Custom Search
donate car tax deduction | donate car to charity | donate car to charity california | donate car to charity los angeles | donate car without title | donate cars for kids | donate my car | donate my car to charity | donate your car | donate your car bay area | donate your car california | donate your car for kids | donate your car in maryland | donate your car nyc | donate your car tax deduction | donate your car to charity
รauto donation charities | best car donation program | best charity car donation program | best place to donate car | best place to donate car for tax deduction | california car donation | california donate car | car donation | car donation bay area | car donation ca | car donation california | car donation dc | car donation deduction | car donation in california |

วิวัฒนาการของเครื่องยนต์


วิวัฒนาการของเครื่องยนต์
            ในปีพ.ศ. 2236 นายปาแปง (Papin) ชาวฝรั่งเศสได้คิดประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำขึ้นสำเร็จเป็นครั้งแรก และในระยะเดียวกันนายเซปาเลย์ (Sepaley) ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ และสามารถนำมาเป็นตัวต้นกำเนิดกำลังฉุดเครื่องปั๊มน้ำออกจากเหมืองแร่ได้สำเร็จ แต่ปรากฏว่าเครื่องจักรไอน้ำมีปัญหาบางประการ และนายนิวแมน (Newman) ชาวอังกฤษได้ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น
            จากนั้นนายเจมส์ วัตต์ (James Watt) ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ โดยใช้กำลังดันของไอน้ำไปผลักดันให้ลูกสูบเคลื่อนไปมาในแนวดิ่งขับดันเพลาให้หมุน เพื่อเป็นตัวกำเนิดกำลังของเครื่องจักรไอน้ำเป็นพื้นฐานของเครื่องยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะต่างๆในปัจจุบัน
            ต่อมาปี พ.ศ. 2312 นายนิโคลัส โจเซฟ กูโน (Nicholas Joseph Gunoe) นายทหารชาวฝรั่งเศษได้ประดิษฐ์รถยนต์ใช้เครื่องจักรไอน้ำวิ่งได้ แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนส่วนใหญ่ในยุคนั้น
            ปี พ.ศ. 2415 ดร.ออตโต (Count Nicholas Otto) วิศวกรชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เครื่องยนต์แก๊สโซลีน (Gassoline Engine) ขึ้นสำเร็จและได้มีการพัฒนาทางด้านยนตกรรมให้เจิรฺญก้าวหน้าจนถึงปัจจุบัน
            ปี พ.ศ. นายเดมเลอร์ (Gottlieb Daimler) นายเบนซ์ (Carl Benz) และนายเมย์บัค (Maybach) ซึ่งเป็นชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์เครื่องยนต์แก๊สโซลีนที่มีความเร็วมากกว่าของ ดร.ออตโต ถึง4เท่า คอมีความเร็วรอบถึง 900 รอบต่อนาที
            ปี พ.ศ. 2436 นายเมย์บัค ได้ประดิษฐ์คาร์บูเรเตอร์ที่ใช้ระบบนมหนู
            ปี พ.ศ. 2437 นายเบนซ์ ได้คิดประดิษฐ์เครื่องยนต์ขนาด 2 ¾ แรงม้าขึ้นสำเร็จ
            ปี พ.ศ. 2438 พี่น้องตระกูลมิชลิน (Michelin) ได้คิดผลิตยางแบบเติมลมขึ้นใช้กับล้อรถยนต์
            ปี พ.ศ 2440 นายมอร์ ชาวฝรั่งเศษ ได้คิดพัฒนาเครื่องยนต์เป็นรูปทรงตัววี (V) ขนาด 8 สูบ หรือเรียกว่าเครื่องยนต์ V8 ได้สำเร็จ

            ปี พ.ศ. 2440 ชาวออสเตรียชื่อ นายแกรฟและสตีฟ ผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้าขึ้นสำเร็จ

