Custom Search
donate car tax deduction | donate car to charity | donate car to charity california | donate car to charity los angeles | donate car without title | donate cars for kids | donate my car | donate my car to charity | donate your car | donate your car bay area | donate your car california | donate your car for kids | donate your car in maryland | donate your car nyc | donate your car tax deduction | donate your car to charity
รauto donation charities | best car donation program | best charity car donation program | best place to donate car | best place to donate car for tax deduction | california car donation | california donate car | car donation | car donation bay area | car donation ca | car donation california | car donation dc | car donation deduction | car donation in california |

สาธิตเทคนิคการประกอบแหวนลูกสูบเครื่องยนต์ | How To Install Piston Rings


สอนวิธีการใส่แหวนลูกสูบด้วยเทคนิคง่ายๆ ใครๆก็ทำได้ ถ้าคุณทำตามอย่างถูกต้อง เวลาประกอบแหวนลูกสูบของเครื่องยนต์อย่างไรไม่ทำให้แหวนหักได้


กรรมวิธีการผลิตก้านสูบ | Connecting rod manufacturing for re-engineered


หลักการทำงานของ VGT VNT Turbochargers ในเครื่องยนต์

แสดงหลักการทำงานของระบบ VGT VNT Turbochargers เทอร์ชาร์จเจอร์ของเครื่องยนต์ ด้วยรูปแบบแอนิเมชั่น3มิติ

วิธีโมดิฟายเครื่องยนต์ด้วยการขัดเงาห้องเผาไหม้ที่ฝาสูบของเครื่องยนต์ | Cylinder head modify

สาธิตขั้นตอนการขัดเงาผิวของบริเวณห้องเผาไหม้หัวลูกสูบและช่องผ่านอากาศวาล์วไอดีไอเสียที่ฝาสูบของเครื่องยนต์  Cylinder Head Porting Polishing เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานของเครื่องยนต์ให้ดีขึ้น


การปาดลูกสูบเพื่อโมดิฟายเครื่องยนต์ | Piston Modify Engine

สาธิตเทคนิคการใช้เครื่องMilling สำหรับปรับลดขนาดของความสูงของหัวลูกสูบเครื่องยนต์ ในมีขนาดที่พอดีกับปริมาตรของการอัดอากาศและส่วนผสมในห้องเผาไหม้ในเครื่องยนต์ 


การทำงานของระบบเบรคของรถยนต์ | อธิบายการทำงาน แบบเข้าใจง่าย | How Car Brake Works


แสดงการทำงานของระบบห้ามล้อในรถยนต์ (ระบบเบรค) Brake system in car  ที่จะทำให้เข้าใจได้ง่ายๆ ด้วยรูปแบบของสื่อเป็นภาพเคลื่อนไหว 2มิติ (Animation 2D) 

เฟืองท้ายลิมิเต็ดสลิปแบบใช้ทอร์กเซนซิ่ง (torque sensing limited slip differential)

เป็นเฟืองท้ายที่ประกอบด้วยเฟืองตัวหนอนจำนวนสองตัว เฟืองเดือยจำนวนสองตัว เฟืองข้างและแหวนกันรุน แรงขับของเฟืองท้ายจะเกิดขึ้นได้จากความฝืดของหน้าสัมผัสระหว่างเฟืองตัวหนอนกับเฟืองข้างที่ขบกัน และตัวเรือนเฟืองท้าย แหวนกันรุนกับเฟืองข้าง ซึ่งก็จะทำให้แรงขับของเฟืองท้ายแบบนี้เปลี่ยนแปลงและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อให้สอดคล้องกับแรงบิดที่ต้องการใช้

ภาพตัดแสดงส่วนประกอบของเฟืองท้ายลิมิเต็ดสลิปแบบทอร์กเซนซิ่ง

แสดงส่วนประกอบของเฟืองท้ายลิมิเต็ดสลิปแบบทอร์กเซนซิ่ง

เฟืองท้ายลิมิเต็ดสลิปแบบแผ่นคลัตช์หลายแผ่น (multi-platr clutch limited slip differential)

      ไม่เพียงแต่รถยนต์ที่ออกแบบให้มีเฟืองท้ายชนิดล็อคเพื่อใช้กับสภาพภูมิประเทศที่ทุรกันดารเท่านั้น แต่ในปัจจุบันรถแข่งและรถยนต์นั่งได้นาเอาเฟืองท้ายแบบลิมิเต็ดสลิปซึ่งจัดเป็นเฟืองท้ายชนิดล็อคอีกแบบหนึ่งมาใช้ด้วยเช่นกัน

ภาพตัดแสดงส่วนประกอบของเฟืองท้ายลิมิเต็ดสลิปแบบแผ่นคลัตช์หลายแผ่น
โครงสร้าง
เฟืองท้ายแบบลิมิเต็ดสลิปแบบแผ่นคลัตช์หลายแผ่นประกอบด้วยแผ่นกันรุนแผ่นคลัตช์ที่ติดตั้งสลับกันอยู่ระหว่างเฟืองข้างและตัวเรือนเฟืองท้าย โดยปลายทั้งสี่ด้านของแผ่นกันรุนจะถูกจัดวางให้อยู่ในร่องของเรือนเฟืองท้าย และร่องสไปลน์ของแผ่นคลัตช์จะถูกสวมอยู่กับเฟืองข้าง สปริงรับแรงอัดจะถูกติดตั้งอยู่ระหว่างเฟืองด้านซ้ายและด้านขวา และรับแรงอัดจากแผ่นกันรุนที่ติดอยู่กับแผ่นคลัตช์ผ่านแผ่นรองและเฟืองข้าง ด้วยเหตุนี้ผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้เฟืองข้างเก็บแรงอัดต้านกับตัวเรือนเฟืองท้ายผ่านทางแผ่นกันรุนและแผ่นคลัตช์

การทำงาน มีรายละเอียดดังนี้
- ขณะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เมื่อรถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ล้อรถทั้งด้านซ้ายและด้านขวาจะหมุนเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยความเร็วที่เท่ากัน เฟืองขับจะส่งถ่ายแรงบิดผ่านเฟืองบายศรี ตัวเรือนเฟืองท้าย เฟืองดอกจอก เฟืองข้าง แผ่นคลัตช์ สปริงรับแรงอัด เพลาข้าง และล้อหลังทั้งด้านซ้ายและด้านขวาจะหมุนเคลื่อนที่ไปพร้อมเป็นหน่วยเดียวกันเช่นเดียวกับเฟืองท้ายแบบธรรมดา

การส่งถ่ายแรงบิดของเฟืองท้ายลิมิเต็ดสลิปแบบแผ่นคลัตช์หลายแผ่นขณะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า

เมื่อเลี้ยวเข้าโค้ง ขณะที่รถเลี้ยวเข้าโค้ง ความเร็วของล้อทั้งซ้ายและขวาจะหมุนเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน ทำให้ความเร็วของเฟืองข้างและตัวเรือนเฟืองท้ายทั้งซ้ายและขวาเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วที่แตกต่างเช่นกัน เป็นเหตุให้เกิดการลื่นขึ้นระหว่างแผ่นกันรุนและแผ่นคลัตช์จะถูกกดให้แนบสนิทกันด้วยแรงอัดของสปริงรับแรงอัด ทำให้เกิดแรงบิดความฝืดเกิดขึ้นกับแผ่นกันรุนและแผ่นคลัตช์

การส่งถ่ายแรงบิดของเฟืองท้ายลิมิเต็ดสลิปแบบแผ่นคลัตช์หลายแผ่นเมื่อเลี้ยวเข้าโค้ง

เฟืองท้ายชนิดล็อคอัตโนมัติแบบสไลดิ้งบล็อก (sliding-block differential lock)

         เฟืองท้ายแบบนี้ถูกนำมาใช้กับรถที่วิ่งในภูมิประเทศที่ทุรกันดาร แต่จะทำให้ผู้ขับขี่มีสมรรถนะในการขับขี่ที่ดีเฟืองท้ายชนิดล็อคอัตโนมัติแบบสไลดิ้งบล็อกจึงประกอบด้วยลูกปืนโรลเลอร์ สไลดิ้งบล็อก วงแหวนในและวงแหวนนอก วงแหวนในและวงแหวนนอกจะถูกยึดติดอยู่กับเพลาข้างทั้งสอง วงแหวนนอกจะมีรูปร่างที่เว้าคล้ายลูกเบี้ยวและมีขนาดที่โตกว่าวงแหวนใน สไลดิ้งบล็อกหรือลูกปืนโรลเลอร์จะถูกติดตั้งอยู่ระหว่างวงแหวนทั้งสอง ทำให้ชิ้นส่วนทั้งสามนี้ทำงานร่วมกันเป็นไปโดยอัตโนมัติ
แสดงส่วนประกอบของเฟืองท้ายชนิดล็อคอัตโนมัติแบบสไลดิ้งบล็อก

การทำงาน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

- รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า สไลดิ้งบล็อกจะส่งถ่ายแรงบิดจากวงแหวนนอกไปยังวงแหวนในให้เคลื่อนที่ตามด้วยความเร็วที่เท่ากัน ซึ่งจากรูปทรงที่เว้าและมีลักษณะเป็นลูกเบี้ยวที่แตกต่างกันของวงแหวนทั้งสองนี้ จึงทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของลูกปืนโรลเลอร์สไลดิ้งบล็อกในเบ้า และจะล็อคตัวเมื่อเคลื่อนไปสัมผัสกับปลายยอดลูกเบี้ยวของวงแหวนทั้งสอง อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดการล็อคตัวของวงแหวนทั้งสองจะทำให้เกิดการถ่ายแรงบิดไปยังเพลาทันที
แสดงการหมุนของวงแหวนใน วงแหวนนอก สไลดิ้งบล็อก ซึ่งทาให้เกิดการล็อคเคลื่อนตัวไปด้วยกัน

