Custom Search
donate car tax deduction | donate car to charity | donate car to charity california | donate car to charity los angeles | donate car without title | donate cars for kids | donate my car | donate my car to charity | donate your car | donate your car bay area | donate your car california | donate your car for kids | donate your car in maryland | donate your car nyc | donate your car tax deduction | donate your car to charity
รauto donation charities | best car donation program | best charity car donation program | best place to donate car | best place to donate car for tax deduction | california car donation | california donate car | car donation | car donation bay area | car donation ca | car donation california | car donation dc | car donation deduction | car donation in california |
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อะไหล่เครื่องยนต์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อะไหล่เครื่องยนต์ แสดงบทความทั้งหมด

Flywheel แปลว่าอะไร ? | ความหมายและหน้าที่ของ Flywheel

ล้อตุนกำลัง หรือ ล้อช่วยแรง
(อังกฤษ: Flywheel) เป็นอุปกรณ์เชิงกลที่หมุนได้, มันถูกใช้ในการเก็บพลังงานที่เกิดขี้นจากการหมุน. ล้อตุนกำลังมีโมเมนต์ความเฉื่อยอย่างมีนัยสำคัญซึ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของความเร็วในการหมุน. ปริมาณของพลังงานที่ถูกเก็บไว้ในล้อตุนกำลังเป็นสัดส่วนกับกำลังสองของความเร็วในการหมุนของมัน. พลังงานจะถูกถ่ายโอนไปยังล้อตุนกำลังได้โดยการใส่แรงบิด (อังกฤษ: torque) ให้กับมัน, ซึ่งเป็นการเพิ่มความเร็วในการหมุนของมันและด้วยเหตุนี้จึงเป็นการเพิ่มการสะสมพลังงาน. ในทางตรงกันข้าม ล้อตุนกำลังจะปลดปล่อยพลังงานที่เก็บไว้ได้โดยการให้แรงบิดต่อโหลดหรือภาระทางกล, ซึ่งเป็นการลดความเร็วในการหมุนของมัน.

การนำไปประยุกต์ใช้โดยทั่วไปของล้อตุนกำลัง ได้แก่:

การจ่ายพลังงานอย่างต่อเนื่องเมื่อแหล่งพลังงานถูกปลดออกไป. ตัวอย่างเช่น flywheels ถูกนำมาใช้ในเครื่องยนต์ลูกสูบเพราะแหล่งพลังงาน, แรงบิดจากเครื่องยนต์, มาเป็นระยะๆ.
การส่งมอบพลังงานในอัตราที่เกินความสามารถของแหล่งพลังงานต่อเนื่อง. นี่สามารถทำสำเร็จได้โดยการจัดเก็บพลังงานในล้อตุนกำลังตลอดเวลาแล้วปล่อยพลังงานนั้นอย่างรวดเร็ว, ในอัตราที่เกินความสามารถของแหล่งพลังงานนั้น.
การควบคุมทิศทางของระบบกลไก. ในการใช้งานดังกล่าว, 'โมเมนตัมเชิงมุม'ของล้อตุนกำลังจะถูกโอนไปยังโหลดเมื่อพลังงานถูกโอนไปยังหรือจากล้อตุนกำลัง
Flywheels มักจะทำจากเหล็กและหมุนบนแบริ่งธรรมดา; พวกมันจะถูกจำกัดโดยทั่วไปให้มีอัตราการหมุนเพียงไม่กี่พันรอบต่อนาที[1]. บาง flywheels ที่ทันสมัยถูกจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์และใช้แบริ่งแม่เหล็กที่ทำให้พวกมันจะหมุนที่ความเร็วสูงถึง 60,000 รอบต่อนาที