            ปี พ.ศ. 2441 นายเดมเลอร์ได้คิดประดิษฐ์เครื่องยนต์สูบเรียง 4 สูบขึ้นได้สำเร็จและหลังจากนั้นหนึ่งปีนายเดมเลอร์ได้คิดประดิษฐ์ เกียร์ หม้อน้ำ และเร่งเครื่องยนต์ด้วยเท้าสำเร็จ
            ปี พ.ศ. 2442 นายเรโนลต์ แห่งฝรั่งเศส ได้ผลิตข้อต่ออ่อนใช้กับเพลาขับของรถยนต์ได้สำเร็จ
            ปี พ.ศ. 2445 ชาวฮอลแลนด์ชื่อนายสไปร์เดอร์ ได้ผลิตเครื่องยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ (4WD) โดยใช้เครื่องยนต์ 6 สูบ เป็นเครื่องยนต์ต้นกำลังสำเร็จ
            ปี พ.ศ. 2446 นายเมาด์สเลย์ ชาวอังกฤษได้คิดค้นประดิษฐ์เครื่องยนต์ที่ติดตั่งเพลาลูกเบี้ยวอยู่บนฝาสูบได้สำเร็จ ที่เรียกว่า O.H.C (Over Head Camshaft)
            ปี พ.ศ. 2450 นายซักวิก ชาวอเมริกาไดประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์ที่เรียกว่า ซูเปอร์ชาร์จเจอร์ (Supercharger) ใช้กับเครื่องยนต์
            ปี พ.ศ. 2451 นายฟอร์ด ได้ผลิตระบบจุดระเบิดที่ใช้คอยล์และจานจ่าย และประดิษฐ์รถยนต์โมเดลใหม่ขึ้นมาเรียกว่า โมเดล-ที
            ปี พ.ศ. 2455 นายเปอร์โยต์ (Peugeot) ได้นำเครื่องยนต์ที่ใช้เพลาลูกเบี้ยวอยู่บนฝาสูบชนิดคู่ (O.H.C Twincam) ใช้กับเครื่องยนต์ของรถยนต์
            เครื่องยนต์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีจุดหมายอยู่ที่ความปลอดภัยความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว ความประหยัด และการลดมลภาวะจากเครื่องยนต์รถยนต์


แสดงรูปวิวัฒนาการของเครื่องยนต์





ระบบจุดระเบิด


ระบบจุดระเบิด

       ทำหน้าที่นำกระแสไฟแรงเคลื่อนต่ำ  12  โวลท์ มาแปลงเป็นไฟแรงเคลื่อนสูง ประมาณ  5,000 – 30,000  โวลต์  ไปกระโดดข้ามที่หัวเทียน เพื่อให้เกิดการระเบิดของไอดี  ระบบจุดระเบิดประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ  ดังนี้

2.1    แบตเตอรี่  เป็นแหล่งจ่ายกระแสไฟเบื้องต้นในรถยนต์  ในขณะที่เครื่องยนต์ยังไม่ติด



รูปแสดงแบตเตอรี่รถยนต์

2.2    สวิตช์จุดระเบิดหรือสวิตช์กุญแจ  ทำหน้าที่ตัดต่อไฟแรงต่ำกับระบบจุดระเบิด คอยล์จุดระเบิด  ทำหน้าที่แปลงไฟแรงเคลื่อนต่ำให้เป็นไฟแรงเคลื่อนสูง  แล้วส่งไปยังหัวเทียน




สดงรูปสวิตช์กุญแ

2.3    คอนเดนเซอร์  ทำหน้าที่ป้องกันการอาร์คที่หน้าททองขาวขณะที่หน้าทองขาวเปิด


แสดงรูปคอนเดนเซอร์

2.4    ชุดทองขาว  ทำหน้าที่เป็นสวิทช์อัตโนมัติตัดต่อไฟแรงต่ำจากคอยล์จุดระเบิดกับกราวด์


แสดงรูปชุดหน้าทองขาว

2.5    จานจ่าย  ทำหน้าที่จ่ายไฟแรงสูงให้กับหัวเทียนแต่ละสูบตามจังหวะการทำงาน


แสดงรูปจานจ่าย

2.6    หัวเทียน  ทำหน้าที่นำไฟแรงสูงที่คอยล์ส่งมาให้  ทำให้เกิดการสปาร์ค เพื่อจุดระเบิดไอดี


