่องจากฝุ่น หรือผ้าเบรคไม่ได้มาตรฐาน ผ้าเบรคมีรอยร้าว หรือแม้แต่เปลี่ยนผ้าเบรค แล้วไม่ได้เจียร์จานเบรค ทำให้ผ้าเบรคและจานเบรคไม่แนบกันสนิท จนเกิดเสียงเสียดสีขึ้น

อาการ : มีเสียงดังขณะเบรกให้สังเกตว่าดังมาจากจุดใด ดังทุกล้อ หรือแค่ล้อใดล้อหนึ่ง ถ้าดังเป็นคู่ เช่น คู่หน้าหรือหลัง ส่วนใหญ่เกิดจากผ้าเบรกและจานเบรกที่อาจจะหมดแล้วเสียดสีกัน

แต่ถ้าดังบางจุด อาจเกิดจากมีฝุ่นหรือหินหลุดเข้าไปเสียดสีระหว่างผ้าเบรกกับจานเบรก จึงควรตรวจสอบและแก้ไข บางกรณีก็อาจเกิดจาการใช้ผ้าเบรกที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน ทางที่ดีควรเลือกใช้ผ้าเบรกจากโรงงานหรือยี่ห้อที่มีมาตรฐานเท่านั้น

2. เบรกแตก

หากมีปัญหาเบรกแตกนับได้ว่าอันตรายที่สุด

สาเหตุ

- น้ำมันเบรครั่วจากระบบ อาจมีการแตกชำรุด ของอุปกรณ์จนทำให้น้ำมันเบรคไหลออก จนไม่สามารถส่งถ่ายแรงดันไปกดกระบอกสูบเบรคได้ เช่น ท่อแป๊บน้ำมันเบรค ลูกยาง ตามจุดต่างๆเสื่อมสภาพ

- ผ้าเบรคหมด จนหลุดออกมา กรณีที่ไม่สังเกตผ้าเบรค และปล่อยจนผ้าเบรคหมด ตัวผ้าเบรคจะบางจนหลุดจากฝักก้ามเบรค และจะทำให้ลูกสูบเบรคหลุด

- ส่วนประกอบหลุดหลวม ซึ่งก็มีหลายจุดที่ให้ตรวจเช็ค เช่น สากแป้นเบรค น็อตยึดขาเบรค ฝักเบรก คาริบเปอร์ ซึ่งขับไปนานๆก็อาจมีการหลวม เคลื่อนได้ และอาจมากจนหลุดออกมา

- สายอ่อนเบรคแตก เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด สายอ่อนเบรคนั้น เวลาจอดจะไม่เห็นสิ่งผิดปกติ แต่เมื่อเสื่อมสภาพ สายพวกนี้เวลาเบรคจะพองตัว ไม่สามารถส่งน้ำมันไปยังกระบอกเบรคได้เต็มที่ และกรณีที่เบรคแรงๆ สายอ่อนนี้อาจแตกได้ ทำให้เบรคแตกอันตรายที่สุด หรือ บางทีช่างที่เปลี่ยนผ้าเบรกควลาใส่แล้วางตำแหน่งสายอ่อนเบรคไม่ดีจะทำให้สายเสียดสีกับล้อจนเสียหายได้ในที่สุด

อาการ : เวลาเหยียบแป้นเบรกจะจม จนกดติดพื้น และไม่มีการลดหรือชะลอความเร็ว ซึ่งจะเกิดอุบัติเหตุไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

3. เบรกสั่น


สาเหตุเกิดจากจานเบรกคดบิดตัว สึกหรอไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเกิดขึ้นได้เมื่อใช้งานอย่างรุนแรงเกินไป หรือจานเบรกไม่ได้มาตรฐาน สาเหตุอื่นๆ เช่น เบรกความร้อนสูงแล้วลุยน้ำ อาการนี้เกิดได้ทั้งระบบดิสก์เบรกและดรัมเบรก ควรไปตรวจเช็คและเจียรจานเบรก

