Custom Search
donate car tax deduction | donate car to charity | donate car to charity california | donate car to charity los angeles | donate car without title | donate cars for kids | donate my car | donate my car to charity | donate your car | donate your car bay area | donate your car california | donate your car for kids | donate your car in maryland | donate your car nyc | donate your car tax deduction | donate your car to charity
รauto donation charities | best car donation program | best charity car donation program | best place to donate car | best place to donate car for tax deduction | california car donation | california donate car | car donation | car donation bay area | car donation ca | car donation california | car donation dc | car donation deduction | car donation in california |

ปอร์เช่ เคย์แมน แบล็ก อิดิชั่น (Porsche Cayman Black Edition): รถสปอร์ตรุ่นพิเศษ ความสง่างามแห่งสีดำ



สตุ้ดการ์ท. ปอร์เช่นำเสนอยานยนต์สปอร์ต เคย์แมน (Cayman) รุ่นพิเศษ Black Edition ยนตกรรมสปอร์ตที่มาในเรือนร่างสีดำพิเศษสุด เฉกเช่นเดียวกันกับบ็อกซเตอร์ (Boxster) และ 911 คาร์เรร่า (911 Carrera) ด้วยหลากหลายทางเลือกทั้งในรุ่นขับเคลื่อนล้อหลัง และ ขับเคลื่อน 4 ล้อ ตัวถัง 2 ประตูคูเป้และเปิดประทุนคาบริโอเลต สร้างความแตกต่างอย่างโดดเด่นด้วยอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มขึ้นพิเศษเฉพาะรุ่น ผสานกับตัวถังภายนอกและเบาะหนังภายในสีดำ แสดงออกถึงความสง่างามเหนือกาลเวลา สะท้อนภาพลักษณ์แห่งยานยนต์สปอร์ตหรูทรงคุณค่า อุปกรณ์มาตรฐานที่ได้รับการติดตั้งใน Black Edition  ประกอบด้วย Porsche Communication Management (PCM) พร้อมระบบนำทาง navigation module, กระจกมองหลังลดแสงสะท้อนอัตโนมัติ (automatic anti-dazzle mirrors), ระบบปัดน้ำฝนอัตโนมัติ (rain sensor), ระบบควบคุมความเร็วคงที่ (cruise control), ระบบเตือนช่วยจอดด้านหน้าและด้านหลัง (parking assistant at the front and rear) และ พวงมาลัยดีไซน์สปอร์ต (Sport Design steering wheel)

เคย์แมน แบล็ก อิดิชั่น (Cayman Black Edition) ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้น โดยใช้พื้นฐานจากรถสปอร์ต 2 ประตูคูเป้ เครื่องยนต์สูบนอน วางกลางขนาดความจุ 2.7 ลิตร พละกำลังสูงสุด 275 แรงม้า (202 กิโลวัตต์) ล้ออัลลอยด์ขนาด 20 นิ้ว ลาย คาร์เรร่า คลาสสิค (Carrera Classic), ไฟหน้า bi-xenon พร้อมระบบ PDLS (Porsche Dynamic Light System) และสามารถติดตั้งกรอบกระจกอลูมิเนียมเพิ่มความโดดเด่นให้แก่ตัวรถ ซึ่งเป็นอุปกรณ์พิเศษที่เพิ่มขึ้น ระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน (two-zone climate control) สามารถเลือกปรับอุณหภูมิให้มีความแตกต่างกันระหว่างผู้ขับขี่และผู้โดยสารได้ตามความต้องการ รวมทั้งระบบอุ่นบริเวณเบาะนั่ง (heated seats) นอกจากนี้ เคย์แมน แบล็ก อิดิชั่น (Cayman Black Edition) มาพร้อมระบบเครื่องเสียงคุณภาพสูง สำหรับความสะดวกสบายภายในห้องโดยสาร

เคย์แมน แบล็ก อิดิชั่น (Cayman Black Edition) เริ่มจำหน่ายที่ประเทศเยอรมนี ในวันที่ 2 ตุลาคม 2015



1) ปอร์เช่ เคย์แมน แบล็ก อิดิชั่น (Porsche Cayman Black Edition): อัตราการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับการขับขี่ในเมือง 11.8 – 10.9 ลิตร/100 กิโลเมตร; (8.47-917 กิโลเมตร/ลิตร) สำหรับการขับขี่นอกเมือง 6.4 – 6.2 ลิตร/100 กิโลเมตร; (15.62-1612 กิโลเมตร/ลิตร) อัตราการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยอยู่ที่ 8.4 – 7.9 ลิตร/100 กิโลเมตร; (11.90-12.65 กิโลเมตร/ลิตร) อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ (CO2) 195-183 กรัม/กิโลเมตร;

2) ปอร์เช่ บ็อกซเตอร์ แบล็ก อิดิชั่น (Boxster Black Edition): อัตราการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับการขับขี่ในเมือง 11.8 – 10.9 ลิตร/100 กิโลเมตร; (8.47-917 กิโลเมตร/ลิตร) สำหรับการขับขี่นอกเมือง 6.4 – 6.2 ลิตร/100 กิโลเมตร; (13.33-15.15 กิโลเมตร/ลิตร) อัตราการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยอยู่ที่ 8.4 – 7.9 ลิตร/100 กิโลเมตร; (11.90-12.65 กิโลเมตร/ลิตร) อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ (CO2) 195-183 กรัม/กิโลเมตร;

3) ปอร์เช่ 911 คาร์เรร่า แบล็ก อิดิชั่น (Porsche 911 Carrera Black Edition): อัตราการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับการขับขี่ในเมือง 13.1 – 11.3 ลิตร/100 กิโลเมตร; (7.63-8.84 กิโลเมตร/ลิตร) สำหรับการขับขี่นอกเมือง 7.5 – 6.6 ลิตร/100 กิโลเมตร; (13.33-15.15 กิโลเมตร/ลิตร) อัตราการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยอยู่ที่ 9.5 – 8.2 ลิตร/100 กิโลเมตร;(10.52-12.20 กิโลมตร/ลิตร) อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ (CO2) 223-191 กรัม/กิโลเมตร;

ปอร์เช่ ประเทศไทย โดย บริษัท เอเอเอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัด ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ปอร์เช่อย่างเป็นทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยเท่านั้น ที่มีศูนย์บริการมาตรฐานและทีมวิศวกรที่มากประสบการณ์ ซึ่งได้รับการฝึกอบรมจากทางโรงงานปอร์เช่ประเทศเยอรมนีโดยตรงพร้อมการันตีด้วยรางวัล Porsche Service Excellence Award จากการตรวจสอบคุณภาพประจำปี รวมถึงทีมวิศวกรที่ได้รับการรับรองและผ่านการทดสอบจากโรงงานในระดับเหรียญทอง (Zertifizierter Porsche Techniker – Gold Expert) ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดของปอร์เช่คอยให้บริการรถปอร์เช่ของท่าน ตามนโยบายหลักของบริษัทที่ว่า “เอเอเอส ดูแลทั้งรถและคุณ” หรือ “AAS Looking after YOU and your CAR” เพื่อก้าวเข้าสู่คำว่า AAS The Name you can Trust ความไว้วางใจที่ให้คุณได้มากกว่า ตลอดระยะเวลาดำเนินการมา กว่า 20 ปี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถยนต์ปอร์เช่ได้ที่แผนกขาย โทร. 02-522-6655 ต่อ 101-103 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ www.porsche.co.th

ฮอนด้าเสริมแกร่งตลาดบิ๊กไบค์เมืองกรุง เปิดตัวศูนย์ฮอนด้าบิ๊กงแห่งใหม่ใจกลางเมือง บนถนนพระราม 3



บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด ผู้จัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้าบิ๊กไบค์ในประเทศไทย ผนึกกำลังบริษัท ยศเจริญ มอเตอร์ไบค์ จำกัด เปิดตัวศูนย์ฮอนด้าบิ๊กวิงแห่งใหม่ในกรุงเทพฯบนถนนพระราม เพียบพร้อมด้วยการให้บริการตามมาตรฐาน 6S วางกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบบิ๊กไบค์และต้องการไลฟ์สไตล์ที่แตกต่าง

นายสุชาติ อรุณแสงโรจน์ กรรมการบริหาร บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด เปิดเผยว่า “แม้เศรษฐกิจโดยรวมไม่ได้อยู่ในสภาวะที่สดใสนัก แต่ตลาดบิ๊กไบค์ในเมืองไทยช่วง เดือนแรกของปีนี้ยังคงไปได้ดี โดยมียอดจดทะเบียนรวมอยู่ที่ 13,537 คัน เติบโตขึ้น 24% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่ฮอนด้ามียอดจดทะเบียนรถบิ๊กไบค์อยู่ที่ประมาณ 4,700 คัน เติบโตขึ้นประมาณ 34% และมีสัดส่วนครองตลาด 35% โดยเอ.พี. ฮอนด้าเน้นการทำตลาดด้วยรถบิ๊กไบค์ที่หลากหลายตามรสนิยมของผู้ขับขี่ และนำเสนอบริการหลังการขายที่ครบวงจรผ่านศูนย์ฮอนด้าบิ๊กวิง จึงได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้อย่างต่อเนื่อง

การเติบโตของตลาดทำให้เอ.พี.ฮอนด้าต้องขยายพื้นที่ในการให้บริการอย่างครอบคลุม ล่าสุดเราได้ร่วมมือกับ บริษัท ยศเจริญ มอเตอร์ไบค์ จำกัด เปิดตัวศูนย์ฮอนด้าบิ๊กวิงแห่งใหม่ขึ้นบนถนนพระราม ทั้งนี้ ยศเจริญ มอเตอร์ไบคืถือเป็นผู้จัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้ารายใหญ่ที่มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจในกรุงเทพฯและสมุทรปราการมาอย่างยาวนานและเข้าใจความต้องการของลูกค้าเป็นอย่างดี เราจึงมีความมั่นใจว่าสาขาใหม่ของฮอนด้าบิ๊กวิงแห่งนี้จะสามารถมอบบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าได้อย่างแน่นอน

ทางด้าน นายบุญยศ บุญเกียรติเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยศเจริญ มอเตอร์ไบค์ จำกัด เปิดเผยว่า ศูนย์ฮอนด้าบิ๊กวิงพระราม แห่งนี้มีจุดเด่นอยู่ที่โลเคชั่นที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง เชื่อมติดกับถนนพระราม ถนนสาทร ถนนสีลม และถนนเจริญกรุง ซึ่งเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อไปยังศูนย์กลางทางธุรกิจของกรุงเทพฯ ทำให้ผู้ใช้ฮอนด้าบิ๊กไบค์สามารถเข้ามาใช้บริการได้อย่างสะดวก ทั้งยังติดตั้งแท่นซ่อมมากถึง แท่นเพื่อความรวดเร็วในการซ่อมบำรุงด้วยมาตรฐานสากลเฉกเช่นศูนย์ฮอนด้าบิ๊กวิงสาขาใหญ่