แสดงรูปหัวเทียน


หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ

หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ
       เครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ มีกลวัตรในการทำงานดังนี้คือ จังหวะดูด จังหวะอัด จังหวะระเบิด และจังหวะคาย








1. จังหวะที่1 เป็นจังหวะดูดและจังหวะอัดในจังหวะนี้จะเริ่มต้นเมื่อลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ตายล่างและเริ่มเคลื่อนที่ขึ้นสู่ศูนย์ตายบนก่อนที่จะเคลื่อนที่ขึ้นหัวลูกสูบจะอยู่ต่ำกว่าช่องทางเข้าไอดีทำให้ช่องทางไอดีเปิด(Blower)จะดูดอากาศจากภายนอกผ่านช่องทางไอดีจนบรรจุเต็มลูกสูบจะเคลื่อนที่จากจุดศูนย์ตายล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบนปิดช่องทางไอดีลิ้นไอเสียทั้งสองจะปิดสนิทอากาศจะถูกอัด


รูปแสดงการทำงานของจังหวะดูดกับอัด





















2. จังหวะที่ 2  เป็นจังหวะระเบิดกับจังหวะคาย เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นอัดอากาศหัวฉีดจะฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นฝอยละอองเข้าสู่ห้องเผาไหม้เพื่อให้คลุกเคล้ากับอากาศที่ร้อนเกิดการเผาไหม้และจุดระเบิดขึ้นดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลงศูนย์ตายล่างทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลงประมาณ 80 ถึง 85 เปอร์เซ็นของระยะชักลิ้นไอเสียจะเปิดให้ไอเสียระบายออกจนเต็มจนเกิดอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว



รูปแสดงการทำงานของจังหวะระเบิดกับคาย


หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ

หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล
        เครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องยนต์สันดาปภายในเช่นเดียวกับเครื่องยนต์แก็สโซลีนแต่ถูกออกแบบให้เชื้อเพลิงที่อยู่ในกระบอกสูบเกิดการลุกไหม้ด้วยความร้อนของอากาศดังนั้นอัตราส่วนการอัดจึงต้องสูงกว่า15ถึง22ต่อ1น้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดด้วยหัวฉีดให้เข้าคลุกเคล้ากับอากาศที่มีอุณหภูมิสูงจนสามารถทำให้เกิดการจุดระเบิดขึ้นเป็นกำลังงานในการขับเคลื่อนรถยนต์
       โครงสร้างและชิ้นส่วนต่างๆส่วนใหญ่ยังคงเหมือนกับเครื่องยนต์แก็สโซลีนแต่จำเป็นจะต้องออกแบบให้มีความแข็งแรงเพื่อทนการสึกหรอที่เกิดขึ้นได้อย่างดี

         หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบคือ เครื่องยนต์ดีเซล 4จังหวะ และเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ
หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ
          เครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะมีจังหวะการทำงานใน 1 กลวัตรประกอบด้วย จังหวะดุด จังหวะอัด จังหวะระเบิด จังหวะคาย โดยการทำงานครบ 1 กลวัตรการทำงานเพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2 รอบและเกิดการลุกไหม้ของเชื้อ 1 ครั้ง ดั้งนั้นการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะมีดังนี้



1.จังหวะดูด (Intake Stroke)ลูกสูบเคลื่อนที่จากตำแหน่งศูนย์ตายบน(TDC)ลงสู่จุดศูนย์ตายล่าง(BDC)ลิ้นไอดีเริ่มเปิดให้อากาศบริสุทธ์จากภายนอกเข้ามาในกระบอกสูบในขณะที่ลิ้นไอเสียปิดสนิทเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงจนถึงจุดศูนย์ตายล่างลิ้นไอดีจึงปิด เป็นการสิ้นสุดจังหวะดูด


2.จังหวะอัด (Compression Stroke)จังหวะนี้ลูกสูบเคลื่อนที่จากศูนย์ล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบน   ลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียปิดสนิทลูกสูบจะอัดอากาศเพื่อเพิ่มแรงดันในห้องเผาไหม้ประมาณ 30 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (427ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)ทำให้อุณภูมิของอากาศภายในระบอกสูบสูงถึงประมาณ 500 ถึง 800 องศาเซลเซียส