อาการ : เหยียบเบรกเบา ๆ แล้วแป้นเบรกสั่นขึ้น-ลง ระยะเริ่มแรกจะส่งอาการมาเบา ๆ ที่แป้นเบรก แต่ถ้าเยอะมาก ๆ อาจรู้สึกสั่นถึงพวงมาลัย หากปล่อยไว้ถึงชั้นรุนแรงอาจสั่นสะท้านไปทั้งคัน

4. เบรกทื่อ


เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น หม้อลมเบรกเริ่มรั่วซึมจากชุดผ้าใบภายในหรือวาล์ว PVC หรือ Combo Vale เสีย ทำให้แรงสุญญากาศของหม้อลมน้อย สำหรับรถเครื่องยนต์ดีเซล อาจเป็นที่ปั๊มสุญญากาศที่บริเวณตูดไดชาร์จเสียรวมทั้งสายลมรั่ว เป็นต้น ควรรีบแก้ไขโดยด่วน

อาการ : เหยียบเบรกแล้วรู้สึกไม่ค่อยอยู่ จะรู้สึกเบรกแข็งๆ ต้องออกแรงเหยียบเบรกมากกว่าปกติ อาการเบรกตื้อๆ

ส่วนมากเกิดจากลูกยางแม่ปั๊มเบรกตัวบนสึกหรอ หรือบวม ทำให้แรงดันเบรกลดลง ต้องออกแรงเบรกมากขึ้น หรือทำให้ต้องย้ำเบรก ควรรีบแก้ไขโดยด่วน เพราะสิ่งที่จะตามมาคือเบรกแตก

อาการ
: เหยียบเบรกแล้วแป้นเบรกจมลงต่ำกว่าปกติ หากเหยียบค้างไว้แล้วแป้นเบรกค่อย ๆ จมลง ๆ นั่นเป็นอาการของเบรกจมบ้างก็เรียกเบรกต่ำ

6. เบรกหมด

คือ ผ้า เบรกรถยนต์ ที่ใช้ไปหมดจนเหลือแต่แผ่นรองเบรก จนเกิดการเสียดสีกับจานเบรกอย่างรุนแรง ก่อนจะเกิดอาการนี้ ผ้าเบรคทั่วไปจะมีลิ้นยื่นออกมาเพื่อเป็นตัวเตือน เวลาผ้าเบรคใกล้หมด ซึ่งลิ้นนี้จะขุดกับจานเบรค จิ๊ดๆ บอกเราว่าผ้าเบรคบางแล้ว ซึ่งกลหากไม่แก้ไขจนผ้าเบรคหมดก็คงต้องเปลี่ยนจานเบรค สำหรับในรถรุ่นใหม่ๆ จะมีเซนเซอร์เตือนผ้าเบรคบอกบนหน้าปัดแล้ว

อาการ : เบรกแล้วเกิดเสียงดังเหมือนเหล็กเสียดสีกัน หากเริ่มได้ยินเสียงเหมือนเหล็กเสียสีกัน และเบรกมีอาการลื่นๆ นี่คืออาการของผ้าเบรกหมด จนโลหะของแผ่นผ้าเบรกสีกับจานเบรก ต้องรีบเปลี่ยนโดยทันที หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้ผ้าเบรกสีกับจานเบรกจนเสียหาย เผลอ ๆ ล

7. เบรกติด


สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการที่ลูกยางกันฝุ่นของแม่ปั๊มเบรกฉีกขาด ทำให้มีน้ำซึมเข้าไปในกระบอกเบรกจนเกิดสนิท ติดขัดลูกสูบเบรกไม่สามารถเคลื่อนตัวเข้า-ออกได้ รวมถึงปัญหาซีนยางบวมผิดรูป ทำให้ลูกสูบที่คาลิปเปอร์เบรกไม่เลื่อนกลับ

อาการ : ปล่อยเบรกแล้ว แต่ยังมีแรงเบรกทำงานอยู่ อาการนี้เบรกจะทำงานอยู่ตลอดเวลา โดยที่เราไม่ทันได้เหยียบเบรก รถจะตื้อ ๆ เบรกร้อนมีกลิ่นเหม็นไหม้ จอดแล้ว เข็นรถยาก หรือไม่ได้เลย เป็นอาการของเบรกติด