 ฮอนด้าบิ๊กวิงพระราม ถือเป็นศูนย์ฮอนด้าบิ๊กวิงแห่งที่ ในกรุงเทพฯ ได้รับการออกแบบให้มีความทันสมัยตามมาตรฐานของฮอนด้าในรูปแบบอาคาร ชั้น โซน ประกอบด้วยโซนแสดงรถใหม่ที่ชั้นล่าง ส่วนงานบริการ ห้องรับรอง และฝ่ายทะเบียนบนชั้นที่ และส่วนงานซ่อมบำรุงหนักบนชั้นที่ และห้องทดสอบแรงม้าหรือไดโน่เทสต์มาตรฐานโลก พร้อมด้วยบริการอื่นๆตามมาตรฐาน 6S ประกอบด้วย Sales, Service, Spare Parts, Safety Riding, Second Hand, และ Society

ในโอกาสที่ฮอนด้าบิ๊กวิงพระราม เปิดตัวอย่างเป็นทางการในครั้งนี้ ทางศูนย์ได้มอบสิทธิพิเศษให้กับผู้ที่ซื้อรถฮอนด้าบิ๊กไบค์สามารถเข้าอบรบขับขี่บิ๊กไบค์ขั้นพื้นฐาน (Basic Course) 3 ครั้งขั้นประยุกต์ (Advance Course) 1 ครั้ง พร้อมรับส่วนลด 10% ในการซื้ออุปกรณ์ตกแต่งรถ โดยทางศูนย์ฯยินดีติดตั้งให้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

          ติดตามข่าวสารของศูนย์ฮอนด้าบิ๊กวิงพระราม ได้ที่ www.hondabigwingrama3.com และเฟซบุ๊คwww.facebook.com/Hondabigwingrama3

ซูซูกิ ส่ง SUZUKI GSX-R1000 ใหม่!!! Bred From The Same DNA ถือกำเนิดจากสายพันธุ์เดียวกัน !!! สายพันธุ์สปอร์ตแท้ สู่ตลาด Big Bike



หลังจากที่ ซูซูกิมอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประกาศการฉลองครบรอบ 30 ปี ในการผลิตและพัฒนา Suzuki GSX-R1000 เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประเทศเยอรมนี และยังได้ออกแบบลวดลายและสีพิเศษ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากรถจักรยานยนต์ Suzuki ที่อดีตแชมป์โลกอย่าง Kevin Schwantz ใช้ในปี 1980 มาใช้กับ Suzuki GSX-R1000 ล่าสุด

บริษัท ไทยซูซูกิมอเตอร์ จำกัด ขอแนะนำรถจักรยานยนต์ Big Bike สายพันธุ์สปอร์ต Suzuki GSX-R1000 โฉมใหม่ให้ทุกท่านได้สัมผัสถึงความแรง เร้าใจ ในทุกอัตราเร่ง ด้วยการนำเทคโนโลยีจากสนามแข่ง มาสู่การใช้งานบนท้องถนนจริง ซึ่งมาพร้อมเครื่องยนต์สมรรถนะสูงขนาด 999 ซีซี 4 สูบ ให้คุณสัมผัสความตื่นเต้นเร้าใจในทุกรอบความเร็ว ตอบสนองอัตราเร่ง แรง แบบรถแข่ง พร้อมการออกแบบเครื่องยนต์ให้มีขนาดกะทัดรัด และฐานล้อที่แคบลง และสวิงอาร์มที่ยาวขึ้น ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจากสนามแข่งเลยทีเดียว ผสานกับระบบการประมวลผล FEM (Finite Element Method) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกันที่ใช้กับรถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการแข่งขันระดับโลกอย่าง MotoGP เครื่องยนต์ทนทานด้วยกระบอกสูบแบบอะลูมิเนียมผ่านกระบวนการเคลือบสาร Suzuki Composite Electrochemical Material (SCEM) ที่ได้รับการยอมรับจากสนามแข่ง ช่วยลดการสึกหรอของเครื่องยนต์และระบายความร้อนได้ดีแต่เปี่ยมไปด้วยสมรรถนะที่ยอดเยี่ยม พร้อมระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ และระบบเกียร์ 6 สปีด

ด้วยโครงสร้างตัวถังแบบทวิน-สปา อะลูมิเนียมอัลลอยด์เฟรม ที่มีความแข็งแรง ทนทานและน้ำหนักเบา และการดีไซน์รูปโฉมที่โฉบเฉี่ยว และมีความคล่องตัวสูงในการขับขี่ที่เป็นเลิศ ซึ่งทั้งหมดได้รับการถ่ายทอด DNA สายพันธุ์สปอร์ตมาจากรถแข่งของซูซูกิ ที่ใช้ในการแข่งขัน MotoGP ที่ต้องใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงของรถจักรยานยนต์ เพื่อให้ ซูซูกิ GSX-R1000 เป็นรถจักรยานยนต์สปอร์ตพันธุ์แท้
และยังเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ให้มั่นใจด้วยระบบเบรก ABS พร้อมติดตั้งโหมดการขับขี่ Suzuki Drive Mode Selector (S-DMS) 3 โหมด ในสไตล์เรซซิ่ง, สไตล์สปอร์ตทัวร์ริ่งและ สไตล์ขับขี่ทั่วไป เพื่อตอบสนองความเร้าใจของผู้ขับขี่ได้ถึง 3 สไตล์ พร้อมมาตรวัดแสดงผลแบบ LCD อย่างครบครัน
ทั้งนี้ Suzuki GSX-R1000 ปี 2016 ยังมาพร้อมลวดลายใหม่เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและระลึกถึงตำนานแห่งจ้าวความแรง โดยใช้ลวดลายของ Suzuki GSX-R1000 ในปี 1980 มาเป็นแรงบรรดาลใจ ในการออกแบบ และถ่ายทอดออกมาได้อย่างลงตัว สีน้ำเงิน - ขาว (Pearl Vigor Blue / Pearl Glacier White) สวยงามโดดเด่นสะดุดตา, สีแดง - ดำ (Pearl Mira Red / Glass Sparkle Black) ดุดัน ร้อนแรง เร้าใจ และสีน้ำเงิน (Metallic Triton Blue) ด้วยลวดลายที่ถอดแบบมาจาก MotoGP เท่ เร้าใส สไตล์ Racing และยังมาพร้อมกับโลโก้ฉลองครบรอบ 30 ปีของ GSX-R บนถังน้ำมัน สำหรับสีน้ำเงิน - ขาว และ สีแดง - ดำ พร้อมสีคาลิเปอร์เบรกหน้า จาก Brembo สีดำ สุดดุดัน




นี่คือรถจักรยานยนต์สายพันธุ์สปอร์ตแท้ระดับตำนาน ที่ได้รับการยอมรับมาแล้วจากทั่วโลก การันตีด้วยแชมป์มากมาย บ่งบอกถึงสมรรถนะอันเยี่ยมยอดของสุดยอดรถจักรยานยนต์สายพันธุ์สปอร์ตไบค์ GSX-R1000


ท่านที่สนใจสามารถชมและสอบถามข้อมูลสปอร์ตไบค์ GSX-R1000 ตัวจริงได้ที่ Suzuki Big Bike Showroom สาขาใกล้บ้านคุณ

มาสด้าการันตีรถแรง ประหยัดน้ำมัน ปลอดภัย ไอเสียต่ำ พร้อมติดสติกเกอร์แสดงข้อมูลรถยนต์ตามมาตรฐานสากล


กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – 30 กันยายน 2558 – มาสด้าพร้อมสนับสนุนนโยบายภาครัฐอย่างเต็มที่ นำรถยนต์ทุกคันเตรียมติดสติกเกอร์ ECO Sticker และคิวอาร์โค๊ด QR Code เพื่อยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับตัวรถอย่างถูกต้อง ชัดเจน แม่นยำ และมีมาตรฐานสากลตามข้อกำหนดของทางราชการ เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่ารถยนต์มาสด้าทุกรุ่น ทุกคัน ได้ผ่านมาตรฐานด้านความปลอดภัย มาตรฐานด้านการประหยัดน้ำมัน มาตรฐานสิ่งแวดล้อมด้วยการปล่อยไอเสียต่ำ ผ่านข้อกำหนดตามมาตรฐานที่ได้แจ้งกับหน่วยงานของภาครัฐ โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป สำหรับรถยนต์มาสด้าทุกคันที่จะทำการผลิตและส่งมอบให้กับลูกค้าจะได้รับการติดสติ๊กเกอร์นี้ทุกคัน
นายฮิเดสึเกะ ทาเกสึเอะ ประธานบริหาร บริษัท มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า แม้ว่าทางภาครัฐจะขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการเริ่มติดสติ๊กเกอร์ตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้เป็นต้นไป และจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคมปีหน้า ทั้งนี้ทางมาสด้าได้แสดงเจตจำนงค์ในการสนับสนุนนโยบายของภาครัฐ เพื่อแสดงจุดยืนที่ชัดเจนรวมถึงธรรมาภิบาลและความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย และความโปร่งใสในด้านการเผยแพร่ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์มาสด้า โดยได้ดำเนินการติด ECO Sticker บริเวณกระจกบังลมด้านหน้ารถ เพื่อให้ผู้บริโภคมองเห็นได้ชัดเจน ทั้งนี้มาสด้าได้เริ่มดำเนินการโดยทันทีสำหรับรถยนต์ที่จะทำการผลิตออกจากโรงงานออโต้อัลลายแอนซ์ ไทยแลนด์ จังหวัดระยอง และสำหรับรถยนต์ที่จะทำการผลิตเพื่อส่งมอบให้กับลูกค้าตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป
จากการที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้ประกาศให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ารถยนต์ ต้องดำเนินการติดป้ายข้อมูลรถยนต์ตามมาตรฐานสากล หรือที่เรียกว่า (ECO Sticker) สำหรับรถยนต์ใหม่ทุกคัน เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถทราบถึงข้อมูล รายละเอียด คุณลักษณะ คุณสมบัติ และสมรรถนะของรถยนต์ตามมาตรฐานสากลของสหประชาชาติ หรือตามมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยป้ายข้อมูลรถยนต์ตามมาตรฐานสากล (ECO Sticker) จะแสดงข้อมูลของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ข้อมูลพื้นฐานของรถยนต์ อุปกรณ์ที่ติดตั้งจากโรงงาน อัตราการใช้น้ำมัน อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ระดับมาตรฐานการปล่อยสารมลพิษ รวมถึงระดับความปลอดภัยของรถยนต์ นอกจากนี้ยังมี QR Code ของรถยนต์แต่ละรุ่น เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อรถยนต์ บนพื้นฐานข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ และสามารถตรวจสอบได้
สำหรับการติดป้ายแสดงข้อมูลรถยนต์มาตรฐานสากล หรือ ECO Sticker และ QR Code จะแสดงข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ดังต่อไปนี้
  • ชื่อของผู้ผลิตรถยนต์ หรือ ชื่อของผู้นำเข้า ที่อยู่ของผู้ผลิตหรือนำเข้า เครื่องหมายการค้า
  • ข้อมูลพื้นฐานของรถยนต์ เช่น ยี่ห้อ รุ่น แบบ หมายเลขตัวถัง รหัสโครงรถ รหัสเครื่องยนต์ หมายเลขเครื่องยนต์ ระบบเกียร์ น้ำหนักรถ ขนาดยางล้อ จำนวนที่นั่งปลอดภัย ประเภทเชื้อเพลิงที่สามารถใช้ได้ โรงงานผลิตหรือโรงงานประกอบ ชื่อผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า
  • อุปกรณ์ที่ติดตั้งจากโรงงาน ได้แก่ อุปกรณ์มาตรฐานและอุปกรณ์เสริมทุกชนิดรวมถึงระบบอิเลคทรอนิกส์ทั้งที่เป็นฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ ล้อและยาง และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ติดตั้งเข้ากับรถยนต์
  • ข้อมูลแสดงสมรรถนะของรถยนต์ตามมาตรฐานสากลของสหประชาชาติ หรือ ตามมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งตรวจสอบและรับรองโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้แก่ อัตราการประหยัดน้ำมันในสภาวะโดยรวม รวมทั้งอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันทั้งในเมืองและนอกเมือง
  • อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2
  • ระดับการปล่อยสารมลพิษจากรถยนต์ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก.
  • ระดับความปลอดภัยของรถยนต์ ได้แก่ มาตรฐานการป้องกันจากการชนด้านหน้าและด้านข้าง ระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดอุบัติเหตุ ระบบเบรกต้องมีระบบป้องกันล้อล็อก หรือ ABS และระบบควบเสถียรภาพการทรงตัว หรือ ESC