-ขณะเลี้ยวเข้าโค้ง เมื่อเลี้ยวเข้าโค้ง สไลดิ้งบล็อกจะยอมให้วงแหวนนอกหมุนไปด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน ปลายยอดลูกเบี้ยวแต่ละยอดของวงแหวนทั้งสองจะเคลื่อนที่ไต่ข้ามลูกปืนโรลเลอร์ไปอย่างช้า ๆ ในขณะที่เฟืองท้ายหมุน

เฟืองท้ายชนิดล็อคแบบอัตโนมัติและลิมิเต็ดสลิป (Automatic Differential Locks and Limited Slip Differeotial)

เฟืองท้ายชนิดล็อคแบบอัตโนมัติและลิมิเต็ดสลิปเป็นเฟืองท้ายชนิดล็อคที่ทางานได้โดยอาศัยแรงบิดและสัมประสิทธิ์ความฝืดในการควบคุมการล็อค เพื่อให้เฟืองท้ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในขณะเข้าโค้งหรือติดโคลนตมปัจจุบันเฟืองท้ายชนิดล็อคแบบอัตโนมัติมีใช้อยู่ด้วยกัน 3 แบบก็คือ

  1. เฟืองท้ายชนิดล็อคอัตโนมัติแบบสไลดิ้งบล็อก (sliding-block differential lock)
  2. เฟืองท้ายลิมิเต็ดสลิปแบบแผ่นคลัตช์หลายแผ่น (multi-platr clutch limited slip differential)
  3. เฟืองท้ายลิมิเต็ดสลิปแบบใช้ทอร์กเซนซิ่ง (torque sensing limited slip differential)

หลักการทำงานของระบบเฟืองท้ายสำหรับรถยนต์

ในขณะที่รถเคลื่อนที่วิ่งไปข้างหน้าเมื่อรถวิ่งตรงไปข้างหน้าบนถนนที่มีระดับเดียวกัน เพลาข้างทั้งสอง ด้านจะหมุนเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วที่เท่ากัน ทำให้ส่วนประกอบของเฟืองท้ายทั้งหมดหมุนเคลื่อนที่ไปเป็น หน่วยเดียวกัน เฟืองดอกจอกจะไปหมุนไปพร้อมกับเฟืองบายศรี

แสดงการทำงานของเฟืองท้ายในขณะที่รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า


เมื่อรถเลี้ยวเข้าโค้ง ในขณะที่รถวิ่งเข้าโค้ง ก็จะทำให้ล้อด้านในมีระยะทางในการเคลื่อนที่ที่น้อยกว่าล้อ ด้านนอก ดังนั้นจึงทำให้เฟืองข้างด้านนอกมีรอบที่หมุนเพิ่มมากขึ้น นั่นคือเมื่อเฟืองดอกจอกหมุนรอบเฟืองข้าง ด้านใดด้านหนึ่ง มันจะทำให้จำนวนรอบของเฟืองทั้งสองหมุนเป็นสองเท่าของเฟืองบายศรี

แสดงการทำงานของเฟืองท้ายในขณะที่เลี้ยวเข้าโค้ง


ล้อด้านหนึ่งติดหลุมหรือโคลนตม เมื่อล้อด้านหนึ่งด้านใดเกิดติดโคลนหรือหลุม อาการของล้อจะหมุน ฟรีมาก เนื่องจากขาดแรงเสียดทานจากโคลน ทำให้เกิดการลื่นไถล ดังนั้นการเคลื่อนที่ในการทำงานของเฟือง ดอกจอกและเฟืองข้างจึงมีลักษณะที่แตกต่างจากการเลี้ยวเข้าโค้งโดยสิ้นเชิง

เฟืองแบบเฮลิคอล (helical gear)

เฟืองแบบเฮลิคอล (helical gear) มีลักษณะของฟันเฟืองที่เฉียงทั้งเฟืองขับและเฟืองบายศรีฟันเฟืองทั้ง สองจะสัมผัสกันในตำแหน่งเดียวกัน โดยจะไม่ลื่นไถลไปยังฟันเฟืองถัดไป จึงทำให้เกิดการสั่นและเสียง ดังที่ต่ำการส่งถ่ายกำลังของเฟืองจะราบเรียบ

เฟืองแบบสไปรอลบีเวล(spiral bevel gear)

 เฟืองแบบสไปรอลบีเวล(spiral bevel gear)ลักษณะของฟันเฟืองจะเฉียงโค้งทำให้ความกว้างของ หน้าสัมผัสของเฟืองบายศรีและเฟืองขับจะเหลื่อมล้ำกัน เป็นเหตุให้ฟันเฟืองที่ขบกันในขณะหมุนไม่มีเสียงดัน การถ่ายถอดแรงบิดในเฟืองถัดไปจะเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง 

เฟืองแบบไฮปอยด์บีเวล (hypoid bevel gear) เป็นอย่างไร ?


เฟืองแบบไฮปอยด์บีเวล (hypoid bevel gear) เฟืองขับจะถูกจัดให้วางอยู่ในตำแหน่งที่เยื้องจากเส้นผ่าน ศูนย์กลางของเฟืองบายศรีทำให้เฟืองมีอัตราการขบที่มากกว่า ดังนั้นเฟืองท้ายที่ใช้ฟันเฟืองแบบไฮปอยด์บี เวลจึงมีเสียงเงียบ

เฟืองแบบสเปอร์บีเวล (spur bevel gear)

ตำแหน่งการจัดวางของเฟืองขับและเฟืองบายศรีแบบสเปอร์บีเวล
เฟืองแบบสเปอร์บีเวล (spur bevel gear) จะมีลักษณะของฟันเฟืองตรง เฟืองขับจะถูกจัดวางไว้ในตำแหน่ง กึ่งกลางของเฟืองบายศรีจึงทำให้มีจุดสัมผัสของฟันเฟืองคู่เดียวเท่านั้น ดังนั้นการขับเคลื่อนจึงมีเสียงดังและการ สึกหรอสูงมาก 

ชนิดของเฟืองที่ใช้กับเฟืองท้าย (The type of gear used on the gear.) มีกี่ชนิดอะไรบ้าง?


เฟืองวงแหวนหรือเฟืองบายศรีและเฟืองขับที่ใช้กับเฟืองท้ายรถยนต์มีอยู่หลายแบบด้วยกันคือ

  1. เฟืองแบบสเปอร์บีเวล (spur bevel gear) จะมีลักษณะของฟันเฟืองตรง เฟืองขับจะถูกจัดวางไว้ในตำแหน่ง กึ่งกลางของเฟืองบายศรีจึงทำให้มีจุดสัมผัสของฟันเฟืองคู่เดียวเท่านั้น ดังนั้นการขับเคลื่อนจึงมีเสียงดังและการ สึกหรอสูงมาก 
  2. เฟืองแบบไฮปอยด์บีเวล (hypoid bevel gear) เฟืองขับจะถูกจัดให้วางอยู่ในตำแหน่งที่เยื้องจากเส้นผ่าน ศูนย์กลางของเฟืองบายศรีทำให้เฟืองมีอัตราการขบที่มากกว่า ดังนั้นเฟืองท้ายที่ใช้ฟันเฟืองแบบไฮปอยด์บี เวลจึงมีเสียงเงียบ
  3.  เฟืองแบบสไปรอลบีเวล(spiral bevel gear)ลักษณะของฟันเฟืองจะเฉียงโค้งทำให้ความกว้างของ หน้าสัมผัสของเฟืองบายศรีและเฟืองขับจะเหลื่อมล้ำกัน เป็นเหตุให้ฟันเฟืองที่ขบกันในขณะหมุนไม่มีเสียงดัน การถ่ายถอดแรงบิดในเฟืองถัดไปจะเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง 
  4. เฟืองแบบเฮลิคอล (helical gear) มีลักษณะของฟันเฟืองที่เฉียงทั้งเฟืองขับและเฟืองบายศรีฟันเฟืองทั้ง สองจะสัมผัสกันในตำแหน่งเดียวกัน โดยจะไม่ลื่นไถลไปยังฟันเฟืองถัดไป จึงทำให้เกิดการสั่นและเสียง ดังที่ต่ำการส่งถ่ายกำลังของเฟืองจะราบเรียบ

โครงสร้างของเฟืองท้าย (Rear axle structure)


ภายในตัวเรือนของเฟืองท้ายที่ใช้กับรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลังจะประกอบด้วยเฟืองวงแหวนหรือเฟืองบายศรีและเฟืองขับ โดยจะติดตั้งรวมเข้ากับตัวเรือนเฟืองท้ายส่งผ่านแรงบิดให้ผ่านลูกปืนข้างทั้งสองด้าน การหมุนส่งกำลังงานจากเพลากลางจะไปหมุนให้เฟืองขับหมุน โดยส่งผ่านหน้าแปลนเฟืองท้ายและลูกปืนเทเปอร์ที่สามารถปรับความตึงของลูกปืนได้ ส่วนนอตที่ติดตั้งยึดลูกปืนข้างทั้งสองด้านจะมีไว้ปรับตั้งระยะห่างของเฟืองขับกับเฟืองบายศรีหรือแบ็กแลช ส่วนเฟืองดอกจอกและเฟืองข้างจะทำหน้าที่หมุนให้ความเร็วของเพลาทั้งสองมีความเร็วที่แตกต่างกัน

เฟืองท้ายรถยนต์ (differential)


เมื่อมีความต้องการที่จะขับรถเข้าโค้ง ล้อด้านซ้ายและด้านขวาจะหมุนเคลื่อนที่ไปในความเร็วที่เท่ากับ เสมอทั้งนี้เป็นสาเหตุมาจากสภาพของพื้นผิวถนนในระหว่างที่เลี้ยวเข้าโค้ง ดังนั้นรถยนต์ส่วนใหญ่จึงมีความ จำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ชนิดพิเศษไว้เพื่อทำให้ล้อด้านซ้ายและล้อด้านขวาหมุนไปด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน อุปกรณ์นั้นก็คือ เฟืองท้าย(differential)