8. เบรกปัด

อาจเกิดจากคราบน้ำมันหรือสารหล่อลื่นของชุดช่วงล่างกระเด็นมาโดนจานเบรก ทำให้ผิวลื่นมัน ความฝืดลดลง หรือเกิดจากประสิทธิภาพการสึกหรอของชุดคาลิปเปอร์เบรกที่มีแรงกดในแต่ละฝั่งแตกต่างกัน

อาการ : เบรกแล้วรถปัดเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง หากเบรกแล้วรถมีอาการปัดเอียงไปทางซ้าย แสดงว่าจุดที่คุณจะต้องตรวจสอบระบบเบรกอยู่ทางด้านขวา

9. เบรกเฟด

เกิดจากความร้อนของจานเบรกกับผ้าเบรดที่สูงเกินไป มาจากการใช้งานหนักเกินไป อาการเบรกเฟดนี้ ถือเป็นปัญหาของนักแข่งรถที่ชอบใช้เบรกแบบรุนแรง เบรกบ่อยๆ ติดต่อกันและมักเกิดกับรถที่ขับด้วยความเร็วสูง หากเคยมีอาการก็ควรปรับใช้ผ้าเบรกที่คุณภาพสูงขึ้นและน้ำมันเบรกที่มีค่า DOT สูงขึ้นกว่าเดิม

อาการ
: เบรกแล้วลื่น เบรกไม่อยู่ในขณะที่ใช้ความเร็วสูงในเส้นทางขึ้นลงเขา อาจทำให้เราใช้เบรกต่อเนื่องมากเกินไป หรือในช่วงที่ใช้ความเร็วสูงมาก ๆ พอแตะเบรกครั้งแรกก็ปกติ แต่พอแตะเบรกอีกหลายๆ ที่กลับเกิดอาการลื่นเบรกไม่ตอบสนองซึ่งอันตรายมาก

10. เบรกสะท้าน


อาการ
: เบรกกะทันหันแล้วเกิดเสียงดังกระพือ แป้นเบรกสั่นสะท้าน ถ้าเคยเจอกับอาการนี้ แต่ไม่ได้เป็นทุกครั้ง เจอแค่ตอนเบรกอย่างเต็มที่ และถ้ารถของคุณมีระบบเบรก ABS ก็ไม่ต้องตกใจ นั่นคืออาการจากการทำงานของชุดปั๊ม ABS ซึ่งจะเข้ามารับหน้าที่สร้างแรงเบรก 15-17 ครั้ง ต่อวินาทีแทนคุณทันที ที่คุณเบรกแบบฉุกเฉินจนล้อล็อค นั่นก็เพื่อให้คุณสามารถควบคุมทิศทางรถขณะเบรกกะทันหันอย่างเต็มที่ได้ ซึ่งเป็นอาการปกติเมื่อระบบ ABS ทำงาน

ดรัมเบรค Drum brakes คือ ?


ดรัมเบรค เป็นอุปกรณ์เบรคมาตรฐาน สำหรับรถยนต์ รุ่นเก่าหน่อย ต่อมาเมื่อมีการใช้ดิสก์เบรคกันมากขึ้น ก็จะเห็น ระบบดิสก์เบรคสำหรับล้อคู่หน้า และดรัมเบรคสำหรับล้อคู่หลัง และในปัจจุบัน ก็สามารถเห็นรถยนต์ที่ ติดตั้งดิสก์เบรคมาทั้ง 4 ล้อ แต่อย่างไรก็ตาม การจะใช้ระบบเบรคแบบดิสก์ หรือดรัมนั้น ขึ้นอยู่กับการ ออกแบบ ระบบของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์แต่ละรุ่นอยู่แล้ว เพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดี

ดิสก์เบรค (Disc Brake) คือ ?