  3. จังหวะระเบิดหรือจังหวะงาน (Power Stroke) ก่อนลูกสูบเคลื่อนที่ถึงตำแหน่งศูนย์ตายบนเล็กน้อยน้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดเข้ากระบอกสูบผ่านหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงถูกฉีดเป็นฝอยละเอียดเข้าไปคลุกเคล้ากับอากาศที่ร้อนจึงเกิดการลุกไหม้ขึ้นหรือเกิดการระเบิดอย่างรวดเร็วและขยายตัวเป็นแก็สผลักดันให้ลูกเคลื่อนที่จากศูนย์ตายบนลงสู่ศูนย์ตายล่าง


4. จังหวะคาย (Exhaust Stroke)ก่อนลูกสูบเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายล่างเล็กน้อยลิ้นไอเสียเริ่มเปิดแต่ลิ้นไอดียังคงปิดสนิทจากนั้นลูกสูบก็เคลื่อนที่จากศูนย์ตายล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบนเพื่อขับไล่แก็สไอเสียให้ออกจากห้องเผาไหม้เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายบนลิ้นไอเสียก็ปิด




โครงสร้างของเครื่องยนต์











Review ในเชิงลึกรถยนต์ไฟฟ้า Tesla รุ่น S


         รีวิว ประสิทธิภาพ และสมถนะการใช้งาน รถยนต์ไฟฟ้า ของ Tesla  Model S ที่ถูกจัดอันดับ Top 5 Electric Cars ที่เร็วและดีที่สุด ในขณะนี้    เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่เพิ่งเข้ามาแทนที่ระบบเครื่องยนต์ ที่ใช้เชื้อเพลิงเผาไหม้จากน้ำมันและแก๊ส ซึ่งระบบน้ำมันและแก๊สจะเป็นระบบที่ยังมีการสร้างมลภาวะเสียและเป็นพิษทางบรรยากาศอยู่  จึงจำเป็นต้องมีการออกแบบรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า  มาใช้ให้มากขื้นเพื่อลดมลภาวะเป็นพิษได้ด้วย  โดยปัจจุบันก็ได้มีหลายค่ายผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆ หันมาวิจัยพัฒนาและออกแบบรถยนต์ที่ใช้ระบบไฟ้ฟ้าให้ตอบสนองการใช้งานได้ดีเทียบเท่าหรือดีกว่าทุกระบบการทำงานของระบบเครื่องยนต์แบบเดิมๆอีก








10 สุดยอดรถยนต์ไฟฟ้าที่เร็วที่สุด( Fastest Electric Cars )


การทดสอบเพื่อวัดผลความเร็วที่สุด ใน 10 อันดับ รถยนต์ ที่ใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ส่วนใหญ๋จะเป็นรถยนต์ที่ได้นำเอามาดัดแปลงใส่เครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานจากไฟฟ้ามาขับขี่ในความเร็วสูงเพื่อดูความเร็วที่ทำได้ 





เปิดตัว TOYO TIRES R1R DRAG BATTLE 2016 สนามหนึ่ง ศึกสายแดร็กเบนซิลสุดโหด ดวลคันเร่งร้อนระอุ รังสิตคลอง 5