flywheel ในเครื่องรถยนต์ที่ทันสมัย
แบตเตอรี่ล้อตุนกำลังทำจากคาร์บอนคอมโพสิตได้รับการผลิตเมื่อเร็วๆนี้และได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถทำงานได้ในการทดสอบการใช้งานจริงในรถยนต์ทั่วไป. นอกจากนี้ การกำจัดพวกมันหลังหมดอายุใช้งานก็เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ความรู้เกี่ยวกับมอเตอร์สตาร์ทของรถยนต์


มอเตอร์สตาร์ทของรถยนต์ใช้กระแสไฟตรง (D.C.) ที่มีแรงดันไฟฟ้าต่ำ เป็นตัวเปลี่ยนแปลง พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากแบตเตอรี่ กลายเป็นพลังงานกลซึ่งสามารถฉุดเครื่องยนต์ให้สามารถทำงานได้
มอเตอร์สตาร์ทที่นำมาใช้ในรถยนต์มีคุณลักษณะที่สำคัญโดยรวมดังนี้
1. มีแรงบิดมากพอที่จะขับให้เครื่องยนต์หมุนได้
2. ความเร็วรอบและกำลังของมอเตอร์ที่ใช้ต้องมีความสัมพันธ์กับประเภทและขนาด ของเครื่องยนต์ และความจุของแบตเตอรี่
3. มีความสามารถในการเข้าขบกับล้อช่วยแรง (Flywheel) ได้เป็นอย่างดี
4. มีขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบา สะดวกและง่ายต่อการติดตั้ง
โครงสร้างมอเตอร์สตาร์ท (Construction of Starter)
มอเตอร์ ประกอบด้วยทุ่นอาร์เมเจอร์ มีขดลวดพันอยู่รอบๆ ในร่องของแกนเหล็กอ่อนแผ่นบางที่วางซ้อนกัน ปลายของขดลวดเชื่อมต่อกับคอมมิวเตเตอร์ และต่อแบบอนุกรมเข้ากับวงจรของอาร์เมเจอร์
สวิตช์แม่เหล็กของโซลินอยด์ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ตัด และต่อกระแสไฟที่ป้อนให้แก่มอเตอร์ พร้อมทั้งเป็นตัวเลื่อนชุดของคลัทช์และเฟืองขับ เพื่อให้เฟืองขับสามารถขบกับเฟืองของล้อช่วยแรง
แผ่นสะพานไฟ ทำหน้าที่ตัดหรือต่อกระแสไฟที่ป้อนให้แก่มอเตอร์ โดยเคลื่อนที่ไปพร้อมกับแกนของแกนพลันเยอร์
พลันเยอร์ เป็นแกนเหล็กอ่อนที่เชื่อมต่อระหว่างโซลินอยด์กับมอเตอร์ ทำหน้าที่เคลื่อนที่ไปมาเมื่อเกิดอำนาจแม่เหล็กขึ้นรอบๆ จึงสามารถตัดหรือต่อขั้วหลักของวงจร กับขั้วที่ต่อเข้ากับมอเตอร์ได้ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นตัวเลื่อนชุดคลัทช์และเฟืองขับ มอเตอร์ไปในตัวอีกด้วย
ขดลวดชุดดึง ทำหน้าที่สร้างอำนาจแม่เหล็กขึ้นสำหรับดึงพลันเยอร์ให้เคลื่อนที่ได้
ขดลวดชุดยึด ทำหน้าที่สร้างอำนาจแม่เหล็กขึ้นสำหรับยึดพลันเยอร์ ไม่ให้เคลื่อนที่กลับขณะที่ต่อเข้ากับชุดของสะพานไฟ
สปริงดันกลับ ทำหน้าที่ดันพลันเยอร์กลับตำแหน่งเดิม
คลัทช์มอเตอร์ (Starter Clutch) ทำหน้าที่ต่อหรือตัดกำลังจากมอเตอร์ไปยังล้อช่วย แรงของเครื่องยนต์
การทำงานของคลัทช์มอเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
