Custom Search
donate car tax deduction | donate car to charity | donate car to charity california | donate car to charity los angeles | donate car without title | donate cars for kids | donate my car | donate my car to charity | donate your car | donate your car bay area | donate your car california | donate your car for kids | donate your car in maryland | donate your car nyc | donate your car tax deduction | donate your car to charity
รauto donation charities | best car donation program | best charity car donation program | best place to donate car | best place to donate car for tax deduction | california car donation | california donate car | car donation | car donation bay area | car donation ca | car donation california | car donation dc | car donation deduction | car donation in california |
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ข้อควรปฏิบัติทั่วไป ในการใช้รถยนต์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ข้อควรปฏิบัติทั่วไป ในการใช้รถยนต์ แสดงบทความทั้งหมด

ข้อควรปฏิบัติทั่วไป ในการใช้รถยนต์

ข้อควรปฏิบัติทั่วไป ในการใช้รถยนต์
การสตาร์ทรถ
ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ ที่จำเป็นต้องใช้ ก่อนสตาร์ทรถดังนี้
# ปรับเก้าอี้นั่งสำหรับขับขี่ ให้พอเหมาะ พอดีสำหรับตัวเอง นั่งสบายๆ รถยนต์บางคัน สามารถปรับเปลี่ยนมุมก้ม-เงยของพวงมาลัยได้ ให้ปรับตั้ง ในลักษณะที่พอดีกับการขับขี่ ระยะห่างจากแขน ถึงพวงมาลัย จะต้อง ยื่นแขนไปควบคุมพวงมาลัยได้อย่างพอดี ไม่ใช่เป็นการยื่นแขนตึง หรือหย่อนจนเกินไป
# ปรับตั้งกระจกมองหลัง มองข้าง ให้เข้ากับมุมมองที่เราต้องการ
# คาดเข็มขัดนิรภัย
# เลื่อนคันเกียร์ ไปอยู่ตำแหน่งเกียร์ว่าง
# สตาร์ทรถ
# เช็คระบบสัญญาณไฟ - แตร
# ทดลองเหยียบเบรค คลัทช์ (กรณีรถเกียร์ธรรมดา) ว่าใช้งานได้ตามปกติดี
# ปลดเบรคมือ
# มองตรวจสอบไปที่กระจกมองข้าง และกระจกมองหลังอีกครั้ง
# เหยียบเบรค เหยียบคลัทช์-เข้าเกียร์ 1 (เกียร์ออโต้ เหยียบเบรค-เข้าเกียร์ต่ำสุด)
# ปล่อยเท้าที่เหยียบเบรค ไปเหยียบคันเร่ง ออกตัว รถเคลื่อนที่


การแซงขึ้นหน้า

การ ขับแซงขึ้นหน้า เป็นสิ่งที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างสูง ผู้ขับขี่ ควรประเมินสถานะการณ์ และเหตุการณ์ ด้านหน้าของรถที่เราตั้งใจจะขับแซง ว่ามีรถกำลังวิ่งสวนทางมา ในเลนตรงข้ามหรือไม่ เส้นทางด้านหน้าของรถ ที่เราตั้งใจจะแซงนั้น มีความยาวเพียงใด สภาพรถที่เราขับอยู่ มีความพร้อมหรือไม่เพียงใด ความเร็วของรถด้านหน้า กับความเร็วที่เราใช้อยู่นั้น สามารถขับแซงไปได้หรือไม่ สังเกตลักษณะการขับขี่ของรถคันหน้า และคันถัดไป ว่ามีพฤติกรรมการขับ อย่างสะเปะสะปะหรือไม่ อันแสดงให้ทราบว่า ผู้ขับขี่ท่านดังกล่าว อาจมีอาการที่ไม่สามารถ ควบคุมสติ ในการประคองรถ ไปตามเส้นทางได้ (ถ้าเห็นแบบนี้ อย่าเสียงที่จะแซงดีกว่า) หลังจาก ประเมินสถานะการณ์ ความพร้อมทุกด้านแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ ของเราแล้วว่า จะขับแซงหรือไม่ ตามสถานะการณ์ที่เป็นอยู่ขณะนั้น

