Custom Search
donate car tax deduction | donate car to charity | donate car to charity california | donate car to charity los angeles | donate car without title | donate cars for kids | donate my car | donate my car to charity | donate your car | donate your car bay area | donate your car california | donate your car for kids | donate your car in maryland | donate your car nyc | donate your car tax deduction | donate your car to charity
รauto donation charities | best car donation program | best charity car donation program | best place to donate car | best place to donate car for tax deduction | california car donation | california donate car | car donation | car donation bay area | car donation ca | car donation california | car donation dc | car donation deduction | car donation in california |

ดิสก์เบรค (Disc Brake) คือ ?


ชุดดิสก์เบรค ประกอบด้วย แผ่นจานดิสก์ ติดตั้งลงบนแกนเพลาล้อ เมื่อรถเคลื่อนที่ แผ่นจานดิสก์ จะหมุนไปพร้อมล้อ จากนั้นจะมีอุปกรณ์ที่เราเรียกว่า คาลิปเปอร์ (Caliper) ที่เรียกกันทั่วไปว่า "ก้ามปูเบรค" สำหรับตัวคาลิปเปอร์ จะติดตั้งโดย ครอบลงไปบนจานดิสก์ (ไม่หมุนไปพร้อมล้อ) ภายในคาลิปเปอร์ มีการติดตั้งผ้าเบรคประกอบอยู่ทางด้านซ้าย และขวาของจานดิสก์ และจะมีลูกปั้มน้ำมันเบรคติดตั้งอยู่ด้วย ซึ่งท่อน้ำมันเบรค ก็จะติดตั้งเชื่อมต่อกับลูกปั้มเบรคนี้ เมื่อใดที่มีการเหยียบเบรค ลูกปั้มเบรค ก็จะดันให้ผ้าเบรค เลื่อนเข้าไปเสียดทาน กับเแผ่นจานดิสก์ เพื่อให้เกิดความฝืด

ชนิดของเบรค มีอะไรบ้าง ?



ชนิดของเบรค ได้แก่

- ดรัมเบรค (Drum Brake)

- ดิสก์เบรค (Disc Brake)

- ดรัมเบรค (Drum Brake)

ในชุดเบรคแบบดรัม ประกอบด้วยตัวดรัม (Drum) เป็นโลหะวงกลมยึดติดกับดุมล้อ หมุนไปพร้อมล้อ และชุดฝักเบรค ซึ่งประกอบด้วยผ้าเบรค กลไกปรับตั้งเบรค สปริงดึงกลับ และลูกสูบปั้มเบรค ซึ่งสายน้ำมันเบรค ก็จะมาเชื่อมต่อกับตัวลูกสูบนี่แหละ ในการดันผ้าเบรคให้ไปเสียดทานกับดรัม เพื่อให้เกิดความฝืด

หน้าที่ของเบรกรถ | การทำงานของระบบเบรกรถยนต์


เบรก (Brake) ทำหน้าที่ชลอความเร็วของรถ หรือทำให้รถหยุด ตามความต้องการของผู้ขับรถ รถส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ใช้การถ่ายทอดแรงเหยียบ ที่แป้นเบรก ไปถึงตัวอุปกรณ์หยุดล้อ ด้วยระบบไฮดรอลิกซ์ (Hydraulic)

นั่นก็คือคือ ในขณะที่เราเหยียบเบรคลงที่แป้นเบรค แรงเหยียบนี้ จะถูกส่งไปที่แม่ปั้มน้ำมันเบรค (Master Cylinder) เพื่อทำหน้าที่อัดแรงดันน้ำมันเบรค ออกไปตามท่อน้ำมันเบรค ผ่านวาล์วแยก ส่วนน้ำมันเบรค ไปจนถึงตัวเบรค ซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณดุมล้อ และที่ตัวเบรค ก็จะมีลูกปั้มน้ำมันเบรค เมื่อได้รับแรงดันมา ลูกปั้มน้ำมันเบรคจะดันให้ผ้าเบรค ไปเสียดทานกับชุดจานเบรคที่อยู่ใกล้ กับจานดิสก์เบรค หรือ ดรัมเบรค เมื่อเกิดความฝืดขึ้น ล้อก็เริ่มหมุนช้าลง เมื่อเพิ่มน้ำหนัก เหยียบเบรคเข้าไปอีก แรงดันน้ำมันเบรคเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งมีความฝืดที่ล้อเพิ่มขึ้น รถก็จะชลอความเร็วลง จนรถหยุดในที่สุด