สำหรับป้ายสกิ๊กเกอร์ข้อมูลรถยนต์ตามมาตรฐานสากล หรือ ECO Sticker มีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 190 มิลิเมตร ความยาวไม่น้อยกว่า 270 มิลลิเมตร หรือขนาดเทียบเท่ากระดาษ A4 ซึ่งจะแสดงข้อมูลรถยนต์ที่สำคัญและครอบคลุมสำหรับการตัดสินใจซื้อของลูกค้า และเป็นข้อมูลที่ผู้ผลิตได้แจ้งอย่างเป็นทางการทางภาครัฐ ลูกค้าสามารถมองเห็นได้เด่นชัด หรือสามารถสแกน QR Code จากโทรศัพท์มือถือซึ่งจะแสดงรายละเอียดข้อมูลของตัวรถมากยิ่งขึ้น

ปอร์เช่ ยินดีอย่างยิ่ง ด้วยจำนวนผู้เข้าชมการแข่งขันกว่า 25,000 คน ตลอด 4 วัน

ปอร์เช่ ยินดีอย่างยิ่ง ด้วยจำนวนผู้เข้าชมการแข่งขันกว่า 25,000 คน ตลอด 4 วัน ธงชัย ใจดี กับการคว้าชัยเป็นครั้งแรกใน Porsche European Open Bad Griesbach ประเทศเยอรมนี. ธงชัย ใจดี คือนักกอล์ฟผู้สามารถพิชิตชัยชนะได้เป็นคนแรกในรายการปอร์เช่ ยูโรเปี้ยน โอเพ่น ( Porsche European Open ) ที่จัดขึ้นในเมือง Bad Griesbach ประเทศเยอรมนี ด้วยการรั้งตำแหน่งผู้นำตั้งแต่วันแรกของการแข่งขัน โดยนักกอล์ฟสายเลือดไทยสามารถรักษาอันดับของตนเอาไว้ได้ จากการแข่งขันเมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน 2015 และจบผลงานด้วย 17 อันเดอร์พาร์ 67 เฉือนเอาชนะ Graeme Storm คู่แข่งจากประเทศอังกฤษไปได้อย่างหวุดหวิดเพียงแค่สโตรกเดียวเท่านั้น Bernhard Maier บอร์ดบริหารฝ่ายขายและการตลาดของ Porsche AG ได้กล่าวชื่นชมนักกอล์ฟผู้ได้ชัยชนะ ที่คว้าเงินรางวัลมูลค่ากว่า 333,330 ยูโร กลับบ้าน ซึ่งนับเป็นการคว้าแชมป์รายการ European Tour แรกของปีอีกด้วย ธงชัย ใจดี กล่าวว่า “ถ้าไม่นับเรื่องสภาพอากาศของที่นี่แล้ว ผมหลงรักประเทศเยอรมนีเลยทีเดียว” ธงชัย ใจดี ผู้ซึ่งได้รับการฝึกสอนจากโปรกอล์ฟชาวเยอรมัน Peter Wolfenstetter นับเป็นเวลากว่า 12 ปี ที่ได้ร่วมงานกัน และเป็นอีกครั้งที่ทั้งคู่เดินเคียงข้างกันตลอดการแข่งขันในรายการนี้ “ผมรู้สึกเป็นกังวลมาก จนกระทั่งถึงการพัตต์หลุมสุดท้าย” ผู้ชนะกล่าวยอมรับ ทางด้านของ Storm ผู้คว้าตำแหน่งรองชนะเลิศ สามารถจบ 18 หลุม ที่สกอร์ 67 เช่นเดียวกัน แต่กลับพลาด ทำได้เพียงโบกี้ที่หลุม 17 และตามมาด้วยอันดับที่ 3 ตกเป็นของ Swede Pelle Edberg ผู้ซึ่งจบการแข่งขันด้วย 14 อันเดอร์พาร์ 69 ส่วนนักกอล์ฟชาวออสเตรเลีย Scott Hend ทำได้ดีที่สุดในวันนี้ที่สกอร์ 65 ขยับอันดับขึ้นมาอยู่ที่ 4 (-13) หลังจากทำผลงานในวันอาทิตย์ได้ที่สกอร์ 70 โดยผู้ชนะรายการ Ryder Cup Ja-mie Donaldson ชาวเวลส์ (-12) ทำได้เพียงอันดับที่ 5 หลังจากขับเคี่ยวกับคู่ต่อสู้ชาวอังกฤษ Ross Fisher ซึ่งจบรอบสุดท้ายที่พาร์ 71 ตำนานนักกอล์ฟชาวเยอรมัน Bernhard Langer โชว์ฟอร์มในวันสุดท้ายได้อย่างคงเส้นคงวา จบการแข่งขันในครั้งที่ 24 ของตนเองที่ 8 อันเดอร์พาร์ 69 “ผมรู้สึกสนุกมากกับการแข่งขันที่นี่” และเขายังได้กล่าวต่ออีกว่า “แฟนกอล์ฟผู้ร่วมชมการแข่งขันเองก็สนุกไปกับเราด้วย พวกเขาดูเหมือนจะชอบที่ได้เห็นชายแก่อายุ 58 ปี ดวลวงสวิงกับหนุ่มทั้งหลาย ผมต้องขอแสดงความยินดีกับผู้ที่อยู่เบื้องหลังการจัดการแข่งขันรายการนี้ด้วย” ผู้ชมรายการกว่า 7,200 คน ร่วมติดตามชมการแข่งขันในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา และ มีจำนวนผู้ชมกว่า 25,000 คน รวมตลอดการแข่งขันทั้ง 4 วัน ที่จัด ณ. สนาม Beckenbauer Golf Course โดยรายการนี้ได้รับการจัดขึ้นด้วยความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก 2 ฝ่าย ได้แก่ ทีมงานมืออาชีพ และ ผู้สนับสนุนการแข่งขัน “เป็นช่วงเวลา 1 สัปดาห์ที่ทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้นมาก” ผู้อำนวยการจัดการแข่งขัน Dominik Senn จากทีมงาน 4 Sports & Entertainment AG กล่าว “เป็นที่ชัดเจนว่า รายการนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ซึ่งเป็นผลจากการเข้าร่วมการแข่งขันของนักกอล์ฟชั้นยอดและผู้สนับสนุนหลักชั้นเยี่ยม” หลังจากการเปิดตัวเป็นผู้สนับสนุนหลักของรายการแข่งขันกอล์ฟระดับอาชีพ ทีมงานปอร์เช่ได้เปิดเผยถึงความรู้สึกที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันรายการนี้ว่า “พวกเรารู้สึกยินดีอย่างยิ่ง กับการที่ปอร์เช่เข้าร่วมเป็นผู้สนับสนุนรายการ European Open” โดย Bernhard Maier กล่าวโดยสรุปว่า “กอล์ฟคือการแข่งขันกีฬาอาชีพระดับสูง และปอร์เช่มีความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ในการเข้าร่วมและเป็นส่วนหนึ่งในฐานะผู้สนับสนุนหลักของการแข่งขัน บรรดาผู้เข้าชมการแข่งขัน และลูกค้าของเราสามารถสัมผัสได้ถึงความมีระดับของปอร์เช่ เช่นเดียวกัน” เหล่าบรรดาแฟนกอล์ฟผู้เข้าร่วมชมการแข่งขัน ได้รับโอกาสอันดีที่จะได้ร่วมสัมผัสสุดยอดยนตกรรมหลากหลายรุ่นของปอร์เช่ ที่นำมาจัดแสดงในระหว่างการแข่งขัน นอกจากนี้ยังสามารถเลือกสรรสินค้าจาก Porsche Driver’s Selection เป็นของที่ระลึกอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นลูกค้าของรถยนต์ปอร์เช่ ได้รับสิทธิพิเศษในการแวะพักผ่อน เปลี่ยนบรรยากาศในการชมการแข่งขันได้ที่ Porsche Owners’ Lounge และในบริเวณโดยรอบงานยังจัดให้มีการทดสอบขับรถยนต์ปอร์เช่ เพื่อให้ผู้เข้าชมรายการและนักกอล์ฟร่วมทดลองขับสุดยอมยนตกรรมอย่างปอร์เช่ไปพร้อมๆ กัน Bernhard Maier กล่าวต่อไปอีกว่า “สิ่งพิเศษสุดที่เราได้รับคือคำชื่นชมจากบรรดาแฟนกอล์ฟ คือความประทับใจที่เกิดขึ้นจากเหล่านักกอล์ฟมืออาชีพและรถยนต์ปอร์เช่ของเรา” ผลการแข่งขัน: 1. (-17): Thongchai Jaidee (Thailand); 2. (-16): Graeme Storm (England); 3. (-14): Pelle Ed-berg (Sweden); 4. (-13) Scott Hend (Australia), T5 (-12): Lucas Bjerregaard (Norway), Jamie Donaldson (Wales), Ross Fisher (England), Rikard Karlsberg (Sweden); T9 (-11): Richard Bland, John Parry (both England), Sören Kjeldsen (Norway) ปอร์เช่ ประเทศไทย โดย บริษัท เอเอเอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัด ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ปอร์เช่อย่างเป็นทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยเท่านั้น ที่มีศูนย์บริการมาตรฐานและทีมวิศวกรที่มากประสบการณ์ ซึ่งได้รับการฝึกอบรมจากทางโรงงานปอร์เช่ประเทศเยอรมนีโดยตรงพร้อมการันตีด้วยรางวัล Porsche Service Excellence Award จากการตรวจสอบคุณภาพประจำปี รวมถึงทีมวิศวกรที่ได้รับการรับรองและผ่านการทดสอบจากโรงงานในระดับเหรียญทอง (Zertifizierter Porsche Techniker – Gold Expert) ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดของปอร์เช่คอยให้บริการรถปอร์เช่ของท่าน ตามนโยบายหลักของบริษัทที่ว่า “เอเอเอส ดูแลทั้งรถและคุณ” หรือ “AAS Looking after YOU and your CAR” เพื่อก้าวเข้าสู่คำว่า AAS The Name you can Trust ความไว้วางใจที่ให้คุณได้มากกว่า ตลอดระยะเวลาดำเนินการมา กว่า 20 ปี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถยนต์ปอร์เช่ได้ที่แผนกขาย โทร. 02-522-6655 ต่อ 101-103 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ www.porsche.co.th ท่านสามารถติดตามภาพการแข่งขันได้จาก http://presse.porsche.de. และค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก www.newsroom.porsche.com ช่องทางการติดต่อสื่อสารใหม่ระหว่าง Porsche กับ ผู้สื่อข่าว, blogger และ ผู้ใช้งาน internet