วิธีการคืนสภาพของไดร์สตาร์ทรถยนต์ ให้กลับมาดีเหมือนใหม่



กระบวนการผลิต "เพลาท้ายรถยนต์"Rear axle production



ขั้นตอนการผลิตเพลาข้อเหวี่ยง สำหรับเครื่องยนต์ ด้วยกรรมวิธีทางเครื่องจักรกลอัตโนมัติ



มารู้จัก น้ำมันไบโอดีเซล กันเถอะ ! | biodiesel


ไบโอดีเซล หมายถึง เชื้อเพลิงทดแทนประเภทดีเซลจากธรรมชาติ โดยการนำเอาน้ำมันจากพืชหรือสัตว์ ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ประเภทไตรกลีเซอไรด์ มาผ่านกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า ทรานส์เอสเตอริฟิเคชัน (Transesterifcation) โดยทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ (EthanolหรือMethanol) และมีด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) จะได้ผลิตผลเป็นเอสเตอร์ (Ester) และผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้กลีเซอรอล (Glycerol) ซึ่งเราจะเรียกชนิดของไบโอดีเซลแบบเอสเตอร์นี้ตามชนิดของแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา ไบโอดีเซลชนิดเอสเตอร์นี้มี คุณสมบัติที่เหมือนกับน้ำมันดีเซลมากที่สุด เพราะไม่มีปัญหากับเครื่องยนต์

ที่มา : http://www.biodiesel.eng.psu.ac.th/whatis.php

ไบโอดีเซล คือ อะไร ? | biodiesel


ไบโอดีเซล (อังกฤษ: biodiesel) เป็นเชื้อเพลิงดีเซลที่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน เช่น น้ำมันพืช ไขมันสัตว์ หรือสาหร่าย ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงดีเซลทางเลือก นอกเหนือจากดีเซลที่ผลิตจากปิโตรเลียม โดยมีคุณสมบัติการเผาไหม้ เหมือนกับดีเซลจากปิโตรเลียมมาก และสามารถใช้ทดแทนกันได้

คุณสมบัติสำคัญของไบโอดีเซลคือ สามารถย่อยสลายได้เอง ตามกระบวนการชีวภาพในธรรมชาติ และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

ไบโอดีเซลเป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงดีเซล จัดเป็นสารประเภทเอสเทอร์ทำจากน้ำมันพืชผ่านกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่ากระบวนการทรานส์เอสเตอริฟิเคชัน (Transesterification Process) โดยให้น้ำมันพืชทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ เช่นเมทานอล หรือเอทานอล และมีด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา มีลักษณะเป็นเอสเตอร์ของกรดไขมัน เรียกว่า Fatty Acid Methyl Ester

การเรียกชื่อประเภทของไบโอดีเซลขึ้นกับชนิดของแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา เช่น เมทิลเอสเตอร์ เป็นเอสเตอร์ที่ได้จากการใช้เมทานอลเป็นสารในการทำปฏิกิริยา หรือเอทิลเอสเตอร์ เป็นเอสเตอร์ที่ได้จากการใช้เอทานอล เป็นสารในการทำปฏิกิริยา เป็นต้น ไบโอดีเซลแบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ
ไบโอดีเซลที่ได้จากน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ซึ่งสามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้เลย
ไบโอดีเซลแบบผสม เป็นการนำน้ำมันพืชหรือน้ำมันจากสัตว์มาผสมกับน้ำมันก๊าด หรือน้ำมันดีเซล ก่อนนำไปใช้เช่น โคโคดีเซล (Coco-diesel) และปาล์มดีเซล (Palm-diesel) เป็นต้น
ไบโอดีเซลแบบเอสเตอร์ ได้จากปฏิกิริยาเคมีที่เรียกว่า ทรานส์เอสเตอริฟิเคชัน (Transesterification process) ซึ่งนำแอลกอฮอล์มาทำปฏิกิริยากับน้ำมันจากพืชหรือสัตว์โดยใช้กรด หรือด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ไบโอดีเซล

ลำดับขั้นตอนการลงนํ้ามันเชื้อเพลิงของสถานีบริการ


ในปัจจุบันนี้ ธพ. ได้ประกาศกำหนดลักษณะและคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงหลายชนิด เช่น น้ำมันเบนซินออกเทน 95, น้ำมันแก๊สโซฮอล์ออกเทน 95, น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เป็นต้น น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดได้กำหนดให้มีคุณสมบัติแตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะสมกับชนิดของเครื่องยนต์ ดังนั้น หากน้ำมันเชื้อเพลิงมีการปนเปื้อนของน้ำมันต่างชนิดกัน จะทำให้คุณสมบัติของน้ำมัน เชื้อเพลิงไม่เป็นไปตามประกาศกำหนด เป็นปัญหาต่อการทำงานของเครื่องยนต์ สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้คุณสมบัติของน้ำมันต่างออกไป คือ การลงน้ำมันเชื้อเพลิงที่สถานีบริการ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น สถานีบริการจึงควรมีการตรวจรับน้ำมันเชื้อเพลิงจากรถขนส่งน้ำมัน โดยการตรวจสอบเอกสารใบกำกับการขนส่ง การตรวจสภาพและหมายเลขซีล และตรวจวัดค่าความถ่วงเอพีไอหรือค่าความหนาแน่น เปรียบเทียบกับใบกำกับการขนส่ง รวมทั้งมีการสูบถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเรียงตามลำดับ ดังนี้

1. น้ำมันเบนซินออกเทน 95

2. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 10 ออกเทน 95

3. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 20 ออกเทน 95

4. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 85 ออกเทน 95

5. น้ำมันเบนซินออกเทน 91

6. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 10 ออกเทน 91

7. น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 5

8. น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 2

สถานีบริการน้ำมันที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าว อาจจะทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายมีลักษณะและคุณภาพไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะมีความผิดตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 และต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (สำนักคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง : สิงหาคม 2551)

การเลือกชนิดน้ำมันดีเซลที่เหมาะสม


น้ำมันดีเซลหรือน้ำมันโซล่าเป็นชื่อเรียกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ส่วนน้ำมันขี้โล้เป็นชื่อเรียกน้ำมันดีเซลหมุนช้า การเลือกน้ำมันดีเซลไม่ ยุ่งยากเหมือนน้ำมันเบนซิน เพราะน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเท่านั้นที่มีจำหน่ายตามสถานีบริการน้ำมัน ส่วนน้ำมันขี้โล้หรือน้ำมันดีเซลหมุนช้านั้น บริษัทจำหน่ายน้ำมันมักขายตรงแก่โรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้สิ่งที่ควรระวังคือ เนื่องจากในปัจจุบันรถยนต์นั่ง หรือ รถบรรทุกมีการใช้เครื่องยนต์ทั้ง 2 แบบคือเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล ดังนั้นช่องเติมน้ำมันของรถยนต์ควรมีป้ายบอกให้ชัดเจนว่าใช้น้ำมันชนิดใด หากใช้ผิดก็จะเกิดปัญหากับเครื่องยนต์

อันตรายที่เกิดจากน้ำมันดีเซล | Danger of diesel


น้ำมันดีเซลมีอันตรายคล้ายคลึงกับน้ำมันเบนซิน แม้น้ำมันดีเซลไม่มีสารประกอบของตะกั่ว แต่ก็ยังมีสารที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ หากสัมผัสโดยตรงมากๆ สารดังกล่าวคือ PCA หรือโพลีไซคลิก อะโรเมติกส์ ไฮโดรคาร์บอน ดังนั้นจึงควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง หลังจากสัมผัสกับน้ำมันดีเซล และถึงแม้ว่าน้ำมันดีเซลจะมีจุดวาบไฟสูงกว่าน้ำมันเบนซิน แต่มันก็เป็นเชื้อเพลิงที่ติดไฟง่ายเช่นกัน จึงจำเป็นต้องตั้งไว้ให้ห่างจากความร้อน ประกายไฟ หรือสารเคมีประเภท Strong oxidant เช่น คลอรีน

ลักษณะและคุณสมบัติของน้ำมันดีเซล


ลักษณะและคุณสมบัติของน้ำมันดีเซล
1. การติดไฟ

คุณสมบัติการติดไฟบ่งบอกถึงความสามารถในการติดเครื่องยนต์ที่อุณหภูมิต่ำ และการป้องกันการน็อคในเครื่องยนต์ระหว่างการ เผาไหม้เชื้อเพลิงภายในกระบอกสูบ ลักษณะการเผาไหม้ เช่น การเผาไหม้เร็ว การเผาไหม้จะมีประสิทธิภาพสูง เหล่านี้แสดงออกมาเป็นตัวเลข ของดัชนีซีเทน หรือ ซีเทนนัมเบอร์ ค่าซีเทนควรให้สูงพอกับความเร็วรอบของเครื่องยนต์ ซึ่งจะทำให้ติดเครื่องยนต์ง่ายไม่น็อค และประหยัดการใช้น้ำมัน

2. ความสะอาด

ความสะอาดเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของน้ำมันดีเซล ซึ่งในน้ำมันดีเซลต้องมีความสะอาดทั้งก่อนและหลังการเผาไหม้ เช่น ต้องมีตะกอน น้ำ กากหรือเขม่าให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากระบบน้ำมันดีเซลจะต้องใช้ปั๊มน้ำมันและหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อช่วยในการเผาไหม้

3. การกระจายตัวเป็นฝอย

ความหนืดหรือความข้นใสจะเป็นตัวกำหนดลักษณะของการกระจายตัวของน้ำมันดีเซล ความหนืดที่พอเหมาะทำให้น้ำมันน้ำมัน กระจายเป็นฝอยดี ความหนืดของน้ำมันดีเซลยังมีผลต่อระบบการปั๊มน้ำมัน เพราะในขณะที่ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ตัวน้ำมันก็จะทำหน้าที่หล่อลื่นลูกสูบปั๊มไปในตัวด้วย