ถ่ายทอดแรงบิด เมื่อเฟืองขับเลื่อนเข้าไปขบกับเฟืองของล้อช่วยแรงและอาร์เมเจอร์ แล้วจะทำให้ทั้งสองส่วนเริ่มหมุน จะเกิดเป็นความฝืดขึ้น เนื่องจากแรงเสียดทานระหว่างปลอกถังในกับลูกปืน ทำให้ลูกปืนถูกดันให้เข้าไปอยู่ในส่วนที่แคบ เป็นเหตุให้ทั้งปลอกนอกและในถูกขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน ป้องกันแรงบิด หลังจากเครื่องยนต์ทำงาน เฟืองขับจะถูกขับโดยเฟืองของล้อช่วยแรง ซึ่งมีความเร็วมากกว่าความเร็วของอาร์เมเจอร์ จึงทำให้ปลอกนอกหยุดอยู่กับที่ จะเหลือเพียงเฟืองปลอกในเท่านั้นที่เคลื่อนที่ ในขณะเดียวกันลูกปืนจะเคลื่อนที่ออกมาสู่ส่วนที่กว้างขึ้น ทำให้ลูกปืนเป็นอิสระและหยุดถ่ายทอดแรงบิด
อาร์เมเจอร์ ประกอบด้วยแกนเหล็กซึ่งมีเพลาสวมอยู่ ระหว่างแกนเหล็กเจาะ เป็นร่องสำหรับบรรจุขดลวดอาร์เมเจอร์อยู่รอบแกน ปลายขดลวดต่อเข้ากับตัวคอมมิวเตเตอร์ อาร์เมเจอร์จะหมุนอยู่ระหว่างขั้วแม่เหล็กซึ่งติดตั้งที่ด้านทั้งสอง เพื่อเป็นการลดความสูญเสียของเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดขึ้น
ขดลวดอาร์เมเจอร์ทำด้วยทองแดงหนาๆ เพื่อต้องการให้รับกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด ขดลวดอาร์เมเจอร์แต่ละขดประกอบด้วยลวดเพียงรอบเดียว โดยการพันเส้นลวดต้องให้แนบสนิทกับร่องของแกนเหล็ก เพื่อทำให้กระแสจากขดลวดสนามแม่เหล็ก สามารถไหลผ่านขดลวดอาร์เมเจอร์ได้ทุกคอยล์ในเวลาเดียวกัน จึงเกิดเป็นสนามแม่เหล็กรอบขดลวดนี้ขึ้น พร้อมทั้งทำให้เกิดแรงผลักดันโดยรอบอาร์เมเจอร์ขึ้นด้วย
การทำงานของมอเตอร์สตาร์ท
เริ่มต้นจากเฟืองขับของมอเตอร์สตาร์ท จะส่งกำลังเข้าไปขับเฟืองล้อช่วยแรงของเครื่องยนต์ ซึ่งทำหน้าที่ในการต่อหรือตัดวงจรออกจากเฟืองล้อช่วยแรงได้โดยอัตโนมัติ จำนวนฟันเฟืองขับของมอเตอร์สตาร์ทมักจะน้อยกว่าจำนวนฟันเฟืองล้อช่วยแรง จึงทำให้มีกำลังสูงขึ้นในขณะขับเครื่องยนต์ อัตราการทดของเฟืองทั้งสองประมาณ 12: 1
ในขณะเครื่องยนต์ทำงานแล้ว ถ้าเฟืองขับยังคงขบอยู่กับเฟืองล้อช่วยแรง จะทำให้เพลาของอาร์เมเจอร์หมุนด้วยแรงเหวี่ยงอย่างแรง จะทำให้เกิดความเสียหายได้ จึงต้องมีกลไกมาช่วยในการตัดวงจรการส่งกำลังออกจากกัน
เริ่มต้นจากเฟืองขับของมอเตอร์สตาร์ท จะส่งกำลังเข้าไปขับเฟืองล้อช่วยแรงของเครื่องยนต์ ซึ่งทำหน้าที่ในการต่อหรือตัดวงจรออกจากเฟืองล้อช่วยแรงได้โดยอัตโนมัติ จำนวนฟันเฟืองขับของมอเตอร์สตาร์ทมักจะน้อยกว่าจำนวนฟันเฟืองล้อช่วยแรง จึงทำให้มีกำลังสูงขึ้นในขณะขับเครื่องยนต์ อัตราการทดของเฟืองทั้งสองประมาณ 12: 1
ในขณะเครื่องยนต์ทำงานแล้ว ถ้าเฟืองขับยังคงขบอยู่กับเฟืองล้อช่วยแรง จะทำให้เพลาของอาร์เมเจอร์หมุนด้วยแรงเหวี่ยงอย่างแรง จะทำให้เกิดความเสียหายได้ จึงต้องมีกลไกมาช่วยในการตัดวงจรการส่งกำลังออกจากกัน