มาสด้าคว้า 3 รางวัล จากงานออกแบบในประเทศเยอรมนี


  • พิชิตรางวัลทีมออกแบบยอดเยี่ยมแห่งปี มาสด้า ซีเอ็กซ์-3 และจักรยานโคโดะ
ฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น – มาสด้า มอเตอร์ คอปอร์เรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ประกาศในวันนี้ว่า มาสด้าสามารถคว้ารางวัลอันทรงเกียรติด้านการออกแบบมาได้ถึง 3 รางวัล จากการจัดประกวด Automotive Brand Contest โดยรางวัลอันทรงเกียรตินี้ได้มอบให้กับ ทีมนักออกแบบของมาสด้า รถยนต์มาสด้า ซีเอ็กซ์-3 และจักรยานโคโดะ โดยจัดพิธีมอบรางวัลนี้ขึ้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา ณ พิพิธภัณฑ์สแตเดล เมืองแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมัน
การประกวด Automotive Brand Contest มอบรางวัลอันทรงเกียรติให้กับผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์และการสื่อสารที่มีความโดดเด่น โดยมีคณะกรรมการงานออกแบบแห่งประเทศเยอรมนี (The German Design Council) เป็นผู้ให้การสนับสนุน การประกวดนี้ประกอบด้วยรางวัลประจำปีทั่วไป 15 รางวัล และรางวัลพิเศษอีก 4 รางวัล ซึ่งผู้ชนะในแต่ละประเภทได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญที่มาจากสื่อมวลชน ผู้เชี่ยวชาญงานออกแบบ และการสื่อสาร

ทีมออกแบบของมาสด้าขึ้นรับรางวัล ทีมงานยอดเยี่ยมแห่งปี
ทีมงานออกแบบของมาสด้าคว้ารางวัล “ทีมงานยอดเยี่ยมแห่งปี” หรือ “Team of the Year” ซึ่งมอบให้แก่ “งานออกแบบที่มีความสร้างสรรค์และมีแนวคิดแข็งแรง” ด้วยการผนึกกำลังระหว่างสตูดิโอในญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและเยอรมนี ทีมงานของมาสด้าได้รังสรรค์รูปลักษณ์ที่ทรงพลังและเปี่ยมด้วยชีวิตชีวาจากแนวคิดการออกแบบภายใต้ โคโดะ ดีไซน์ ซึ่งกลายมาเป็นแก่นแท้ของการออกแบบหลักของรถยนต์มาสด้าทุกรุ่นในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้
สมาชิกรายหนึ่งของคณะกรรมการฯ กล่าวว่า “กลยุทธ์งานออกแบบของมาสด้านั้นแตกต่างจากผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นๆ แนวคิดโคโดะนี้ไม่ได้มีความตายตัวในการสร้างสรรค์ คุณมาเอดะเองก็คอยกระตุ้นให้ทีมนักออกแบบของเขาได้คิดค้นชิ้นงานที่เหนือความคาดหมายของเขาอยู่เสมอๆ และนี่คือสาเหตุที่ทำให้รถยนต์แต่ละรุ่นของมาสด้าในเจนเนอเรชั่นนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแต่ยังคงไว้ซึ่งการเคลื่อนไหวอย่างมีชีวิตชีวาในทุกรุ่น”
รถยนต์มาสด้า ซีเอ็กซ์-3 คอมแพ็คครอสโอเวอร์เอสยูวี ที่ออกวางจำหน่ายในปีนี้ได้รับรางวัลที่สุดของที่สุดในด้านการออกแบบภายนอกในประเภทแบรนด์ที่มียอดจำหน่ายสูง (Best of the Best Exterior Volume Brand) จักรยานโคโดะ ที่จัดแสดงในงาน Milan Fashion Week ณ กรุงมิลาน นั้นได้รับรางวัลในประเภทชิ้นส่วนและชิ้นงานประดับยนต์

มร. อิคุโอะ มาเอดะ เจ้าหน้าที่บริหารและหัวหน้างานออกแบบของมาสด้า กล่าวว่า “พวกเรามีความตื่นเต้นเป็นอย่างมากสำหรับรางวัลที่มอบให้กับ มาสด้า ซีเอ็กซ์-3 จักรยานโคโดะ และทีมออกแบบของเรา ทีมงานของเราจะยังคงมุ่งมั่นสร้างสรรค์งานออกแบบที่ทรงพลัง มีชีวิตชีวา สร้างความเร้าใจแก่ลูกค้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง”

“Thailand International TRUCK SHOW” พร้อมพลิกโฉมขนส่ง100% ทุกหน่วยงานขานรับ ชูไทยเป็นศูนย์กลางแห่งอาเซียน



กรุงเทพฯ 2558 ; Thailand International TRUCK SHOW 2015 (TiT 2015) หรือ “มหกรรมรถบรรทุกนานาชาติ ประเทศไทย 2558” ครั้งแรกในประเทศไทย  คับคั่งด้วยค่ายรถใหญ่และผู้แสดงสินค้ามากมาย พร้อมใจอวดนวัตกรรมล่าสุด เอาใจขาซิ่งด้วยกิจกรรมโชว์ทักษะการขับรถบรรทุกจากทีมแชมป์แรลลี่ DAKAR RALLY 2015 งานนี้สมชื่อผู้จัดงาน “Tokyo Truck Show” ด้านสหพันธ์การขนส่งทางบกฯ จัดประชุมยิ่งใหญ่ AEC Logistics Summit พร้อมลงนาม MOU ผู้นำ 10 ประเทศอาเซียน ขานรับ “สหพันธ์การขนส่งทางถนนแห่งอาเซียน”
Mr.Masashi Nishio, President- Nishio Rent  All Co.,Ltd. กล่าวว่า ก่อนอื่นผมต้องขอบคุณหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และคนไทยทุกคน ที่มีส่วนผลักดันให้เกิดงาน Thailand International TRUCK SHOW 2015 ขึ้นในประเทศไทย สำหรับการจัดงานในปีแรกนี้เราก็ได้รับความร่วมมือจากผู้แสดงสินค้ากว่า 70 บริษัทแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก ที่เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ อาทิ HINO, ISUZU, MITSUBISHI FUSO, SINOTRUK, MAN, KOMATSU, NITTSU SHOJI, FURUKAWA UNIC และสินค้าอื่นๆ อีกมากมาย  ทุกบริษัทล้วนเตรียมโชว์นวัตกรรมรุ่นใหม่ล่าสุด และเสริมด้วยโปรโมชั่นต่างๆ มาจัดแสดงให้ท่านผู้ชมแสดงสินค้าได้เลือกชมและเลือกซื้ออย่างคุ้มค่า 
เปิดตัว HINO 500 VICTOR ใหม่หมด    
ดีไซน์โฉบเฉี่ยวล้ำสมัยครบครันด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ พัฒนาปรับปรุงเครื่องยนต์ให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภท แชสซีส์รถใช้เหล็กที่แข็งแรงทนทานยิ่งขึ้น ออกแบบใหม่ให้สะดวกรวดเร็วและลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งตัวถังและอุปกรณ์พิเศษ ในเรื่องความปลอดภัย ฮีโน่ Victor ทุกรุ่น ติดตั้งระบบเบรค แบบ Full Air Brake และ Air bag เป็นมาตรฐาน พร้อมมี ABS ให้ลูกค้าเลือกใช้
            ISUZU พร้อมโชว์รถบรรทุกอัจฉริยะ
ที่สุดของเทคโนโลยีประหยัดน้ำมัน อีซูซุ มิมาโมริ รถบรรทุกอัจฉริยะเพื่อการขนส่ง สุดยอดโปรแกรมการบริการด้านโลจิสติกส์จากโลจิสติกส์ เพื่อการพัฒนาด้านต้นทุนค่าขนส่ง และพัฒนาการขับขี่ ลดการสิ้นเปลืองน้ำมัน ช่วยเพิ่มกำไรให้แก่ผู้ประกอบการ          
          FUSO FL ราคาเริ่มต้น 1.23 ล้านบาท
พิเศษสุดสำหรับงาน TiT2015 มิตซูบิชิ ฟูโซ่ ท้าลดราคาพิเศษ เริ่มต้น 1.23 ล้านบาท ขนกองทัพรถบรรทุกฟูโซ่ ร่วมงาน TiT2015 คับคั่ง 
            เบสท์รินฯ เปิด SITRAK ครั้งแรกในประเทศไทย
น้องใหม่ในวงการรถบรรทุกกับ SINO TRUK รุ่น SITRAK เทคโนโลยีจาก MAN 100โดย บริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด กำลังเครื่องยนต์สูงสุด 430 แรงม้า ดีเซล ยูโร 3 มาครบทุกรุ่นให้ท่านเลือก ทั้งหัวลาก, มิกเซอร์, ดั๊มพ์และคาร์โก้  
MAN ส่ง TGS 400 รถบรรทุกที่ดีที่สุด
MAN รุ่น TGS 6x4 ขนาดเครื่องยนต์ 400 แรงม้า แคป ผลิตและประกอบนำเข้าจากเยอรมนีทั้งคัน (CBU) เป็นเกียร์ออโตเมติค 12 เกียร์ เป็นเครื่องยนต์ดีเซล สูบ แถวเรียง ระบบหัวฉีดอิเล็คทรอนิกส์ (คอมมอนเรล) รุ่น MAN D2066 EURO3 มีแรงบิดสูงสุด 2,100 นิวตันเมตร ที่ความเร็วรอบ 1,600-1,900  รอบต่อนาที เครื่องยนต์มีความจุกระบอกลูกสูบ 10 ลิตร เหมาะกับผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ กลุ่มเหมืองแร่ กลุ่มก่อสร้าง กลุ่มขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ และผู้ประกอบการอื่นๆ ที่ทำธุรกิจขนส่งสินค้าใน AEC ซึ่งนับว่าเหมาะมากที่นำเข้ามาร่วมโชว์ในงานนี้ 
          IVECO อะไหล่แท้ 100%
            ด้วยเครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูง สามารถสร้างแรงบิดสูงสุดได้ที่รอบเครื่องยนต์ต่ำเพียง 1,000 รอบต่อนาที และสูงสุดต่อเนื่องไปจนถึง 1,750 รอบต่อนาที เครื่องยนต์ IVECO Cursor 9 แรงม้าสูงสุด 290, 340 และ 380 แรงม้า ทนทานและประหยัดน้ำมันสูงสุด เครื่องยนต์ IVECO Cursor 13 แรงม้าสูงสุด 430 และ 480 แรงม้า ทนทานทรหดทุกเส้นทาง รับประกันอะไหล่แท้ อะไหล่แท้ 100% มีการจัดการชิ้นส่วนอะไหล่พร้อมการจัดส่งให้ถึงผู้ใช้งานภายใน 24 ชั่วโมง
               นอกจากนี้ค่ายรถใหญ่จากแบรนด์ดังทั่วโลกแล้ว Thailand International TRUCK SHOW 2015 ในครั้งนี้ยังคับคั่งไปด้วยผู้แสดงสินค้าอีกมากมายทั้งเคมีภัณฑ์, อะไหล่ที่เกี่ยวข้อง, อุปกรณ์เกี่ยวเนื่องด้านโลจิสติกส์ และกิจรรมสัมมนาที่น่าสนใจโดยเฉพาะ  AEC Logistics Summit จัดโดยสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย มุ่งสู่กรอบ “สหพันธ์การขนส่งทางถนนแห่งอาเซี่ยน” วันที่ 17-18 กันยายน และเอาใจผู้รักในความท้าทายด้วยการโชว์ทักษะการขับรถจากทีมฮีโน่แชมป์เปี้ยน DAKAR RALLY 2015 แบบเต็มรูปแบบ 17 กันยายน วันเดียวเท่านั้น   
   Thailand International TRUCK SHOW 2015 หรือ มหกรรมรถบรรทุกนานาชาติ ประเทศไทย พร้อมแล้วที่จะให้นักธุรกิจด้านขนส่งได้พบปะแลกเปลี่ยนBusiness to Business หรือ B2B เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อและผู้ขายเจรจาธุรกิจกันโดยตรง ผู้ประกอบการด้านขนส่งสามารถมองหารถบรรทุกและอุปกรณ์ตรงตามความต้องการได้ภายในงาน และผู้ผลิตสามารถนำเสนอขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้กับผู้ซื้อได้โดยตรง นับว่างาน TiT 2015 ครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นศักราชใหม่ของวงการรถบรรทุกเพื่อการพาณิชย์ของภูมิภาคอาเซียน และเป็นโอกาสของผู้ผลิตที่จะเพิ่มฐานลูกค้า, ตลาดสินค้าและบริการใหม่ๆ ได้ภายในงานอีกด้วย   
พบกันที่งาน Thailand International TRUCK SHOW วันที่ 17-19 กันยายน 2558 ฮอลล์ 7-8 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ระบบการทำงานเครื่องยนต์



