Custom Search
donate car tax deduction | donate car to charity | donate car to charity california | donate car to charity los angeles | donate car without title | donate cars for kids | donate my car | donate my car to charity | donate your car | donate your car bay area | donate your car california | donate your car for kids | donate your car in maryland | donate your car nyc | donate your car tax deduction | donate your car to charity
รauto donation charities | best car donation program | best charity car donation program | best place to donate car | best place to donate car for tax deduction | california car donation | california donate car | car donation | car donation bay area | car donation ca | car donation california | car donation dc | car donation deduction | car donation in california |

การทดสอบประกายไฟจุดระเบิดของหัวเทียนทั้ง 4 หัว ด้วยอุปกรณ์ประดิษฐ์เอง | spark tester DIY



สาธิตการทำสอบการจุดระเบิดของหัวเทียน  ด้วยอุปกรณ์สร้างเอง สำหรับทดสอบการเกิดประกายไฟที่เขี้ยวหัวเทียนที่ 4 หัว โดยการใช้วงจรแบบต่อตรง

การต่อวงจรจุดประกายไฟที่เขี้ยวหัวเที่ยน | Simple Plasma Ignition - Cable Comparison


ตัวอย่างการเอาอุปกรณ์ไฟฟ้าจุดระเบิตของเครื่องยนต์ มาต่อพ่วงวงจรใหม่ภายนอก เพื่อเป็นการทดสอบการจุดประกายไฟแรงดันสูงที่เขี้ยวของหัวเทียน 2 อัน 

หลักการทำงานของหัวเทียน | How Pulstar Spark Plugs Work



การอธิบายหลักการทำงานของหัวเทียนในระบบจุดระเบิดของเครื่องยนต์เบนซิน

หลักการเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน | อธิบายหลักการและหน้าที่อย่างละเอียด

หลักการเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน

หลักการเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในของเครื่องยนต์ลูกสูบ ถ้าคุณใส่น้ำมันเชื้อเพลิงเล็กน้อย ลงในกระป๋องเล็ก ๆ ปิดฝา และจุดไฟใส่ในกระป๋อง ผลก็คือเกิดการระเบิดของน้ำมันเชื้อเพลิงในกระป๋อง การระเบิดคือการขยายตัวอย่างรุนแรงของเชื้อเพลิง มันเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ที่สามารถนำประโยชน์มาประยุกต์สร้างเครื่องยนต์ ถ้าคุณสามารถทำให้มันเกิดการระเบิดอย่างเป็นวัฏจักรได้ ให้มันเกิดการระเบิดหลาย ๆ ครั้งเช่น 100 ครั้งต่อนาที และถ้าคุณสามารถควบคุมพลังงานที่ออกมาได้นี้มาเป็นแรงในการหมุนของล้อได้ นี้ก็จะเป็นแก่นเนื้อหาของเครื่องยนต์ในรถยนต์

รถยนต์ในปัจจุบันเกือบทั้งหมดจะใช้ เครื่องยนต์วัฏจักรการทำงานแบบ 4 จังหวะ ที่เปลี่ยนพลังงานการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงไปเป็นการเคลื่อนที่ วัฏจักรการทำงาน 4 จังหวะนี้ เราจะรู้จักรกันในชื่อของ “วัฏจักรออตโต (Otto cycle)” เพื่อเป็นเกียรติแก่ นิโคลัส ออตโต ผู้ที่ประดิษฐ์เครื่องยนต์ประเภทนี้สำเร็จในปี พ.ศ. 2410

วัฏจักรออตโต เครื่องยนต์หมุน 2 รอบ จะได้งาน 1 ครั้ง ขั้นตอนจะมีดังนี้
วิดีโอการทำงานเครื่องยนต์วัฏจักรออตโต 4 จังหวะ

1.จังหวะดูด (Intake) ลูกสูบเริ่มต้นที่จุดสูงสุด เลื่อนลงมาขณะเดียวกันวาล์วไอดี (Intake valve) จะเปิด และวาล์วไอเสีย (Exhaust valve) ปิด ดูดส่วนผสมเชื้อเพลิง และอากาศที่เรียกว่า “ไอดี” เข้ามาในกระบอกสูบ ลูกสูบจะเลื่อนลงจนถึงจุดต่ำสุด นี้คือจังหวะดูด

2.จังหวะอัด (Compression) ลูกสูบเคลื่อนที่จากจุดต่ำสุดขึ้นไป วาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย จะไม่เปิด ลูกสูบเลื่อนขึ้นจนถึงจุดสูงสุดเพื่อทำการอัดส่วนผสมไอดีให้มีปริมาตรที่เล็กลง และจะเกิดความดันภายในห้องเผาไหม้จากการอัด นี้คือจังหวะอัด


