ติดตามรายละเอียดของ Honda Sh150i เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.aphonda.co.th/ พร้อมร่วมสนุกกับกิจกรรมมากมายที่เฟซบุค www.facebook.com/hondamotorcyclethailand
ฮอนด้าดึงโมเดลสุดฮอตในอิตาลีลงตลาดไทย เปิดตัว Honda Sh150i รถเอ. ที. หรู ฟูลออพชั่น เปี่ยมด้วยเทคโนโลยีระดับสูง
Posted by Contemporary industry
Posted on 22:20
ค่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้า ผู้นำไลฟ์สไตล์ความสนุกภายใต้แนวคิด “ชีวิตสนุก ถ้าไม่หยุดค้นหาอะไรใหม่ๆ ว้าว!” เปิดตัวรถรุ่นใหม่ล่าสุด Honda Sh150i สุดยอดรถเอ.ที.สุดหรูจากตระกูล Sh ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศอิตาลี เจาะกลุ่มผู้บริโภคระดับบนที่มีรสนิยมสูง ด้วยรูปทรงทันสมัยดีไซน์หรูหราพร้อมฟังก์ชันการใช้งานที่ครบครัน ขับเคลื่อนด้วยขุมพลัง eSP เครื่องยนต์ขนาด 150cc. ระบบหัวฉีดPGM-FI พร้อมระบบหยุดเครื่องยนต์อัตโนมัติ Idling Stop System โฉบเฉี่ยวด้วยล้อแม็กขนาด 16 นิ้วพร้อมดิสก์เบรกหน้า-หลัง เป็นครั้งแรกของวงการรถเอ.ที.ในเมืองไทย ทำงานร่วมกับระบบกระจายแรงเบรกCombined ABS เพิ่มความเหนือชั้นด้วย Remote Response Key กุญแจค้นหาตำแหน่งรถเหมือนที่ติดตั้งในรถยนต์ สนนราคาโดยประมาณ 99,800 บาทมร.จิอากิ คาโต ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด เปิดเผยว่า “รถจักรยานยนต์ฮอนด้าในตระกูล Sh มีต้นกำเนิดในประเทศแถบยุโรปตั้งแต่เมื่อเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา และครองความนิยมมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน จากประวัติศาสตร์อันยาวนานดังกล่าวทำให้ฮอนด้าจัดจำหน่ายรถรุ่นนี้ในรูปแบบที่หลากหลาย สำหรับตลาดประเทศไทย เราเลือกที่จะนำเสนอในรุ่น Sh150i ที่มีเครื่องยนต์ขนาด 150cc. ระบบหัวฉีด PGM-FI โดยวางตำแหน่งอยู่ในกลุ่มรถเอ.ที.ระดับหรูเช่นเดียวกับ PCX150 แต่มีตำแหน่งการวางเท้าที่สะดวกสบาย พร้อมความสุนทรีย๋ด้านการขับขี่ดีเยี่ยมด้วยล้อแม็กซ์ขนาดสิบหกนิ้ว เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับลูกค้ากลุ่มบนที่ต้องการความสะดวกสบายบนความหรูหราในรูปแบบใหม่”
“นอกจากดีไซน์ที่มีความสวยงามหรูหราแล้ว Honda Sh150i ยังเปี่ยมไปด้วยเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวก ที่ครบครัน ถือเป็นอีกหนึ่งความสนุกว้าว ที่ค่ายฮอนด้า ในฐานะผู้นำตลาดรถจักรยานยนต์ไทยพร้อมนำเสนอให้ผู้ใช้ได้สนุกกับการค้นหาแก็ดเจทตามไลฟ์สไตล์ของตนเองภายใต้แนวคิด “ชีวิตสนุก ถ้าไม่หยุดค้นหาอะไรใหม่ๆ ว้าว”
Honda Sh150i เป็นรถเอ.ที.สไตล์อิตาเลียน สะดุดตาด้วยเส้นสายที่ให้อารมณ์ของความเป็นโมเดิร์นคลาสสิก ตัวรถพ่นด้วยสีเมทัลลิกประกายมุกเพื่อความหรูหรา โดดเด่นด้วยล้อแม็กขนาด 16 นิ้ว พร้อมยางแบบทิวบ์เลสและหน้ายางแบบกว้าง รองรับทุกสภาพถนน, โคมไฟหน้าแบบ All-in-One Dual Grand Headlight พร้อมสัญลักษณ์ Sh ใต้โคมไฟเอกสิทธิ์เฉพาะของรถตระกูล Sh เท่านั้น, ไฟท้ายและไฟเลี้ยวแบบ Built-In สง่างามลงตัวกับเฟรมรถ, แผงหน้าปัดขนาดใหญ่ดีไซน์หรูพร้อม ODO Meter สำหรับวัดระยะทาง, เบาะนั่ง Comfort Seat ออกแบบให้กระชับนั่งสบายทั้งผู้ขี่และผู้ซ้อน, กล่องเก็บของขนาดใหญ่ใต้เบาะกว่า 30 ลิตร ใช้เก็บหมวกกันน็อคแบบเต็มใบ, ถังน้ำมันขนาดใหญ่ จุน้ำมันได้ถึง 7.5 ลิตร จึงไม่ต้องเติมน้ำมันบ่อย, Console Box กล่องเก็บของที่คอนโซลด้านหน้าพร้อมฝาปิดและตะขอแขวนแบบล็อคได้, Remote Response Key กุญแจรีโมทช่วยค้นหาตำแหน่งรถด้วยเสียงและสัญญานไฟเช่นเดียวกับรถยนต์
ในส่วนของเครื่องยนต์ Honda Sh150i มาพร้อมเทคโนโลยีในการขับเคลื่อนที่ครบครันกับขุมพลัง eSP (Enhanced Smart Power) ที่รวมเทคโนโลยีสุดล้ำของฮอนด้าเข้าไว้ด้วยกันอย่างสมบูรณ์แบบ ประกอบด้วยเครื่องยนต์ 4 จังหวะขนาด 150cc. ระบบหัวฉีด PGM-FI, ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำแบบ Built-In Liquid Cooled และระบบลดแรงเสียดทาน Intelligent Low Friction ให้ทุกอัตราเร่งเป็นไปดั่งใจ พร้อมระบบหยุดเครื่องยนต์อัตโนมัติ Idling Stop System ช่วยประหยัดน้ำมันควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยการลดไอเสียที่ปล่อยออกมา ปลอดภัยด้วยดิสก์เบรกหน้า – หลังเป็นครั้งแรกของวงการรถ เอ. ที. ในเมืองไทย พร้อมระบบกระจายแรงเบรกและป้องกันล้อล็อกแบบ CBS (Combined ABS) ทั้งยังรองรับน้ำมัน E20 อีกด้วย
ฮอนด้าพร้อมวางจำหน่าย Honda Sh150i ทั่วประเทศ ณ ศูนย์จำหน่ายและบริการ Honda Wing Center ตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน 2556 เป็นต้นไป ด้วยราคาจำหน่ายโดยประมาณที่ 99,800 บาท มีให้เลือก 2 เฉดสี ได้แก่ ขาวมุก และดำเมทัลลิค พร้อมจัดแคมเปญสุดพิเศษสำหรับ 1,000 คันแรกจะได้รับชุด Premium Set ประกอบไปด้วยชุดแผ่นกันลมทรงสูง Ermax Shield และกล่องใส่ของท้ายรถ Givi Topbox ขนาด 30 ลิตร รวมมูลค่า 7,200 บาท ฟรี!
ติดตามรายละเอียดของ Honda Sh150i เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.aphonda.co.th/ พร้อมร่วมสนุกกับกิจกรรมมากมายที่เฟซบุค www.facebook.com/hondamotorcyclethailand
ติดตามรายละเอียดของ Honda Sh150i เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.aphonda.co.th/ พร้อมร่วมสนุกกับกิจกรรมมากมายที่เฟซบุค www.facebook.com/hondamotorcyclethailand
ฮอตรับลมร้อน! ตลาดรถจักรยานยนต์ไทยเดือนเมษาโต 7% ฮอนด้าส่งสกู๊ปปี้ไอใหม่ลงตลาด รับฤดูซื้อขายช่วงเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคม
Posted by Contemporary industry
Posted on 22:34
ตลาดรถจักรยานยนต์ไทยเดือนเมษายนร้อนแรง เติบโตถึง 7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เหตุจากกำลังซื้อในประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีและปัจจัยหนุนจากกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของค่ายรถต่างๆ พร้อมๆกับรถรุ่นใหม่ที่เข้ามาสร้างสีสันและส่งผลให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น ด้านผู้นำตลาดอย่างฮอนด้าส่งรถรุ่นใหม่ล่าสุด ฮอนด้าสกู๊ปปี้ไอ อโลฮ่า ซ่านิยม ลงทำตลาดช่วงเปิดเทอมใหญ่ในเดือนพฤษภาคม พร้อมสานต่อกิจกรรมในรูปแบบของไลฟ์สไตล์ความสนุกทั้งดนตรีและกีฬาอย่างต่อเนื่อง
นายสุชาติ อรุณแสงโรจน์ กรรมการบริหาร บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด เปิดเผยยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ไทย อ้างอิงจากข้อมูลของกรมการขนส่งทางบกว่า “เดือนเมษายน 2556 ตลาดรถจักรยานยนต์ไทยมียอดจดทะเบียนทั้งสิ้น 169,031 คัน มีอัตราการเติบโตสูงขึ้น 7% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากจำนวนทั้งหมดนี้ ฮอนด้ามียอดจดทะเบียนทั้งสิ้น 125,253 คัน เติบโตขึ้น 15% ซึ่งการเติบโตที่ค่อนข้างสูงนี้เกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ที่สำคัญที่สุดคือกำลังซื้อของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายที่ค่อนข้างดีกว่าปีที่แล้วเนื่องจากค่าแรงขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมที่สูงขึ้น นอกจากนี้ตลอดเดือนเมษายนที่ผ่านมาตลาดโดยรวมยังได้รับการกระตุ้นจากกิจกรรมทางการตลาดของแต่ละค่ายรถไม่ว่าจะเป็นงานมอเตอร์โชว์ กิจกรรมส่งเสริมการขายหน้าร้าน และการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ๆที่ทำให้ความต้องการรถจักรยานยนต์แพร่หลายไปยังฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆด้วย”
สำหรับเดือนพฤษภาคม ถือเป็นช่วงที่รถจักรยานยนต์มียอดขายสูงสุดของทุกๆปี เนื่องจากเป็นช่วงเปิดภาคการศึกษา ทำให้ทุกค่ายต้องสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างเต็มที่
สรุปยอดจดทะเบียนตลาดรถจักรยานยนต์ไทยเดือนเมษายน 2556 มีทั้งสิ้น 169,031 คัน แบ่งเป็นรถแบบครอบครัว 83,091 คัน คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 49%, รถแบบเอ.ที. 74,282 คัน ส่วนแบ่งตลาด 44%, รถแบบสปอร์ต 6,565 คัน ส่วนแบ่งตลาด 4% และรถแบบอื่นๆ รวมกันอีก 5,093 คัน ส่วนแบ่งตลาด 3%
ทั้งนี้ เมื่อแบ่งตามค่ายผู้ผลิตพบว่าฮอนด้ามียอดจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 125,253 คัน เทียบเท่าสัดส่วนครองตลาด 74%, ยามาฮ่า 32,128 คัน ส่วนแบ่งตลาด 19%, ซูซูกิ 4,403 คัน ส่วนแบ่งตลาด 3%, คาวาซากิ 3,733 คัน ส่วนแบ่งตลาด 2% และยี่ห้ออื่นๆ ที่เหลือมียอดจดทะเบียนรวมกันที่ 3,514 คัน ส่วนแบ่งตลาด 2%
นิปปอนเพนต์ แถลงนโยบายพร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ รุกตลาดสีพ่นซ่อมรถยนต์ ปี 2556
Posted by Contemporary industry
Posted on 00:11
นายสืบพงศ์ พูนศรัทธา (ขวา) ประธานบริหาร บริษัท นิปปอนเพนต์ (ประเทศไทย) จำกัด และนายทวีชัย ตังธนาวิรุตม์ (ซ้าย) ผู้จัดการทั่วไป หน่วยธุรกิจสีพ่นรถยนต์ “นิปปอนเพนต์” ร่วมแถลงข่าวนโยบายการดำเนิ นงานและกลยุทธ์การตลาดปี 2556 พร้อมกับเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “แนกซ์ คริสตัล 9905 มิลเลอร์ อิมเมจ เคลียร์ 2K 2:1” นวัตกรรมล่าสุดของเคลียร์เคลื อบเงารถทั้งคันสำหรับผู้รั กรถหรู มาพร้อมเทคโนโลยีชั้นสูง “ไซกลาส” (CyGLAZ®) และผลิตภัณฑ์ “แนกซ์ พรีมิล่า 9800 เอชพี วิโลซิตี้ เคลียร์ 2K 2:1” เคลียร์เคลือบเงาชนิดแห้งเร็ วภายใน 30 นาทีที่พิเศษเหนือกว่าเคลียร์ เคลือบเงาทั่วไป ณ บริษัท นิปปอนเพนต์ (ประเทศไทย) จำกัด