4. อัตราการระเหยตัว

อัตราการระเหยตัว หมายถึง อัตราการระเหยตัว ของน้ำมันดีเซลมีผลต่อจุดเดือด จุดวาบไฟ และจุดติดไฟ

5. สี

โดยปกติน้ำมันดีเซลจะมีสีชาอ่อน แต่บางครั้งสีอาจเปลี่ยนไปบ้างเนื่องจากในกระบวนการกลั่นน้ำมันอาจใช้น้ำมันดิบจากแหล่งต่างกัน แต่คุณสมบัติในการเผาไหม้ยังคงเหมือนเดิม ทั้งนี้สีไม่ได้เป็นตัวสำคัญที่กำหนดคุณภาพน้ำมัน ผู้ประกอบการได้กำหนดมาตรฐาน สีที่มีค่าไม่เกิน 3 ซึ่งเป็นสีคล้ายสีชา สีของน้ำมันดีเซลอาจเข้มขึ้น หากเก็บไว้นานๆ แต่ในกรณีที่สีเปลี่ยนแปลงไปมาก เช่น เป็นสีเขียว หรือสีดำคล้ำ และจะควรตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะมีการปลอมปนของน้ำมันก๊าด น้ำมันเตา หรือน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว

6. ปริมาณกำมะถัน

ปริมาณกำมะถันในน้ำมันชนิดใดๆ ที่สูงเกินไปเป็น ไม่สิ่งที่ไม่พึงปรารถนา การกัดกร่อนของกำมะถันในน้ำมันมีด้วยกัน 2 ลักษณะ ลักษณะแรกเกิดจากการกัดกร่อนภายหลังการเผาไหม้ ของสารประกอบของกำมะถัน เมื่อถูกเผาไหม้ก็จะเกิดก๊าซซัลเฟอร์ออกไซด์ ซึ่งเมื่อรวมกับน้ำจะกลายเป็นสารละลายที่มีฤทธิ์เป็นกรด และจะทำการกัดกร่อนชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ได้ ลักษณะที่สอง เกิดจากกำมะถันในน้ำมันเชื้อเพลิง โดยตรง คือเมื่อน้ำมันจะกัดกร่อนชิ้นส่วนต่าง ๆ ของระบบหัวฉีดเครื่องยนต์ดีเซล กำมะถันในน้ำมันดีเซลจะมีมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันดิบและกระบวนการกลั่นที่ใช้ สารประกอบกำมะถันที่มีคุณสมบัติ กัดกร่อนจะอยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น เมอร์แคปแทน ไดซัลไฟด์หรือสารประกอบเฮเตอร์โรไซคลิก เช่น ไธโอเฟน (thiophen)

7. ความหนาแน่นและความข้นใส

ความข้นใสจะมีอิทธิพลต่อรูปร่างของละอองน้ำมันที่ฉีดออกจากหัวฉีด ถ้าน้ำมันมีความข้นใสสูง จะทำให้การฉีดเป็นฝอยละอองจะไม่ดีเท่าที่ควร เพราะละอองน้ำมันจะมีขนาดใหญ่และพุ่งเป็นสายไปไกล แทนที่จะกระจายพุ่งเป็นแบบฝอยเล็กๆ ทำให้น้ำมันรวมตัวกับอากาศไม่ดี การเผาไหม้จึงไม่สมบูรณ์และประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ลดน้อยลง แต่ถ้าน้ำมันดีเซลมีความเข้มข้นใสต่ำเกินไปจะทำให้การฉีดฝอยน้ำมันละเอียด แต่จะไม่พุ่งไปไกลเท่าที่ควร การเผาไหม้ก็จะไม่ดีและอาจจะทำให้เกิดมีการรั่วกลับในตัวปั๊มหัวฉีด ด้วยเหตุผลเช่นนี้เอง น้ำมันดีเซลหมุนเร็วโดยทั่วไป จะมีกำหนดค่าความข้นใสอยู่ระหว่าง 1.8-4.1 เซนติสโตก ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส

น้ำมันดีเซล เป็นอย่างไร ? | Diesel fuel


น้ำมันดีเซลเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ แต่มีช่วงจุดเดือดและความข้นใสสูงกว่าน้ำมันเบนซิน เครื่องยนต์ดีเซล มีพื้นฐานการทำงานที่แตกต่างจากเครื่องยนต์เบนซิน กล่าวคือการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ดีเซลใช้ความร้อนที่เกิดจากการอัดอากาศ อย่างมากมายในกระบอกสูบแล้วฉีดเชื้อเพลิงเข้าไปเพื่อทำการเผาไหม้ ไม่ใช่เป็นการจุดระเบิดจากหัวเทียนเหมือนในเครื่องยนต์เบนซิน

น้ำมันดีเซล (ประเสริฐ เทียนพินิจ และคณะ 2544. : 157-173) เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ แต่จะมีช่วงของจุดเดือดและความข้นใสสูงกว่าน้ำมันเบนซิน เนื่องจากเครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องยนต์ที่มีมูลฐานของการทำงานที่แตกต่างจากเครื่องยนต์เบนซิน การจุดระเบิดของเครื่องยนต์ดีเซลใช้ความร้อนที่เกิดจากการอัดอากาศอย่างมากภายในกระบอกสูบ แล้วฉีดเชื้อเพลิงเข้าไปเพื่อทำการเผาไหม้ ไม่ใช่เป็นการจุดระเบิดจากหัวเทียนเหมือนเครื่องยนต์เบนซิน ซึ่งเครื่องยนต์ดีเซลในสมัยแรก ๆ นั้นมีขนาดใหญ่โตมาก เพราะต้องการให้ทนกับความร้อนและแรงอัดสูง ๆ ได้ เครื่องยนต์ดีเซลสมัยก่อนก็นำไปใช้เป็นเครื่องต้นกำลัง เช่น ใช้เป็นต้นกำลังในการผลิตกระแสไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม และใช้ในเรือ ต่อมาได้มีการพัฒนาสร้างเครื่องยนต์ให้มีขนาดเล็กลงแต่มีประสิทธิภาพสูง เช่น ใช้เป็นเครื่องต้นกำลังของเครื่องมือและอุปกรณ์หลายชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น รถไฟ รถบรรทุก รถแทร็กเตอร์ เรือประมง เป็นต้น ดังนั้น จึงต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันดีเซลเพื่อให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ต่าง ๆ ที่ใช้กับงานนั้น ๆ

น้ำมันดีเซลที่ใช้อยู่ในประเทศไทยมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ น้ำมันดีเซลสำหรับเครื่องรอบเร็ว (Automotive Diesel Oil ; ADO) หรือที่เรียกว่า โซล่า สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรอบเร็ว ซึ่งส่วนมากใช้กับยานยนต์ เรือขนาดเล็ก เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก และอุปกรณ์ก่อสร้าง หรือจะใช้เผาไหม้ให้ความร้อนในงานอุตสาหกรรม หรือใช้ต้มน้ำร้อนในโรงแรมก็ได้ น้ำมันดีเซลจะมีสีเหลืองอ่อนในตัวเองโดยธรรมชาติ และน้ำมันดีเซลสำหรับเครื่องรอบช้า (Industrial Diesel Oil ; IDO) บางครั้งเรียกว่าน้ำมันขี้โล้ สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรอบช้าและปานกลาง ซึ่งนิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมและเรือขนาดใหญ่ หรือใช้เผาไหม้ให้ความร้อนก็ได้เหมือนกัน น้ำมันชนิดนี้จะมีสีเข้มกว่าชนิดแรก

การเลือกใช้น้ำมันดีเซลไม่มีปัญหาเหมือนน้ำมันเบนซิน เพราะน้ำมันดีเซลหมุนเท่านั้นที่มีจำหน่ายตามสถานีบริการน้ำมัน ส่วนน้ำมันดีเซลหมุนช้าบริษัทจำหน่ายมักขายโดยตรงแก่โรงงานอุตสาหกรรม สิ่งที่ควรระวัง คือ เนื่องจากในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นรถยนต์นั่ง (รถเก๋ง) หรือรถบรรทุกทั้งหลายมีการใช้เครื่องยนต์ทั้งสองแบบ คือ เครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ดีเซล ดังนั้น ช่องเติมน้ำมันของรถยนต์ควรมีป้ายบอกให้ชัดเจนว่าใช้น้ำมันชนิดใด หากใช้น้ำมันผิดชนิดกันจะทำให้เกิดปัญหาอย่างมากแก่เครื่องยนต์

อันตรายจากน้ำมันดีเซล มีลักษณะคล้ายคลึงกับอันตรายจากน้ำมันเบนซิน เพียงแต่น้ำมันดีเซลไม่มีสารประกอบของตะกั่ว แต่ในน้ำมันดีเซลก็ยังมีสารที่ทำให้เกิดมะเร็วผิวหนังได้หากสัมผัสโดยตรงมาก ๆ สารดังกล่าว คือ PCA (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon) จึงควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากสัมผัสกับน้ำมันดีเซล

ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน | Characteristics and quality of gasoline



ลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเบนซิน 
1. ค่าออกเทน
ค่าออกเทน หมายถึง คุณสมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิงที่แสดงถึงความสามารถในการต้านทานการชิงจุดระเบิดก่อนเวลาที่กำหนดในเครื่องยนต์เบนซิน อีกนัยหนึ่งคือตัวเลขแสดงความต้านทานการน็อคของน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์เบนซิน เนื่องจากการเพิ่มอุณหภูมิ ภายในบริเวณของส่วนผสมอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำลังถูกอัดโดยคลื่นเปลวไฟ ก่อนกระบวนการเผาไหม้จะสิ้นสุดภายใน กระบอกสูบของเครื่องยนต์ การน็อคทำให้เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง อย่างไรก็ตาม เครื่องยนต์แต่ละแบบจะมีค่าออกเทนไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบของบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์