ชุดดิสก์เบรค ประกอบด้วย แผ่นจานดิสก์ ติดตั้งลงบนแกนเพลาล้อ เมื่อรถเคลื่อนที่ แผ่นจานดิสก์ จะหมุนไปพร้อมล้อ จากนั้นจะมีอุปกรณ์ที่เราเรียกว่า คาลิปเปอร์ (Caliper) ที่เรียกกันทั่วไปว่า "ก้ามปูเบรค" สำหรับตัวคาลิปเปอร์ จะติดตั้งโดย ครอบลงไปบนจานดิสก์ (ไม่หมุนไปพร้อมล้อ) ภายในคาลิปเปอร์ มีการติดตั้งผ้าเบรคประกอบอยู่ทางด้านซ้าย และขวาของจานดิสก์ และจะมีลูกปั้มน้ำมันเบรคติดตั้งอยู่ด้วย ซึ่งท่อน้ำมันเบรค ก็จะติดตั้งเชื่อมต่อกับลูกปั้มเบรคนี้ เมื่อใดที่มีการเหยียบเบรค ลูกปั้มเบรค ก็จะดันให้ผ้าเบรค เลื่อนเข้าไปเสียดทาน กับเแผ่นจานดิสก์ เพื่อให้เกิดความฝืด

ชนิดของเบรค มีอะไรบ้าง ?



ชนิดของเบรค ได้แก่

- ดรัมเบรค (Drum Brake)

- ดิสก์เบรค (Disc Brake)

- ดรัมเบรค (Drum Brake)

ในชุดเบรคแบบดรัม ประกอบด้วยตัวดรัม (Drum) เป็นโลหะวงกลมยึดติดกับดุมล้อ หมุนไปพร้อมล้อ และชุดฝักเบรค ซึ่งประกอบด้วยผ้าเบรค กลไกปรับตั้งเบรค สปริงดึงกลับ และลูกสูบปั้มเบรค ซึ่งสายน้ำมันเบรค ก็จะมาเชื่อมต่อกับตัวลูกสูบนี่แหละ ในการดันผ้าเบรคให้ไปเสียดทานกับดรัม เพื่อให้เกิดความฝืด

หน้าที่ของเบรกรถ | การทำงานของระบบเบรกรถยนต์


เบรก (Brake) ทำหน้าที่ชลอความเร็วของรถ หรือทำให้รถหยุด ตามความต้องการของผู้ขับรถ รถส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ใช้การถ่ายทอดแรงเหยียบ ที่แป้นเบรก ไปถึงตัวอุปกรณ์หยุดล้อ ด้วยระบบไฮดรอลิกซ์ (Hydraulic)

นั่นก็คือคือ ในขณะที่เราเหยียบเบรคลงที่แป้นเบรค แรงเหยียบนี้ จะถูกส่งไปที่แม่ปั้มน้ำมันเบรค (Master Cylinder) เพื่อทำหน้าที่อัดแรงดันน้ำมันเบรค ออกไปตามท่อน้ำมันเบรค ผ่านวาล์วแยก ส่วนน้ำมันเบรค ไปจนถึงตัวเบรค ซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณดุมล้อ และที่ตัวเบรค ก็จะมีลูกปั้มน้ำมันเบรค เมื่อได้รับแรงดันมา ลูกปั้มน้ำมันเบรคจะดันให้ผ้าเบรค ไปเสียดทานกับชุดจานเบรคที่อยู่ใกล้ กับจานดิสก์เบรค หรือ ดรัมเบรค เมื่อเกิดความฝืดขึ้น ล้อก็เริ่มหมุนช้าลง เมื่อเพิ่มน้ำหนัก เหยียบเบรคเข้าไปอีก แรงดันน้ำมันเบรคเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งมีความฝืดที่ล้อเพิ่มขึ้น รถก็จะชลอความเร็วลง จนรถหยุดในที่สุด

การใช้งานระบบเบรครถยนต์ | Car brake



เมื่อขับรถบริเวณที่น้ำท่วมหรือเมื่อผ้าเบรคและจานเบรคเปียกน้ำ จะส่งผลให้การห้ามล้อของผ้าเบรคและจานเบรคมีประสิทธิภาพลดลง ดังนั้นขณะขับรถควรลองเหยียบเบรคประมาณ 3-4 ครั้งเพื่อทำการไล่น้ำออกจากผ้าและจานเบรค