          เครื่องยนต์นับเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้รถยนต์มีความแตกต่างไปจากรถที่ ใช้แรงฉุดลาก หรือการขับเคลื่อนจากแรงภายนอก เครื่องยนต์จะเป็นตัวสร้างพลังงานที่ใช้ขับเคลื่อนตัวรถให้เคลื่อนที่ไปด้วย ตัวเอง

     ในยุคแรกๆของการพัฒนารถยนต์ ได้มีการคิดค้นหาแหล่งที่จะทำให้รถเคลื่อนที่ได้เองอย่างหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นแรงลม พลังไอน้ำ พลังงานไฟฟ้า ฯลฯ แต่ท้ายที่สุดเมื่อเห็นว่าการนำเอาเครื่องยนต์แบบสันดาปภายในมาใช้ในการขับ เคลื่อนรถ เป็นวิธีที่มีปัญหาน้อยที่สุด ตั้งแต่นั้นมาจนถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 120 ปีที่ได้มีการใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในควบคู่กับรถยนต์มาตลอด และความหมายของคำว่ารถยนต์ยังครอบคลุมไปถึงรถที่เคลื่อนที่ด้วยพลังงานอื่นๆ เช่น รถไฟฟ้า หรือรถไฮบริด(Hybrid)ที่ใช้ได้ทั้งพลังไฟฟ้าและเครื่องยนต์สันดาปภายในด้วย
เครื่องยนต์แบบสันดาปภายในที่ใช้กับกับรถยนต์มาตั้งแต่นุคแรกเริ่มเมื่อ 120 กว่าปีก่อน กับเครื่องยนต์ที่ใช้กับรถยนต์

     ในยุคปัจจุบัน ยังคงมีโครงสร้างและหลักการทำงานที่แทบจะไม่แตกต่างกัน ความแตกต่างระหว่างเครื่องยนต์ของรถยนต์รุ่นเก่ากับรุ่นปัจจุบันอาจจะเรียก ได้ว่ามีในส่วนของรูปทรงที่กะทัดรัด และประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้นนับร้อยเท่า ยกตัวอย่างเครื่องยนต์แบบสูบเดี่ยวของรถยนต์คันแรกของโลก มีความจุกระบอกสูบ 958 ซีซี. ให้กำลังเทียบเท่ากับม้าประมาณ 0.8 ตัว เทียบกำลังของเครื่องยนต์กับความจุกระบอกสูบ 1 ลิตรแล้วจะมีอยู่ประมาณไม่ถึง 1 แรงม้าต่อลิตร แต่เครื่องยนต์ของรถรุ่นที่จำน่ายในท้องตลาดปัจจุบันจะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 60 ไปจนถึง 100 กว่าแรงม้าต่อเครื่องยนต์ที่ทีความจุ 1 ลิตร และไม่อาจเทียบได้กับเครื่องยนต์ของรถแข่งที่สามารถผลิตแรงม้าออกมาได้มาก เป็นหลายร้อยแรงม้าเมื่อเทียบกับความจุเครื่องยนต์ 1 ลิตรเท่ากัน นี่คือวิวัฒนาการของสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงร้อยกว่าปี

     เครื่องยนต์แบบสันดาป(เผาไหม้)ภายใน

     เครื่องยนต์แบบสันดาปภายในได้แก่ เครื่องยนต์ที่มีการระเบิดหรือเผาไหม้ส่วนผสมของเชื้อเพลิงกับอากาศเกิดขึ้น ภายในเครื่องยนต์ แรงระเบิดจากการเผาไหม้จะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนตัว รถ
หลักการทำงานนี้อ่านแล้วอาจจะเข้าใจยาก แต่ถ้าจะยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้นก็ต้องบอกว่า เมื่อเอาอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงป้อนเข้าสู่เครื่องยนต์และให้มีกระบวนการ จุดระเบิดเกิดขึ้นของส่วนผสมทั้งสองชนิดภายในกระบอกสูบ เครื่องยนต์ก็จะทำงานหรือเกิดการหมุนที่เพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์ได้ แล้วเราก็เอาพลังงานจากการหมุนของเครื่องยนต์นี้ไปใช้ในการขับเคลื่อนรถยนต์ อีกทีหนึ่ง

     ความแตกต่างจากเครื่องยนต์สันดาป(เผาไหม้)ภายนอก

    เครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน จะมีกระบวนการเผาไหม้ของอากาศกับเชื้อเพลิงเกิดขึ้นภายในเครื่องยนต์ เช่นในกระบอกสูบ แต่เครื่องยนต์สันดาปภายนอกถ้าโดยหลักการ้วจะต้องเป็นการเผาไหม้จากภายนอก เครื่องยนต์ แล้วจึงเอาความร้อนจากการเผาไหม้ที่ได้นั้นไปใช้งานอีกต่อหนึ่ง ยกตัวอย่างง่ายๆก็คือเครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ในการขับเคลื่อนหัวจักรรถไฟใน อดีต ที่อาศัยการต้มน้ำให้ร้อนด้วยเตาที่มีเชื้อเพลิงเป็นฟืน แล้วจึงนำเอาไอน้ำไปขับดันเครื่องจักรไอน้ำอีกต่อหนึ่ง เมื่อเครื่องจักรไอน้ำทำงานจึงสามารถขับดันให้ล้อของหัวรถจักรหมุนได้ และขับเคลื่อนตัวรถไปได้ในที่สุด แต่ก็ด้วยประสิทธิภาพที่ต่ำมาก เพราะต้องสูญเสียพลังงานในการขับเคลื่อนไปหลายขั้นตอนกว่าจะถึงล้อรถ ความนิยมจึงลดน้อยลงไปจนแทบไม่เหลือให้เห็นในปัจจุบัน

     เครื่องยนต์สันดาปภายในสามารถแบ่งได้หลายประเภทเช่น
     
     1.แบ่งตามโครงสร้างของเครื่องยนต์ อาจจะได้เป็นเครื่องยนต์แบบลูกสูบธรรมดา, ลูกสูบแบบสามเหลี่ยมหรือโรตารี่ ฯลฯ 

     2.แบ่งตามวัฏจักรการทำงาน ก็จะได้เป็นเครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะ หรือ 4 จังหวะ

     3.แบ่งตามชนิดเชื้อเพลิง ก็อาจจะได้เป็น เครื่องยนต์เบนซิน และดีเซล เป็นต้น

     เนื่องจากรถยนต์ที่ผลิตออกจำหน่าย และนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายเรียกว่าเกือบจะ100% เป็นเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบ 4 จังหวะ ที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเบนซินและดีเซลเป็นหลัก และเกือบจะร้อยละ 100 จะเป็นเครื่องยนต์ที่มีลูกสูบวิ่งขึ้นลงในกระบอกสูบที่เรียกว่า Reciprocating engine และมีเพียงเล็กน้อยไม่กี่เปอร์เซนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบลูกสูบหมุนหรือว่า Rotary engine ดังนั้นในบทความที่จะอ้างถึงเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ต่อไปนี้ ถ้าไม่มีการจำเพาะเจาะจงใดๆเป็นพิเศษ จะหมายถึงเครื่องยนต์แบบลูกสูบหรือ Reciprocating ที่ทำงานเป็นแบบ 4 จังหวะเป็นหลัก

หลักการทำงานของเครื่องดีเซล

สายพานรูปตัววี สายพานร่องรูปตัววี  
  ในเครื่องยนต์ดีเซล อากาศภายในกระบอกสูบจะถูกอัดตัวจนกระทั่งเกิดความร้อนสูงอย่างมาก จากนั้นน้ำมันดีเซลก็จะถูกฉีดให้เป็นฝอยละอองเข้าสู่กระบอกสูบ  
  สำหรับเครื่องยนต์ เชื้อเพลิงถูกพ่นให้เป็นฝอยละอองและผสมกับอากาศจากนั้นจะถูกอัดตัว  แล้วจึงจุดได้โดยประกายไฟของไฟฟ้า ในเครื่องยนต์ดีเซลนั้น น้ำมันดีเซลถูกจุดระเบิดขึ้น โดยความร้อนที่เกิดจากอากาศที่ถูกอัดตัว ดังนั้นอุณหภูมิของอากาศที่ถูกอัดตัวภายในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซลจะต้องเพิ่มสูงขึ้นถึงประมาณ 500 OC (932OF)  หรือสูงกว่านั้น ด้วยเหตุนี้เครื่องยนต์ดีเซลโดยทั่วๆไป  จึงมีอัตราส่วนกำลังอัดสูงกว่า (15:1 กับ 22:1)  เครื่องยนต์เบนซิน (6:1 ถึง 12:1) ในขณะเดียวกันเครื่องยนต์ดีเซลจึงจำเป็นที่จะต้อง ถูกสร้างให้มีความแข็งแรง เครื่องยนต์ดีเซลนั้นมีข้อดี  และข้อด้อย เพื่อเปรียบเทียบกับเครื่องยนต์เบนซิน ดังต่อไปนี้ 