เวสป้า ส่งสีใหม่เครื่องยนต์ 3 วาล์ว บุกตลาดต่อเนื่อง
Posted by Contemporary industry
Posted on 00:28
10 พฤษภาคม 2556, กรุงเทพฯ - บริษัท เวสปิอาริโอ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้ารถสกู๊ตเตอร์เวสป้ าและพิอาจิโอ ส่งเวสป้าสีใหม่ เครื่องยนต์ 3 วาล์ว รุกตลาดเพิ่ม หลังจากที่ ได้เปิดตัวรถสกู๊ตเตอร์ ที่มาพร้อมเครื่องยนต์ล่าสุด ทั้ง 125 และ 150 ซีซี ไปเมื่อไม่นานนี้
บริษัท เวสปิอาริโอ (ประเทศไทย) จำกัด ส่งเวสป้า สีใหม่รุ กตลาดเพิ่มเติม ในคอลเลกชั่น 2013 ทั้ง Vespa S และ Vespa LX ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงตัวถัง เน้นความเรียบหรู ตามแบบฉบับของ Vespa LX ที่ตอกย้ำสาระ รูปแบบผ่านเส้นสายไลน์โมเดิร์ นผสานเข้ากับวิถีดั้งเดิมของเวส ป้าลงบน Vespa LX 125 3Vie สีส้ม และ LX 150 3Vie สีเทาด้าน นอกจากนี้ยังเพิ่มทางเลือกให้ แก่ผู้ชื่นชอบ Vespa S ที่นับได้ว่าเป็นงานมรดกสื บทอดยุค 70 มาพร้อมโคมไฟหน้าทรงเหลี่ยม แผงบังโคลนโดดเด่น มุมมองด้านข้างอานเบาะ ซึ่งไปกันได้ดีกับกระบอกโช้คสี แดง พร้อมลวดลายกราฟฟิกบนแผงหน้าปัด บนตัวรถ Vespa S 125 3Vie สีเหลือง และ S 150 3Vie สีน้ำเงิน นับเป็นครั้งแรกที่ เวสป้าได้ส่งสีลงทำตลาดในเมื องไทยอย่างหลากหลาย นอกจากเรื่องกำลังเครื่องยนต์ ที่มีให้เลือกทั้ง 125 และ 150 ซีซี บริษัทฯได้เพิ่มทางเลือกให้ผู้ บริโภค ทั้งสีเงาและสีMatt ด้วยความโดดเด่นของเวสป้ าประกอบกับสมรรถนะเครื่องยนต์ ระบบหัวฉีดเชื้อเพลิงอัตโนมัติ รุ่นใหม่ ระบายความร้อนด้วยอากาศ แต่คงไว้ซึ่งการลดระดับมลพิษที่ ผ่านมาตรฐานยูโร 3 ที่จะช่วยคุณลดค่าใช้จ่ายมากขึ้ น ไม่เพียงเท่านี้ด้วยความก้าวหน้ าเชิงวิทยาการขั้นสูง อย่างระบบส่งกำลังเครื่องยนต์ 125 – 150 / 4 สโตรก 3 วาล์ว ถือเป็นการเปิดช่องทางสู่ อนาคตของเทคโนโลยียานยนต์อย่ างแท้จริง
สำหรับราคาที่จัดจำหน่ายสำหรั บเครื่องยนต์ 125 ซีซี (Vespa LX 125 3Vie ราคา 89,900 บาท, Vespa S 125 3Vie ราคา 93,900 บาท และ Vespa S 125 3Vie Matt Series ราคา 95,900 บาท) สำหรับราคาเครื่องยนต์ 150 ซีซี ราคา (Vespa LX 150 3Vie ราคา 112,500 บาท, Vespa LX 150 3Vie Matt ราคา 114,500 บาท, Vespa S 150 3Vie ราคา 116,500 และ Vespa S 150ie Matt 118,500 บาท)
สำหรับท่านที่ สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติ มได้ที่ บริษัท เวสปิอาริโอ (ประเทศไทย) ณ แฟลกชิพ สโตร์ โทร : 02-714-7742 หรือ ตัวแทนจำหน่ายเวสป้าทั่วประเทศ www.vespa.co.th หรือรับข่าวสารประชาสัมพันธ์ จากเวสป้าและพิอาจิโอ ผ่านทางFacebook เพียงกดไลค์ www.facebook.com/vespathailand และ (Instagram) @vespathailand
บางกอก อินเตอร์เนชันแนล ออโต ซาลอน สานต่อความสำเร็จก้าวสู่ งานแสดงรถแต่งและอุปกรณ์โมดิฟายใหญ่ที่สุดในอาเซียน
Posted by Contemporary industry
Posted on 02:16
(กรุงเทพฯ -- 2 พฤษภาคม 2556) -- บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) และบริษัท อินสไพร์ เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัดจัดแถลงข่าวเตรียมความพร้อมและสานต่อความสำเร็จในการจัดงาน บางกอก อินเตอร์เนชันแนล ออโต ซาลอน 2013 ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยทุ่มงบกว่า 300 ล้านบาทเพื่อก้าวสู่งานแสดงรถแต่งและอุปกรณ์โมดิฟายที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Design by Imagination” (แต่งได้ตามใจจินตนาการ) ระหว่างวันที่ 20-30 มิถุนายน 2556 ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานีโดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ
งาน บางกอก อินเตอร์เนชันแนล ออโต ซาลอน 2013 (Bangkok International Auto Salon 2013 หรือ BIAS 2013) จัดต่อเนื่องเป็นประจำในทุกปี โดยปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 อย่างยิ่งใหญ่และขยายพื้นที่การจัดงานเป็น 40,000 ตารางเมตร รวมทั้งพื้นที่ด้านนอกอาคารพร้อมเสริมกิจกรรมบันเทิงมากมาย คาดว่าจะมีผู้ร่วมออกงานแสดงสินค้าประมาณ 400 บู้ท จากทั้งในและต่างประเทศซึ่งมาจากทั้งภูมิภาคเอเชียและยุโรป
คณะผู้จัดงานฯ ที่ร่วมแถลงข่าว นำโดย นายวิลักษณ์ โหลทอง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินสไพร์เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด มร. มาซาฮารุ ซาคาอิ ผู้จัดการทั่วไปบริษัท ซัง-เอ โชโบ พับบลิชชิ่ง จำกัด และนายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการตลาดในประเทศ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ โดยจัดแถลงข่าว ณ ลานโปรโมชั่น บี ชั้น 1ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว
นายวิลักษณ์ โหลทอง ประธานการจัดงาน บางกอก อินเตอร์เนชันแนล ออโต ซาลอน 2013 กล่าวว่า “การแถลงข่าววันนี้เพื่อตอกย้ำความสำเร็จของการจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชันแนล ออโต ซาลอนตั้งแต่การจัดเป็นครั้งแรกด้วยความตั้งใจที่จะสร้างสรรค์งานพิเศษสำหรับคนรักรถและชื่นชอบการแต่งรถ และในปีที่ 2 นี้ได้ก้าวสู่การงานแสดงรถแต่งและอุปกรณ์โมดิฟายที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และต้องขอขอบคุณทีเส็บที่ให้การสนับสนุนอย่างดีเยี่ยมในปีนี้ โดยได้ให้การสนับสนุนการจัดงานตั้งแต่ครั้งแรก”
“ในฐานะผู้จัดงานฯ เรามีตั้งใจที่จะพัฒนาการจัดงานของเรา รวมทั้งการให้บริการแก่ลูกค้าและผู้เข้าชมงานให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปในแต่ละครั้งที่จัดงาน เช่นเดียวกันกับบริษัทพันธมิตรรถยนต์และอุปกรณ์ตกแต่งฯ ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ๆ ให้ดียิ่งขึ้นเสมอ เป้าหมายของเรา คือ การจัดงานให้ดีกว่าความคาดหวังของผู้ร่วมออกบู้ทและผู้ร่วมงาน เรามุ่งมั่นรักษาตำแหน่งผู้นำงานแสดงรถแต่งและอุปกรณ์โมดิฟายที่ใหญ่ที่ในภูมิภาคนี้อย่างจริงจัง และเริ่มเตรียมงานมาตั้งแต่กลางปีที่แล้วเพื่อให้มั่นใจว่างานของเราแตกต่างจากงานอื่นๆ และดีที่สุดในอาเซียน"
นอกจากการเพิ่มพื้นที่จัดงาน 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว ยังได้เพิ่มจำนวนบู้ทอุปกรณ์โมดิฟายและตกแต่งรถมากขึ้นเป็น 400 บู้ท โดยจุดเด่น คือ โตเกียว ออโต ซาลอน โซน ที่นำรถจากญี่ปุ่นมาแสดงกว่า 50 คัน และ แจแปน แบรนด์ โซน บาย ฟิวชั่น ครีเอทีฟ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่อุปกรณ์โมดิฟายแบรนด์ชั้นนำของญี่ปุ่นบินตรงมาร่วมแสดงสินค้าพร้อมโชว์รถแต่ง เช่น Tommy Kaira, Bride, Gibson, Tanabe, AMS รวมทั้งยังมีบริษัทชั้นนำของไทยและต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน จีน ยุโรปจัดแสดงผลิตภัณฑ์และรถแต่งกว่า 1,000 ชิ้น
“งาน บางกอก อินเตอร์เนชันแนล ออโต ซาลอน 2013 ครั้งที่ 2 นี้ เราวางแผนใช้งบประมาณในการจัดงาน 300 ล้านบาท โดยใช้งบด้านการประชาสัมพันธ์กว่า 150 ล้านบาทเพื่อโปรโมทการจัดงานทั้งในและต่างประเทศด้วยการใช้สื่อผสมผสาน 360 องศาทั้งสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ บิลบอร์ด สื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดีย และกิจกรรมโร้ดโชว์ และตั้งเป้าผู้เข้าชมงานทั้งในและต่างประเทศรวมกว่า 1,000,000 คน โดยจะมีการเผยแพร่ข่าวงานนี้ออกไปอย่างน้อย 15 ประเทศในเอเชียแปซิฟิกและยุโรป”
มร. มาซาฮารุ ซาคาอิ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซัง-เอ โชโบ พับบลิชชิ่ง จำกัด กล่าวว่า “การจัดงานบางกอก ออโต ซาลอน ประสบความสำเร็จอย่างสูงตั้งแต่ครั้งแรก ถือได้ว่าเป็นงานที่จัดในประเทศไทยเป็นต้นแบบแห่งแรกที่เรามอบลิขสิทธิ์การจัดงานนอกประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทาง โดยใช้รูปแบบและมาตรฐานเดียวกับที่โตเกียวออโต ซาลอนพร้อมทั้งยกบรรยากาศสีสันของงานคาร์โชว์อันดับหนึ่งของเอเชียมาให้ได้สัมผัส เช่น เอ-คลาส เกิร์ล แจแปน 2013, เรซ ควีน เป็นต้น
ในปีนี้ ได้นำรถแรงและรถแต่งหลากหลายสไตล์จำนวนกว่า 50 คันจากเวทีโตเกียว ออโต ซาลอน มาสร้างความตื่นเต้นให้กับคนรักรถและชื่นชอบการแต่งรถในเมืองไทย ไฮไลท์รถเด่นจากญี่ปุ่นที่มาโชว์ ได้แก่ นิสสัน ซูเปอร์ จีที-อาร์ 1200 ท้อป ซีเคร็ท, โตโยต้า 86 ทอมส์, มาสด้า อาร์เอ็กซ์-8 ไนท์ สปอร์ต ซึ่งร่วมแข่งขันในงาน มาเก๊า จีพี โร้ดสปอร์ต ชาเลนจ์, ซูซูกิ สวิฟท์สปอร์ต ไทป์ ซีโร ท้อป ฟีล,บีเอ็มดับบลิว แกรน คูเป้ 3ดี ดีไซน์ อิดิชั่น, และรถฮอนด้า ซีอาร์-แซด มูเก็น อาร์อาร์ คอนเซ็ปต์ รวมทั้งรถจักรยานยนต์ และอุปกรณ์ตกแต่งล้ำสมัยอีกมากมาย เชื่อว่าผู้เข้าชมงานจะต้องตื่นตาตื่นใจกับสิ่งต่างๆ ที่เตรียมจัดนำเสนอในงานครั้งนี้