3.จังหวะระเบิด, ได้งาน (Combustion) หรือจังหวะเผาไหม้ เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นสูงสุดแล้ว วาล์วไอดี และไอเสียยังปิดอยู่ หัวเทียนจะทำการจุดระเบิดไอดีที่มีความดันเกิดจากจังหวะอัด เกิดการระเบิดภายในห้องเผาไหม้อย่างรุนแรง ถีบให้ลูกสูบเลื่อนลง จังหวะนี้คือจังหวะที่นำไปใช้งานในการเคลื่อนที่ของรถยนต์ เป็นจังหวะเดียวที่ได้งานในจำนวน 4 จังหวะ

4.จังหวะคายไอเสีย (Exhaust) ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้น ขณะเดียวกันวาล์วไอเสียจะเปิด ขับไล่ไอเสียออกจากกระบอกสูบ วาล์วไอดียังคงปิดอยู่ นี้คือจังหวะคาย



เมื่อทำงานถึงวัฏจักรที่ 4 ต่อไปก็จะ วนกลับมาทำงานในวัฏจักรที่ 1 ต่อไปวนเวียนเช่นนี้จนกระทั่งดับเครื่องยนต์

ลูกสูบ (Piston) ที่อยู่ในกระบอกสูบ (Cylinder) ลูกสูบจะวิ่งขึ้นลงทำงาน จะต่อกับเพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft) โดยมีตัวเชื่อมต่อคือ ก้านสูบ (Connecting rod) เพลาข้อเหวี่ยงจะทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงพลังงานจากการระเบิด ไปเป็น การหมุน (พลังงานความร้อน ไปเป็น พลังงานกล)

ข้อน่าสังเกต การเคลื่อนที่ของลูกสูบภายในกระบอกสูบเป็นการเคลื่อนที่ขึ้นลง เป็นเส้นตรง แต่จะถูกแปลงไปเป็นการหมุนโดยมีเพลาข้อเหวี่ยงเป็นตัวแปลงให้เป็นการหมุนของเพลา เพื่อขับเคลื่อนยานยนต์

แอนิเมชั่นภาพเคลื่อนไหวแบบจำลองการทำงานของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ | How 2 Stroke Engine Works

แสดงหลักการทำงานการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ ด้วยรูปแบบการอธิบายเพิ่มความเข้าใจยิ่งขึ้นจากภาพเคลื่อนไหว แอนิเมชั่น 2 มิติ  

หลักการของเครื่องยนต์สันดาปภายในด้วยรูปแบบการ์ตูน | The Internal Combustion Engine Animation

จังหวะดูด

จังหวะอัด

จังหวะระเบิด

จังหวะคาย
การ์ตูนแอนิเมชั่นอธิบายหลักการทฤษฎีของการเผาไหม้ของเครื่องยนต์สันดาปภายใน ให้สำหรับผู้เรียนได้เข้าใจหน้าที่และการทำงานชัดเจนขึ้น


เครื่องยนต์สันดาปภายใน เป็นอย่างไร ? | ความหมายและหลักการโดยย่อ

เครื่องยนต์สันดาปภายใน (อังกฤษ: internal combustion engine) เป็นเครื่องยนต์ซึ่งการสันดาปของเชื้อเพลิง (มักเป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์) เกิดขึ้นกับตัวออกซิไดซ์ (มักเป็นอากาศ) ในห้องเผาไหม้ ในเครื่องยนต์สันดาปภายใน การขยายตัวของแก๊สอุณหภูมิและความดันสูงเกิดขึ้นจากการสันดาปทำให้เกิดแรงโดยตรงแก่บางส่วนประกอบของเครื่องยนต์ แรงนี้ตามแบบนำไปใช้กับลูกสูบ ใบพัดเทอร์ไบน์ หรือหัวฉีด แรงนี้เคลื่อนส่วนประกอบไประยะหนึ่ง โดยการเปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานกลที่มีประโยชน์

คำว่า เครื่องยนต์สันดาปภายใน มักหมายถึง เครื่องยนต์ที่การสันดาปนั้นเกิดขึ้นไม่ต่อเนื่อง เช่น ที่คุ้นเคยกันมากคือ เครื่องยนต์ลูกสูบสี่จังหวะและสองจังหวะ เช่นเดียวกับรุ่นดัดแปลง เช่น เครื่องยนต์ลูกสูบหกจังหวะ และเครื่องยนต์โรตารีวันเคิล เครื่องยนต์สันดาปภายในชั้นสองใช้การสันดาปต่อเนื่อง: กังหันแก๊ส เครื่องยนต์เจ็ต และเครื่องยนต์จรวดส่วนใหญ่ ซึ่งทั้งสามเป็นเครื่องยนต์สันดาปภายในบนหลักการเดียวกับที่ได้อธิบายไปข้างต้น
 เครื่องยนต์สันดาปภายในค่อนข้างแตกต่างจากเครื่องยนต์สันดาปภายนอก เช่น เครื่องยนต์ไอน้ำหรือสเตอร์ลิง ซึ่งพลังงานถูกส่งไปยังของไหลทำงาน ซึ่งไม่ประกอบด้วย หรือผสมกับ หรือเจือปนกับ ผลิตภัณฑ์การสันดาป ของไหลทำงานสามารถเป็นได้ทั้งอากาศ น้ำร้อน น้ำความดันสูง หรือกระทั่งโซเดียมในสถานะของเหลว ให้ความร้อนในหม้อน้ำบางชนิด