ข้อดี 

    ก.เครื่องยนต์ดีเซลมีประสิทธิภาพทางความร้อนสูงกว่า ซึ่งหมายความว่า เครื่องยนต์ดีเซลจะ  สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อยและประหยัดกว่าเครื่องยนต์เบนซิน  
    ข.เครื่องยนต์ดีเซลมีความคงทนมากกว่า และไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อใช้เป็นตัวช่วยจุดระเบิด ซึ่งก็หมายความว่าเครื่องยนต์ดีเซลจะมีปัญหาข้อขัดข้องน้อยกว่าเครื่องยนต์เบนซิน  
    ค.แรงบิดของเครื่องยนต์ดีเซลจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงที่ย่านความเร็วต่างๆ นั่นหมายความว่าเครื่องยนต์ ดีเซลมีการทำงานที่ยืดหยุ่นและง่ายกว่าการทำงานของเครื่องยนต์เบนซิน (ด้วยเหตุนี้ทำให้เครื่องยนต์ดีเซลมี ความเหมาะสมกับยวดยานขนาดใหญ่) 

ข้อด้อย 

    ก.กำลังดันสูงสุดในการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซลสูงเกือบเป็น 2 เท่า ของเครื่องยนต์เบนซินนั่นหมายความว่าเครื่องยนต์ดีเซลทำให้เกิดเสียงดัง และการสั่นสะเทือนสูงกว่า  
    ข.เพราะเหตุว่ากำลังดันในการเผาไหม้สูงมาก เครื่องยนต์ดีเซลจำเป็นต้องผลิตขึ้นด้วยวัสดุ ต้านแรงกดดันสูง และต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรงอย่างมาก นั่นหมายความว่าเครื่องยนต์ดีเซลจะมีน้ำหนักต่อแรงม้าสูงกว่าเครื่องยนต์เบนซิน ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าด้วย  
    ค.เครื่องยนต์ดีเซลต้องการระบบฉีดเชื้อเพลิงที่มีความเที่ยงตรงสูงมาก ซึ่งหมายความว่าจะทำราคาของเครื่องยนต์ดีเซลสูงขึ้น และยังต้องการการบำรุงรักษา ที่พิถีพิถันมากกว่าเครื่องยนต์เบนซิน 
    ง.เครื่องยนต์ดีเซลมีอัตราส่วนกำลังอัดที่สูง จึงต้องการแรงในการหมุนที่สูงมาก ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องใช้ อุปกรณ์ที่ช่วยในการหมุนขับ เช่น มอเตอร์สตาร์ทและแบตเตอร์รี่ที่มีกำลังและความจุสูงมากขึ้น 
 

หลักการทำงานพื้นฐาน

จังหวะดูดไอดี
   อากาศจะถูกดูดเข้าสู่กระบอกสูบ ในจังหวะดูดไอดี ลูกสูบจะทำให้เกิดสูญญากาศขึ้นในกระบอกสูบ เช่นเดียว กับในเครื่องยนต์เบนซิน ในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ลงจากศูนย์ ตายบน ลงสู่ศูนย์ตายล่าง สูญญากาศจะทำให้ลิ้นไอดีเปิดออกเพื่อปล่อยให้อากาศเพื่อปล่อยให้อากาศขณะนั้นลิ้นไอเสีย ยังคงปิดอยู่





จังหวะอัด

  ลูกสูบเคลื่อนขึ้นจากศูนย์ตายล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบนในจังหวะอัดซึ่งในจังหวะนี้ลิ้นทั้งสองจะปิด   อากาศที่ไหลเข้าสู่กระบอกสูบในจังหวะดูดไอดีจะถูกอัดจนกระทั่งแรงดันของมัน สูงขึ้นประมาณ 30 กก./ชม.2 (427 ปอนด์/นิ้ว) และอุณหภูมิจะ
สูงขึ้นด้วย ประมาณ 500 ถึง 800OC (932 ถึง 1427OF) 


จังหวะระเบิด

  อากาศในกระบอกสูบจะถูกขับดันให้เข้าสู่ห้องเผาไหม้ ช่วย  ซึ่งอยู่เหนือห้องเผาไหม้ของแต่ละสูบ    ช่วงปลายของจังหวะระเบิด หัวฉีดจะฉีดเชื้อเพลิงออกเป็นฝอยละอองเข้าสู่ห้องเผาไหม้ช่วยทำให้ส่วนผสมของอากาศและเชื้อเพลิงลุกไหม้ เนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นจากความกดดันสูง ในขณะนั้นทั้ง อุณหภูมิและความดันจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเชื้อเพลิงส่วน ที่ยังหลงเหลือภายในห้องเผาไหม้ช่วยก็จะถูกขับดันให้กลับ เข้าสู่ห้องเผาไหม้หลักที่อยู่เหนือลูกสูบ  ซึ่งจะทำให้เชื้อเพลิง ถูกทำให้แตกตัวเป็นอนูที่เล็กลง ทำให้คลุกเคล้ากับอากาศ ภายในห้องเผาไหม้หลัก และลุกไหม้ได้อย่างรวดเร็ว พลังงาน จากการลุกไหม้อย่างรวดเร็วนี้จะขยายตัวเป็นแก๊ส ซึ่งจะไป กดดันให้ลูกสูบเคลื่อนตัวลง กำลังที่กดดันให้ลูกสูบเคลื่อนลง จะถูกเปลี่ยนด้วยก้านสูบ และทำให้เพลาข้อเหวี่ยงหมุนเพื่อถ่ายทอดกำลังงานไปสู่ยานยนต์ต่อไป


จังหวะคายไอเสีย

  ขณะที่ลูกสูบถูกกดดันลงสู่ศูนย์ตายล่างลิ้นไอเสีย จะเปิด และแก็สไอเสียจะถูกขับออกทางลิ้นไอเสียนั้น ในจังหวะที่ลูกสูบเคลื่อนขึ้นอีกครั้ง  แก็สไอเสียจะถูกขับดันออกจากห้องเผาไหม้จนหมดสิ้น เมื่อลูกสูบเคลื่อนขึ้นจนถึงศูนย์ ตานบนจากนั้นจังหวะดูดไอดีจะเริ่มต้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเครื่องยนต์ทำงานครบทั้ง  4  จังหวะแล้ว  (คือจังหวะดูดไอดีจังหวะอัด จังหวะระเบิด และจังหวะคายไอเสีย) เพลาข้อเหวี่ยง
จะหมุนสองรอบ เพื่อผลิตกำลังงาน ซึ่งการทำงานดังกล่าวมานั้นเรียกว่า กลวัตรดีเซล

ตารางข้างล่างนี้เป็นตารางทำงานระหว่างเครื่องยนต์ดีเซลกับเครื่องยนต์เบนซิน

ประเภทของเครื่องยนต์ดีเซลห้องเผาไหม้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญเพียงสิ่งเดียว ที่จะเป็นตัวกำหนดสมรรถนะของเครื่องยนต์ ดีเซลเผาไหม้ได้ถูกพัฒนารูปทรงขึ้นมาหลายรูปแบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งสมรรถนะของเครื่องยนต์ดีเซล โดยให้แน่ใจว่าเชื้อเพลิงที่ถูกฉีดเข้าไปเป็นฝอยละออง กลายเป็นไอและผสมเข้ากับอากาศได้อย่างทั่วถึง วิธีการที่ใช้รวมทั้งการใช้ไอดีภายในฝาสูบรูปแบบพิเศษ โดยเฉพาะเพื่อให้เกิดการหมุนวน ของอากาศภาย ในกระบอกสูบหรือการเพิ่มห้องเผาไหม้ ซึ่งจะใช้ประโยชน์จากการขยายตัวของก๊าชที่จุดเริ่มต้นของขั้นตอน การจุดระเบิด เพื่อช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพของการเผาไหม้ ห้องเผาไหม้แบบต่างๆ ที่มีใช้กับรถใน ปัจจุบันดังนี้คือ

แบบฉีดเชื้อเพลิงโดยตรง 

  หัวฉีดจะฉีดเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้หลักระหว่างฝาสูบและลูกสูบโดยตรง ห้องเผาไหม้นี้จะอยู่ ส่วนบนสุดของลูกสูบ ซึ่งจะมีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในหลายๆรูปแบบที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาไหม้ 


ข้อดี

    ก.ห้องเผาไหม้โดยตรงมีพื้นที่น้อยกว่าทำให้สูญเสียความร้อนไปในที่สุด ดังนั้นอุณหภูมิของอากาศที่ถูกอัดจึงเพิ่มขึ้น และทำให้การจุดระเบิดดีขึ้น ฉะนั้นจึงไม่เพิ่มขึ้น และทำให้การจุดระเบิดดีขึ้น ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีระบบเผาหัวสำหรับการสตาร์ท เครื่องยนต์ที่อุณหภูมิปกติ ประสิทธิภาพทางความร้อนที่สูงกว่าเป็นผลให้มีการผลิตกำลังได้สูงในขณะที่มีการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ได้ดีขึ้นเช่นเดียวกัน


    ข.ฝาสูบมีโครงสร้างเป็นแบบง่ายๆ ฉะนั้นจึงมีปัญหาจากการบิดเบี้ยวจากความร้อนน้อย
    ค.เนื่องจากมีการสูญเสียทางความร้อนน้อย จึงทำให้สามารถลดอัตราส่วนกำลังอัดลงได้


ข้อด้อย

    ก.ปั๊มฉีดเชื้อเพลิงจะต้องทนทานต่อการทำงานสูง ตามความต้องการแรงดัน ในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงกว่าเพื่อให้ได้ฝอยละอองของน้ำมันเชื้อเพลิง จากการฉีดผ่านหัวฉีดแบบหลายรู
    ข.ความเร็วรอบสูงสุดของเครื่องยนต์ ที่สามารถกระทำได้ต่ำกว่า เนื่องจากการคลุกเคล้าของอากาศได้ไม่ดีเท่ากับแบบห้องเผาไหม้ช่วย
    ค.แรงดันการลุกไหม้ที่สูงกว่าทำให้เกิดเสียงดังมากกว่า และเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดดีเซลน๊อค
    ง.เครื่องยนต์แบบนี้มีความไวต่อคุณภาพของเชื้อเพลิงมาก ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องใช้เชื้อเพลิงที่มีคุณภาพสูง