คลัทช์โอเวอร์รันนิ่ง ใช้คันโยกในการเลื่อนเฟืองขับของมอเตอร์สตาร์ทเข้าขบกับเฟืองล้อช่วยแรง อาศัยการควบคุมการทำงานโดยชุดของสวิตช์โซลินอยด์ โดย ตำแหน่งของคลัทช์โอเวอร์รันนิ่งติดอยู่ด้านหลังของเฟืองขับ ทำหน้าที่ส่งกำลังขับเคลื่อนจากแกน ของอาร์เมเจอร์เข้าขบกับเฟืองของล้อช่วยแรงได้ในทิศทางเดียว และจะหมุนเป็นอิสระในทิศทาง ตรงกันข้าม ลักษณะของคลัทช์โอเวอร์รันนิ่งเป็นแบบปลอกสวมติดอยู่กับแกนของอาร์เมเจอร์ โดยปลอกและเฟืองขับจะสวมกันแบบแนบสนิทกับปลอกของมัน
คลัทช์เบนดิกซ์ (Bendix Clutch) ทำงานโดยอาศัยเฟืองแบบเกลียว และใช้แรงเฉื่อยเพื่อเข้ากับเฟืองของล้อช่วยแรง ซึ่งมีเฟืองสวมอยู่กับสกรู เมื่อมอเตอร์สตาร์ทเริ่มหมุนมันก็จะเหวี่ยง ตัวเองโดยการเคลื่อนที่ไปตามสกรู เข้าขับกับเฟืองของล้อช่วยแรงหมุนเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์ ทำงานเองได้แล้วจะหมุนเร็วกว่าเฟืองขับของมอเตอร์ ทำให้เฟืองมอเตอร์สตาร์ทเลื่อนออกจาก เฟืองของล้อช่วยแรงได้
นอกจากนี้แล้วยังมีกลไกขับด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อสำหรับต่อและตัดการขับของเฟือง โดยอาศัยคลัทช์ประเภทอื่น ๆ เป็นตัวช่วย ได้แก่ ไดเออร์คลัทช์(Dyer Clutch) สแปรกคลัทช์(Sprag Clutch) เป็นต้น
การทดสอบวงจรสตาร์ท (Starting Circuit Testing)
การทดสอบและวิเคราะห์วงจรต้องปฏิบัติกับวงจรที่สมบูรณ์ก่อนการถอดส่วนประกอบหรือ ชิ้นส่วนใดๆ ซึ่งถือว่าเป็นการทดสอบสมรรถนะของมอเตอร์สตาร์ท โดยมักทำการทดสอบใน ขณะที่ไม่มีภาระงานของมอเตอร์สตาร์ท หรือเรียกว่า การทดสอบตัวเปล่า
เมื่อทดสอบสมรรถนะของมอเตอร์สตาร์ทแล้ว ผลปรากฏว่าการทำงานไม่เป็นผล ตามค่าที่กำหนดก็จำเป็นที่ต้องได้รับการบริการ รวมไปถึงการถอดประกอบชิ้นส่วนออกมาตรวจสภาพและทดสอบ หลังจากนั้นจึงประกอบชิ้นส่วนกลับคืน แล้วทดสอบการทำงานให้เป็นไปตามค่าที่กำหนด
โดยทั่วๆ ไปแล้วการทดสอบสภาพทางกล เช่น การทดสอบเพลาอาร์เมเจอร์
แปลงถ่าน หรือกลไกการขับอื่นๆ สามารถตรวจได้โดยง่ายด้วยการตรวจพินิจหรือการทดสอบง่ายๆ ยกเว้นข้อขัดข้องที่เกี่ยวกับขดลวดซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้การทดสอบอย่างละเอียดมากขึ้น เช่น การทดสอบการขาดของขดลวดอาร์เมเจอร์ การทดสอบการลัดวงจรของขดลวด การทดสอบการรั่ว ลงดินของขดลวดอาร์เมเจอร์ และการทดสอบชุดลวดฟิวส์ เป็นต้น
หลังจากการทดสอบชิ้นส่วนต่างๆ พร้อมทั้งประกอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ควรจะต้องมี การตรวจสอบการประกอบขั้นสุดท้าย คือ
1. การตรวจสอบการทำงานตัวเปล่าของมอเตอร์สตาร์ท เพื่อเป็นการทดสอบสมรรถนะ ของมอเตอร์อีกครั้งก่อนใช้งานจริง
2. การตรวจสอบระยะห่างของเฟืองขับกับแหวนกันเฟืองกระแทก โดยระยะห่างที่ เหมาะสมประมาณ 0.1-0.6 มิลลิเมตร
3. การตรวจสอบสวิตช์ควบคุมวงจร ซึ่งสามารถกระทำได้โดยการทดสอบ โดยใช้มือตรวจสอบ โดยใช้โซลินอยด์ และการตรวจสอบโดยใช้แม่เหล็ก เป็นต้น
การบำรุงรักษามอเตอร์สตาร์ท