สำหรับผู้ร่วมจัดแสดงในครั้งนี้ มีทั้งบริษัทรถยนต์ จักรยานยนต์ผู้จำหน่ายอุปกรณ์ตกแต่ง และสำนักแต่งรถ ทั้งเอเชียและยุโรปที่ประกอบการอยู่ในไทย ร่วมสนับสนุนเป็นอย่างดี เช่น โตโยต้า, ฮอนด้า, นิสสัน, อีซูซุ, ซูบารุ, บีเอ็มดับบลิว, ยามาฮ่า, ฟิล์มกรองแสงลามิน่า, พีพี ซูเปอร์ วีล, ชุดแต่งสปูน โดยโอ๊ค คลับ, วีเทค สโตร์, ล้อแม็ค ดับบลิว เวิร์ค, เอเซล เทอิน, คัสโก้, อาร์เอสอาร์, ชุดแต่งอาซูกะ, เสาอากาศโทโมกิ, อามามิย่า ฯลฯ”
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสนุกเร้าใจสำหรับผู้รักรถ เช่น การรวมตัวโชว์รถรุ่นต่างๆ ของบรรดาคาร์คลับชั้นนำรวมกว่า 1,000 คัน ที่หมุนเวียนกันจัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ
นอกจากการแสดงรถและกิจกรรมเกี่ยวกับรถแล้ว ผู้เข้าชมงานจะเพลิดเพลินไปกับสีสันของงานและกิจกรรมบันเทิงต่างๆ อาทิ สาวสวยแดนซากุระบินตรงจากโตเกียว เช่น กราเวีย ไอดอล, เอ-คลาส เกิร์ล แจแปน, เรซ ควีน, นางแบบ คิคุ ประชันกับสาวฮ็อตของไทย เอฟเอชเอ็ม เกิร์ล เน็สต์ ดอร์, โชว์ล้างรถโดยสาวสวย และคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการตลาดในประเทศ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ กล่าวเสริมว่า “ทีเส็บในฐานะหน่วยงานภาครัฐอันมีบทบาทหน้าที่ในการผลักดันและสนับสนุนอุตสาหกรรมการจัดประชุมและการแสดงสินค้านานาชาติหรือที่เรียกว่าอุตสาหกรรมไมซ์ ทีเส็บมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นผู้สนับสนุนการจัดงาน บางกอก อินเตอร์เนชันแนล ออโต ซาลอน 2013 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้านานาชาติเกี่ยวกับการแสดงรถแต่งและอุปกรณ์ตกแต่งรถระดับนานาชาติ โดยประเทศไทยเป็นประเทศแรกในอาเซี่ยนที่ได้รับลิขสิทธิ์จาก Tokyo Auto Salon ในการจัดงานอย่างเป็นทางการโดยทีเส็ปมุ่งเน้นการสนับสนุนด้าน B2B ภายในงานและการทำกิจกรรมการตลาดต่างประเทศ เพื่อช่วยเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมแสดงงานและผู้เข้าร่วมชมงานจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนด้านการจับคู่ทางธุรกิจ, การสนับสนุนด้านการจัดแสดง Modified Car Pavilion และโปรแกรมสื่อมวลชนจากต่างประเทศ (Journalist Program) ซึ่งจะเผยแพร่ข่าวสารไปยังกลุ่มเป้าหมายทั่วโลก ส่งผลดีให้กับภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะเวทีการจัดงานแสดงอุปกรณ์ตกแต่งรถประจำภูมิภาคเอเชีย ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นโอกาสการขยายธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างชาติ ทีเส็บหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการสนับสนุนจากภาครัฐในครั้งนี้จะนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการใช้จ่ายของนักธุรกิจที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยและมูลค่าการค้าจากภายในงาน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยต่อไป”
บางกอก อินเตอร์เนชันแนล ออโต ซาลอน 2013 จัดขึ้นระหว่างวันที่ : 20-30 มิถุนายน 2556 ในเวลา วันเสาร์-อาทิตย์ ระหว่าง 11.00-21.30 น. และวันธรรมดา ระหว่าง 12.00-21.30 น. ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี บัตรเข้าชมงานราคา 100 บาท สำหรับผู้ที่สนใจเข้าชมงาน สามารถติดตามข่าวสารได้ที่เว็บไซต์ www.bangkokinternationalautosalon.com หรือเฟสบุ๊ค www.facebook.com/Bangkokinternationalautosalon
ผู้สื่อข่าวที่สนใจเข้าร่วมพิธีเปิดและเข้าชมงาน สามารถลงทะเบียนออนไลน์ล่วงหน้าที่เว็บไวต์
www.bangkokinternationalautosalon.com/media/registeronline หลังจากที่ได้รับการยืนยันลงทะเบียนผู้สื่อข่าวแล้ว ท่านสามารถรับบัตรนักข่าวได้ที่ มีเดีย เซ็นเตอร์ ของงานบางกอก อินเตอร์เนชันแนล ออโต ซาลอน (ร้านบิสโทร) ตรงข้ามทางเข้าชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 3 ในวันที่ 19 มิถุนายน ระหว่างเวลา13:00-17:00 น. หรือช่วงเช้าก่อนพิธีเปิดงานในวันที่ 20 มิ.ย.
จากัวร์ และแลนด์โรเวอร์ เตรียมจัดแสดงรถหรูระดับพรีเมี่ยม ในงานแสดงยานยนต์ระดับสุดยอดและยานยนต์นำเข้า ครั้งที่ 4 11 - 19 พฤษภาคม 2556 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ที่บูธหมายเลข RR1
Posted by Contemporary industry
Posted on 01:55
กรุงเทพฯ - บริษัท ซิตี้ ออโต้โมบิล จำกัด ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์จากัวร์ และแลนด์โรเวอร์อย่างเป็ นทางการในประเทศไทย เตรียมยกขบวนยานยนต์ระดับพรีเมี ่ยม อวดโฉมใน งานแสดงยานยนต์ระดับสุ ดยอดและยานยนต์นำเข้า (Super Car & Import Car Show 2013) ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 11 - 19 พฤษภาคม 2556 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ที่บูธหมายเลข RR1 เอาใจคนรักรถหรูด้วยขบวนยานยนต์ รุ่นล่าสุดจากสองแบรนด์ดังนำเข้ าจากประเทศอังกฤษ อาทิ ดิ ออลล์ นิว เรนจ์โรเวอร์,เรนจ์โรเวอร์ อีโวค, จากัวร์ รุ่น XF และ XK โดยลูกค้าสามารถสอบถามรายละเอี ยดเพิ่มเติมได้ที่บูธจากัวร์ และแลนด์โรเวอร์ภายในงาน
นายดนัย จันทรงาม ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซิตี้ ออโต้โมบิล จำกัด กล่าวว่า “รถยนต์ที่จะนำมาจั ดแสดงภายในงานแสดงยานยนต์ระดั บสุดยอดและยานยนต์นำเข้า ครั้งที่ 4 ประกอบด้วยรถยนต์จากค่ายแลนด์ โรเวอร์ อาทิ
ดิ ออลล์ นิว เรนจ์โรเวอร์ ยานยนต์อเนกประสงค์รุ่ นแรกของโลกที่ใช้ตัวถังโครงอลู มิเนียมน้ำหนักเบา
ดิ ออลล์ นิว เรนจ์โรเวอร์ ยานยนต์อเนกประสงค์รุ่
ซึ่งเปิดตัวอย่างเป็ นทางการในประเทศไทยเมื่อช่วงต้ นปี และ เรนจ์โรเวอร์ อีโวค ยานยนต์เอสยูวีหรูคู่ สมรรถนะระดับพรีเมี่ยม ส่วนแบรนด์จากัวร์เตรียมนำเสนอ จากัวร์ รุ่น XF ยานยนต์เอ็กเซคคิวทีฟซาลูนเครื่ องดีเซล 2.2 ลิตร และยานยนต์แกรนด์ทัวเรอร์ สมรรถนะสูงรุ่น XK ซึ่งความสำเร็จของยอดขายทั้ งแบรนด์จากัวร์และแลนด์โรเวอร์ ในปีที่ผ่านมา ถือเป็นสิ่งยืนยันถึงความเชื่ อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อ ซิตี้ ออโต้โมบิล ในฐานะผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็ นทางการในประเทศไทย โดยเราได้ทุ่มงบลงทุนเพื่อปรั บปรุงโชว์รูมและศูนย์บริการให้ มีมาตรฐานระดับโลก เพื่อสนับสนุนทั้งการขายและบริ การหลังการขายสำหรับลูกค้าจากั วร์และแลนด์โรเวอร์อย่างเต็มรู ปแบบ”
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ บริษัท ซิตี้ ออโต้โมบิล จำกัด ถนนวิทยุ โทรศัพท์ 02-651-4545
หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็ บไซต์ www.landroverthailand.com
หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็
รมต. พลังงานยัน จดทะเบียนรถใช้ก๊าซ LPG ได้เหมือนเดิม เน้นย้ำคุมมาตรฐานศูนย์ติดตั้ง เพื่อความปลอดภัยของประชาชน ในขณะที่ทั่วโลกสนับสนุนใช้รถติดก๊าซ LPG กว่า 23 ล้านคัน
Posted by Contemporary industry
Posted on 01:52
นายสุรศักดิ์ นิตติวัฒน์ นายกสมาคมธุรกิจก๊าซรถยนต์ไทย เปิดเผยว่า สมาคมธุรกิจก๊าซรถยนต์ไทย ได้ยื่นหนังสือเปิดผนึกต่อนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร , นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน , พลตำรวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม , รองปลัดกระทรวงพลังงาน และอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดค้านแนวคิดหรือนโยบายที่จะยกเลิกการรับจดทะเบียนรถยนต์ที่ใช้ระบบก๊าซ LPG และขอความชัดเจนในการดำเนินธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการต่างๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมก๊าซรถยนต์ของประเทศไทย ที่ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากกรณีที่รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานมีแนวคิดที่จะยกเลิก ไม่รับจดทะเบียนรถที่ใช้ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิง สาเหตุที่ส่งผลให้รถติดตั้งระบบก๊าซ LPG เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้
อย่างไรก็ดี จากการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้รถติดตั้งก๊าซ LPG และ NGV นั้นส่วนใหญ่มาจาก 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ 1. การเลือกใช้ระบบ และอุปกรณ์ก๊าซที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยที่ดี 2. สถานที่ติดตั้ง หรืออู่ติดตั้งที่ไม่ชำนาญการ บุคลากรขาดการฝึกอบรมที่ครบถ้วนอย่างแท้จริง และไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ได้รับใบอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกอย่างถูกต้องตามกฏหมาย และ 3. ผู้ใช้ขาดความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานและการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ถึงแม้ว่าจะไม่แตกต่างจากการใช้ระบบน้ำมันมากนักก็ตาม แต่การบำรุงรักษา ตรวจสภาพการใช้งาน ย่อมเป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นในการแก้ไขและป้องกันปัญหารถติดก๊าซไฟไหม้ ควรจะส่งเสริมและมุ่งเน้นที่มาตรฐานของอุปกรณ์และผู้ประกอบการติดตั้งที่ได้มาตรฐานและได้รับใบอนุญาตฯเป็นสำคัญ