การใช้งานระบบเบรครถยนต์ | Car brake



เมื่อขับรถบริเวณที่น้ำท่วมหรือเมื่อผ้าเบรคและจานเบรคเปียกน้ำ จะส่งผลให้การห้ามล้อของผ้าเบรคและจานเบรคมีประสิทธิภาพลดลง ดังนั้นขณะขับรถควรลองเหยียบเบรคประมาณ 3-4 ครั้งเพื่อทำการไล่น้ำออกจากผ้าและจานเบรค

ขณะขับรถลงทางชันหรือภูเขา หากเหยียบเบรคหรือใช้งานเบรคมากๆ อาจส่งผลให้ผ้าเบรคและจานเบรคมีความร้อนสะสมสูง ตลอดจนน้ำมันเบรคมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นด้วยซึ่งอาจทำให้น้ำมันเบรคเดือด ซึ่งจะก่อให้เกิดฟองอากาศในระบบน้ำมันเบรคส่งผลให้แรงดันน้ำมันเบรคลดลง อันจะส่งผลต่อการห้ามล้อต่อไป ดังนั้น เมื่อขับรถลงทางชันหรือภูเขา ควรเปลี่ยนเกียร์เป็นเกียร์ที่ตำแหน่ง 3 หรือ 2 เพื่อให้เครื่องยนต์ช่วยเบรค(Engine brake)

ความรู้เรื่องระบบเบรครถยนต์ | ส่วนประกอบหลักๆ ที่สำคัญมีอะไรบ้าง?



ระบบเบรครถยนต์จะมีวงจรน้ำมันเบรค 2 วงจรแยกน้ำมันเบรคออกจากกัน ซึ่งเมื่อน้ำมันเบรครั่วซึมที่วงจรใดวงจรหนึ่ง ระบบเบรคของอีกวงจรก็ยังสามารถทำงานเพื่อห้ามล้อได้ โดยระบบเบรครถยนต์ประกอบด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

1.แป้นเหยียบเบรค

2.หม้อลมเบรค(Brake booster หรือ Power booster) ภายในจะเป็นสุญญากาศช่วยเพิ่มแรงกดที่รับมาจากแป้นเหยียบเบรคมากขึ้น

3.แม่ปั๊มเบรค(Master cylinder) ทำหน้าที่เปลี่ยนแรงที่รับมาจากหม้อลมเบรคให้เป็นแรงดันน้ำมันไฮดรอลิคหรือแรงดันน้ำมันเบรคเพื่อที่จะส่งผ่านท่อน้ำมันเบรคไปยังชุดห้ามล้อต่อไป

3.ชุดห้ามล้อ มี 2 ชนิด ได้แก่

ชุดห้ามล้อแบบ Disc brake เมื่อได้รับแรงดันน้ำมันเบรค Caliper ซึ่งมีผ้าเบรค (Disc brake pad)ติดอยู่จะทำการหนีบผ้าเบรคเข้ากับจานเบรค

ชุดห้ามล้อแบบ Drum brake เมื่อได้รับแรงดันน้ำมันเบรคฝักเบรค (Brake shoe) ซึ่งมีผ้าเบรค(Drum brake pad)ติดอยู่จะทำการดันผ้าเบรคเข้ากับจานเบรค