2. ปริมาณตะกั่ว
แม้ในปัจจุบันจะไม่มีการเติมตะกั่วในน้ำมันเบนซิน เพื่อเพิ่มค่าออกเทนแล้วก็ตาม แต่ตะกั่วอาจจะมีการปนเปื้อนมาจากน้ำมันดิบหรือจาก กระบวนการในการผลิตก็ได้ เพราะเนื่องจากตะกั่วเป็นสารก่อมลพิษในไอเสียและเป็นโทษต่อร่างกาย จึงต้องมีการกำหนดปริมาณมาตรฐานควบคุมไว้

3. ปริมาณกำมะถัน
เมื่อกำมะถันในน้ำมันถูกเผาไหม้จะสามารถกัดกร่อนเครื่องยนต์ให้สึกหรอ นอกจากนั้นยังเป็นฝุ่นทำให้เครื่องยนต์สกปรกและ เป็นตัวก่อมลพิษทางอากาศ

4. ปริมาณฟอสฟอรัส
ฟอสฟอรัสมักจะมาจากการเติมสารเพิ่มคุณภาพในน้ำมันเบนซิน สามารถทำให้เครื่องกรองไอเสียชำรุดเสียหาย

6. เสถียรภาพต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น
เป็นค่าที่บ่งถึงความสามารถของน้ำมันที่จะเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนแล้วได้ยางเหนียว ซึ่งมีผลกระทบต่อไอดี ห้องเผาไหม้และการเก็บสำรองน้ำมัน

7. ปริมาณยางเหนียว
เมื่อน้ำมันที่มีสารประกอบของไนโตรเจน ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศจะทำให้เกิดเป็นยางเหนียว เป็นสิ่งสกปรกในระบบไอดี และห้องเผาไหม้ ทำให้วาล์วติดตาย คาร์บูเรเตอร์ขัดข้อง แหวนติด

8. อัตราการระเหย
เป็นคุณสมบัติที่บ่งบอกว่าน้ำมันมีองค์ประกอบส่วนหนักเบาอย่างไร จะถูกเผาไหม้ได้ในลักษณะใด ต่อเนื่องแค่ไหน เช่น ถ้ามีส่วนเบาน้อยจะจุดสตาร์ทยาก ถ้าน้ำมันค่อยๆระเหยอย่างสม่ำเสมอเมื่อค่อยๆ เพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น การเผาไหม้ก็จะต่อเนื่องเครื่องยนต์ก็จะเดินได้ราบเรียบ อัตราการระเหยของน้ำมันจึงมีผลต่อการสตาร์ทของเครื่องยนต์ การเร่งเครื่องยนต์ และการผลต่อการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง

10. ปริมาณสารเบนซิน
เบนซินเป็นสารจำพวกอะโรเมติกส์ มีค่าออกเทนสูง แต่มีพิษต่อระบบทางเดินหายใจและสมอง การสูดดมสารนี้เป็นระยะเวลา นานๆ อาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง

11. ปริมาณสารอะโรมาติกส์
สารอะโรเมติกส์ จะมีค่าของออกเทนสูง แต่ก็มีสารอะโรเมติกส์บางตัว เช่น เบนซิน โพลีไซคลิกอะโรเมติกส์ ซึ่งจะก่อให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง นอกจากนี้แล้ว การเผาไหม้ของน้ำมันที่มีสารอะโรเมติกส์สูงจะทำให้มีเขม่าปริมาณสูงและหากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์จะทำเกิดไอเสียที่มีสาร อะโรเมติกส์ด้วย

12. สี โดยปกติเนื้อน้ำมันเบนซินเองไม่มีสี แต่ผู้ประกอบการใส่สีลงไปเพื่อให้สามารถแยกแยะชนิดของน้ำมันได้ง่ายและป้องกันการปลอมปน

- น้ำมันเบนซินออกเทน 91 มีสีแดง

- น้ำมันเบนซินออกเทน 95 มีสีเหลือง

13. ปริมาณน้ำ
น้ำมีผลทำให้น้ำมันเสื่อมคุณภาพเร็วและทำให้เกิดการอุดตันที่อุณหภูมิต่ำหรือทำให้เครื่องยนต์เดินไม่เรียบ

14. สารออกซิเจนเนท
สารออกซิเจนเนท ที่เติมในน้ำมันเบนซินจะเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจน ได้แก่ MTBE( Methyl Tertiary Butyl Ether) ช่วยให้การเผาไหม้สมบูรณ์ดี ลดการเกิดมลพิษ เช่น คาร์บอนมอนนอกไซด์ ขณะเดียวกันการที่ MTBE มีค่าออกซิเจนสูงกว่า 100 จึงช่วยเพิ่มค่าออกเทนในน้ำมันเบนซินสำเร็จรูปด้วย แต่เนื่องจากMTBEเป็นสารที่สามารถดูดซับน้ำได้ดี ผู้ประกอบการ จึงถูกควบคุมปริมาณการใช้ในระดับที่เหมาะสม

15. สารเพิ่มคุณภาพในน้ำมันเบนซิน
การเติมสารเพิ่มคุณภาพลงในน้ำมันเบนซินก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน สารเหล่านี้ ได้แก่

- สารทำความสะอาด จะทำการช่วยชะล้างสิ่งสกปรกที่ตกค้างในระบบน้ำมันเชื้อเพลิงและช่วยรักษาคาร์บูเรเตอร์ให้สะอาดอยู่เสมอ

- สารต้านการรวมตัวกับอากาศ จะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำมันเบนซินรวมตัวกับออกซิเจนในอากาศ เพื่อป้องกันการเกิดยางเหนียว ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบน้ำมันเชื้อเพลิง

- สารป้องกันสนิมและการกัดกร่อน จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดสนิมอุดตันไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่คาร์บูเรเตอร์

แก๊สโซลีน | gasoline คือ อะไร ?


แก๊สโซลีน หรือ น้ำมันเบนซิน ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เรียกว่า แก๊สโซลีน (อังกฤษ: gasoline หรือ gas) ในประเทศเครือจักรภพอังกฤษเรียกว่า เพทรอล (อังกฤษ: petrol ย่อมาจาก petroleum spirit) เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับใช้กับเครื่องยนต์สันดาปภายใน ชนิดเครื่องยนต์เบนซิน ซึ่งใช้หัวเทียนในการจุดระเบิดภายในเครื่องยนต์

แก๊สโซลีนได้มาจากการนำน้ำมันองค์ประกอบ ที่ได้จากจากกระบวนการกลั่นน้ำมัน นำมาผสมสารเพิ่มคุณภาพ และสารเติมแต่ง เช่น MTBE, เอทานอล และสีย้อม

การวัดคุณภาพของน้ำมันเบนซิน ใช้ค่าออกเทน ซึ่งในสมัยก่อนใช้วิธีเติมตะกั่วลงไปเพื่อปรับค่าออกเทน แต่ต่อมาได้วิจัยพบว่าเป็นอันตรายต่อระบบประสาทของมนุษย์ ปัจจุบันจึงได้ใช้สาร MTBE (Metyl Tertiary Butyl Ether) แทน และมีชื่อเรียกในประเทศไทยว่า น้ำมันไร้สารตะกั่ว

ในประเทศไทย เรียกน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดนี้ว่าเบนซิน (Benzin, Bensin) ตามอย่างประเทศแถบยุโรป เช่น สแกนดิเนเวีย เยอรมนี

น้ำมันเบนซิน (gasoline) ส่วนประกอบ paraffin, aromatic, olefins และ ส่วนผสมจากกระบวนการปรับปรุงคุณภาพ ได้แก่ - LSR - Catalytic reformat - Catalytic cracked gasoline - Thermally cracked gasoline - Hydro cracked gasoline - Alkylate - Polymerized gasoline - Isomerizes gasoline สารเติมแต่งที่สำหรับ gasoline - Antiknock compound ใส่เพื่อเพิ่มค่าออกเทน ซึ่งเมื่อก่อนจะใช้สารพวกตะกั่วแต่ปัจจุบันยกเลิกแล้ว จึงหันมาใช้พวก organo-manganese compound แทน - Anti- Oxidant ใส่เพื่อป้องกันการเกิดยางเหนียว - Oxygenates จะช่วยลดปริมาณคาร์บอนและช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำมัน นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มค่าออกเทน - Paint ใส่เพื่อช่วยแยกเกรดของน้ำมัน - Detergent และ Dispersant จะช่วยให้เครื่องยนต์สะอาด ซึ่งจะเป็นสารพอลิเมอร์ชนิดพิเศษ วัตถุ

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/

น้ำมันเบนซิน


น้ำมันเบนซิน เป็นน้ำมันที่ได้จากการปรุงแต่งคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันโดยตรง และอาจได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติเหลวหรือแก๊สโซลีนธรรมชาติ น้ำมันเบนซินจะผสมสารเพิ่มคุณภาพเพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน เช่น สารเพิ่มค่าออกเทน สารต้านการรวมตัวกับอากาศ สารเคมีสำหรับป้องกันสนิม ป้องกันการกัดกร่อนในถังน้ำมัน และท่อทางน้ำมัน รวมทั้งสารเคมีที่ช่วยทำความสะอาดคาร์บูเรเตอร์ จึงเหมาะที่จะใช้กับยานพาหนะ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือเครื่องยนต์ทั่วไป เช่น เครื่องสูบน้ำ เครื่องปั่นไฟขนาดเล็ก



สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันน้ำมันเบนซินที่ใช้กับเครื่องยนต์ทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

1. น้ำมันเบนซินธรรมดา (Regular gasoline) กำหนดให้มีค่าออกเทนไม่ต่ำกว่า 83 ปริมาณสารตะกั่วไม่เกิน 0.15 กรัมต่อลิตร ควรใช้กับเครื่องยนต์ที่มีอัตราส่วนการอัด (Compression ratio) ต่ำกว่า 8:1 เช่น รถยนต์รุ่นเก่า เครื่องยนต์ขนาดเล็ก รถจักรยานยนต์ เครื่องตัดหญ้า เป็นต้น