ห้องเผาไหม้แบบล่วงหน้า

  ดังภาพประกอบด้านล่าง เชื้อเพลิงถูกฉีดให้เป็นฝอยละออง เข้าสู่ห้องเผาไหม้ล่วงหน้าด้วยหัวฉีดการเผาไหม้บางส่วนจะเกิดขึ้น จากนั้นเชื้อเพลิงที่ยังไม่ได้ลุกไหม้หลงเหลืออยู่จะถูกขับดันผ่านท่อเล็กๆ ที่อยู่ระหว่างห้องเผาไหม้ล่วงหน้า และห้องเผาไหม้หลัก เข้าสู่ห้องเผาไหม้หลักซึ่งเชื้อเพลิงเหล่านี้จะถูก แรงดันอากาศ ทำให้แตกตัวเป็นอนูเล็ก ๆ ทำให้ลุกไหม้หมดจดต่อไป


ข้อดี

    ก.ใช้เชื้อเพลิงได้มากแบบกว่า ซึ่งสามารถใช้เชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำได้ โดยที่เกิดควันจากการลุกไหม้น้อย
    ข.สะดวกและง่ายต่อการบำรุงรักษา เพราะว่าแรงดันที่ใช้ในการฉีดเชื้อเพลิงต่ำ และเครื่องยนต์เมื่อเปรียบเทียบแล้วจะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนจังหวะการฉีดเชื้อเพลิง
    ค.เนื่องจากว่าใช้หัวฉีดแบบเข็ม จึงทำให้ลดอาการน๊อคของเครื่องยนต์ และทำให้เครื่องยนต์ทำงานเงียบ
 
ข้อด้อย


    ก.ค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงกว่า เนื่องจากการออกแบบ และกระบอกสูบซับซ้อน
    ข.ต้องใช้มอเตอร์สตาร์ทที่มีขนาดใหญ่ การติดเครื่องยากจำเป็นต้องใช้หัวเผา
    ค.สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมาก

แบบห้องเผาไหม้หมุนวน 
  ดังภาพประกอบด้านล่าง ห้องเผาไหม้หมุนวนมีรูปร่างเป็นแบบทรงกลม อากาศที่ถูกลูกสูบอัดจะไหลเข้าไปสู่ห้องเผาไหม้หมุนวน และจะทำให้เกิดการหมุนภายในนั้น ที่ซึ่งเชื้อเพลิงจะถูกฉีดออกมา ส่วนใหญ่ของเชื้อเพลิงจะลุกไหม้ในห้องเผาไหม้หมุนวน แต่ถึงอย่างไรบางส่วนของเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ ไม่หมด ก็จะเข้าสู่ห้องเผาไหม้หลักโดยผ่านท่อส่ง เพื่อการเผาไหม้ที่หมดจดต่อไป


ข้อดี

    ก.เครื่องยนต์สามารถทำงานได้รอบสูงๆ เนื่องจากการหมุนวน ของการอัดตัวของอากาศที่รุนแรงนั่นเอง
    ข.มีปัญหาเทียบกับหัวฉีดน้อย เนื่องจากว่าใช้หัวฉีดแบบเข็ม
    ค.ช่วงระยะความเร็วของเครื่องยนต์กว้างมาก และการทำงานราบเรียบ ดังนั้นทำให้เครื่องยนต์แบบนี้มีความ เหมาะสมกับรถยนต์นั่ง

ข้อด้อย

    ก.โครงสร้างของฝาสูบและเสื้อสูบซับซ้อน
    ข.ประสิทธิภาพทางความร้อน และอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงด้อยกว่าระบบฉีดเชื้อเพลิงโดยตรง
    ค.จำเป็นต้องใช้หัวฉีด แต่ถึงอย่างไรก็จะไม่เป็นผลมากนัก สำหรับห้องเผาไหม้หมุนวนขนาดใหญ่ เครื่องยนต์ติดเครื่องค่อนข้างยาก
    ง.มักเกิดอาการดีเซลน๊อค ในขณะรอบเครื่องยนต์ต่ำ

โครงสร้างของเครื่องยนต์ดีเซล 

หลักการทำงานของเครื่องยนต์4จังหวะ

  เครื่องยนต์แบบนี้  มีการทำงานแบ่งออกเป็น  4 จังหวะ คือ จังหวะดูด จังหวะอัด  จังหวะระเบิด  และจังหวะคาย  การทำงานทั้ง 4 จังหวะของลูกสูบเท่ากับการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง 2 รอบ             เครื่องยนต์ดีเซลมีหัวฉีดที่ทำหน้าที่ฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้กระจายเป็นฝอยเล็กๆ เข้าไปในกระบอกสูบ  เพื่อผสมกับอากาศที่ถูกอัดภายในกระบอกสูบที่มีความดันและอุณหภูมิสูงพอเหมาะ และจะเกิดระเบิดเอง            

             การทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ  มีดังนี้

1.  จังหวะดูด (Suction Stroke)  ลูกสูบจะเคลื่อนที่ลง ลิ้นไอดีจะเปิด และลิ้นไอเสียจะปิด ขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ลงจะเกิดสูญญากาศภายในกระบอกสูบทำให้เกิดการดูดเอาอากาศเพียงอย่างเดียวเข้ามาในกระบอกสูบ  เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงจนถึงจุดศูนย์ตายล่าง  ลิ้นไอดีจะปิดเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศหนีออกไป
2.  จังหวะอัด (Compression Stroke) ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นขณะที่ลิ้นไอดีและไอเสียปิดทำให้เกิดการอัดอากาศภายในกระบอกสูบจนกระทั่งลูกสูบเคลื่อนที่ถึงจุดศูนย์ตายบน  ปริมาตร  ของอากาศจะเหลือประมาณ 1/16 ของปริมาตรเดิมและอุณหภูมิจะสูงประมาณ 550 องศาเซลเซียส
3.  จังหวะระเบิด (Power Stroke)  เมื่อลูกสูบอยู่ที่ตำแหน่งศูนย์ตายบน  อากาศจะถูกอัดเต็มที่และมีความร้อนสูง  หัวฉีดก็จะฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปในกระบอกสูบทำให้เกิดการระเบิด และผลักลูกสูบให้เคลื่อนที่ลง
4.  จังหวะคาย (Exhaust Stroke)  ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้น ลิ้นไอดีจะปิด แต่ลิ้นไอเสียจะเปิด  ทำให้อากาศเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ถูกขับออก  เมื่อสิ้นสุดจังหวะคายแล้วลูกสูบก็จะเคลื่อนที่ลงทำให้เกิดจังหวะดูดต่อไป

เครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ ( 4  Cycle Gasoline Engine )โครงสร้างพื้นฐานของเครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ



            เครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ สามารถจัดแบ่งกลุ่มชิ้นส่วนโครงสร้างที่เป็นพื้นฐานของเครื่องยนต์ได้ดังนี้ ลักษณะพื้นฐานของเครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ               
1.  เสื้อสูบกับกระบอกสูบและห้องเพลาข้อเหวี่ยง   เป็นชิ้นส่วนเครื่องยนต์ที่เป็นโครงสร้างหลักสำหรับยึดชิ้นส่วนอื่นๆของเครื่องยนต์            
2.  กลไกลูกสูบและข้อหมุนเหวี่ยง  (Piston & Cranking Mechanism) ประกอบด้วย ลูกสูบ  ก้านสูบ  เพลาข้อเหวี่ยง  และล้อช่วยแรงซึ่งเป็นชิ้นส่วนเคลื่อนที่ของเครื่องยนต์ที่รับความดันจากการเผาไหม้ในห้องสูบแล้วเปลี่ยนเป็นแรงกระทำบนหัวลูกสูบ  ไปส่งต่อผ่านก้านสูบไปกระทำที่ก้านหมุนเพลาข้อเหวี่ยงทำให้เพลาข้อเหวี่ยงหมุนอย่างเรียบจ่ายแรงบิดออกไปใช้งาน            
3.  ฝาสูบ  เป็นฝาปิดกระบอกสูบทำให้เกิดเป็นห้องเผาไหม้ขึ้นในเครื่องยนต์และทำให้เป็นปริมาตรอัดเกิดขึ้นบนฝาสูบ             
4.  กลไกลิ้น (Valve Mechanism) หรือกลไกขับควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ (Engine Steering Mechanism)  ประกอบขึ้นด้วย เพลาลูกเบี้ยว  ปลอกกระทุ้งลิ้น  ก้านกระทุ้งลิ้น  กระเดื่องกดลิ้น  สปริงลิ้นและลิ้น                ส่วนชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องยนต์อื่นๆเช่น  คาร์บูเรเตอร์  ระบบจุดระเบิด  ปั๊มน้ำ  อัลเตอร์เนเตอร์  มอเตอร์สตาร์ท  ปั๊มน้ำมันเครื่อง ฯลฯ เป็นชิ้นส่วนของระบบการทำงานเครื่องยนต์ที่มีแตกต่างกันตามแบบของระบบนั้นๆ  

กระบวนการทำงานในแต่ละจังหวะของเครื่องยนต์เครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ

             ในแต่ละกลวัฏเครื่องยนต์  ขั้นตอนตามลำดับตลอดกลวัฏเครื่องยนต์คือการดูด  การอัด  การใช้งาน  และการคายดำเนินไปกับการเคลื่อนที่ของลูกสูบทั้ง 4 ช่วงชักดังต่อไปนี้             
1.  จังหวะดูด (Suction Stroke)
                 การดูดหรือการบรรจุสูบเริ่มจากลิ้นไอดีเปิดก่อนที่ลูกสูบถึงศูนย์ตายบนเล็กน้อยจนกระทั่งลูกสูบเลื่อนลงแล้วผ่านลงศูนย์ตายล่าง  กระบอกสูบจะได้รับการบรรจุสูบหรือการใส่เชื้อผสมของเชื้อเพลิงกับอากาศตลอดเวลาระหว่างจังหวะดูด                ในระหว่างที่ลูกสูบเลื่อนตัวเองไปหลังศูนย์ตายบนทำให้ปริมาตรของกระบอกสูบโตขึ้นและนำไปสู่การลดลงของความดันเป็นความกดดันต่ำจนเหลือประมาณ 0.8-0.9 บาร์ก็จะมีอาการดูดเกิดขึ้นในห้องสูบตามมาด้วยการเปิดของลิ้นไอดี  เชื้อผสมของเบนซินและอากาศก็จะไหลเข้ามาในห้องสูบ
                จากอุณหภูมิทำงาน (Working  Temperature) ของเครื่องยนต์ทำให้อุณหภูมิของแก๊สไอดีที่ไหลเข้ามาสูงขึ้นถึง 100 องศาเซลเซียส
               ตลอดเวลาการดูดของลูกสูบ  เชื้อเพลิงผสมของอากาศและเบนซินจะเข้าสู่ห้องสูบเป็นไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากการขยายโตขึ้นของปริมาตรในห้องสูบ  เมื่อลูกสูบเลื่อนลงมีผลทำให้ห้องสูบมีความกดดันต่ำเกิดความแตกต่างและต่ำกว่าภายนอกห้องสูบขึ้นมาก  หมายถึงว่าด้วยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลิ้นไอดีที่โตเท่าที่จะทำได้ยอมให้ไอดีไหลผ่านเข้าไปในห้องสูบ  ลิ้นไอดีเปิดก่อนศูนย์ตายบนถึงประมาณ 40 องศาเพลาข้อเหวี่ยง  แต่อย่างไรก็ไม่สามารถ  ทำให้การบรรจุสูบของไอดีเข้าไปทดแทนความดันที่ต่ำลงเป็นไปได้อย่างเต็มที่ 100% และจากการที่กระแสไหลของไอดียังมีพลังอยู่มากด้วยความเฉื่อยของมันในช่วงสั้นๆ หลังศูนย์ตายล่าง  เพื่อต้องการให้มีการบรรจุสูบยาวนานขึ้นจึงยอมให้ลิ้นไอดีเปิดให้ไอดีไหลเข้าห้องสูบอีกต่อไป  จนถึงหลังศูนย์ตายล่างประมาณ 70 องศาเพลาข้อเหวี่ยงแล้วลิ้นไอดีจึงปิด  การบรรจุไอดีเข้าห้องสูบจึงจะสิ้นสุดลง จากความเร็วรอบของเครื่องยนต์ทำให้การบรรจุสูบมีเวลาสั้นที่จะไหลเข้าไปผ่านลิ้นไอดี  ลิ้นไอดีจึงต้องเปิดเร็วขึ้นก่อนศูนย์ตายบนและปิดช้าลงหลังศูนย์ตายล่างให้ลิ้นไอดีมีเวลาเปิดยาวขึ้น  รวมช่วงการเปิดของลิ้นไอดีถึงประมาณ 300 องศาเพลาข้อเหวี่ยง  จำนวนองศาก่อนศูนย์ตายบนหรือหลังศูนย์ตายล่างจะมีจำนวนมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการออกแบบจำนวนความเร็วรอบของเครื่องยนต์ 
2.  จังหวะอัด (Compression Stroke)