ระบบช่วงล่าง | อธิบายหลักการทำงานและหน้าที่ของระบบรองรับในรถใหญ่หรือรถบรรทุก | แหนบ,โชัคอัพ,สปริง




ระบบช่วงล่าง | การสังเกตุอาการว่าโช๊คมีปัญหาหรือเริ่มเสีย


วิธีการครวจสอบขั้นพื้นฐานด้วยตัวคุณเองดังนี้
  • ลองกดรถยนต์ด้านหน้าแล้วปล่อย หากตัวมีอาการเด้งขึ้นลงหลายๆครั้งแสดงว่า โช้คอัพรถยนต์เสื่อมสภาพแล้ว โช้คอัพรถยนต์ที่ดีเมื่อออกแรงกดจะยุบตัว และคืนตัวเป็นระดับปกติทันทีโดยไม่มีการเด้งขึ้น ลงหลายครั้ง
  • ตรวจรอยรั่วของน้ำมันบริเวณซีลโช้คอัพ ถ้ามีคราบน้ำมันเปรอะเปื้อนบริเวณแกนโช้คอัพ แสดงว่ามีการรั่วซึมเกิดขึ้น
  • โช้คอัพผิดรูปทรง ตัวโช้คอัพเกิดรอยบุบ มีการบิดเบี้ยวของกระบอกโช้ค หรือแกนโช้คมีอาการคดงอ
  •  ตรวจดูดอกยาง ว่าหน้ายางสึกไม่เรียบ มีลักษณะสึกเป็นบั้งๆ เอามือลูบหน้ายางด้านหนึ่งเรียบ แต่ถ้าลูบย้อนกลับจะรู้สึกสะดุด
  • หลังจากใช้งาน  เมื่อจอดรถให้ใช้มือสอดเข้าไปสัมผัสกับกระบอกโช้คอัพทันที ถ้ากระบอกโช้คอัพมีความร้อน แสดงว่า โช้คอัพรถยนต์ ยังสามารถใช้งานได้อยู่ แต่ถ้าสัมผัสแล้วกระบอกโช้คอัพมีอุณหภูมิปกติ แสดงว่าโช้คอัพไม่มีการทำงาน เพราะโช้คอัพทำงานโดยใช้ความหนืดของน้ำมันสร้างแรงเสียดทานควบคุมคอยล์สปริง ไม่ให้รถเด้งมากจึงเกิดความร้อนที่กระบอกโชัคอัพ
  • ขณะเริ่มออกตัว โดยใช้ความเร็วปกติ ถ้าหน้ารถเชิดขึ้น และขณะเบรกที่ความเร็วต่ำหน้ารถทิ่มลง แสดงว่า  โช้คอัพรถยนต์เริ่มเสื่อมสภาพแล้ว
  • เวลาขับรถผ่านสันเนิน ทางขรุขระ ตัวรถจะเด้งมาก เด้นขึ้นเด้งลงหลายครั้ง
  • เมื่อรถวิ่งความเร็วสูง (80กม./ชม.)  เมื่อถูกลมปะทะด้านข้าง รถจะมีอาการร่อน
  • สังเกตุเวลาขับรถตกหลุมแล้ว รถจะมีการโยนตัวมากกว่าปกติ โช้คอัพรถยนต์ออกอาการแล้ว

ระบบช่วงล่าง | การทำงานของระบบรองรับรถยนต์ | Suspension System and Components




ระบบช่วงล่าง | การทำงานและหน้าที่ของโช๊คอัพ | โช๊คอัพสำหรับรถยนต์ Shock Absorbers


กล่าวถึงการใช้รถยนต์ในชีวิตประจำวัน เราหลายคนอาจจะดูแลใส่ใจห่วงใยรถยนต์ที่เราใช้งานในเรื่องต่างๆมากมาย แต่เรื่องหนึ่งที่ผมสังเกตว่าหลายคนดูจะละเลย คงไม่พ้นระบบช่วงล่างโดยเฉพาะโช๊คอัพ ตัวการสำคัญในการยึดคุณกับถนน และรถยนต์ทั้งคันพึ่งมันเพื่อการทรงตัวที่ดี และมั่นใจได้ยามขับขี่