ภาพเคลื่อนไหวแสดงการทำงานของเครื่องยนต์สี่จังหวะ
ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หนังสือเกี่ยวกับรถยนต์ | This is a รถ : เลือกรถใช่ ใช้รถเป็น



หนังสืออ่านเพื่อความรู้ คู่รอยยิ้ม เข้าถึงรถ เข้าใจคน เหมาะสำหรับคนมีรถคันแรก คันที่สอง แม้กระทั่งคันที่สาม ใช้ภาษาเข้าใจง่าย แบบหนังสืออ่านเล่นที่ได้ความรู้อย่างจริงจัง!

ผู้เขียน พันธุ์สวัสดิ์ ไพฑูรย์พงษ์,Pan Paitoonpong

เนื้อหาโดยสังเขป
หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่คู่มือรถ แต่เป็นคู่มือการเอาตัวรอดของคนใช้รถ ซึ่งแฝงความรู้รอบตัวที่หาไม่ได้จากคู่มือรถที่คุณเคยอ่านมา ย่อยเรื่องเทคนิคยาก ๆ ให้เข้าใจง่าย เรื่องที่คนใช้รถยนต์ควรทราบและต้องทราบที่คู่มือรถไม่เคยบอกคุณ ทั้งการเลือกซื้อให้โดนใจ การดูแลรักษาและปกป้องรถคันงาม ยามเกิดเหตุฉุกเฉินก็ช่วยให้เอาตัวรอดได้ทั้งคนและรถ ทั้งหมดนี้เพื่อให้คุณซื้อรถและใช้รถคันโปรดได้อย่างมีความสุข!
สารบัญ
Chapter 1 รักจะมีรถ ต้องรู้จักประเมินตน
Chapter 2 รถที่เหมาะกับคุณ
Chapter 3 เลือกรถให้ครอบครัว
Chapter 4 เปรียบมวยคู่เอก
Chapter 5 เดตแรกที่โชว์รูม
Chapter 6 เงินทอง ของแถม ประกัน และวิธีหมั้น
Chapter 7 ถึงวันรับรถ
Chapter 8 ชีวิตจะดี ต้องมีของ
Chapter 9 จำให้ได้ใช้ให้เป็น
Chapter 10 รู้รักษารถรอด เป็นยอดคน
ฯลฯ
คำนิยม
หลังจากอ่านต้นฉบับทั้งหมดจนจบ ตั้งแต่ย่อหน้าแรก จนถึงหน้าสุดท้าย ผมมั่นใจได้ว่ามาม่าชามนี้มีสารอาหารครบถ้วนเกินหน้าเกินตาบรรดามาม่าทุกยี่ห้อที่ขายในท้องตลาด แต่ถ้าจะถามว่ารสชาติมันเป็นอย่างไร จะอร่อยถูกใจคุณหรือเปล่า ผมคงไม่ขอตอบ แต่อยากให้คุณลงชิมด้วยตัวเอง วิธีชิม? ก็ง่าย ๆ พลิกอ่านหน้าต่อไปดูสิครับธนเทพ ธเนศนิรัตศัย- เจ้าของเว็บไซต์ Headlightmag.com
รายละเอียดหนังสือ
ISBN : 9786162007620 (ปกอ่อน) 256 หน้า
ขนาดรูปเล่ม : 211 x 145 x 13 มม.
น้ำหนัก : 330 กรัม
เนื้อในพิมพ์ : สี่สีในเล่ม
ชนิดกระดาษ : กระดาษปอนด์
สำนักพิมพ์ : ไอดีซี พรีเมียร์, บจก.
เดือนปีที่พิมพ์ : 2/2017

หนังสื่อเกี่ยวกับรถยนต์ | รักรถ เข้าใจรถ




คู่มือดูแลและบำรุงรักษารถด้วยตนเอง รวมสาเหตุของปัญหารถที่เกิดขึ้น พร้อมให้คุณดูแลรถด้วยตนเอง เหมาะสำหรับผู้ใช้รถทุกคน