             การอัดเชื้อผสมของเชื้อเพลิงกับอากาศเกิดขึ้นขณะลูกสูบแล่นขึ้นสู่ศูนย์ตายบนเมื่อลิ้นไอดีปิดแล้วทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นแต่การอัดนั้นยังไม่ทำให้อุณหภูมิสูงพอที่จะทำให้เชื้อเพลิงเกิดจุดติดไฟตัวเองหรือเชิงจุด(Self Ignition) ขึ้นได้             จากอุณหภูมิอัด (Compression Temperature) ที่สูงขึ้นทำให้เชื้อเพลิงกลายเป็นไอระเหย(Vapour) ดีขึ้นกว่าเดิมและเกิดการคลุกเคล้ากับอากาศได้ดีขึ้นด้วยกลายเป็นเชื้อระเบิด(Vapoured Mixture) ในจังหวะอัดลูกสูบเลื่อนตัวเองจากศูนย์ตายล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบน ลิ้นไอดียังเปิดอยู่จนกว่าถึงหลังศูนย์ตายบน 70 องศาเพลาข้อเหวี่ยง ในช่วงนี้ปริมาตรกระบอกสูบจะเล็กลง ความดันและอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น การวัดขนาดของการอัดที่ศูนย์ตายบนวัดเป็น สัดส่วนความอัด (Copression Ratio) การเลือกใช้อัตราการอัดในเครื่องยนต์ออโตเมื่อลูกสูบอัดสุดหรือปลายจังหวะอัดจะต้องไม่เกิดการชิงจุด (Preignition) ของเชื้อผสมของอากาศและเบนซินในห้องสูบขึ้นได้อันหมายถึงว่าถ้าเกิดการชิงจุดจะทำให้เครื่องยนต์เกิดอาการน็อกขึ้น จากการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้านการน็อก (Anti Knock) และการออกแบบลักษณะห้องเผาไหม้ที่เหมาะสมจึงทำให้เครื่องยนต์นี้มีอัตราการอัดสูงขึ้นได้ถึงประมาณ 8 : 1-11 : 1 และอุณหภูมิอัดสูงสุดถึงประมาณ 350 – 450 องศาเซลเซียส อันเป็นอุณหภูมิอัดเฉลี่ยที่มีค่าเป็นกลาง ๆ  ส่วนอุณหภูมิที่เป็นจริงซึ่งสูงกว่านี้จะถูกหล่อเย็นหรือระบายออกไปทางผนังกระบอกสูบส่วนหนึ่งและทางชิ้นส่วนหล่อเย็นอื่น ๆ อีกเช่น หัวสูบลิ้นไอเสียเป็นส่วนใหญ่             อัตราอัดของเครื่องยนต์เป็นผลให้เกิดความดันอัดหรือกำลังอัด (Compression Pressure) ขึ้นประมาณ 10 –16 บาร์ ผลเสียของการอัดสูง ๆ ติดตามมาคือความดันในจังหวะงานสูงแล้วสิ่งที่ติดตามมาคือ ชิ้นส่วนเครื่องยนต์รับภาระมากเกินไป (Over Load) การจุดติดไฟของเชื้อระเบิดยังอยู่ในช่วงของการที่ลูกสูบแล่นจากศูนย์ตายล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบนในเวลาอันสั้นก่อนศูนย์ตายบน ความดันที่ขึ้นสูงมากขึ้นจึงไม่เกิดขึ้นเพียงปริมาตรที่ค่อนข้างเล็กลงเท่านั้น แต่ยังเพิ่มขึ้นมาจากการเผาไหม้ที่รวดเร็วและรุนแรงที่เรียกว่าการจุดระเบิดอีกด้วย และการเกิดความดันที่เพิ่มขึ้นอย่างมากตามสัดส่วนของกำลังอัดในจังหวะอัดนี้เป็นการเพิ่มความดันในห้องเผาไหม้ที่ค่อย ๆ เกิดขึ้นก่อนลูกสูบถึงศูนย์ตายบนอีกด้วย

จังหวะงาน (Working Stroke) หรือจังหวะกำลัง (Power Stroke)

             การใช้งานความดันจากการเผาไหม้เริ่มตั้งแต่การจุดระเบิดจากประกายไฟหัวเทียนก่อนศูนย์ตายบนและเบนซินจะเผาไหม้สมบูรณ์ในช่วงจังหวะอัด แล้วดันหัวลูกสูบหลังจากเปลี่ยนการเคลื่อนที่จากขึ้นเป็นลงให้เลื่อนลงมาจากศูนย์ตายบนสู่ศูนย์ตายล่างที่ความดันสูงเกือบถึงจุดที่เชื้อผสมอากาศและเบนซินจะติดไฟขึ้นได้เอง ประกายไฟจุดระเบิด (Ignition spark) จะปรากฏขึ้นเพื่อเป็นความร้อนที่จะจุดให้เบนซินติดไฟเผาไหม้ขึ้น  ตำแหน่งที่เกิดประกายไฟจุดระเบิดจะอยู่ก่อนศูนย์ตายบนเล็กน้อยตอนปลายจังหวะอัด  เมื่อเกิดการจุดระเบิดขึ้นแล้วเปลวไฟจะลุกลามเผาไหม้เชื้อผสมของเชื้อเพลิงกับอากาศจนกระทั่งเผาใหม้หมดต้องใช้เวลาประมาณ 1/ 1000 วินาที  จึงต้องทำการจุดประกายไฟเพื่อจุดระเบิดก่อนที่ลุกสูบถึงศูนย์ตายบน  ตำแหน่งจุดติดไฟหรือองศาจุดระเบิดขึ้นอยู่กับโครงสร้างของเครื่องยนต์คือความเร็วรอบและภาระ  จำนวนองศาเพลาข้อเหวี่ยงสูงสุดของเครื่องยนต์ประมาณ 40 องศาก่อนศูนย์ตายบน  เมื่อเกิดการเผาไหม้เชื้อผสมที่บรรจุสูบแล้วจะเกิดการขยายตัวของแก๊สเผาไหม้ที่มีความร้อนสูงและความดันที่เกิดขึ้นจะดันให้ลูกสูบแล่นลงสู่ศูนย์ตายล่าง 

การบวนการเผาไหม้ (Combustion Process)  

           กระบวนการเผาไหม้เริ่มโดยอณูเล็กๆของเชื้อเพลิงผสมของอากาศและเบนซินได้พบกับประกายไฟของหัวเทียนตรงจุดที่จุดติดไฟ (Ignition Point) การเผาไหม้จะส่งกันต่อออกไปเป็นชั้นๆของเชื้อระเบิดเป็นเปลวติดไฟหรือเปลวนำ (Flame Front) ลุกลามต่อไปเรื่อยๆผ่านเข้าสู่ห้องเผาไหม้แผ่กระจายลุกลามเป็นรูปรัศมีโดยรอบ  เพื่อให้เกิดการจุดระเบิดของเชื้อระเบิดเป็นไปอย่างปลอดภัยจะต้องมีเงื่อนไขดังนี้

1.เปลวไฟจะต้องมีจำนวนปริมาณความร้อนที่มากพอ
2.มีความสามารถจุดติดไฟของเชื้อผสมของเชื้อเพลิงกับอากาศจะเกิดขึ้นได้ด้วยประกายไฟจากหัวเทียนเท่านั้น
  ไม่ว่าเครื่องยนต์ร้อนขึ้นในอุณหภูมิทำงานหรือเครื่องยนต์เย็นในขณะสตาร์ทติดเครื่องการเผาไหม้เชื้อผสมเชื้อเพลิง  จะต้องเผาไหม้หมดเรียบร้อยหลังจากศูนย์ตายบนเพียงเล็กน้อยเมื่อลูกสูบเริ่มเลื่อนลงจังหวะคาย (Exhaust Stroke)   การคายเริ่มจาก่อนศูนย์ตายล่างและไปสิ้นสุดที่หลังศูนย์ตายบน  แก๊สเผาไหม้จะต้องถูกนำออกจากห้องเผาไหม้อย่างหมดจดในระหว่างจังหวะงานประมาณ 40-60 องศาเพลาข้อเหวี่ยงก่อนศูนย์ตายล่างลิ้นไอเสียเริ่มเปิด  จากความดันที่เกิดจากการระเบิดและขยายตัวแล้วต้องลดลงเหลือประมาณ 3-5 บาร์จะดันให้แก๊สเผาไหม้เริ่มไหลถ่ายเทออกทางช่องไอเสียด้วยความเร็วสูงพอควร  และเพื่อต้องการให้แก๊สเผาไหม้จำนวนมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ไหลออกไปด้วยกระแสไหลมากที่สุด  ลิ้นไอเสียจึงจะปิดหลังจากศูนย์ตายบน 30 องศาเพลาข้อเหวี่ยง 
donate your car today | donate your vehicle | donating a car for taxes | donating car in california | donating my car tax deduction | donating used cars to charity | donation for cars | how donate car | how to donate a car | how to donate a car in california | how to donate my car | how to donate your car | i want to donate my car | junk car donation | places to donate cars | sacramento car donation | tax break for donating a car | tax deduction car donation | tax deduction for car donation | vehicle donate | vehicle donation | where can i donate my car | where to donate a car | where to donate car | where to donate my car

หมวดหมู่ยานยนต์

 
Support : A | B | C
Copyright © 2016. เทคโนโลยียานยนต์ - All Rights Reserved