โช๊คอัพ หรือ Shock Up มีความสำคัญในการขับขี่อย่างยิ่งยวด หลายคนอาจจะเคยได้ยินเรื่องราวของสปริงในรถยนต์ว่ามันช่วยให้เกาะถนนในระหว่างการขับขี่ หากสปริงยิ่งแข็งมากก็ยิ่งมีแรงเด้งมาก และหน้าที่ของโช๊คก็ไม่พ้นจำกัดแรงเด้งสะท้อนดีดตัวของชุดสปริงในระหว่างการขับขี่ เพื่อที่คุณจะไม่ได้รู้สึกเหมือนควบม้าทั้งๆที่ขับรถคันโปรด

หลักการทำงานของชุดโช๊คอัพไม่ว่าจะแพงหูฉีกเท่าไร ก็มีความเหมือนกันในการทำงาน มันอาศัยการแปรพลังงานจากแรงกระทำจากชุดสปริงต่อหูหิ้วบนของโช๊คไปเป็นแรงที่ส่งมายังชุดแกนโช๊คต่อไปยังลูกสูบโช๊คที่อยู่ภายในกระบอกโช๊ค

ที่นี่จะมีน้ำมันไฮดรอลิกอยู่ภายใน แรงดันระหว่างการทำงานจะแปรเป็นความร้อน และในชุดโช๊คจะมีวาล์วอีกตัว ซึ่งภายในจะเต็มไปด้วยรูเล็กๆ มากมาย อนุญาตให้น้ำมันจากในกระบอกแรงดันออกไปสู่พื้นที่สำรอง ทำให้ลูกสูบกลับคืนตัวได้ในระหว่างการทำงาน

การทำงานของโช๊คทุกแบบในปัจจุบัน มีอยู่ 2 จังหวะ คือ ส่วนจังหวะยืดตัว (Extension Cycle) และ จังหวะยุบตัว (Compression Cycle)

จังหวะยืดตัว เป็นจังหวะที่ชุดโช๊คตอบสนองต่อแรงกระแทกจากถนน เป็นจังหวะที่แรงจากถนนสะท้อนขึ้นสู่ตัวรถทำให้สปริงตอบสนองในการพยายามยืดรถกับถนน จึงส่งแรงกระทำที่เกิดขึ้นลงไปที่พื้นแต่มันมีดช๊คอัพเป็นผู้ช่วยในการจำกัดแรงกระทำที่เกิดขึ้น

ในจังหวะนี้ แรงที่ได้รับจากด้านจะถูกส่งไปยังหูหิ้วโช๊คทางด้านบนซึ่งที่ตัวหูหิ้วนี้จะยึดติดกับชุดแกนโช๊ค โดยปลายด้านหนึ่งของชุดแกนโช๊คออกแบบลูกสูบนั้น จะกดลงไปบันด้านล่างบีบอัดน้ำมันไฮดรอลิกที่อยู่ในห้องทางด้านล่าง ไปยังชุดวาล์วที่มีรูเล็กทำให้น้ำมันบางส่วนจะหนีไปยังพื้นที่สำรองทางด้านข้างและแรงดันดังกล่าวจะส่งให้โช๊คมีแรงดันตัวมันกลับขึ้นทางด้านบน

ทำนองเดียวกันในจังหวะยืดตัว โช๊คจะมีแรงจากด้านล่างขึ้นหาด้านบน ทำให้ลูกสูบไปบีบอัดน้ำมันที่อยู่ทางด้านบนเหนือลูกสูบ เพื่อมีแรงส่งให้ตัวโช๊คกลับลงมาทางด้านล่างได้จังหวะการทำงานต่อไป