ทั้งนี้จากข้อมูลกรมขนส่งทางบก ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 พบว่าในประเทศไทยมีรถยนต์ที่ติดตั้งก๊าซ LPG ทั้งประเทศเกือบ 1 ล้านคัน เนื่องจากก๊าซ LPG เป็นพลังงานทางเลือกที่ได้รับความนิยม จากประชาชนที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้น้อย ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ สามารถนำมาใช้เพื่อลดรายจ่าย และลดภาระค่าเชื้อเพลิงของครอบครัวได้
“แนวคิดที่จะยกเลิกการจดทะเบียนรถ LPG เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการใช้พลังงานทางเลือกอย่างเสรี และยังส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมติดตั้งก๊าซ LPG ในรถยนต์มากว่า 30 ปี หากมีการยกเลิกย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ และแรงงานในอุตสาหกรรมจำนวนมาก ทั้งกลุ่มผู้ประกอบการศูนย์ติดตั้งก๊าซ ที่ได้รับใบอนุญาตแล้วกว่า 330 ราย ผู้จัดจำหน่ายระบบและอุปกรณ์ก๊าซกว่า 50 บริษัท โรงงานผลิตถุงบรรจุก๊าซ 5 โรงงาน รวมถึงสถานีบริการปั้มก๊าซ LPG อีกกว่า 1.16พันแห่งทั่วประเทศ และแรงงานที่เกี่ยวข้องอีกนับหมื่นคน” นายสุรศักดิ์ กล่าวและว่า
ก๊าซ LPG ที่ใช้ในรถยนต์ถือเป็นพลังงานทางเลือกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และเอเชีย ส่งผลให้ปัจจุบันมีรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยก๊าซ LPG มากกว่า 23 ล้านคันทั่วโลก โดยมากกว่าร้อยละ 50 เป็นรถยนต์ส่วนบุตคลหรือรถครอบครัวทั่วไป
ก๊าซ LPG ที่ใช้ในรถยนต์ถือเป็นพลังงานทางเลือกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และเอเชีย ส่งผลให้ปัจจุบันมีรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยก๊าซ LPG มากกว่า 23 ล้านคันทั่วโลก โดยมากกว่าร้อยละ 50 เป็นรถยนต์ส่วนบุตคลหรือรถครอบครัวทั่วไป
ผลการสำรวจข้อมูลจาก World LP Gas Association (WLPGA) พบว่า ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมาธุรกิจก๊าซ LPG มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะเติบโตมากต่อไปอีกหลายปี โดยตัวเลขการใช้งานก๊าซ LPG ในปี 2554 มีปริมาณการใช้ก๊าซ LPG ในจีน เกาหลีใต้ ซาอุดิอาราเบีย ญี่ปุ่น และอินเดีย โดยเฉพาะความต้องการใช้และการขยายตัวของกลุ่มยานยนต์ที่ใช้ก๊าซ LPG (Autogas) มีปริมาณการใช้ทั่วโลกสูงถึง 23.7 ล้านตัน สูงขึ้นร้อยละ 3 จากปีก่อน ซึ่งนอกจากรถยนต์ติดตั้งก๊าซ LPG จะเป็นที่นิยมในหลายประเทศ ยังพบว่า ในประเทศอังกฤษ นอกจากประชาชนจะนิยมใช้ก๊าซ LPG แล้ว สมเด็จพระราชินีนาถ อลิซาเบทที่ 2 แห่งราชวงศ์อังกฤษ ยังทรงใช้ก๊าซ LPG ในรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์มากว่า 10 ปี ด้วยคำกล่าวของพระองค์ที่ว่า LPG ถูกและสะอาดกว่าการใช้น้ำมัน และในอังกฤษนั้นมีสถานีปั้มก๊าซ LPG สำหรับรถยนต์กว่า 1.5 พันสถานี เพื่อรองรับจำนวนรถยนต์ติดก๊าซ LPG ที่สูงถึง 1.65 แสนคัน และรัฐบาลอังกฤษยังสนับสนุนการใช้ก๊าซ LPG ในรถยนต์นั่งส่วนบุคคลโดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเชื้อเพลิงสำหรับรถที่ใช้ก๊าซ LPG ที่ถูกกว่าภาษีเชื้อเพลิงประเภทน้ำมัน (Petrol) ด้วย
นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการติดตั้งก๊าซ LPG มีการนำเทคโนโลยีทันสมัยจากต่างประเทศเข้ามาให้บริการติดตั้งก๊าซ LPG มากขึ้น และศูนย์บริการติดตั้งแก๊สมีมาตรฐานมากขึ้น เทียบเท่าศูนย์บริการรถยนต์ ขณะเดียวกันยังได้รับการยอมรับในมาตรฐานระดับโลก
ดังนั้นจึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนเลือกใช้ผู้ประกอบการที่ได้มาตรฐานและมีใบอนุญาตฯ มากกว่าจะใช้วิธียกเลิก ด้วยการไม่รับจดทะเบียนรถที่ใช้ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิง
นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการติดตั้งก๊าซ LPG มีการนำเทคโนโลยีทันสมัยจากต่างประเทศเข้ามาให้บริการติดตั้งก๊าซ LPG มากขึ้น และศูนย์บริการติดตั้งแก๊สมีมาตรฐานมากขึ้น เทียบเท่าศูนย์บริการรถยนต์ ขณะเดียวกันยังได้รับการยอมรับในมาตรฐานระดับโลก
ดังนั้นจึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนเลือกใช้ผู้ประกอบการที่ได้มาตรฐานและมีใบอนุญาตฯ มากกว่าจะใช้วิธียกเลิก ด้วยการไม่รับจดทะเบียนรถที่ใช้ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิง
สแกนเนีย ร่วมแสดงความยินดีและมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการแข่งขัน Scania Top Team Regional 2013 การแข่งขันสุดยอดช่างฝีมือระดับเอเชียและโอเชียเนีย จาก 10 ประเทศ
Posted by Contemporary industry
Posted on 01:44
มร.โทมัส เบอร์ทิลสัน (Mr.Thomas Bertilsson, Managing Director of Scania Academy) ผู้อำนวยการ สถาบัน สแกนเนีย ผู้แทนการจัดการแข่งขัน จาก สแกนเนีย สวีเดน ร่วมแสดงความยินดีและมอบรางวั ลแก่ทีมชนะเลิศในการแข่งขัน Scania Top Team Regional 2013 การแข่งขันสุดยอดช่างฝีมือระดั บเอเชียและโอเชียเนีย 10 ประเทศ ซึ่งผู้ชนะในการแข่งขันครั้งนี้ ได้แก่ ทีมจากประเทศออสเตเลีย และ นิวซีแลนด์ โดยทั้งสองประเทศจะได้เป็นตั วแทนเข้าไปแข่งขันรอบชิงชนะเลิ ศที่ เมืองเซอเดอร์เตลเย ประเทศสวีเดน ในเดือนพฤศจิกายน 2556 ที่จะถึงนี้
เครื่องยนต์คอมมอนเรล, Common Rail Engine
Posted by Contemporary industry
Posted on 02:08
เครื่องยนต์คอมมอนเรล (Common Rail Engine) ในบทความนี้ประกอบด้วยรูปภาพเคลื่อนไหว เนื้อหาด้านประวัติ ความสำคํญ หลักการทำงาน ข้อมูลทางเทคนิค และชื่อย่อระบบรางร่วมที่ใช้กับรถยนต์ต่างๆ
ผู้เขียนได้สร้างรูปภาพเคลื่อนไหวขึ้นมาใหม่ และปรับเนื้อหาสาระในแผนการสอนของผู้เขียนจากรายวิชางานระบบควบคุมเครื่องยนต์ด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (3101 – 2101) เสริมด้วยคลิปจาก You tube ของเครื่องยนต์ Audi และ Toyota มาตัดต่อให้สอดคล้องกับเนื้อหา สำหรับผู้ที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้ผสมผสานกันของความรู้เบื้องต้น และข้อมูลทางเทคนิค ในเว็บบล็อกช่างยนต์ ของครูวัลลภ มากมี วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี อนึ่งรูปภาพและเนื้อหาในบทความนี้ผู้เขียนมิได้ไปคัดลอกจากแหล่งข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งมา เพราะได้ศึกษามาแล้ววิเคราะห์และสังเคราะห์ลงในบทความนี้
ประวัติโดยสังเขปของเครื่องยนต์ดีเซลระบบรางร่วม
ปี ค.ศ. 1942 Cooper-Bessemer GN-8 ใช้เคื่องยนต์ดีเซลของเรือที่มีรางร่วมแต่หัวฉีดไม่ได้ควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์
ปี ค.ศ. 1960 ต้นแบบถูกคิดค้นโดย Robert Huber of Switzerland แล้วพัฒนาต่อโดย Dr. Marco Ganser at the Swiss Federal Institute of Technology in Zurich
ปี ค.ศ. 1990 พัฒนาต่อยอดสู่รถยนต์ญี่ปุ่นได้สำเร็จโดย Dr. Shohei Itoh and Masahiko Miyaki ของบริษัท Denso ใช้กับรถบรรทุก Hino ขายในปี ค.ศ. 1995
ปี ค.ศ. 1997 พัฒนาโดยบริษัท Bosch ใช้ระบบรางร่วมกับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลให้กับกลุ่มบริษัท Fiat Mercedes-Benz และ Alfa Romeo (คำว่า Common rail engines เป็นชื่อที่ Fiat ใช้เรียกเป็นบริษัทแรก)
สาเหตุและความสำคัญของเครื่องยนต์ดีเซลระบบรางร่วม
เครื่องยนต์ดีเซลระบบรางร่วมจัดอยู่ในประเภทหนึ่งของเครื่องยนต์ดีเซลหัวฉีดควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ คือ
1. เครื่องยนต์ดีเซลหัวฉีดควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ แบบหัวฉีดหน่วยเดียวกับปั๊ม (Unit Injector)
1.1 ระบบลูกเบี้ยว (PDE) เคยใช้กับเครื่องยนต์เรือขนาดใหญ่
1.2 ระบบรางร่วมน้ำมันเครื่อง (Oil Common Rail System) เคยใช้กับ Isuzu รุ่น Truper
2. เครื่องยนต์ดีเซลหัวฉีดควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ แบบระบบรางร่วม (Common Rail System) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ดีกว่าเครื่องยนต์ตามแบบที่ 1.1 และ 1.2
จากกฎหมายควบคุมมลพิษยูโรระดับ 3 (ล่าสุดบางประเทศเตรียมใช้กฎหมายควบคุมมลพิษยูโรระดับ 7) ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีของเครื่องยนต์ ทั้งนี้เพื่อให้สังคมในเมืองใหญ่ได้สัมผัสกับสภาวะแวดล้อมทางอากาศที่สะอาดขึ้น เทคโนโลยีใหม่ของเครื่องยนต์ดีเซลจึงต้องเป็นระบบรางร่วม
ในการลดมลพิษให้ต่ำลงได้มากๆ นั้นนอกจากจะต้องใช้เครื่องยนต์ระบบรางร่วมแล้วในส่วนของเครื่องยนต์ยังต้องออกแบบให้มีหลายลิ้น (Multi Valve) (เช่น 4 ลิ้น ต่อ 1 สูบ) พร้อมกับใช้ตัวอัดบรรจุอากาศเทอร์โบ เพื่อเพิ่มอากาศช่วยให้การเผาไหม้สมบูรณ์ขึ้น ลดเขม่าควันซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงดีเซล นอกจากนี้แล้วยังต้องมีระบบควบคุมแก๊สพิษ (Emission Control) อีก 2 ระบบเพื่อลดแก๊ส NOX คือต้องมี CAT (Catalytic Converter) หรือเครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา และต้องมี EGR (Exhaust Gas Recirculation) หรือการหมุนเวียนไอเสีย ดังนั้นถ้าอุด EGR และผ่า CAT ก็จะเกิดปัญหาต่อสภาวะแวดล้อมด้วยเช่นกัน