2. น้ำมันเบนซินพิเศษ (Premium gasoline) กำหนดให้มีค่าออกเทนไม่ต่ำกว่า 95 ปริมาณสารตะกั่วไม่เกิน 0.15 กรัมต่อลิตร ควรใช้กับเครื่องยนต์ที่มีอัตราส่วนการอัดประมาณ 8:1 ขึ้นไป เช่น รถยนต์นั่ง รถบรรทุกเล็ก รถจักรยานยนต์ เป็นต้น

3. น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว (Unleaded gasoline) กำหนดให้มีค่าออกเทนไม่ต่อกว่า 95 ปริมาณสารตะกั่วไม่เกิน 0.013 กรัมต่อลิตร เป็นน้ำมันที่เพิ่มค่าออกเทนโดยการนำน้ำมันที่มีค่าออกเทนต่ำมาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางโมเลกุลเพื่อให้มีค่าออกเทนสูงขึ้น โดยพยายามหลีกเลี่ยงการใช้สารประกอบของตะกั่วให้น้อยที่สุดหรือไม่ต้องใช้เลย ควรใช้กับเครื่องยนต์ที่มีอัตราส่วนการอัดประมาณ 8:1 ขึ้นไป เช่นเดียวกับน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษ แต่ควรเป็นเครื่องยนต์รุ่นใหม่ที่มีการออกแบบการใช้โลหะชนิดพิเศษในการทำบ่าลิ้น (Value seat) ของเครื่องยนต์ เพราะสารตะกั่วจะช่วยลดการสึกหรอของบ่าลิ้น ดังนั้น เครื่องยนต์ที่จะใช้กับน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วได้จึงต้องออกแบบสร้างบ่าลิ้นมาเป็นพิเศษ เครื่องยนต์ที่ติดตั้งเครื่องกรองไอเสีย (Catalytic converter) ก็ต้องใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วเท่านั้น เพราะถ้าใช้น้ำมันเบนซินที่ผสมสารตะกั่วมากจะทำให้ระบบเครื่องกรองไอเสียใช้งานไม่ได้

การใช้น้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทนต่ำจะทำให้เครื่องยนต์เสียกำลัง เกิดอาการน๊อค (Knock) ทำให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็วขึ้น อายุการใช้งานสั้นลง การใช้น้ำมันเบนซินที่มีค่า ของ ออกเทนสูงกับเครื่องยนต์ที่มีอัตราส่วนการอัดต่ำ ก็ไม่เกิดประโยชน์ต่อเครื่องยนต์มากนัก จะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพราะราคาน้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทนสูงราคาแพงกว่า การดัดแปลงเครื่องยนต์เบนซินที่ใช้น้ำมันเบนซินชนิดพิเศษอยู่แล้วให้มาใช้กับน้ำมันเบนซินชนิดธรรมดาโดยการปรับแต่เครื่องยนต์ เช่น การตั้งไฟให้อ่อนลงก็จะทำให้เครื่องยนต์ร้อน และเสียกำลัง จึงไม่ควรกระทำ เพราะจะมีผลเสียมากกว่า ส่วนสีในน้ำมันไม่ใช่เป็นตัวเพิ่มคุณภาพของน้ำมัน แต่การเติมสีในน้ำมันแสดงถึงความเป็นเนื้อเดียวกัน และต้องใส่สีเพื่อแสดงให้ทราบถึงเกรดของน้ำมันแต่ละชนิด ซึ่งไม่ได้มีกฎตายตัวของแต่ละประเทศ เช่น ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงสีของน้ำมันเบนซิน เพราะมีการปลอมปนอยู่เสมอ ทางราชการจึได้งกำหนดให้น้ำมันเบนซินชนิดพิเศษเป็นสีใสออกเหลืองนิด ๆ สำหรับเบนซินชนิดธรรมดาให้เป็นสีแดง ส่วนน้ำมันก๊าดให้เป็นสีน้ำเงิน ซึ่งน้ำมันเบนซินเป็นผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงที่ใช้กันอย่างกว้างขวางมากปัจจุบัน เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ระเหยง่ายและไวไฟ จึงควรเก็บไว้ในที่ปลอดภัยให้ห่างจากความร้อนและประกายไฟ หรือแม้แต่สารเคมีประเภท strong oxidants เช่น คลอรีน ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันเบนซินเป็นสารละลาย ในการล้างทำความสะอาด เพราะไอระเหยของน้ำมันเบนซินไวไฟ สามารถลุกติดไฟได้ง่ายหากมีเปลวไฟเพียงเล็กน้อย ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือการสูดดมไอระเหยของน้ำมันเบนซินโดยตรง เพราะจะทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ และอาจหมดสติ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปากดูดสายน้ำมัน เพราะน้ำมันเบนซินเพียงเล็กน้อยสามารถจะทำอันตรายต่อปอดได้อย่างร้ายแรง การสัมผัสน้ำมันเบนซินโดยตรงเป็นเวลานาน ๆ หรือบ่อยครั้งอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ และอาจทำเกิดเป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง แต่ถ้าหากมีความจำเป็นที่ต้องสัมผัสกับน้ำมันเบนซินแล้ว หลังจากเสร็จสิ้นจากงาน ควรรีบล้างทำความสะอาดด้วยสบู่และน้ำให้สะอาด ในการล้างอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนเครื่องยนต์ เครื่องจักรกล ควรใช้สารละลายที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ล้างเครื่องโดยเฉพาะ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้หรือไม่มีผลิตภัณฑ์ดังกล่าว การใช้น้ำมันก๊าดหรือน้ำมันโซล่าจะปลอดภัยกว่า โดยเฉพาะด้านอัคคีภัย อันตรายจากน้ำมันเบนซินเมื่อนำไปใช้ในการเดินเครื่องยนต์ คือ ก๊าซไอเสียจากเครื่องยนต์ เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และสารตะกั่วที่ปนมากับไอเสียในรูปของก๊าซอื่น ดังนั้น จึงไม่ควรติดเครื่องยนต์ในห้องหรืออาคารที่ไม่มีระบบระบายอากาศที่ดี หรือการปิดกระจกรถแล้วติดเครื่องยนต์เปิดแอร์นอนในรถยนต์เป็นเวลานาน เพราะก๊าซพิษจากไอเสียอาจรั่วเข้าไปได้

ประเภทของน้ำมันเชื้อเพลิงและคุณภาพน้ำมัน


ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม มีหลายชนิด สามารถนำมาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางทั้งทางตรงและทางอ้อม คุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อให้ทันกับวิวัฒนาการของเครื่องยนต์ที่เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ณ ที่นี้ขอกล่าวถึงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง 2 ชนิด ที่คุ้นเคย และเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง คือ น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล

น้ำมันเชื้อเพลิง มีกี่ชนิด | What kind of fuel are there?


น้ำมันเชื้อเพลิงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. น้ำมันจากฟอสซิล หรือน้ำมันปิโตรเลียม และ
2. น้ำมันจากพืชหรือสัตว์น้ำมันจากฟอสซิลหรือน้ำมันปิโตรเลียม >> เป็นเชื้อเพลิงสิ้นเปลือง ซึ่งสูบขึ้นมาจากใต้ดินและนำมาผ่านกระบวนการกลั่น โดยใช้ความร้อนสูง จะได้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ออกมา เช่น น้ำมันเบนซิน แก๊สปิโตรเลียมเหลว น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา เป็นต้น เพื่อใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงกับเครื่องยนต์ต่างๆ และเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม น้ำมันที่ได้นี้ ไม่สามารถนำมาบริโภคและมีโอกาสหมดลงได้นักธรณีวิทยา คาดการณ์ว่า หากไม่มีการสำรวจเพิ่มเติมพลังงานฟอสซิลสำรองของโลกที่มีอยู่อย่างจำกัดก็จะหมดลงไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ในขณะที่น้ำมันเชื้อเพลิงกำลังลดจำนวนลงแต่ปริมาณความต้องการของมนุษย์กลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ทั่วโลกต่างค้นหาพลังงานที่จะนำมาใช้ทดแทนน้ำมันจากฟอสซิลนี้ ซึ่งหนึ่งในทางออกก็คือ น้ำมันจากพืช นั่นเอง