เมื่อจะขับรถแซงคันหน้า ควรปฏิบัติดังนี้

ให้ สัญญาณเสียงดัง เพียงพอ ที่จะบอกให้รถคันหน้าทราบว่า เรามีความประสงค์ ที่จะขับรถแซง หรืออาจใช้สัญญาณไฟ สูง-ต่ำ ในเวลาค่ำคืน ให้สัญญาณไฟกระพริบทางขวา ในจังหวะก่อนจะแซงพอสมควร
มองกระจกหลังว่า ไม่มีรถที่จะแซงซ้อนแล่นมา และด้านหน้า ไม่มีรถสวนมา เส้นทางแซงสะดวก และรถคันที่เราตั้งใจจะแซง ไม่มีพฤติกรรมแปลกๆ เช่น ขับเบี่ยงออกทางขวา เมื่อเราให้สัญญาณที่จะแซงขวา หรือแกล้งเพิ่มความเร็ว ในขณะที่เราตั้งใจจะแซง ฯลฯ คงต้อง พิจารณา ตัดสินใจให้ดี
หากเหตุการณ์ ปกติดี ก็เพิ่มความเร็ว แซงรถคันหน้า แล้วกลับเข้าเลน ตามปกติ ไม่ควรกลับเข้าเลน ในระยะกระชั้นชิด ในลักษณะขับปาดหน้า ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
นอกจากนั้น การขับแซงรถคันหน้า ที่อยู่ในสภาวะกำลังชะลอความเร็วลงอย่างมาก หรือจอดนิ่งอยู่กับที่นั้น ให้ระวังสิ่งที่อาจอยู่ด้านหน้า ของรถที่เราตั้งใจจะแซง เช่นอาจมีคนกำลังเดินข้ามถนน รถคันหน้าจึงชะลอความเร็วลง หรือ อาจเป็นไปได้ว่า มีผู้คนกำลังยืนรอ หรือมีเด็กๆ กำลังเล่นด้านหน้ารถ ที่จอดนิ่งอยู่กับที่ ดังนั้น ผู้ขับขี่ ควรชะลอ ความเร็วลง และให้สัญญาเสียง หรือไฟสูง-ต่ำ (ยามค่ำคืน) กับเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าว ที่สำคัญคือ ชะลอความเร็วลง และใช้ความระมัดระวัง เป็นอย่างสูง เพื่อผ่านพ้นจุดดังกล่าวไปได้แล้ว ค่อยพิจารณา ที่จะแซงรถคันหน้าอีกครั้ง

การถูกแซงขึ้นหน้า เมื่อได้รับสัญญาณจากรถคันที่อยู่ด้านหลัง ควรปฏิบัติดังนี้

ชะลอความเร็วลง ขับไปตามทาง ตามเลนของตัวเอง
หาก เป็นลักษณะถนนที่ว่าง โล่ง และไม่มีรถมากมาย ให้พิจารณาว่า เลนซ้ายมีรถ ขับเทียบเคียงกับเรา หรือห่างกับด้านที่เรากำลังขับอยู่ มากน้อยเพียงใด เมื่อปลอดภัยดี ควรขับเบี่ยงซ้ายนิดหน่อย เปิดโอกาส และแจ้งให้รถที่กำลังจะแซงทราบว่า เราพร้อมที่จะให้แซงแล้ว
การขับขี่ตาม กฎจราจร จะช่วยได้มากคือ หากขับขี่ช้า ควรอยู่เลนซ้าย ขับขี่เร็ว อยู่เลนขวา ถ้าทุกคนช่วยกันปฏิบัติตามกฎจราจรแล้ว จะช่วยลดอุบัติเหตุได้มาก

การชะลอความเร็ว

การ ชะลอความเร็วนั้น สามารถใช้วิธีถอนคันเร่ง วิธีเหยียบเบรค วิธีลดรอบเครื่อง โดยการเปลี่ยนมาใช้เกียร์ต่ำ จนถึงการใช้เบรคมือ เข้าช่วยในบางกรณี ดังนั้น ผู้ขับขี่ ควรพิจารณา ให้วิธีชะลอความเร็วแบบต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานะการณ์การขับขี่ ประสบการณ์การขับขี่ จะช่วยได้มาก ซึ่งหากยึดหลักปฏิบัติตามกฎจราจรแล้ว ก็จะมีความปลอดภัยสูง ช่วยลดอุบัติเหตุได้มาก