หลักการทำงานขั้นพื้นฐานของเครื่องยนต์ระบบรางร่วมเหมือนกันกับเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ แต่แตกต่างกันที่วิธีการควบคุมจังหวะและปริมาตรการฉีดเชื้อเพลิงโดยเครื่องยนต์ระบบรางร่วมใช้ความดันของเชื้อเพลิงสูงกว่าเครื่องยนต์ดีเซลธรรมดา (ปั๊มแบบจานจ่ายและแบบแถวเรียง) ประมาณ 7 เท่าขึ้นไป ความดันสูงสะสมอยู่ในรางร่วม มีหัวฉีดไฟฟ้าฉีดเชื้อเพลิงตามการสั่งการของหน่วยควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งทำให้การเผาไหม้เชื้อเพลิงมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ที่สุดคือมลพิษต่ำกว่า พลังงานมากกว่า และประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่าเครื่องยนต์ดีเซลระบบอื่น
หลักการโดยสังเขปของเครื่องยนต์ดีเซลระบบรางร่วม
เชื้อเพลิง (น้ำมันดีเซล) ป้อนเข้าสู่ปั๊มซึ่งมีอยู่ 2 วิธีคือใช้ปั๊มไฟฟ้าจุ่มในถังเชื้อเพลิงดังในรูปที่ 2 (นิยมใช้กับรถยุโรป) กับแบบกลไกติดตั้งอยู่หน่วยเดียวกับปั๊มจ่ายเชื้อเพลิง (นิยมใช้กับรถกระบะในประเทศไทย) ปั๊มจ่ายเชื้อเพลิงหรือปั๊มความดันสูงควบคุมความดันด้วยลิ้นควบคุมความดันหรือลิ้นควบคุมการดูด (Suction Control Valve หรือ SCV) ความดันสูงนี้ถูกส่งไปเก็บสะสมยังท่อความดันสูง (High Pressure Vessel หรือรางร่วม Common Rail) ซึ่งมีรูปร่างอยู่ 2 แบบคือทรงกระบอกยาว (นิยมใช้กันมาก) กับแบบทรงกระบอกสั้น ดังนั้นหัวฉีดทุกหัวจึงมีความดันเชื้อเพลิงที่สูงมากเท่ากันทุกกระบอกสูบ รออยู่ที่ปลายหัวฉีดพร้อมตลอดเวลาสำหรับการฉีดให้เป็นฝอยละอองที่ละเอียดที่สุดผ่านรูเล็กๆ ของปลายหัวฉีดลงไปคลุกเคล้ากับอากาศที่ถูกอัดตัวจนมีความดันและอุณหภูมิที่สูงเหมาะสม ทั้งหมดควบคุมการทำงานโดยหน่วยควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ ECU (Electronic Control Unit) หรือ ECM (Electronic Control Module) ซึ่งจะรับสัญญาณต่างๆ เช่นสัญญาณตำแหน่งของลูกสูบ ความเร็วรอบ ตำแหน่งคันเร่ง อุณหภูมิน้ำ อุณหภูมิเชื้อเพลิง อุณหภูมิอากาศ ปริมาตรอากาศที่ประจุเข้า ความดันตัวอัดบรรจุอากาศเทอร์โบและความดันบรรยากาศ ความดันเชื้อเพลิง ความเร็วรถยนต์ ตำแหน่งเกียร์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น เมื่อ ECU (ที่มี CPU 16 - 32 บิต) ประมวลผลแล้วส่งสัญญาณการฉีดไปยังหน่วยส่งแรงขับหัวฉีดหรือ EDU (Electronic Drive Unit) (บางแบบ ECU และ EDU อยู่ในชุดเดียวกัน) เพื่อเพิ่มแรงเคลื่อนไฟฟ้าจาก 12 โวลต์เป็น 100 โวลต์ (บางแบบ 60 - 150 โวลต์ซึ่งแล้วแต่รุ่นของรถยนต์และแบบของหัวฉีด)
ข้อมูลทางเทคนิคเพิ่มเติมของเครื่องยนต์ดีเซลระบบรางร่วม
หมายเหตุ สำหรับค่ากำหนดที่จะยกตัวอย่างต่อไปนี้เป็นตัวอย่างสำหรับเครื่องยนต์ 4 สูบขนาดความจุกระบอกสูบ 2500 - 3000 cc
1. ปั๊มความดันสูง (High Pressure Pump) หรือปั๊มจ่ายเชื้อเพลิง (Supply Pump)
เชื้อเพลิงจากถังจะถูกป้อนเข้าปั๊มจ่ายเชื้อเพลิง ซึ่งปั๊มป้อนเชื้อเพลิงเป็นปั๊มความดันต่ำบางแบบอยู่หน่วยเดียวกับปั๊มจ่ายเชื้อเพลิง แต่บางแบบเป็นปั๊มไฟฟ้าจุ่มในถังเชื้อเพลิงตามรูปที่ 2
หลักการทำงานของปั๊มจ่ายเชื้อเพลิงจากรูปที่ 4 จะอาศัยกำลังขับของเฟืองไทมิ่งเพลาข้อเหวี่ยงทำให้เฟืองขับปั๊มจ่ายเชื้อเพลิงหมุน ลูกเบี้ยวเยื้องศูนย์อัดลูกปั๊มให้ทำงาน โดยปริมาตรการดูดเชื้อเพลิงที่เข้าปั๊มจ่ายเชื้อเพลิงนี้ถูกควบคุมด้วยลิ้นควบคุมการดูด (Suction Control Valve หรือ SCV) แล้วจากนั้นลูกปั๊มจะถูกอัดกระแทกจากลูกเบี้ยวเยื้องศูนย์ให้อัดเชื้อเพลิงออกทางลิ้นกันกลับด้านส่ง จ่ายเชื้อเพลิงความดันสูงไปสะสมยังรางร่วม (Common Rail)
เครื่องยนต์ระบบรางร่วมรุ่นที่ 1 ใช้ความดันสูงสุด 1350 bar (บางรุ่นขณะเดินเบาอยู่ที่ 30 bar)
เครื่องยนต์ระบบรางร่วมรุ่นที่ 2 (เริ่มปี ค.ศ. 2001) ใช้ความดันสูงสุด 1600 - 1800 bar
เครื่องยนต์ระบบรางร่วมรุ่นที่ 3 (เริ่มปี ค.ศ. 2003) ใช้ความดันสูงสุด 2000 bar
อนึ่งในปี ค.ศ. 2014 บางประเทศที่เจริญแล้วในยุโรปจะใช้กฎหมายควบคุมมลพิษยูโรระดับ 6 ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์จะต้องพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลให้มีแก๊สพิษต่ำลงไปอีก ซึ่งจะใช้ระบบรางร่วมรุ่นที่ 4 ที่มีความดันสูงสุดถึง 3000 bar จังหวะการฉีดเชื้อเพลิงอาจถึง 7 ครั้งต่อ 1 กลวัตรการทำงานของแต่ละสูบ
2. รางร่วม (Common Rail)
รางร่วมหมายถึงท่อร่วมเชื้อเพลิง เป็นท่อหรือห้องสะสมความดันเพื่อจ่ายเชื้อเพลิงไปยังหัวฉีดสูบแต่ละสูบผ่านทางท่อฉีดเชื้อเพลิง (Injection Pipe) และที่ปลายด้านหนึ่งของรางร่วมจะมีตัวจำกัดความดัน (Pressure Limiter) เพื่อป้องกันมิให้ความดันเชื้อเพลิงมีค่าสูงเกินกว่าที่กำหนดไว้สูงสุด บางแบบมีลิ้นควบคุมการระบายความดัน (Pressure Discharge Valve หรือ Pressure Relief Valve) High Pressure Vessel หรือ Common Rail มี 2 แบบคือแบบทรงกระบอกยาว (นิยมใช้เป็นส่วนใหญ่) กับแบบทรงกระบอกสั้น ดังแสดงในรูปที่ 5
3. หัวฉีด (Injector)
หลักการทำงานของหัวฉีดคือขณะที่ยังไม่ฉีดเชื้อเพลิงในตำแหน่งนี้ลิ้นโซเลนอยด์จะปิดช่องทางของห้องควบคุมความดันสูงของเชื้อเพลิงเข้ากระทำตามลูกศรซึ่งจะมีพื้นที่หน้าตัดมากกว่าห้องความดันที่ด้านล่างของเข็มหัวฉีด (Nozzle Needle) ดังนั้นตรงหน้าลิ้นของเข็มหัวฉีดจึงถูกกดให้อยู่ในตำแหน่งปิดสนิท เชื้อเพลิงความดันสูงไม่อาจรั่วออกไปจากปลายหัวฉีดได้ ในขณะที่มีสัญญาณการฉีดจาก ECU ส่งไปยังหน่วยส่งแรงขับด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (EDU) แรงเคลื่อนสูง (ประมาณ 100 V ) จะไหลผ่านเข้าขดลวดโซเลนอยด์ของหัวฉีดครบวงจร ซึ่งจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กเอาชนะแรงของสปริงที่กดอยู่ด้านบนของลิ้นโซเลนอยด์ ลิ้นโซเลนอยด์จึงยกขึ้น เปิดช่องทางของห้องควบคุมทำให้ความดันในห้องควบคุมตกเกือบเป็นศูนย์ (เชื้อเพลิงความดันสูงจากรางร่วมถูกกีดขวางระหว่างห้องความดันโดยรูเล็กหรือ Orifice) ดังนั้นความดันเชื้อเพลิงที่ด้านล่างของเข็มหัวฉีดจะยกเข็มหัวฉีดเปิดช่องทางให้เชื้อเพลิงไหลผ่านลิ้นหัวฉีดผ่านรูหัวฉีด (หลายรู) ให้เป็นฝอยละอองดังแสดงการทำงานในรูปที่ 6
จำนวนรูหัวฉีดมี 6 - 8 รู (หัวฉีดไพอิโซอิเล็กทริกรุ่นล่าสุดบางรุ่นมีรูจำนวน 10 รู และระบบรางร่วมรุ่นที่ 4 ในปี ค.ศ. 2014 หัวฉีดอาจมี 11 รู)
หัวฉีดมีรูโต 0.13 - 0.147 mm (รุ่น 8 รู แต่ละรูโต 0.0876 mm) ปริมาตรการฉีดเชื้อเพลิงขณะเดินเบา เมื่อเครื่องยนต์ร้อนประมาณ 3 – 4 mm3/Stroke
หน่วยขับหัวฉีดหรือหน่วยส่งแรงขับด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Driver Unit หรือ EDU) ส่งแรงเคลื่อนไฟฟ้าเปิดหัวฉีด 60 - 150 V
จังหวะการฉีดเชื้อเพลิงขณะเดินเบาบางรุ่นเริ่มฉีดหลังศูนย์ตายบน 2 องศา และที่ 3,000 rpm ไม่มีภาระจะเริ่มฉีดก่อนศูนย์ตายบน 1 ถึง 4 องศา
เครื่องยนต์ระบบรางร่วมรุ่นที่ 1 - 2 มีจังหวะการฉีด 2 จังหวะ คือการฉีดนำร่อง (Pilot Injection) ระยะเวลาการฉีดประมาณ 0.5 – 0.6 ms และการฉีดหลัก (Main Injection) มีระยะเวลาประมาณ 0.7 – 0.9 ms เครื่องยนต์ระบบรางร่วมรุ่นที่ 3 จะมีการฉีด 5 ครั้ง แต่ละครั้งจะมีระยะเวลาการฉีดเชื้อเพลิงประมาณ 0.1 - 0.2 ms การฉีดหลายครั้งเรียกว่า Multiple Injection การฉีดครั้งที่ 1 เรียกว่าการฉีดนำร่อง (Pilot Injection) การฉีดครั้งที่ 2 เรียกว่าการฉีดก่อน (Pre Injection) การฉีดครั้งที่ 3 เรียกว่าการฉีดหลัก (Main Injection) การฉีดครั้งที่ 4 เรียกว่าการฉีดภายหลัง (After Injection) และการฉีดสุดท้ายครั้งที่ 5 เรียกว่าการฉีดตามหลัง (Post Injection) อนึ่งผู้เขียนเคยทราบข้อมูลมาว่าที่ประเทศเยอรมันได้มีการทดลองการฉีดเชื้อเพลิง 9 ครั้ง
หัวฉีดมี 2 แบบคือหัวฉีดลิ้นโซเลนอยด์ (Solenoid Injector) และแบบใหม่ซึ่งใช้กับเครื่องยนต์ระบบรางร่วมรุ่นที่ 3 คือหัวฉีดไพอิโซอิเล็กทริก (Piezo Injector หรือ Piezoelectric Injector)
หมายเหตุ ผู้เขียนได้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากสิทธิบัตรสรุปได้ว่าผลึกแร่ไพอิโซ (Piezo Crystals) ของหัวฉีดแบบไพอิโซอิเล็กทริก (Piezoelectric Injector) ถูกวางเรียงซ้อนกัน 350 ชั้น รวมความยาว 30 mm ใช้แรงเคลื่อนไฟฟ้า 150 V เกิดแรงผลัก 2500 N สามารถยกเข็มหัวฉีดระยะทาง 40 micrometers (0.04 mm) ที่มีความดันเชื้อเพลิง 2000 bar ซึ่งสามารถฉีดเชื้อเพลิงปริมาตร 1 mm3 ต่อการยกเข็มหัวฉีด 1 ครั้ง (หัวฉีดแบบโซเลนอยด์ไม่สามารถยกเข็มหัวฉีดให้มีความถี่ 4-5 ครั้งต่อ 1 กลวัตรการทำงานของแต่ละสูบได้)
4. กรองเชื้อเพลิง (Fuel Filter)
กรองเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลระบบรางร่วมจะต้องเปลี่ยนตามอายุการใช้งานที่ 40,000 km จึงสมควรปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัดและไม่ควรใช้กรองเชื้อเพลิงของเทียม ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสียหายกับระบบเชื้อเพลิงได้ รถยนต์บางแบบจะมีหลอดไฟเตือนให้เปลี่ยนกรองเชื้อเพลิงเมื่อถึงระยะทาง 40,000 ก.ม.