น้ำมันเบนซิน คือ อะไร ? | คุณสมบัติของน้ำมันเบนซิน


น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิงยานยนต์ 1 ในจำนวน 2 ชนิด ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้ น้ำมันเบนซินเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ซึ่งสัดส่วนของน้ำมันเบนซินที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบอยู่ในช่วงร้อยละ 2-25 ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม กระบวนการกลั่นน้ำมันในโรงกลั่นมีความซับซ้อนมากไม่ว่าน้ำมันดิบจะมาจาก แหล่งใดก็ตาม น้ำมันเบนซินเป็นสารผสมที่ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนมากถึงประมาณ 400 ชนิด โดนสามารถแบ่งออกเป็นตระกูลใหญ่ๆได้ คือ ฟาราฟฟีนส์ ไซโคลฟาราฟฟีนส์ โอเลฟีนส์ อะโรแมติก นอกจากนั้น ยังมีสารอื่นๆอีก ได้แก่ สารออกซิเจนเนต ตะกั่ว ฟอสฟอรัส กำมะถัน ฯลฯ การที่จะทำให้น้ำมันเบนซินมีคุณสมบัติตอบสนองการใช้งานได้ดีในทุก สภาพการทำงานของยานยนต์ พร้อมทั้งไม่ก่อให้เกิดสารมลพิษมากด้วยนั้น จำเป็นที่จะต้องระบุข้อกำหนดในการผลิตน้ำมันเบนซินไว้หลายประการ อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติที่สำคัญมาก ๒ ประการของน้ำมันเบนซิน คือ ความสามารถในการระเหย และค่าเลขออกเทนสูง น้ำมันเบนซิน ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เรียกว่า แก๊สโซลีน ( gasoline หรือ gas) ในประเทศเครือจักรภพอังกฤษเรียกว่า เพทรอล (petrol ย่อมาจาก petroleum spirit) เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับใช้กับเครื่องยนต์สันดาปภายใน ชนิดเบนซิน แก๊สโซลีนได้มาจากการนำน้ำมันองค์ประกอบ ที่ได้จากจากกระบวนการกลั่นน้ำมัน นำมาผสมสารเพิ่มคุณภาพ และสารเติมแต่ง เช่น MTBE, เอทานอล และสีย้อม การวัดคุณภาพของน้ำมันเบนซิน ใช้ค่าออกเทน ซึ่งในสมัยก่อนใช้วิธีเติมตะกั่วลงไปเพื่อปรับค่าออกเทน แต่ต่อมาได้วิจัยพบว่าเป็นอันตรายต่อระบบประสาทของมนุษย์ ปัจจุบันจึงได้ใช้สาร MTBE (Metyl Tertiary Butyl Ether) แทน และมีชื่อเรียกในประเทศไทยว่า น้ำมันไร้สารตะกั่ว ในประเทศไทย เรียกน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดนี้ว่าเบนซิน (Benzin, Bensin) ตามอย่างประเทศแถบยุโรป เช่น สแกนดิเนเวีย เยอรมนี น้ำมันเบนซิน (gasoline) ส่วนประกอบ paraffin, aromatic, olefins และ ส่วนผสมจากกระบวนการปรับปรุงคุณภาพ ได้แก่ - LSR - Catalytic reformat - Catalytic cracked gasoline - Thermally cracked gasoline - Hydro cracked gasoline - Alkylate - Polymerized gasoline - Isomerizes gasoline สารเติมแต่งที่สำหรับ gasoline - Antiknock compound ใส่เพื่อเพิ่มค่าออกเทน ซึ่งเมื่อก่อนจะใช้สารพวกตะกั่วแต่ปัจจุบันยกเลิกแล้ว จึงหันมาใช้พวก organo-manganese compound แทน - Anti- Oxidant ใส่เพื่อป้องกันการเกิดยางเหนียว - Oxygenates จะช่วยลดปริมาณคาร์บอนและช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำมัน นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มค่าออกเทน - Paint ใส่เพื่อช่วยแยกเกรดของน้ำมัน - Detergent และ Dispersant จะช่วยให้เครื่องยนต์สะอาด ซึ่งจะเป็นสารพอลิเมอร์ชนิดวัตถุพิเศษ น้ำมันเบนซินหรือก๊าซโซลีน (Gasoline) เป็นเชื้อเพลิงที่ระเหยได้ง่าย ได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่น โดยกลั่น หรือ ตัดเอาส่วนที่เบาพอเหมาะจากส่วนต่างๆ ในกรรมวิธีการกลั่น แล้วเอามาผสมกันและปรุงแต่งด้วยสารเพิ่มคุณภาพต่างๆไม่ว่าจะเป็น แนฟธา (Naphtha), Isomerate, Reformate และสารเติมแต่ง (Additives) เช่น MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether), เอทานอล เป็นต้น เพื่อให้เหมาะสมแก่การใช้เป็นเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์เบนซินชนิดสันดาปภายในโดยมีหัวเทียนเป็นเครื่องจุดระเบิด (Spark Ignition Internal Combustion Engine) ความสามารถในการระเหยน้ำมันต้องพอเหมาะกับการเผาไหม้ในกระบอกสูบและต้องเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง

เครื่องยนต์แต่ละชนิดมีความต้องการออกเทนสูงไม่เท่ากัน รัฐบาลจึงแบ่งน้ำมันเบนซินออกเป็น 2 ชนิด ตามค่าออกเทนนัมเบอร์ ดังนี้

1. น้ำมันเบนซินพิเศษ (PREMIUM MOTOR GASOLINE) มีค่าออกเทนนัมเบอร์95 สีเหลืองอ่อน เหมาะสมกับเครื่องยนต์เบนซินที่มีอัตราส่วนกำลังอัดสูงกว่า 8:1 ขึ้นไปซึ่งได้แก่ รถยนต์นั่งทั่วไป รถบรรทุกเล็ก (เครื่องยนต์เบนซิน)

2. น้ำมันเบนซินธรรมดา (REGULAR MOTOR GASOLINE) มีเลขจำนวนออกเทน 91สีแดง ใช้กับน้ำมันเครื่องยนต์เบนซินที่มีอัตราส่วนกำลังอัดต่ำกว่า 8:1 ซึ่งได้แก่ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก รถมอเตอร์ไซค์ เครื่องยนต์ขนาดเล็ก เช่น เครื่องปั่นไฟ, รถตัดหญ้า หรือ ปั๊มน้ำขนาดเล็ก

น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในเครื่องยนต์ มีอะไรบ้าง ? | ประเภทของน้ำมันเชื้อเพลิง

ปัจจุบันน้ำมันในไทยมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้รถและความต้องการของผู้ใช้น้ำมันเบนซิน หรือแก๊สโซลีน ผลิตมาจากน้ำมันดิบ (crude oil) ที่ถูกดูดขึ้นมาจากพื้นโลก มีลักษณะเป็นของเหลวสีดำ เรียกว่า ปิโตรเลียม (Petroleum)

น้ำมันเบนซิน เป็นเพียงส่วนผสมปริมาณเล็กน้อยที่อยู่ในน้ำมัน โดยจะมีผลกับค่าออกเทน ซึ่งค่าออกเทนจะเป็นตัวบอกคุณภาพของน้ำมันเบนซิน ถ้าตัวเลขสูงหมายถึงความสามารถของน้ำมันต่อการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ที่สูงขึ้น

สำหรับน้ำมันเบนซินที่ขายอยู่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล
สามารถจำแนกน้ำมันที่ขายตามท้องตลาดได้ ประมาณ 7 ประเภท ประกอบด้วย
1.น้ำมันเบนซินธรรมดา (regular) หรือน้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน 91 ประกอบด้วยส่วนผสมจากน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว และค่าออกเทน 91

2.น้ำมันเบนซินพิเศษ (premium) หรือน้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน 95 ประกอบด้วยส่วนผสมจากน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว และค่าออกเทน 95 ปัจจุบันน้ำมันประเภทนี้ยกเลิกการจำหน่ายไปแล้วหลายแห่ง

3.น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 มีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนด และสามารถใช้ทดแทนน้ำมันเบนซิน 91 ธรรมดา ได้ โดยมีส่วนผสมระหว่างเอทานอลหรือเอทิล แอลกอฮอล์ มีความบริสุทธิ์ 99.5% ผสมกับน้ำมันเบนซิน 91 ในอัตรา ส่วน น้ำมัน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วน

ผลดีต่อเครื่องยนต์ ไม่มีผลกระทบต่อสมรรถนะเครื่องยนต์ และอัตราการเร่ง ไม่แตกต่างจากน้ำมันเบนซิน 91 สามารถเติมผสมกับน้ำมันเบนซินที่อยู่ในถังได้เลย และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับแต่งเครื่องยนต์

4.น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนด และสามารถใช้ทดแทนน้ำมันเบนซิน 95 ธรรมดาได้

มีส่วนผสมระหว่างเอทานอลหรือเอทิลแอลกอฮอล์มีความบริสุทธิ์ 99.5% ผสมกับน้ำมันเบนซิน 95 ในอัตรา ส่วน น้ำมัน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วน

น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 แตกต่างจากน้ำมันเบนซิน 95 โดยน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ผลิตจากน้ำมันเบนซินออกเทน 91 ผสมกับเอทานอลซึ่งเป็นตัวเพิ่มค่าออกเทน ทำให้ได้แก๊สโซฮอล์ที่มีออกเทนเท่ากับน้ำมันเบนซิน 95 ที่ใช้สาร MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) เป็นสารเพิ่มค่าออกเทน

แต่สาร MTBE มีข้อเสียคือ ทำให้เกิดการปนเปื้อนกับน้ำใต้ดินและน้ำดื่ม

5.น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 85 คือ นํ้ามันที่มีส่วนผสมน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการนำน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วผสมกับเอทานอล หรือเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอ ฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% ในอัตราส่วน เบนซิน 15% ต่อเอทา นอล 85% ได้เป็นน้ำมัน

6.น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 20 นํ้ามันที่มีส่วนผสมน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการนำน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วผสมกับเอทานอล หรือเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% ในอัตราส่วน เบนซิน 80% ต่อเอทานอล 20%

7.ไบโอดีเซล คือ น้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ รวมทั้งน้ำมันใช้แล้วจากการปรุงอาหารนำมาทำปฏิกิริยาทางเคมีกับแอลกอฮอล์ เรียกอีกอย่างว่าสารเอสเตอร์ มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลมาก

หากเลือกใช้น้ำมันให้ถูกประเภท ก็จะช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าได้

ปลายฉนวนหุ้มที่หัวเทียนเกิดการแตกร้าว มีสาเหตุมาจากอะไร ?


สาเหตุ: ความเสียหายทางกลไก (การตกกระแทกหรือแรงกดบนเขี้ยวอิเล็กโทรด เนื่องจากการจับต้องขนย้ายที่ไม่ถูกวิธี) ในกรณีที่เสียหายมากๆ ปลายฉนวนหุ้มนี้อาจจะแตกออกโดยคราบเขม่าที่เกาะอยู่ระหว่างตัวฉนวนและเขี้ยวอิเล็กโทรดตรงกลางได้ หรือโดยการสึกกร่อนของเขี้ยวอิเล็กโทรดตรงกลาง (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการละเลยการเปลี่ยนหัวเทียนตามระยะเวลาที่กำหนด)
ผลกระทบ: จังหวะการจุดระเบิดผิดพลาด มีประกายไฟในส่วนที่เข้าถึงได้ยากสำหรับส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ
วิธีการแก้ไข: ทำการเปลี่ยนหัวเทียนใหม่

เขี้ยวอิเล็กโทรดกราวด์ของหัวเทียนบางกร่อนลงเป็นจำนวนมาก


สาเหตุ: การเผาไหม้อย่างรุนแรงของส่วนผสมที่ใช้เติมในน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันเครื่อง คราบเขม่าหรือองค์ประกอบอื่นๆที่ขัดขวางทิศทางการหมุนเวียนในห้องเผาไหม้ เครื่องยนต์เกิดเสียงดังแต่ความร้อนไม่สูงมากเกินไป
ผลกระทบ: จังหวะการจุดระเบิดผิดพลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะเร่งเครื่อง (ไฟสปาร์คไม่เพียงพอที่จะกระโดดข้ามช่องว่างระหว่างเขี้ยวอิเล็กโทรดที่กว้างมากขึ้น) สตาร์ทติดเครื่องยากขึ้น
วิธีการแก้ไข: ทำการเปลี่ยนหัวเทียนใหม่

เขี้ยวอิเล็กโทรดแกนกลางของหัวเทียนบางกร่อนลงเป็นจำนวนมาก สาเหตุเกิดจากอะไร?