การถอยหลัง

การ ถอยหลัง เป็นการขับขี่อีกวิธีหนึ่ง ที่จะต้องพิถีพิถัน โดยเฉพาะ การถอยหลังเข้าที่จอดรถ โดยปกติ การถอยหลัง จะทำด้วยความเร็วต่ำ ขับข้าๆ จะทำให้การหมุนพวงมาลัยได้ผลดี เมื่อจะหมุนพวงมาลัย ควรให้รถ มีการเคลื่อนที่นิดหน่อย เพราะจะช่วยลดการเบียดเสียดสี ระหว่าง หน้ายางกับพื้นถนน การถอยหลัง จะใช้หลักว่า ต้องการให้ท้ายของรถยนต์หันไปทางใด ก็ให้หมุนพวงมาลัย ไปทางนั้น เช่น ต้องการให้ท้ายรถเลี้ยวไปด้านซ้าย ก็หมุนพวงมาลัยไปด้านซ้าย ต้องการให้ท้ายรถเลี้ยวไปด้านขวา ก็หมุนพวงมาลัยไปทางด้านขวา ผู้ขับขี่ อาจหันไปมองท้ายรถ เพื่อประมาณระยะการถอย ได้ตามต้องการ เช่น ในรถยนต์ ประเภทพวงมาลัยอยู่ขวา (รถยนต์ทั่วไปในประเทศไทย) สามารถใช้มือขวา ควบคุมพวงมาลัย แล้วใช้แขนซ้าย อ้อมไปจับด้านบนของหลังเบาะ ที่อยู่ด้านข้างคนขับ วิธีนี้ จะทำให้ การหันคอไปมองท้ายรถ ทำได้สะดวก ขณะเดียวกัน ควรประเมินมิติ (ขนาด) ของรถ และขนาดช่องว่างพื้นที่ๆ จะนำรถเข้าจอด พร้อมด้วยช่องว่าง ที่เหลือ เพื่อการหักเลี้ยวใดๆ ด้วย

การสลับยาง

การ สลับยาง เป็นสิ่งที่ช่วยยืดอายุ การใช้งาน ของยาง ให้นานขึ้น ผู้ขับขี่ มีพฤติกรรมการใช้รถแต่ละคันไม่เหมือนกัน บ้างก็ขับขี่แบบมืออาชีพ บ้างก็ขับขี่แบบลุย บ้างก็ขับขี่แบบทนุถนอม ระยะเวลาการสลับยาง จึงไม่ได้ระบุไปตายตัวว่า จะต้องใช้งานไปนานเท่าใด แล้วจึงสลับยาง ซึ่งคงต้องศึกษาและปฏิบัติตามคู่มือการใช้รถยนต์แต่ละรุ่นไป แต่เราอาจใช้หลักคร่าวๆ ด้วยระยะทางประมาณ 15,000 กิโลเมตร ต่อการสลับยางสักครั้ง วิธีสลับยาง จะแสดงโดยรูปด้านล่าง
ยางเรเดียล บางรุ่น มีตัวอักษรระบุไว้ข้างยางว่า "ROTATION" เป็นการบอกให้ทราบว่า จะต้องติดตั้งยาง เพื่อหมุนในทิศทางใด เพราะจะมีผลต่อการรีดน้ำ เมื่อขับบนพื้นผิวทางที่มีน้ำขัง