หมายเหตุ คุณภาพของเชื้อเพลิงที่ต่ำเกินไปจากปั๊มน้ำมันที่ไม่ได้มาตรฐานหรือน้ำมันที่มีสารเจือปน (Solvent) จะเป็นอันตรายอย่างมากต่อเครื่องยนต์ระบบรางร่วม
ข้อมูลเสริมชื่อเรียกที่เป็นเครื่องหมายการค้าแทนเครื่องยนต์รางร่วมหรือคอมมอนเรล
ชื่อเรียกเครื่องยนต์รางร่วมหรือคอมมอนเรล ที่เป็นมาตรฐานสากลและเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด 3 ชื่อคือ Common Rail System (CRS), Common Rail Injection System (CRIS), Common Rail Diesel (CRD) แต่ในทางการตลาดของบริษัทรถยนต์จะต้องสร้างความแตกต่างเพื่อผลเชิงพาณิชย์จึงได้ตั้งชื่อเฉพาะของตนเองขึ้นมาใหม่ อย่างไรก็ตามบริษัทรถยนต์มิได้พัฒนาและผลิตอุปกรณ์ของรถยนต์เองทั้งหมดหากแต่ได้ร่วมทุนหรือซื้อเทคโนโลยีมาจากบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์รถยนต์เช่น Bosch ND Delphi AG เป็นต้น ผู้เขียนได้ลองสืบค้นชื่อเรียกของบริษัทต่างๆ มาให้อ่านเป็นความรู้เพิ่มเติมดังต่อไปนี้
Toyota D-4D Workshop Manual
ปี ค.ศ. 1990 พัฒนาต่อยอดสู่รถยนต์ญี่ปุ่นได้สำเร็จโดย Dr. Shohei Itoh and Masahiko Miyaki ของบริษัท Denso ใช้กับรถบรรทุก Hino ขายในปี ค.ศ. 1995
ปี ค.ศ. 1997 พัฒนาโดยบริษัท Bosch ใช้ระบบรางร่วมกับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลให้กับกลุ่มบริษัท Fiat Mercedes-Benz และ Alfa Romeo (คำว่า Common rail engines เป็นชื่อที่ Fiat ใช้เรียกเป็นบริษัทแรก)
สาเหตุและความสำคัญของเครื่องยนต์ดีเซลระบบรางร่วม
เครื่องยนต์ดีเซลระบบรางร่วมจัดอยู่ในประเภทหนึ่งของเครื่องยนต์ดีเซลหัวฉีดควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ คือ
1. เครื่องยนต์ดีเซลหัวฉีดควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ แบบหัวฉีดหน่วยเดียวกับปั๊ม (Unit Injector)
1.1 ระบบลูกเบี้ยว (PDE) เคยใช้กับเครื่องยนต์เรือขนาดใหญ่
1.2 ระบบรางร่วมน้ำมันเครื่อง (Oil Common Rail System) เคยใช้กับ Isuzu รุ่น Truper
2. เครื่องยนต์ดีเซลหัวฉีดควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ แบบระบบรางร่วม (Common Rail System) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ดีกว่าเครื่องยนต์ตามแบบที่ 1.1 และ 1.2
จากกฎหมายควบคุมมลพิษยูโรระดับ 3 (ล่าสุดบางประเทศเตรียมใช้กฎหมายควบคุมมลพิษยูโรระดับ 7) ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีของเครื่องยนต์ ทั้งนี้เพื่อให้สังคมในเมืองใหญ่ได้สัมผัสกับสภาวะแวดล้อมทางอากาศที่สะอาดขึ้น เทคโนโลยีใหม่ของเครื่องยนต์ดีเซลจึงต้องเป็นระบบรางร่วม
ในการลดมลพิษให้ต่ำลงได้มากๆ นั้นนอกจากจะต้องใช้เครื่องยนต์ระบบรางร่วมแล้วในส่วนของเครื่องยนต์ยังต้องออกแบบให้มีหลายลิ้น (Multi Valve) (เช่น 4 ลิ้น ต่อ 1 สูบ) พร้อมกับใช้ตัวอัดบรรจุอากาศเทอร์โบ เพื่อเพิ่มอากาศช่วยให้การเผาไหม้สมบูรณ์ขึ้น ลดเขม่าควันซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงดีเซล นอกจากนี้แล้วยังต้องมีระบบควบคุมแก๊สพิษ (Emission Control) อีก 2 ระบบเพื่อลดแก๊ส NOX คือต้องมี CAT (Catalytic Converter) หรือเครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา และต้องมี EGR (Exhaust Gas Recirculation) หรือการหมุนเวียนไอเสีย ดังนั้นถ้าอุด EGR และผ่า CAT ก็จะเกิดปัญหาต่อสภาวะแวดล้อมด้วยเช่นกัน
หลักการทำงานขั้นพื้นฐานของเครื่องยนต์ระบบรางร่วมเหมือนกันกับเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ แต่แตกต่างกันที่วิธีการควบคุมจังหวะและปริมาตรการฉีดเชื้อเพลิงโดยเครื่องยนต์ระบบรางร่วมใช้ความดันของเชื้อเพลิงสูงกว่าเครื่องยนต์ดีเซลธรรมดา (ปั๊มแบบจานจ่ายและแบบแถวเรียง) ประมาณ 7 เท่าขึ้นไป ความดันสูงสะสมอยู่ในรางร่วม มีหัวฉีดไฟฟ้าฉีดเชื้อเพลิงตามการสั่งการของหน่วยควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งทำให้การเผาไหม้เชื้อเพลิงมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ที่สุดคือมลพิษต่ำกว่า พลังงานมากกว่า และประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่าเครื่องยนต์ดีเซลระบบอื่น
รูปที่ 2 แสดงหลักการทำงานของเครื่องยนต์คอมมอนเรล (Common Rail Engine)
หลักการโดยสังเขปของเครื่องยนต์ดีเซลระบบรางร่วม
เชื้อเพลิง (น้ำมันดีเซล) ป้อนเข้าสู่ปั๊มซึ่งมีอยู่ 2 วิธีคือใช้ปั๊มไฟฟ้าจุ่มในถังเชื้อเพลิงดังในรูปที่ 2 (นิยมใช้กับรถยุโรป) กับแบบกลไกติดตั้งอยู่หน่วยเดียวกับปั๊มจ่ายเชื้อเพลิง (นิยมใช้กับรถกระบะในประเทศไทย) ปั๊มจ่ายเชื้อเพลิงหรือปั๊มความดันสูงควบคุมความดันด้วยลิ้นควบคุมความดันหรือลิ้นควบคุมการดูด (Suction Control Valve หรือ SCV) ความดันสูงนี้ถูกส่งไปเก็บสะสมยังท่อความดันสูง (High Pressure Vessel หรือรางร่วม Common Rail) ซึ่งมีรูปร่างอยู่ 2 แบบคือทรงกระบอกยาว (นิยมใช้กันมาก) กับแบบทรงกระบอกสั้น ดังนั้นหัวฉีดทุกหัวจึงมีความดันเชื้อเพลิงที่สูงมากเท่ากันทุกกระบอกสูบ รออยู่ที่ปลายหัวฉีดพร้อมตลอดเวลาสำหรับการฉีดให้เป็นฝอยละอองที่ละเอียดที่สุดผ่านรูเล็กๆ ของปลายหัวฉีดลงไปคลุกเคล้ากับอากาศที่ถูกอัดตัวจนมีความดันและอุณหภูมิที่สูงเหมาะสม ทั้งหมดควบคุมการทำงานโดยหน่วยควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ ECU (Electronic Control Unit) หรือ ECM (Electronic Control Module) ซึ่งจะรับสัญญาณต่างๆ เช่นสัญญาณตำแหน่งของลูกสูบ ความเร็วรอบ ตำแหน่งคันเร่ง อุณหภูมิน้ำ อุณหภูมิเชื้อเพลิง อุณหภูมิอากาศ ปริมาตรอากาศที่ประจุเข้า ความดันตัวอัดบรรจุอากาศเทอร์โบและความดันบรรยากาศ ความดันเชื้อเพลิง ความเร็วรถยนต์ ตำแหน่งเกียร์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น เมื่อ ECU (ที่มี CPU 16 - 32 บิต) ประมวลผลแล้วส่งสัญญาณการฉีดไปยังหน่วยส่งแรงขับหัวฉีดหรือ EDU (Electronic Drive Unit) (บางแบบ ECU และ EDU อยู่ในชุดเดียวกัน) เพื่อเพิ่มแรงเคลื่อนไฟฟ้าจาก 12 โวลต์เป็น 100 โวลต์ (บางแบบ 60 - 150 โวลต์ซึ่งแล้วแต่รุ่นของรถยนต์และแบบของหัวฉีด)
ข้อมูลทางเทคนิคเพิ่มเติมของเครื่องยนต์ดีเซลระบบรางร่วม
หมายเหตุ สำหรับค่ากำหนดที่จะยกตัวอย่างต่อไปนี้เป็นตัวอย่างสำหรับเครื่องยนต์ 4 สูบขนาดความจุกระบอกสูบ 2500 - 3000 cc
1. ปั๊มความดันสูง (High Pressure Pump) หรือปั๊มจ่ายเชื้อเพลิง (Supply Pump)
รูปที่ 3 ปั๊มความดันสูงหรือปั๊มจ่ายเชื้อเพลิงแบบต่างๆ ของเครื่องยนต์คอมมอนเรล
รูปที่ 4 แสดงการทำงานของปั๊มความดันสูงหรือปั๊มจ่ายเชื้อเพลิง ของเครื่องยนต์คอมมอนเรล
เชื้อเพลิงจากถังจะถูกป้อนเข้าปั๊มจ่ายเชื้อเพลิง ซึ่งปั๊มป้อนเชื้อเพลิงเป็นปั๊มความดันต่ำบางแบบอยู่หน่วยเดียวกับปั๊มจ่ายเชื้อเพลิง แต่บางแบบเป็นปั๊มไฟฟ้าจุ่มในถังเชื้อเพลิงตามรูปที่ 2
หลักการทำงานของปั๊มจ่ายเชื้อเพลิงจากรูปที่ 4 จะอาศัยกำลังขับของเฟืองไทมิ่งเพลาข้อเหวี่ยงทำให้เฟืองขับปั๊มจ่ายเชื้อเพลิงหมุน ลูกเบี้ยวเยื้องศูนย์อัดลูกปั๊มให้ทำงาน โดยปริมาตรการดูดเชื้อเพลิงที่เข้าปั๊มจ่ายเชื้อเพลิงนี้ถูกควบคุมด้วยลิ้นควบคุมการดูด (Suction Control Valve หรือ SCV) แล้วจากนั้นลูกปั๊มจะถูกอัดกระแทกจากลูกเบี้ยวเยื้องศูนย์ให้อัดเชื้อเพลิงออกทางลิ้นกันกลับด้านส่ง จ่ายเชื้อเพลิงความดันสูงไปสะสมยังรางร่วม (Common Rail)
เครื่องยนต์ระบบรางร่วมรุ่นที่ 1 ใช้ความดันสูงสุด 1350 bar (บางรุ่นขณะเดินเบาอยู่ที่ 30 bar)
เครื่องยนต์ระบบรางร่วมรุ่นที่ 2 (เริ่มปี ค.ศ. 2001) ใช้ความดันสูงสุด 1600 - 1800 bar
เครื่องยนต์ระบบรางร่วมรุ่นที่ 3 (เริ่มปี ค.ศ. 2003) ใช้ความดันสูงสุด 2000 bar
อนึ่งในปี ค.ศ. 2014 บางประเทศที่เจริญแล้วในยุโรปจะใช้กฎหมายควบคุมมลพิษยูโรระดับ 6 ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์จะต้องพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลให้มีแก๊สพิษต่ำลงไปอีก ซึ่งจะใช้ระบบรางร่วมรุ่นที่ 4 ที่มีความดันสูงสุดถึง 3000 bar จังหวะการฉีดเชื้อเพลิงอาจถึง 7 ครั้งต่อ 1 กลวัตรการทำงานของแต่ละสูบ
2. รางร่วม (Common Rail)