ขณะขับรถลงทางชันหรือภูเขา หากเหยียบเบรคหรือใช้งานเบรคมากๆ อาจส่งผลให้ผ้าเบรคและจานเบรคมีความร้อนสะสมสูง ตลอดจนน้ำมันเบรคมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นด้วยซึ่งอาจทำให้น้ำมันเบรคเดือด ซึ่งจะก่อให้เกิดฟองอากาศในระบบน้ำมันเบรคส่งผลให้แรงดันน้ำมันเบรคลดลง อันจะส่งผลต่อการห้ามล้อต่อไป ดังนั้น เมื่อขับรถลงทางชันหรือภูเขา ควรเปลี่ยนเกียร์เป็นเกียร์ที่ตำแหน่ง 3 หรือ 2 เพื่อให้เครื่องยนต์ช่วยเบรค(Engine brake)

ความรู้เรื่องระบบเบรครถยนต์ | ส่วนประกอบหลักๆ ที่สำคัญมีอะไรบ้าง?



ระบบเบรครถยนต์จะมีวงจรน้ำมันเบรค 2 วงจรแยกน้ำมันเบรคออกจากกัน ซึ่งเมื่อน้ำมันเบรครั่วซึมที่วงจรใดวงจรหนึ่ง ระบบเบรคของอีกวงจรก็ยังสามารถทำงานเพื่อห้ามล้อได้ โดยระบบเบรครถยนต์ประกอบด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

1.แป้นเหยียบเบรค

2.หม้อลมเบรค(Brake booster หรือ Power booster) ภายในจะเป็นสุญญากาศช่วยเพิ่มแรงกดที่รับมาจากแป้นเหยียบเบรคมากขึ้น

3.แม่ปั๊มเบรค(Master cylinder) ทำหน้าที่เปลี่ยนแรงที่รับมาจากหม้อลมเบรคให้เป็นแรงดันน้ำมันไฮดรอลิคหรือแรงดันน้ำมันเบรคเพื่อที่จะส่งผ่านท่อน้ำมันเบรคไปยังชุดห้ามล้อต่อไป

3.ชุดห้ามล้อ มี 2 ชนิด ได้แก่

ชุดห้ามล้อแบบ Disc brake เมื่อได้รับแรงดันน้ำมันเบรค Caliper ซึ่งมีผ้าเบรค (Disc brake pad)ติดอยู่จะทำการหนีบผ้าเบรคเข้ากับจานเบรค

ชุดห้ามล้อแบบ Drum brake เมื่อได้รับแรงดันน้ำมันเบรคฝักเบรค (Brake shoe) ซึ่งมีผ้าเบรค(Drum brake pad)ติดอยู่จะทำการดันผ้าเบรคเข้ากับจานเบรค

การทำงานของระบบเบรคของรถยนต์ | อธิบายการทำงาน แบบเข้าใจง่าย | How Car Brake Works


แสดงการทำงานของระบบห้ามล้อในรถยนต์ (ระบบเบรค) Brake system in car  ที่จะทำให้เข้าใจได้ง่ายๆ ด้วยรูปแบบของสื่อเป็นภาพเคลื่อนไหว 2มิติ (Animation 2D) 
donate your car today | donate your vehicle | donating a car for taxes | donating car in california | donating my car tax deduction | donating used cars to charity | donation for cars | how donate car | how to donate a car | how to donate a car in california | how to donate my car | how to donate your car | i want to donate my car | junk car donation | places to donate cars | sacramento car donation | tax break for donating a car | tax deduction car donation | tax deduction for car donation | vehicle donate | vehicle donation | where can i donate my car | where to donate a car | where to donate car | where to donate my car

หมวดหมู่ยานยนต์

 
Support : A | B | C
Copyright © 2016. เทคโนโลยียานยนต์ - All Rights Reserved