สาเหตุ: ไม่ได้ทำการเปลี่ยนหัวเทียนตามระยะเวลาของการบำรุงรักษาที่กำหนดไว้
ผลกระทบ: จังหวะการจุดระเบิดผิดพลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะเร่งเครื่อง (ไฟสปาร์คไม่เพียงพอที่จะกระโดดข้ามช่องว่างระหว่างเขี้ยวอิเล็กโทรดที่กว้างมากขึ้น) สตาร์ทติดเครื่องยากขึ้น
วิธีการแก้ไข: ทำการเปลี่ยนหัวเทียนใหม่

เขี้ยวอิเล็กโทรดของหัวเทียนเกิดการละลาย มีสาเหตุมาจากอะไร ?


เขี้ยวอิเล็กโทรดละลายเป็นรูปทรงดอกกระหล่ำ อาจจะมีสาเหตุมาจากคราบสกปรกของสิ่งอื่นๆ
สาเหตุ: ความร้อนสูงเกินเนื่องจากเกิดการจุดระเบิดโดยอัตโนมัติ สามารถเกิดมาจากระยะเวลาของการจุดระเบิดล่วงหน้ามากเกินไป หรือมีคราบเขม่าในห้องเผาไหม้ วาล์วหรือจานจ่ายผิดปรกติและน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำ
ผลกระทบ: เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง ตามมาด้วยความบกพร่องของเครื่องยนต์โดยสิ้นเชิง
วิธีการแก้ไข: ตรวจสอบระบบเครื่องยนต์ ระบบหัวฉีดและระบบอากาศเข้า และเปลี่ยนหัวเทียนใหม่

เขี้ยวอิเล็กโทรดแกนกลางของหัวเทียนละลายไปเป็นอย่างมาก สาเหตุเกิดจากอะไร ?


เขี้ยวอิเล็กโทรดแกนกลางละลายไปเป็นอย่างมาก พร้อมมีความเสียหายเป็นอย่างมากเกิดขึ้นกับเขี้ยวอิเล็กโทรดกราวด์
สาเหตุ: ความร้อนสูงเกินเนื่องจากเกิดการจุดระเบิดโดยอัตโนมัติ สามารถเกิดมาจากระยะเวลาของการจุดระเบิดล่วงหน้ามากเกินไป หรือมีคราบเขม่าในห้องเผาไหม้ วาล์วหรือจานจ่ายผิดปรกติและน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำ
ผลกระทบ: เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง ตามมาด้วยความบกพร่องของเครื่องยนต์โดยสิ้นเชิง ปลายฉนวนหุ้มอาจจะแตกร้าวได้เนื่องจากความร้อนของเขี้ยวอิเล็กโทรดแกนกลางสูงมากเกินไป
วิธีการแก้ไข: ตรวจสอบระบบเครื่องยนต์ ระบบจุดระเบิด ระบบหัวฉีดและระบบอากาศเข้า และเปลี่ยนหัวเทียนใหม่

เขี้ยวอิเล็กโทรดแกนกลางของหัวเทียนเกิดการละลาย สาเหตุมาจากอะไร ?


เขี้ยวอิเล็กโทรดแกนกลางละลายไปเป็นอย่างมาก พร้อมมีความเสียหายเป็นอย่างมากเกิดขึ้นกับเขี้ยวอิเล็กโทรดกราวด์
สาเหตุ: ความร้อนสูงเกินเนื่องจากเกิดการจุดระเบิดโดยอัตโนมัติ สามารถเกิดมาจากระยะเวลาของการจุดระเบิดล่วงหน้ามากเกินไป หรือมีคราบเขม่าในห้องเผาไหม้ วาล์วหรือจานจ่ายผิดปรกติและน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำ
ผลกระทบ: เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง ตามมาด้วยความบกพร่องของเครื่องยนต์โดยสิ้นเชิง ปลายฉนวนหุ้มอาจจะแตกร้าวได้เนื่องจากความร้อนของเขี้ยวอิเล็กโทรดแกนกลางสูงมากเกินไป
วิธีการแก้ไข: ตรวจสอบระบบเครื่องยนต์ ระบบจุดระเบิด ระบบหัวฉีดและระบบอากาศเข้า และเปลี่ยนหัวเทียนใหม่

หัวเทียวเกิดคราบตะกั่วจำนวนมาก เพราะอะไร ?


ปลายของฉนวนหุ้มและในบางส่วน มีคราบหนาสีน้ำตาลอ่อนเคลือบสีเหลืองซึ่งอาจจะเป็นไปได้ที่จะมีสีเขียวอ่อนปนอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก
สาเหตุ: ส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงมีสารตะกั่วอยู่ คราบที่เคลือบอยู่นั้นเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้งานเครื่องยนต์อย่างหนักหลังจากที่ลิ้นปีกผีเสื้อขยายระยะเวลาการเปิดออกบางส่วนให้ยาวนานขึ้น
ผลกระทบ: จังหวะการใช้งานเครื่องยนต์อย่างหนัก คราบที่เคลือบอยู่เป็นสื่อนำไฟฟ้า ทำให้การจุดระเบิดผิดพลาดได้
วิธีการแก้ไข: ให้ทำการเปลี่ยนหัวเทียนใหม่ เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะทำความสะอาดหัวเทียนเหล่านั้น

หัวเทียนมีคราบเถ้าเขม่า จำนวนมาก เกิดจากสาเหตุ อะไร ?


เถ้าเขม่าจากน้ำมันเครื่องและส่วนผสมเป็นจำนวนมากเกาะติดอยู่ที่ปลายและในช่องว่างของฉนวนหุ้มและเขี้ยวหัวเทียน มีกากของเถ้าเขม่าที่หัวเทียนและบางส่วนหลุดลงไปอยู่ในห้องเผาไหม้
สาเหตุ: สารที่อยู่ในส่วนผสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นำมาใช้กับน้ำมันเครื่อง สามารถที่จะทิ้งคราบเถ้าเขม่าดังกล่าวไว้บนหัวเทียนและในห้องเผาไหม้ได้
ผลกระทบ: สามารถทำให้การจุดระเบิดโดยอัตโนมัติได้ ทำให้เครื่องยนต์เสียกำลังและอาจจะเสียหายได้
วิธีการแก้ไข: ซ่อมเครื่องยนต์และทำการเปลี่ยนหัวเทียนใหม่ ใช้น้ำมันเครื่องตามที่ระบุไว้

คราบตะกั่ว ที่เขี้ยวหัวเทียนเกิดจากสาเหตุอะไร ?


ปลายของฉนวนหุ้มออกเป็นสีน้ำตาลอ่อนเคลือบสีเหลืองซึ่งอาจจะเป็นไปได้ที่จะมีสีเขียวอ่อนปนอยู่ด้วย
สาเหตุ: ส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงมีสารตะกั่วอยู่ คราบที่เคลือบอยู่นั้นเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้งานเครื่องยนต์อย่างหนักหลังจากที่ลิ้นปีกผีเสื้อขยายระยะเวลาการเปิดออกบางส่วนให้ยาวนานขึ้น
ผลกระทบ: จังหวะการใช้งานเครื่องยนต์อย่างหนัก คราบที่เคลือบอยู่เป็นสื่อนำไฟฟ้า ทำให้การจุดระเบิดผิดพลาดได้
วิธีการแก้ไข: ให้ทำการเปลี่ยนหัวเทียนใหม่ เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะทำความสะอาดหัวเทียนเหล่านี้

หัวเทียนมีคราบสกปรกจากน้ำมันเครื่อง สาเหตุเกิดจากอะไร?


ปลายของฉนวนหุ้ม เขี้ยวหัวเทียนและส่วนที่ครอบมีคราบน้ำมันเครื่องหรือเขม่าคาร์บอนเกาะอยู่
สาเหตุ: มีน้ำมันเครื่องในห้องเผาไหม้มากเกินไป ระดับน้ำมันเครื่องสูงเกิน แหวนลูกสูบ กระบอกสูบหรือซีลวาล์วสึกหรอมากเกินไป ส่วนในเครื่องยนต์สองจังหวะนั้น มีน้ำมันเครื่องอยู่ในส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงมากเกินไป
ผลกระทบ: สูญเสียกำลังในการจุดระเบิด สตาร์ทติดยาก
วิธีการแก้ไข: ทำการยกเครื่องใหม่ ปรับส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศให้ถูกต้องและเปลี่ยนหัวเทียนใหม่
donate your car today | donate your vehicle | donating a car for taxes | donating car in california | donating my car tax deduction | donating used cars to charity | donation for cars | how donate car | how to donate a car | how to donate a car in california | how to donate my car | how to donate your car | i want to donate my car | junk car donation | places to donate cars | sacramento car donation | tax break for donating a car | tax deduction car donation | tax deduction for car donation | vehicle donate | vehicle donation | where can i donate my car | where to donate a car | where to donate car | where to donate my car

หมวดหมู่ยานยนต์

 
Support : A | B | C
Copyright © 2016. เทคโนโลยียานยนต์ - All Rights Reserved