รางร่วมหมายถึงท่อร่วมเชื้อเพลิง เป็นท่อหรือห้องสะสมความดันเพื่อจ่ายเชื้อเพลิงไปยังหัวฉีดสูบแต่ละสูบผ่านทางท่อฉีดเชื้อเพลิง (Injection Pipe) และที่ปลายด้านหนึ่งของรางร่วมจะมีตัวจำกัดความดัน (Pressure Limiter) เพื่อป้องกันมิให้ความดันเชื้อเพลิงมีค่าสูงเกินกว่าที่กำหนดไว้สูงสุด บางแบบมีลิ้นควบคุมการระบายความดัน (Pressure Discharge Valve หรือ Pressure Relief Valve) High Pressure Vessel หรือ Common Rail มี 2 แบบคือแบบทรงกระบอกยาว (นิยมใช้เป็นส่วนใหญ่) กับแบบทรงกระบอกสั้น ดังแสดงในรูปที่ 5
รูปที่ 5 แบบของ High Pressure Vessel หรือ Common Rail ของเครื่องยนต์คอมมอนเรล
3. หัวฉีด (Injector)
หลักการทำงานของหัวฉีดคือขณะที่ยังไม่ฉีดเชื้อเพลิงในตำแหน่งนี้ลิ้นโซเลนอยด์จะปิดช่องทางของห้องควบคุมความดันสูงของเชื้อเพลิงเข้ากระทำตามลูกศรซึ่งจะมีพื้นที่หน้าตัดมากกว่าห้องความดันที่ด้านล่างของเข็มหัวฉีด (Nozzle Needle) ดังนั้นตรงหน้าลิ้นของเข็มหัวฉีดจึงถูกกดให้อยู่ในตำแหน่งปิดสนิท เชื้อเพลิงความดันสูงไม่อาจรั่วออกไปจากปลายหัวฉีดได้ ในขณะที่มีสัญญาณการฉีดจาก ECU ส่งไปยังหน่วยส่งแรงขับด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (EDU) แรงเคลื่อนสูง (ประมาณ 100 V ) จะไหลผ่านเข้าขดลวดโซเลนอยด์ของหัวฉีดครบวงจร ซึ่งจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กเอาชนะแรงของสปริงที่กดอยู่ด้านบนของลิ้นโซเลนอยด์ ลิ้นโซเลนอยด์จึงยกขึ้น เปิดช่องทางของห้องควบคุมทำให้ความดันในห้องควบคุมตกเกือบเป็นศูนย์ (เชื้อเพลิงความดันสูงจากรางร่วมถูกกีดขวางระหว่างห้องความดันโดยรูเล็กหรือ Orifice) ดังนั้นความดันเชื้อเพลิงที่ด้านล่างของเข็มหัวฉีดจะยกเข็มหัวฉีดเปิดช่องทางให้เชื้อเพลิงไหลผ่านลิ้นหัวฉีดผ่านรูหัวฉีด (หลายรู) ให้เป็นฝอยละอองดังแสดงการทำงานในรูปที่ 6
รูปที่ 6 แสดงหลักการทำงานของหัวฉีด (แบบโซเลนอยด์) ในเครื่องยนต์คอมมอนเรล
(มีจังหวะการฉีด 2 ครั้ง คือฉีดนำร่องและฉีดหลัก)
(มีจังหวะการฉีด 2 ครั้ง คือฉีดนำร่องและฉีดหลัก)
จำนวนรูหัวฉีดมี 6 - 8 รู (หัวฉีดไพอิโซอิเล็กทริกรุ่นล่าสุดบางรุ่นมีรูจำนวน 10 รู และระบบรางร่วมรุ่นที่ 4 ในปี ค.ศ. 2014 หัวฉีดอาจมี 11 รู)
หัวฉีดมีรูโต 0.13 - 0.147 mm (รุ่น 8 รู แต่ละรูโต 0.0876 mm) ปริมาตรการฉีดเชื้อเพลิงขณะเดินเบา เมื่อเครื่องยนต์ร้อนประมาณ 3 – 4 mm3/Stroke
หน่วยขับหัวฉีดหรือหน่วยส่งแรงขับด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Driver Unit หรือ EDU) ส่งแรงเคลื่อนไฟฟ้าเปิดหัวฉีด 60 - 150 V
จังหวะการฉีดเชื้อเพลิงขณะเดินเบาบางรุ่นเริ่มฉีดหลังศูนย์ตายบน 2 องศา และที่ 3,000 rpm ไม่มีภาระจะเริ่มฉีดก่อนศูนย์ตายบน 1 ถึง 4 องศา
เครื่องยนต์ระบบรางร่วมรุ่นที่ 1 - 2 มีจังหวะการฉีด 2 จังหวะ คือการฉีดนำร่อง (Pilot Injection) ระยะเวลาการฉีดประมาณ 0.5 – 0.6 ms และการฉีดหลัก (Main Injection) มีระยะเวลาประมาณ 0.7 – 0.9 ms เครื่องยนต์ระบบรางร่วมรุ่นที่ 3 จะมีการฉีด 5 ครั้ง แต่ละครั้งจะมีระยะเวลาการฉีดเชื้อเพลิงประมาณ 0.1 - 0.2 ms การฉีดหลายครั้งเรียกว่า Multiple Injection การฉีดครั้งที่ 1 เรียกว่าการฉีดนำร่อง (Pilot Injection) การฉีดครั้งที่ 2 เรียกว่าการฉีดก่อน (Pre Injection) การฉีดครั้งที่ 3 เรียกว่าการฉีดหลัก (Main Injection) การฉีดครั้งที่ 4 เรียกว่าการฉีดภายหลัง (After Injection) และการฉีดสุดท้ายครั้งที่ 5 เรียกว่าการฉีดตามหลัง (Post Injection) อนึ่งผู้เขียนเคยทราบข้อมูลมาว่าที่ประเทศเยอรมันได้มีการทดลองการฉีดเชื้อเพลิง 9 ครั้ง
หัวฉีดมี 2 แบบคือหัวฉีดลิ้นโซเลนอยด์ (Solenoid Injector) และแบบใหม่ซึ่งใช้กับเครื่องยนต์ระบบรางร่วมรุ่นที่ 3 คือหัวฉีดไพอิโซอิเล็กทริก (Piezo Injector หรือ Piezoelectric Injector)
รูปที่ 7 แบบของหัวฉีดในเครื่องยนต์คอมมอนเรล
หมายเหตุ ผู้เขียนได้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากสิทธิบัตรสรุปได้ว่าผลึกแร่ไพอิโซ (Piezo Crystals) ของหัวฉีดแบบไพอิโซอิเล็กทริก (Piezoelectric Injector) ถูกวางเรียงซ้อนกัน 350 ชั้น รวมความยาว 30 mm ใช้แรงเคลื่อนไฟฟ้า 150 V เกิดแรงผลัก 2500 N สามารถยกเข็มหัวฉีดระยะทาง 40 micrometers (0.04 mm) ที่มีความดันเชื้อเพลิง 2000 bar ซึ่งสามารถฉีดเชื้อเพลิงปริมาตร 1 mm3 ต่อการยกเข็มหัวฉีด 1 ครั้ง (หัวฉีดแบบโซเลนอยด์ไม่สามารถยกเข็มหัวฉีดให้มีความถี่ 4-5 ครั้งต่อ 1 กลวัตรการทำงานของแต่ละสูบได้)
กรองเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลระบบรางร่วมจะต้องเปลี่ยนตามอายุการใช้งานที่ 40,000 km จึงสมควรปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัดและไม่ควรใช้กรองเชื้อเพลิงของเทียม ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสียหายกับระบบเชื้อเพลิงได้ รถยนต์บางแบบจะมีหลอดไฟเตือนให้เปลี่ยนกรองเชื้อเพลิงเมื่อถึงระยะทาง 40,000 ก.ม.
หมายเหตุ คุณภาพของเชื้อเพลิงที่ต่ำเกินไปจากปั๊มน้ำมันที่ไม่ได้มาตรฐานหรือน้ำมันที่มีสารเจือปน (Solvent) จะเป็นอันตรายอย่างมากต่อเครื่องยนต์ระบบรางร่วม
ข้อมูลเสริมชื่อเรียกที่เป็นเครื่องหมายการค้าแทนเครื่องยนต์รางร่วมหรือคอมมอนเรล
ชื่อเรียกเครื่องยนต์รางร่วมหรือคอมมอนเรล ที่เป็นมาตรฐานสากลและเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด 3 ชื่อคือ Common Rail System (CRS), Common Rail Injection System (CRIS), Common Rail Diesel (CRD) แต่ในทางการตลาดของบริษัทรถยนต์จะต้องสร้างความแตกต่างเพื่อผลเชิงพาณิชย์จึงได้ตั้งชื่อเฉพาะของตนเองขึ้นมาใหม่ อย่างไรก็ตามบริษัทรถยนต์มิได้พัฒนาและผลิตอุปกรณ์ของรถยนต์เองทั้งหมดหากแต่ได้ร่วมทุนหรือซื้อเทคโนโลยีมาจากบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์รถยนต์เช่น Bosch ND Delphi AG เป็นต้น ผู้เขียนได้ลองสืบค้นชื่อเรียกของบริษัทต่างๆ มาให้อ่านเป็นความรู้เพิ่มเติมดังต่อไปนี้
รถยนต์
|
ชื่อย่อทางการค้า
|
ชื่อเต็ม
|
Daimler (Mercedes-Benz), Chrysler
|
CDI, CRD
|
Common-rail Direct Injection
Common Rail Diesel |
Chevrolet
|
VCDi
|
Variable geometry turbocharger
Common rail Direct Injection |
Fiat Group (Fiat, Alfa Romeo and Lancia)
|
JTD, MultiJet, JTDm, Ecotec CDTi, TiD, TTiD, DDiS, Quadra-Jet
|
uniJet Turbo Diesel
|
Ford
|
TDCi
|
Turbo Diesel Common rail Injection
|
Toyota
|
D-4D, D-Cat
|
Direct injection-4 stroke common rail Diesel engine
|
Nissan, Renault
|
dCi
|
Direct Common-rail Injection
|
Opel
|
CDTI
|
Common rail Diesel Turbo Injection
|
Cummins
|
CCR
|
Cummins Common Rail
|
Cummins and Scania
|
XPI
|
Xtra high Pressure Injection
|
Peugeot, Citroën
|
HDI, HDi
|
High-pressure Direct Injection
|
Isuzu
|
iTEQ
|
Intelligent-Technology
|
Honda
|
i-CTDi , i-DTEC
|
Intelligent Common rail Turbocharged Direct injection
|
Hyundai, Kia
|
CRDi
|
Common Rail Direct Injection
|
Mitsubishi
|
DI-D
|
Direct Injection-hyper common rail Diesel
|
Tata
|
DICOR
|
Direct Injection COmmon Rail diesel
|
Volkswagen, Seat, Skoda, Audi
|
TDI
|
Turbocharged Direct Injection
|
Mazda
|
CD
|
Common rail Diesel
|
Proton
|
SCDi
|
Super Common rail Direct Injection
|
คลิปที่ 1 การทำงานของเครื่องยนต์แบบรางร่วม (Audi common rail engine)
ขอขอบคุณ ภาพเคลื่อนไหวจาก https://www.youtube.com/watch?v=d_LahS5T3DM
คลิปที่ 1 สัญญาณต่างๆ ของเครื่องยนต์แบบรางร่วม (Toyota common rail engine)
ขอขอบคุณ ภาพเคลื่อนไหวจาก https://www.youtube.com/watch?v=jWv5gYWvXaY
แหล่งที่มาของข้อมูลอ้างอิงจาำกหนังสือและเว็บไซต์ดังต่อไปนี้
Automotive Handbook - 8th EditionToyota D-4D Workshop Manual
http://www.bosch-automotivetechnology.us/en
http://delphi.com/
http://www.google.com/patents
http://www.dieselnet.com
http://www.kfz-tech.de/Engl/
http://en.wikipedia.org/wiki/
http://www.autospeed.com/
http://www.autoyim.com/
http://www.caranddriver.com/
http;/www.delphi.com.
http://www.car-engineer.com/
http://video.clip4play.com/
http://clip.hmongtop.com/
http://delphi.com/
http://www.google.com/patents
http://www.dieselnet.com
http://www.kfz-tech.de/Engl/
http://en.wikipedia.org/wiki/
http://www.autospeed.com/
http://www.autoyim.com/
http://www.caranddriver.com/
http;/www.delphi.com.