การลากรถ

การลากรถ ถือเป็นวิธีการสุดท้าย หลังจากไม่สามารถขับเคลื่อนรถต่อไปได้ เมื่อจำเป็นต้องลากรถ ควรหาวัสดุที่ทนทานต่อแรงฉีกขาด เช่นใช้เชือก สำหรับลากรถ ด้านหนึ่ง ผูกเข้ากับ ท้ายรถที่ทำหน้าที่ลาก ไม่ควรผูกเชือก ไว้กับกันชน แต่ควรผูกยึดไว้กับส่วนที่แข็งแรง ของชิ้นส่วนโครงรถ หรือผูกไว้กับโลหะ เฉพาะที่ทำเป็นตะขอยึดเกี่ยวกับเชือกลากรถ ทางด้านรถที่ถูกลาก ควรผูกเชือกไว้กับ เหล็กตะขอ ที่ทำสำหรับไว้ลากรถโดยตรง หรือผูกยึดติดกับส่วนสำคัญของโครงรถเช่นกัน
ควร เว้นระยะห่างระหว่างรถลาก และรถที่ถูกลาก ห่างกันประมาณ 5 เมตร ช่วงกลาง ของเชือกที่ลาก จะต้องใช้ผ้าสีแดง หรือธงสีแดง ผูกแสดงไว้ เพื่อเป็นที่สังเกตได้ชัดเจน ระหว่างผู้ลาก และผู้ถูกลาก ควรตกลงทำความเข้าใจ ถึงการให้สัญญาณกันทั้งสองฝ่าย รถที่ถูกลาก จะต้องปลดเบรคมือ พร้อมทั้งปรับเกียร์ไปอยู่ตำแหน่งเกียร์ว่าง และบิดกุญแจสตาร์ทไปอยู่ในตำแหน่ง OFF เปิดไฟฉุกเฉิน หรือไฟใหญ่หน้ารถ (ในยามค่ำคืน) หากมีเศษกระดาษแข็งขนาด ใหญ่พอสมควร ควรเขียนคำว่า "รถลาก" แล้วห้อยติดอยู่กับท้ายรถที่ถูกลาก เพื่อให้รถคันอื่น ได้มองเห็นได้ถนัด
รถ ที่ทำหน้าที่ลาก ควรออกตัวด้วยความนิ่มนวล และต้องส่งสัญญาณให้รถคันที่ถูกลาก ทราบทุกครั้ง เช่น ตอนขับเปลี่ยนเลน เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา เป็นต้น ที่สำคัญคือ ประคับประคองให้รถวิ่งไปตามเส้นทางโดยไม่สะดุด รักษาความเร็วคงที่ ไปเรื่อยๆ พยายาม ให้เชือกที่ใช้ลาก มีความตึงอยู่ตลอดเวลา หากเมื่อใดที่เชือกหย่อน และรถคันหน้า เร่งความเร็วขึ้นไม่สัมพันธ์กับความเร็ว ของรถที่ถูกลาก ก็จะเกิดการกระตุก และกระชาก อาจทำให้เชือกขาดได้ เมื่อรถที่ถูกลาก ไม่มีการสตาร์ทเครื่องให้เครื่องยนต์ทำงาน ที่หม้อลมเบรค ก็จะไม่สามารถเก็บสุญญากาศได้ ผู้ขับขี่จะสามารถจะสามารถ เหยียบเบรคด้วยความนิ่มนวลได้เพียงแค่ ครั้ง หรือ 2 ครั้ง เท่านั้น จากนั้น เบรคจะแข็ง ต้องออกแรง เหยียบเบรคมากเป็นพิเศษ ดังนั้นหากผู้ขับขี่ด้านรถที่ถูกลาก ต้องการชะลอความเร็ว ก็อาจใช้วิธี เหยียบเบรคย้ำ หลายๆ ครั้ง ซึ่งต้องออกแรงมากเป็นพิเศษ และต้องประคับประคอง ให้เชือก มีความตึงอยู่ตลอดเวลาด้วย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความตั้งใจ และสติในการควบคุม ลักษณะการควบคุม ดังกล่าวอย่างระมัดระวัง สำหรับรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ ควรติดต่อบริษัทลากรถ มาทำการลากรถดีกว่า เนื่องจาก บริษัทลากรถ จะมีอุปกรณ์ยกล้อ ให้ลอยเหนือพื้น และไม่ต้องใช้เชือกลาก สามารถลากรถไปด้วยความเร็ว มากขึ้นได้ เนื่องจากรถที่ใช้ชุดเกียร์อัตโนมัติ จะใช้น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ ทำให้เกิดการขับเคลื่อน เมื่อเครื่องยนต์ไม่ทำงาน น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ จะไม่หมุนเวียน หากลากรถไป ในระยะทางไกลๆ จะเกิดความเสียหาย กับชุดเกียร์ได้
donate your car today | donate your vehicle | donating a car for taxes | donating car in california | donating my car tax deduction | donating used cars to charity | donation for cars | how donate car | how to donate a car | how to donate a car in california | how to donate my car | how to donate your car | i want to donate my car | junk car donation | places to donate cars | sacramento car donation | tax break for donating a car | tax deduction car donation | tax deduction for car donation | vehicle donate | vehicle donation | where can i donate my car | where to donate a car | where to donate car | where to donate my car

หมวดหมู่ยานยนต์

 
Support : A | B | C
Copyright © 2016. เทคโนโลยียานยนต์ - All Rights Reserved