ต.สยาม คอมเมอร์เชียล จำกัด เอาใจสิงห์ทางตรงสนับสนุนศึกเบนซิล สายแดร็กสุดโหด “TOYO TIRES R1R DRAG BATTLE 2016” โดยส่งยาง TOYO TIRES รุ่น PROXES R1R ให้กับนักแข่งได้พิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของ TOYO TIRES รุ่น Proxes R1R  ซึ่งเป็นยางที่บรรดานักแข่งสายแดร็กทั่วโลกให้ความนิยมเป็นอย่างมาก   สำหรับการแข่งขัน TOYO TIRES R1R DRAG BATTLE 2016 ได้แบ่งการแข่งขันเป็นรุ่นต่างๆ อาทิ 1500 N/A, TURBO B และ K SERIES, 4 สูบ และ 6 สูบ TURBO และยังมีการแข่งขันรุ่นพิเศษ BRACKET CHALLENGE  ซึ่งเป็นรุ่นที่เปิดโอกาสสำหรับ ให้ลูกค้าท่านใดก็ได้ที่ใช้ยาง TOYO TIRES  ได้เข้าร่วมแข่งขันโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ชิงเงินรางวัลสูงถึง 10,000 บาท  สำหรับกิจกรรมครั้งนี้มีรถซิ่งสายแดร็ก เครื่องเบนซิล เข้าร่วมโชว์พลังเครื่องกันอย่างคับคั่งท่ามกลางบรรยากาศที่มีควันตลบอบอบอวล
สำหรับสนามต่อไปจะจัดขึ้นวันที่ 11 มิถุนายน 2559  ณ บางกอกแดร็กอเวนิว รังสิตคลอง 5  สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.toyotires.in.th

สหพันธ์ขนส่งฯ หนุนโปรเจ็คเศรษฐกิจพิเศษตาก เน้นย้ำ เอกชน – รัฐฯ ต้องร่วมมือแบบบูรณาการ