ชุดโช๊คปัจจุบันมีหลายแบบหลายยี่ห้อ และหลายแบบมากมาย แต่หลักๆ แล้วที่จำหน่ายในปัจจุบัน มีเพียงไม่กี่แบบเท่านั้น เริ่มจาก

ชุดโช๊คแบบ Twin Tube คือ ชุดโช๊คแบบดั้งเดิมที่ได้รับการออกแบบมายาวนานน หัวใจหลักของโครงสร้างแบบ Twin Tube นั้นจะมีลักษณะคล้ายท่อสองชั้นประกบระหว่างกัน โดยชั้นนอกเป็นพื้นที่สำหรับให้น้ำมันไฮดรอลิกไหลเวียน และจำกัดแรงดัน ส่วนภายในเป็นห้องแรงดันบรรจุน้ำมันที่รองรับการขึ้นลงของชุดลูกสูบ



ทางด้านชุดโช๊คแบบ Mono Tube เดิมทีเป็นสิทธิบัตรของโช๊ครถยนต์แห่งหนึ่ง แต่เมื่อสิทธิบัตรขาดอายุในปี 1971 หลายบริษัทผู้ผลิตโช๊คหันมาทำโช๊คแบบนี้มากขึ้น และเริ่มกลายเป็นสิ่งที่เราคุ้นชินในปัจจุบัน

ความแตกต่างของชุดโช๊คแบบ Monotube กับ Twintube อยู่ที่การออกแบบภายในกระบอกสูบตัวโช๊คเป็นแบบชิ้นเดียว แต่ประกอบด้วยชุดวาล์ว 2 สูบ ในกระบอก โดยลูกสูบตัวหนึ่งจะต่อกับแกนโช๊คเหมือนตามปกติ ส่วนอีกสูบนั้นจะเป็นสูบที่กั้นระหว่างห้องน้ำมันไฮโดรลิกกับห้องแก๊สไนโตรภายในโช๊คอัพ และเมื่อแรงกดมีมาก แก๊สจะดันให้วาล์วที่กั้นระหว่างห้องสูงขึ้น เพื่อให้ลูกสูบที่ต่อกับแกนโช๊คคืนตัวอย่างรวดเร็ว ผลคือการตอบสนองต่อถนนที่รวดเร็วและนุ่มนวลกว่า

นอกจากโครงสร้างทั่วไปของตัวโช๊คแล้ว วัตถุรับแรงดันในตัวกระบอกโช๊คยังมีส่วนสำคัญต่อการทำงานของโช๊ค จึงถูกเรียกตามความเข้าใจของหลายคนว่า โช๊คนำมันและโช๊คแก๊ส

โช๊คน้ำมัน เป็นการเรียกชุดโช๊คอัพ ที่ใช้น้ำมันไฮดรอลิกเป็นวัตถุดิบหลักในการสร้างแรงดันต่อลูกสูบ โดยภายในจะบรรจุน้ำมันไฮดรอลิก 2 ความหนืดเอาไว้ โดยมากจะเป็นโช๊คแบบ Twin tube มีข้อดีคือราคาขายมักจะถูก แต่การตอบสนองต่อแรงสะเทือนนั้นอาจจะเชื่องช้ากว่าบ้าง และอายุการใช้งานอาจจะสั้นกว่าเนื่องจากระหว่างใช้งานโช๊คจะสะสมความร้อนไว้มากกว่าจากการออกแบบผนังสองชั้นทำให้น้ำมันเสื่อสภาพได้เร็ว มันดีพอจะเหมาะสำหรับการขับรถใช้งานทั่วไป

แต่ใครที่ต้องการโช๊คอัพสมรรถนะสูงหน่อยอาจจะต้องมองหา โช๊คน้ำมันกึ่งแก๊ส ซึ่งมีความสามารถในการตอบสนองที่ดีกว่า ด้วยในห้องน้ำมันสำรองทางด้านล่างจะถูกอัดด้วยแก๊สไนโตรเจนเอาไว้ ....ทำให้ตอบสนองต่อแรงกระแทกได้เร็ว และที่สำคัญโช๊คอัพแบบนี้จะเป็นแบบ Mono tube มันระบายความร้อนได้ดีกว่าในยามใช้งาน หากก็ต้องแลกด้วยราคาที่อาจจะแพงกว่า ....พอสมควร