http://www.car-engineer.com/
http://video.clip4play.com/
http://clip.hmongtop.com/
ป้ายกำกับ:
คอมมอนเรล,
เครื่องยนต์คอมมอนเรล,
รางร่วม,
Common Rail,
Common Rail Engine
หมวดหมู่ยานยนต์
- 014 Chevrolet Silverado HD (1)
- 10 เคล็ดลับขับปลอดภัยเมื่อน้ำท่วม (1)
- 2014 Volvo S80 (1)
- 2015 Lincoln MKC crossover (1)
- 2015 Volvo S60 T6 (1)
- 2015 Volvo V40 (1)
- 2016 Chevrolet (1)
- 2016Chevrolet Colorado (1)
- 2016 Toyota Fortuner (1)
- 2018 Mazda CX-5 (1)
- 2018 Toyota Rush (2)
- 2 Stroke Engine (1)
- 5 ประตู (6)
- กระบวนการผลิต (19)
- กระบอกสูบ (1)
- กราฟกำลัง (1)
- กราฟแรงบิด (1)
- ก้านสูบ (1)
- การขับรถอย่างปลอดภัย (1)
- การใช้ไฟอย่างถูกต้อง เมื่อฝนตกหนัก (1)
- การดูแลรักษารถด้วยตนเอง (2)
- การเติมลม (1)
- การเติมลม กับ ล้อแม็กซ์ (1)
- การถ่วงล้อ (1)
- การบำรุงรักษา (4)
- การบำรุงรักษาและตรวจเช็คประจำวันรถยนต์คู่ใจ ควรทำอย่างไร (1)
- การปลี่ยนขนาด ยางรถยนต์ (1)
- การเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกลของเครื่องยนต์ (1)
- การเผาไหม้ (11)
- การเผ่าไหม้ (1)
- การวิเคราะห์ปัญหาเครื่องยนต์ (1)
- การหยุดรถ และการจอดรถ (1)
- การออกแบบ (10)
- แก๊สโซลีน (3)
- ข้อควรปฏิบัติทั่วไป ในการใช้รถยนต์ (1)
- ข้อควรปฏิบัติ เมื่อการขับขี่ในพื้นที่ลักษณะต่างๆ (1)
- ขับเคลื่อน (13)
- ขับอย่างไรเพื่อยืดอายุยาง (1)
- ข่าวยานยนต์ (4)
- ควรจะทำอย่างไรเมื่อยางรถระเบิดขณะขับรถอยู่ (1)
- คว้านเสื้อสูบ (2)
- ความรู้ (3)
- คอมมอนเรล (1)
- คอยล์จุดระเบิด (8)
- คำศัพท์น่ารู้ (1)
- เครื่องมือ (1)
- เครื่องยนต์ (64)
- เครื่องยนต์ 2 จังหวะ (1)
- เครื่องยนต์ 4 จังหวะ (1)
- เครื่องยนต์คอมมอนเรล (1)
- เครื่องยนต์ดีเซล (3)
- เครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร (1)
- เครื่องยนต์ดีเซลตระกูล GD รุ่นใหม่ (1)
- เครื่องยนต์เบนซิน (1)
- เครื่องยนต์แบบโรตารี่ (1)
- เครื่องยนต์ร้อนแล้วดับ สตาร์ทติดยาก เกิดจากสาเหตุใด และแก้ไขอย่างไร (1)
- เครื่องยนต์เล็ก (2)
- เครื่องยนต์สตาร์ทติดยากตอนอากาศชื้นเกิดจากอะไร ? (1)
- เครื่องยนต์สันดาปภายใน (3)
- เครื่องยนต์หัวฉีด (1)
- เครื่องยนต์ EFI (2)
- เครื่องยนต์V8 (1)
- เคล็ดลับ (2)
- จอดรถให้ปลอดภัย (1)
- จักรยานยนต์ (1)
- จังหวะการฉีดเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ EFI (1)
- ชิ้นส่วนยานยนต์ (1)
- ชื่อชิ้นส่วนเครื่องยนต์ภาษาไทย และอังกฤษพร้อมรูป คลิปวีดีโอ (1)
- เชฟโรเลต (1)
- เชฟโรเลต โคโลราโด 2015 (1)
- โช๊คอัพ (5)
- ซ่อม (21)
- ซ่อมเครื่องยนต์ (7)
- ซ่อมบำรุง (6)
- ซุปเปอร์คาร์ (3)
- ซูซุูกิ (2)
- ซูซูกิ ไฮบริด (1)
- โซลินอย (1)
- ดัดแปลง (3)
- ไดชาร์จ (2)
- ไดร์สตาร์ท (10)
- ไดสตาร์ท (12)
- ตรวจสอบเครื่องยนต์ (1)
- ตลับลูกปืน (2)
- ตัวอักษรบนยาง บอกอะไร? (1)
- ตีปลอก (1)
- โตโยต้า (21)
- โตโยต้า 2015 (1)
- ถุงลมนิรภัย (1)
- ที่นั่งเด็ก (5)
- เทคนิคการขับรถป้องกันเชิงอุบัติเหตุ (1)
- เทคนิคการใช้รถและการดูแลรถอย่างง่ายๆ (1)
- เทคโนโลยียานยนต์ (53)
- เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ (8)
- เทอร์โบ (1)
- เทอร์โบแปรผัน (7)
- น้ำมันเชื้อเพลิง (14)
- น้ำมันดีเซล (6)
- น้ำมันเบนซิน (4)
- นิตยสาร (3)
- นิสสัน (11)
- บำรุงรักษาเครื่องยนต์ (1)
- บีเอ็มดับเบิ้ลยู (1)
- เบรค (22)
- เบาะรถยนต์ (5)
- เบาะสำหรับเด็ก (5)
- แบตเตอรี่ (3)
- แบรนด์รถยนต์ (1)
- แบริ่ง (1)
- ไบโอดีเซล (2)
- ประกอบเครื่องยนต์ (5)
- ประกอบรถยนต์ (13)
- ประดับยนต์ (5)
- ประเภทรถยนต์ (1)
- ปอร์เช่ (2)
- ปัญหารถยนต์ (1)
- ปาเจโร สปอร์ต ใหม่ 2015 (1)
- ปิกอัพ (4)
- ปี2017 (3)
- เปลี่ยนอะไหล่ (3)
- ผลิตรถยนต์ (16)
- แผนภาพจังหวะการเปิดของลิ้น (Valve Timing Diagram) เครื่องยนต์ 4 สูบ และ 6 สูบ (1)
- แผนภาพต้นกำลังงานของรถยนต์ (1)
- ฝาสูบ (4)
- พจนานุกรมศัพท์ยานยนต์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒ (1)
- พูเล่ (1)
- เพลาข้อเหวี่ยง (1)
- เพลาท้าย (2)
- ฟอร์ด (1)
- ฟิล์มกรองแสง ติดดี หรือ ไม่ติดดี มีประโยชน์อย่างไร วันนี้ทีคำตอบ (1)
- เฟอรารี่ (3)
- เฟืองท้าย (14)
- ไฟฉุกเฉิน ไม่จำเป็นและไร้สาระ (1)
- ไฟฟ้ารถยนต์ (24)
- ภาพโครงสร้างเครื่องยนต์ EFI (1)
- ภาพรวมรถยนต์ (9)
- มาสด้า (3)
- มิตซูบิชิ (6)
- มินิ (2)
- โมเดลรถยนต์ (3)
- ยนตกรรม (1)
- ยานยนต์ อุตสาหกรรม (26)
- ยาริส (15)
- รถกระบะ (9)
- รถกระบะ Revo (1)
- รถเก๋ง (51)
- รถแข่ง (2)
- รถจิ๊บ (1)
- รถเบนซ์ (19)
- รถยก (27)
- รถยก อุตสาหกรรม (26)
- รถยก อุตสาหกรรมม (1)
- รถยนต์ (3)
- รถยนต์ไฟฟ้า (4)
- รถรุ่นเก่า (1)
- รถศูนย์ (16)
- รถสปอร์ต (10)
- รถหรู (1)
- รถใหม่ (41)
- ระบบขับอัตโนมัติ (1)
- ระบบความร้อน (2)
- ระบบจุดระเบิด (10)
- ระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน (Gasoline Fuel Injection System) (1)
- ระบบช่วงล่าง (27)
- ระบบเบรค (22)
- ระบบไฟฟ้า (14)
- ระบบรองรับ (5)
- ระบบระบายความร้อน (6)
- ระบบลม (3)
- ระบบส่งกำลัง (1)
- ระบบหล่อเย็น (2)
- ระบบหัวฉีด (1)
- ระบบห้ามล้อ (14)
- ระบบ Hybrid (1)
- ราคารถยนต์ (5)
- รางร่วม (1)
- รีเลย์ (6)
- รีวิว (15)
- รีวิวรถยนต์ (11)
- รู้ไว้ก่อน : การเปลี่ยนขนาดยาง (1)
- เรื่อง น้ำมันเครื่อง (1)
- โรงงานผลิตรถยนต์ (13)
- ล้อตุนกำลัง (1)
- ลักษณะดอก ยางรถยนต์ (1)
- ลากรถอย่างไรเมื่อรถเสีย (1)
- ลำดับการจุดระเบิด (1)
- ลูกปืนกลม (1)
- ลูกสูบ (3)
- วงจรไฟฟ้า (7)
- วงจรไฟฟ้าเครื่องยนต์หัวฉีด ECCS Nissan RB20E (1)
- วงจรไฟฟ้าเครื่องยนต์หัวฉีด ECI-multi Mitsubishi 4G61 (1)
- วงจรไฟฟ้าเครื่องยนต์หัวฉีด EFI เครื่องยนต์ Toyota 4A-GE (1)
- วงจรไฟฟ้าเครื่องยนต์หัวฉีด Honda B16A VTEC DOHC รุ่นแรก (1)
- วิชาช่างยนต์ (10)
- วี8 (1)
- สเปกรถยนต์ (5)
- สร้างเครื่องยนต์ (1)
- สร้างโมเดลรถยนต์ (1)
- สายพานเครื่องยนต์ (2)
- สีรถ (8)
- เสื้อสูบ (5)
- หนังสือรถยนต์ (7)
- หม้อน้ำ (2)
- หลักการทำงาน (2)
- หลักการทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ (1)
- หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ (1)
- หัวเทียน (24)
- ห้ามล้อ (14)
- แหวนลูกสูบ (1)
- องค์ประกอบการสันดาปของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน (1)
- ออกแบบรถยนต์ (22)
- อะไหล่เครื่องยนต์ (3)
- อะไหล่ยนต์ (1)
- อัตราค่าปรับ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 (1)
- อัตราส่วนผสมอากาศต่อเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน (1)
- อาการหัวเทียน (12)
- อินเตอร์คูลเลอร์ (6)
- อีโก้คาร์ (5)
- อุตสาหกรรม รถยก (27)
- อุปกรณ์เสริม (6)
- แอร์เริ่มไม่เย็น และส่งกลิ่นอับเวลาเปิดแอร์ใหม่ ควรทำอย่างไร ? (1)
- ไอดี (3)
- ไอเสีย (6)
- ฮอนด้า (6)
- ฮอนด้า แอคคอร์ด ไฮบริด (2)
- Accessories (5)
- All New toyota yaris 2013 2014 (1)
- Alternator (1)
- alternators (1)
- Ativ (7)
- Audi (2)
- Audi A4 (1)
- Automatic drive (1)
- Ball Bearing (1)
- bearing (1)
- biodiesel (2)
- BMW (4)
- Brake (23)
- Brake system (23)
- BT-50 (1)
- Car Family (1)
- Cars (61)
- CAT (Catalytic Converter) เครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา (1)
- Check Engine (1)
- Chevrolet (1)
- CHEVROLET COLORADO (2)
- Colorado (1)
- commonrail (1)
- Common Rail (1)
- Common Rail Engine (1)
- Concept Car (1)
- Connecting rod (1)
- Crankshaft (1)
- Cylinder head (1)
- Diesel Engine (3)
- Diesel fuel (6)
- differential (12)
- DIY (8)
- DURAMAX ENGINE (1)
- DURAMAX VIN CHART (1)
- ECCS (1)
- EFI (1)
- EGR (Exhaust Gas Recirculation) หรือการหมุนเวียนไอเสีย (1)
- Electric car (4)
- Electric cars (4)
- Electronic Fuel Injection Engine (1)
- Engine (37)
- Engine Block (1)
- Engine Curve (1)
- Ferrari (3)
- Flywheel (1)
- Ford (4)
- Ford Ranger (2)
- Fuel (14)
- gasoline (3)
- Gasoline engine (1)
- General Motors (2)
- GMC Canyon (1)
- Honda (11)
- Honda Accord (1)
- HONDA ACCORD HYBRID ใหม่ (1)
- Honda CR-V 2015 (1)
- Honda HR-V (1)
- Honda HRV 2015 (1)
- Honda Jazz (1)
- Honda Vezel (1)
- Hydrogen cars (1)
- i-DTEC (1)
- Ignition Coil (8)
- Ignition System (1)
- i-MMD (1)
- Intercooler (6)
- internal combustion engine (3)
- Jeeb (1)
- lamborghini (4)
- Lamborghini Revuelto (2)
- Mazda (4)
- Mercedes Benz (21)
- Mini (2)
- MINI Cooper (2)
- Mitsubishi (9)
- Mustang (1)
- Navara (2)
- NGV (1)
- Nissan (11)
- nissan np300 navara (1)
- NP300 (1)
- NP300 NAVARA Single Cab (1)
- pickup (6)
- pickup truck. (5)
- Piston (3)
- Piston Ring (1)
- Porsche (2)
- Port Timing Diagram ของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ (1)
- Ranger (1)
- Rear axle (1)
- Relay (6)
- Revuelto (1)
- Rotary Engine (1)
- S60 (1)
- S90 (1)
- SEAT (1)
- Self Diagnosis System (1)
- Shock Absorbers (5)
- SKODA (1)
- SKYACTIV-D เครื่องยนต์สกายแอคทีฟคลีนดีเซล (1)
- solenoid (4)
- Spark Plugs (20)
- Starter (6)
- Supper Car (4)
- Suspension System (3)
- Suzuki (2)
- TCCS (1)
- Tesla Model X (1)
- TOYOTA (29)
- Toyota และ Lexus (1)
- Toyota Hilux Revo (1)
- Triton (1)
- V60 (1)
- Ⅴ8 (1)
- Variable Nozzle Turbo (2)
- VGT (5)
- Volkswagen (1)
- Volvo (4)
- Volvo purchased the Polestar brand (1)
- Volvo S90 (1)
- Wankel Engine (1)
- XC90 (1)
- Yaris (15)