สหพันธ์ขนส่งฯ ขานรับ “โครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก” เน้นย้ำเอกชนต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรม ความจริงใจของภาครัฐและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
จากสรุปผลการประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 โครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก ซึ่งจะมีการสร้างสนามบินแห่งที่ 2 ที่พื้นที่ อ.แม่ระมาด รองรับการเติบโตในอีก 20 ปี ข้างหน้า และดันแม่สอดเป็น Green Economy เพื่อฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำ ดร.ทองอยู่ คงขันธ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแหงประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้ อ.แม่สอด จ.ตาก มีความเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดดังนั้นสิ่งที่ต้องระมัดระวังควบคู่ไปกับการพัฒนาคือ
1.ผังเมือง : การเติบโตอย่างรวดเร็วอาจจะทำให้การขยายผังเมืองแบบไร้ทิศทาง เพราะแต่เดิมไม่ได้มีการกำหนดว่าพื้นที่นี้จะเป็นเศรษฐกิจพิเศษ ดังนั้น
- การวางผังเมืองต้องสอดคล้องกับสภาพทางกายภาพ (พื้นที่เป็นที่ราบสลับเนิน รวมถึงเป็นภูเขา)
- มองเป้าหมายระยะยาวใน 20 – 50 ปีข้างหน้า
- ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ การวางผังเมืองจะต้องไม่ขวางกั้นทางน้ำ
- ควรจัดสร้างถนนแบบวงแหวนเพื่อเชื่อมต่อระหว่างเมืองชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก
- ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ด้านอุปโภค-บริโภค ทั้งนี้การเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษแน่นอนว่าจะมีการเติบโตของอุตสาหกรรมทุกรูปแบบ ทั้งหนักและเบา
- ระบบไฟฟ้า เมื่อมีการเติบโตของอุตสาหกรรม ไฟฟ้าจะต้องมีเพียงพอ
- การขยายการขนส่งทางอากาศ ปัจจุบันด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่างทำให้สนามบินของที่นี่ไม่สามารถรองรับได้อย่างเต็มที่ จะต้องมีการวางแผนเพื่อรองรับการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ
2.การขนส่ง : การขนส่งไปยัง อ.แม่สอด ค่อนข้างมีปัญหา ดังนั้น
- การให้สิทธิพิเศษเพื่อดึงดูดให้นักลงทุนมาทำธุรกิจ เช่น สิทธิพิเศษด้านภาษี
- ศูนย์กลางโลจิสติกส์ หรือ Truck Terminal ที่มีมาตรฐาน และต้องใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
- ความพร้อมรองรับอุตสาหกรรมด้าน Warehouse และ Logistics ต้องมีการจัดสรรพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องเชื่อมโยงกับการขนส่งไปยังประเทศเมียนม่าร์ได้อย่างสะดวก สามารถนำสินค้าไปพักเพื่อรอขนส่งข้ามแดนได้ โดยมีการควบคุมให้ชัดเจน
3.พื้นที่สีเขียว : คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การกำจัดขยะ การบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและ ไม่สร้างมลภาวะให้เกิดขึ้นกับชุมชน
4.สร้างรายได้ให้ชุมชน : การมีส่วนร่วมกับชุมชน ทำให้คนในท้องถิ่นมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น
ดร.ทองอยู่กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งสำคัญเหนืออื่นใดคือ นโยบายของภาครัฐฯ และท้องถิ่นต้องไปด้วยกัน ทุกหน่วยงานที่เข้าไปมีบทบาทต้องมีมิติที่สัมพันธ์กับชุมชน พื้นที่ที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษจะมีปัญหาที่คล้ายคลึงกัน คือ ปัญหาแรงงาน ถ้าแรงงานพม่ากลับบ้านจะเอาแรงงานที่ไหนมาทดแทน การเชื่อมโยงของระบบโลจิสติกส์จะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดต้นทุนของการขนส่ง เหล่านี้ต้องควบคุมจัดการให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า
“นโยบายของภาครัฐฯ จะต้องสมดุลกับเอกชน เพื่อไม่ให้การลงทุนของรัฐสูญเปล่า ใครบ้างที่มีส่วนร่วม เช่นผู้ลงทุน ผู้ใช้บริการ ทำอย่างไรให้มีการพัฒนาเมืองแม่สอดอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ไม่ใช่พอเปลี่ยนรัฐบาลทีก็ค้างไม่มีการเดินหน้าต่อ ต้องมีการกำหนดให้ชัดเจน ในแง่ของภาคเอกชนมองว่าที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐฯ ที่เกี่ยวข้องในด้านคมนาคม ไม่ได้ทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง และภาคเอกชนที่เป็นหน่วยงานหลักอย่างสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ต้องเข้าไปมีบทบาทร่วมกับภาครัฐฯ ซึ่งจะต้องรับฟังจากเอกชนเพื่อนำไปเป็นแผนในการบูรณาการร่วมกัน”
ทางด้านนายสมบูรณ์ ห้วยผัด นายกสมาคมขนส่งจังหวัดตาก กล่าวว่า ปัจจุบันสมาคมขนส่งจังหวัดตากมีสมาชิกประมาณ 50 ราย มีปริมาณรถรวมกันประมาณ 500 คัน จากข้อมูลของกรมศุลกากรด่านแม่สอดมีรถบรรทุกตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป วิ่งข้ามผ่านชายแดนประมาณ 200-300 คัน ต่อวัน หากโครงการนี้มีการพัฒนาอย่างจริงจังจะทำให้ปริมาณรถเพิ่มมากขึ้นอีก ที่ผ่านมาสมาคมฯ ได้รับเชิญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็น ซึ่ง “โครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก” นี้จะเกิดผลดีต่อทั้งภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศและชุมชนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะด้านการขนส่งค้าขายชายแดน หากแต่อุปสรรคที่ยากต่อการแก้ไขคือ เรื่องของกฎหมายการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องของเชิงนโยบาย ยังไม่มีความชัดเจนตั้งแต่เปิด AEC มา ซึ่งหากมีการลงนาม MOU ร่วมกัน ก็จะเป็นสิ่งที่จะเกิดประโยชน์กับผู้ประกอบการในประเทศไทย

สุดท้ายก็คงเป็นเรื่องของภาคเอกชนที่ไปลงทุน จะต้องมีการแข่งขันกันในเชิงมาตรฐาน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาร่วมไปกับแผนของพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษอย่างแท้จริง
donate your car today | donate your vehicle | donating a car for taxes | donating car in california | donating my car tax deduction | donating used cars to charity | donation for cars | how donate car | how to donate a car | how to donate a car in california | how to donate my car | how to donate your car | i want to donate my car | junk car donation | places to donate cars | sacramento car donation | tax break for donating a car | tax deduction car donation | tax deduction for car donation | vehicle donate | vehicle donation | where can i donate my car | where to donate a car | where to donate car | where to donate my car

หมวดหมู่ยานยนต์

 
Support : A | B | C
Copyright © 2016. เทคโนโลยียานยนต์ - All Rights Reserved