ผู้เขียน สมปอง คงนิ่ม



เนื้อหาโดยสังเขป
"รักรถ เข้าใจรถ" เล่มนี้ มีเนื้อหาที่เน้นการเรียนรู้วิธีการใช้ และการบำรุงรักษารถอย่างถูกต้อง โดยศึกษาจากคู่มือการใช้รถของยี่ห้อนั้นๆ เพื่อให้รถยนต์มีอายุการใช้งานยาวนาน คุ้มค่า ประหยัดค่าใช้จ่าย และที่สำคัญคือ รถไม่เสียในขณะขับ หรือหากมีปัญหา ผู้ใช้รถทุกท่านก็จะได้ทราบถึงสาเหตุที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งชี้จุดที่เกิดปัญหานั้นว่าอยู่ตรงจุดไหน ต้องแก้ไขอย่างไร โดยมีรูปภาพประกอบคำอธิบายอย่างละเอียด ช่วยให้เข้าใจรถมากขึ้น และสามารถที่จะซ่อมเองได้โดยไม่ต้องพึ่งช่าง
สารบัญ
บทที่ 1 คลัตชฺ์
บทที่ 2 กระปุกเกียร์ธรรมดา
บทที่ 3 เกียร์อัตโนมัติ
บทที่ 4 เพลาขับ (รถขับเคลื่อนล้อหน้า) และเพลากลาง (รถขับเคลื่อนล้อหลัง)
บทที่ 5 เฟืองท้าย
บทที่ 6 ระบบบังคับเลี้ยว
บทที่ 7 ระบบกันสะเทือน
บทที่ 8 ยางรถยนต์
บทที่ 9 ระบบเบรกรถยนต์
รายละเอียดหนังสือ
ISBN : 9786160825097 (ปกอ่อน) 216 หน้า
ขนาดรูปเล่ม : 166 x 235 x 10 มม.
น้ำหนัก : 325 กรัม
เนื้อในพิมพ์ : ขาวดำ
ชนิดกระดาษ : กระดาษปอนด์
สำนักพิมพ์ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, บมจ.
เดือนปีที่พิมพ์ : 5/2016

หนังสือเรียนช่างยนต์ | งานเครื่องล่างรถยนต์ (รหัสวิชา 2101-2004)



หนังสือเล่มนี้เรียบเรียงตามจุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชา และคำอธิบายรายวิชา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2556 ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ผู้เขียน ประสานพงษ์ หาเรือนชีพ

เนื้อหาโดยสังเขป
หนังสือ "งานเครื่องล่างรถยนต์ (รหัสวิชา 2101-2004)" เล่มนี้ มีเนื้อหาครอบคลุมระบบการทำงานของเครื่องล่างรถยนตร์ เช่น โครงสร้างตัวถังรถยนตร์ ระบบรองรับน้ำหนัก โช้กอัปซอร์บเบอร์ ระบบบังคับเลี้ยว ศูนย์ล้อรถยนต์ ระบบเบรก ล้อ และยาง มีเนื้อหาทางภาคทฤษฎีและใบงานตามลำดับขั้นตอนการถอด ตรวจสอบและประกอบตามคู่มือทุกขั้นตอน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจการทำงาน และสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เนื้อหาตรงตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2553 ของสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ทุกประการ
สารบัญ
บทที่ 1 โครงสร้างตัวถังรถยนต์
บทที่ 2 ระบบรองรับน้ำหนัก
บทที่ 3 โช้กอัปซอร์บเบอร์
บทที่ 4 ระบบบังคับเลี้ยว
บทที่ 5 ศูนย์ล้อรถยนต์
บทที่ 6 ระบบเบรก
บทที่ 7 หม้อลมเบรก
บทที่ 8 ล้อและยาง
บทที่ 9 การวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขข้อขัดข้อง
บทที่ 10 การบำรุงรักษาระบบเครื่องล่างรถยนต์
รายละเอียดหนังสือ
ISBN : 9786160826957 (ปกอ่อน) 496 หน้า
ขนาดรูปเล่ม : 187 x 257 x 23 มม.
น้ำหนัก : 870 กรัม
เนื้อในพิมพ์ : ขาวดำ
ชนิดกระดาษ : กระดาษปอนด์
สำนักพิมพ์ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, บมจ.
เดือนปีที่พิมพ์ : 4/2017
donate your car today | donate your vehicle | donating a car for taxes | donating car in california | donating my car tax deduction | donating used cars to charity | donation for cars | how donate car | how to donate a car | how to donate a car in california | how to donate my car | how to donate your car | i want to donate my car | junk car donation | places to donate cars | sacramento car donation | tax break for donating a car | tax deduction car donation | tax deduction for car donation | vehicle donate | vehicle donation | where can i donate my car | where to donate a car | where to donate car | where to donate my car

หมวดหมู่ยานยนต์

 
Support : A | B | C
Copyright © 2016. เทคโนโลยียานยนต์ - All Rights Reserved