ส่วนที่เหลือจากที่เรากล่าวมาในเรื่องลักษณะโช๊คและวัสดุอัดแรงที่อยู่ภายใน ก็เห็นทีจะเป็นฟังชั่นการใช้งานที่เหมาะสมกับแนวทางการขับขี่ของคุณว่ามีความต้องการอะไรบ้าง เช่นต้องการให้รถสูง-ต่ำได้ ก็อาจจะเลือกโช๊คอัพแบบ สตรัทปรับเกลียว ซึ่งสามารถปรับระยะความสูงของชุดสปริงรถได้ และนอกจากนี้โช๊คบางแบบยังอนุญาตให้คุณสามารถปรับความแข็งความหนืดได้ เหมาะมากสำหรับใครที่ต้องการปรับความเหมาะสมในการใช้งานชุดโช๊คให้เหมาะกับในระหว่างที่ขับขี่หรือความต้องการของเจ้าของรถได้


อย่างไรก็ดี สิ่งที่หลายคนอยากจะทราบคงไม่พ้นว่า เราจะทราบได้อย่างไรว่ารถที่เราใช้อาจจะถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนโช๊คอัพแล้วหลังจากใช้งานมานาน เรื่องนี้ไม่ยากเลยครับ เพียงคุณสังเกตเวลารถกระเด้งกระดอนให้ดีว่า รถมีอาการยืดหรือหดตัวหลายครั้งหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่า โช๊คคุณนั้นกลับบ้านเก่าไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


นอกจากนี้คุณยังสามารถสังเกตได้จากรอยน้ำมันที่ชุดโช๊คหรือแกนโช๊คว่ามีคราบน้ำมันหรืไม่ เพราะคราบน้ำมันนั้นอาจจะมาจากตัวโช๊คเอง ซึ่งอาจหมายถึงกาลเวลาที่คุณนั้นน่าจะต้องได้เวลามองหาโช๊คต้นใหม่ หรือชุดใหม่มาใช้กับรถคุณแล้ว

โช๊คอัพรถยนต์ใครว่าไม่สำคัญ ....หลายคนขับรถมานานับปีไม่เคยสังเกตว่ารถมีอาการผิดแผกแปลกจากเดิมหรือไม่ จนบางครั้งรู้ตัวอีกทีก็สายไปเสียแล้ว ดังนั้นวันนี้ถ้าคุณต้องการโช๊คอัพที่มั่นใจได้แบบเดียวกับที่นักแข่งเลือกใช้ในสนาม ลองมาพบเรา Koni โช๊คอัพระดับตำนานจากสนามสู่ถนน ที่ได้รับความไว้วางใจมากกว่า 60 ปี ในวงการรถแข่ง

ที่มา : https://www.autodeft.com/tuningcorner/how-to-shock-up-absorber-work

ระบบช่วงล่าง | การเปรียบเทียบระหว่างโช๊คอัพดีและเสียแบบชัดๆ ว่ามันต่างกันอย่างไร | Good shock vs bad shock





donate your car today | donate your vehicle | donating a car for taxes | donating car in california | donating my car tax deduction | donating used cars to charity | donation for cars | how donate car | how to donate a car | how to donate a car in california | how to donate my car | how to donate your car | i want to donate my car | junk car donation | places to donate cars | sacramento car donation | tax break for donating a car | tax deduction car donation | tax deduction for car donation | vehicle donate | vehicle donation | where can i donate my car | where to donate a car | where to donate car | where to donate my car

หมวดหมู่ยานยนต์

 
Support : A | B | C
Copyright © 2016. เทคโนโลยียานยนต์ - All Rights Reserved