1. ตรวจแปลงถ่าน ตรวจดูสภาพของแปลงถ่านและ คอมมิวเตเตอร์ ถ้าเกิดสกปรก มีฝุ่นหรือคราบน้ำมันจับอยู่ ควรล้างออกด้วยน้ำมันเบนซิน หรือใช้ผ้าที่สะอาดเช็ดออก
2. การสตาร์ทเครื่องยนต์แต่ละครั้งไม่ควรเกิน 30 วินาที และควรทิ้งไว้สักครู่เพื่อให้เย็นลง จากนั้นจึงเริ่มสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่
3. ยึดมอเตอร์สตาร์ทให้แน่นอยู่เสมอ รวมทั้งรักษากลไกการขับเคลื่อนให้อยู่ในสภาพที่ดีเสมอ
4. ควรให้การหล่อลื่นลูกปืน โดยใช้น้ำมันชนิดใสหยอดประมาณ 2-3 หยด
5. ไม่ควรใช้น้ำมันชะโลมล้าง หรือแช่ขดลวดอาร์เมเจอร์ และขดลวดแม่เหล็ก เพราะ น้ำมันอาจจะแทรกเข้าไปทำให้ฉนวนต่างๆ เสียหายได้
6. ขณะทำงานบริการ (บำรุงรักษา) มอเตอร์สตาร์ท ควรถอดสายไฟขั้วสายดินของ แบตเตอรี่ออกก่อน และไม่ควรวางเครื่องมืออื่นๆ ไว้บนแบตเตอรี่

วิธีตรวจสอบหาสาเหตุของอาการเครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติดและสตาร์ทไม่ได้

ถ้าคุณขับรถอยู่แล้วรถคุณดับ สตาร์ทเท่าไหร่ก็ไม่ติดหรือสตาร์ไม่ติดคุณจะทำอย่างไร ถ้าผู้ขับขี่ที่มีพื้นฐานความรู้ด้านช่างอยู่บ้างก็คงจะพอแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ แต่ถ้าเป็นผู้ขับขี่มือใหม่คงจะต้องโทรตามช่าง หรือไม่ก็สอบถามผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับรถยนต์เพื่อที่จะทำการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ขับต่อไปได้ เพราะฉะนั้นแล้วในวันนี้ทางผู้เขียนจะมีข้อแนะนำของอาการเครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติดและสตาร์ทไม่ได้แต่ละอาการมาฝากกันครับ
บิดกุญแจแล้วเครื่องยนต์ไม่หมุนแต่ มีเสียงดังแชะ ๆ หรือไม่ดัง ถ้าอาการนี้เกิดขึ้นกับรถยนต์ของคุณ ให้สันนิษฐานเบื้องต้นว่า แบตเตอรี่ หรือ ไดสตาร์ทมีปัญหา ให้คุณลองบีบแตร ดูอาการว่าแตรดังปกติหรือไม่ แบตเตอรี่อาจจะอ่อนเกือบหมด ทำให้หมุนไดสตาร์ทไม่ไหว ได้แค่กระตุ้นโซลินอยด์ เบา ๆ แต่หมุนไม่ไหวจึงมีเสียงแชะๆ ถ้าหากแบตเตอรี่มีไฟ ไดสตาร์ทอาจขัดข้อง ถ้าไดสตาร์ทขัดข้องให้ทดลองหาท่อนไม้มาเคาะไดสตาร์ท(ต้องระมัดระวังอย่าให้โดนอุปกรณ์อื่นๆด้วย) ถ้าสตาร์ทติดแสดงว่าไดสตาร์ทสกปรก แต่หลังจากนั้นก็ต้องถอดไปทำความสะอาดด้วยนะครับ แต่ถ้าเคาะแล้วยังไม่ทำงานก็ต้องถอดออกไปซ่อมครับ บิดกุญแจแล้วเครื่องหมุนอืดๆ ไม่ยอมทำงานเอง ถ้าคุณได้ยินเสียงไดสตาร์ท และการหมุนของเครื่องยนต์ แต่เป็นการหมุนช้าๆ หรืออืด ๆ อาการนี้ มักจะมีปัญหามาจากแบตเตอรี่ไฟอ่อน แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ หรือ ไดชาร์จไม่ปกติ ไม่ใช่ปัญหาที่ตัวเครื่องยนต์ อาการขัดข้องแบบนี้ถ้าเป็นระบบเกียร์ธรรมดา สามารถเข็นโดยเข้าเกียร์ 2 กระตุกติดเครื่องยนต์ได้ หรือถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติก็สามารถพ่วงแบตเตอรี่จากภายนอกเพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ให้ติดได้ครับ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานแล้วให้ดูไฟรูปแบตเตอรี่ที่หน้าปัด ว่าสว่าง หรือเรือนราง ถ้าไฟรูปแบตเตอรี่ไม่สว่างแสดงว่าการชาร์จไฟปกติ แต่ถ้ารูปไฟแบตเตอรี่สว่างขึ้นโชว์ไม่ดับ แนะนำให้นำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อทำการตรวจเช็คการชาร์จไฟของไดร์ชาร์จโดยด่วน เพราะถ้าคุณขับรถต่อไปเครื่องยนต์อาจจะดับเองได้อีก บิดกุญแจแล้วเครื่องหมุนเร็วด้วยไดสตาร์ท แต่เครื่องไม่ติด อาการลักษณะนี้หลายท่านอาจเข้าใจผิดว่าแบตเตอรี่เสีย หรือไดสตาร์ทเสีย เตรียมหาแบตเตอรี่มาพ่วงทั้งที่ความจริงแล้วแบตเตอรี่ และไดสตาร์ทเป็นปกติ เพราะเมื่อบิดกุญแจแล้วเครื่องยนต์หมุนได้เร็วด้วยไดสตาร์ท แต่เครื่องยนต์ไม่สามารถทำงานหรือติดได้เอง เมื่อปล่อยการบิดกุญแจเครื่องยนต์ก็หยุดหมุนปัญหาอยู่ที่ตัวเครื่องยนต์ เพราะแบตเตอรี่และไดสตาร์ทปกติดี แนะนำให้ตรวจสอบที่ตัวเครื่องยนต์ เช่น มีไฟเลี้ยงระบบหรือไม่ ปั๊มส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทำงานดีหรือเปล่า โดยต้องตรวจสอบระบบต่างๆ ฯลฯ อาการลักษณะนี้ยากที่จะแก้ไขด้วยตนเองได้ แนะนำให้ติดต่อศูนย์บริการเพื่อให้ช่างผู้ชำนาญการทำการตรวจสอบจะดีที่สุดครับ อาการสตาร์ทเครื่องยนต์ไม่ติดนั้นจะเห็นได้ว่าไม่ใช่มีเพียง แบตเตอรี่หรือไดสตาร์ท เท่านั้นที่ทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติด ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ของเครื่องยนต์อีกหลายชิ้นส่วนที่เป็นต้นเหตุให้สตาร์ทไม่ติด ท้ายนี้หวังว่าผู้อ่านทุกท่านคงจะพอเข้าใจอาการเครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติดไม่มากก็น้อย แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้า ขอให้ผู้อ่านทุกท่านโชคดีร่ำรวยทุกท่านครับ. แก้ไขได้ไม่ยากนัก. (ถ้าวิเคราะห์ดี) แผนก เทคนิคและฝึกอบรม บริษัท พิธานพาณิชย์ จำกัด (กรุงเทพฯ)
donate your car today | donate your vehicle | donating a car for taxes | donating car in california | donating my car tax deduction | donating used cars to charity | donation for cars | how donate car | how to donate a car | how to donate a car in california | how to donate my car | how to donate your car | i want to donate my car | junk car donation | places to donate cars | sacramento car donation | tax break for donating a car | tax deduction car donation | tax deduction for car donation | vehicle donate | vehicle donation | where can i donate my car | where to donate a car | where to donate car | where to donate my car

หมวดหมู่ยานยนต์

 
Support : A | B | C
Copyright © 2016. เทคโนโลยียานยนต์ - All Rights Reserved