ยานยนต์อุตสาหกรรม | การออกแบบรูปลักษณ์ของยานยนต์อุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน
ค่าออกเทนมีผลอย่างไรกับเครื่องยนต์
ค่าออกเทน คือ อะไร...
โดย ปกติแล้วในน้ำมันเบนซินจะถูกเติมสารเพิ่มค่าออกเทน เพื่อจะทำให้น้ำมันมีคุณสมบัติทนต่อการน๊อคได้สูงขึ้น เช่นเดียวกับการเพิ่มค่าซีเทนในน้ำมันดีเซล ซึ่งในอดีตสารที่ใช้ในการเพิ่มค่าออกเทน จะมีส่วนผสมของสารตะกั่วประกอบอยู่ด้วย โดยสารตะกั่วจะทำให้เกิดมลพิษจากไอเสีย ซึ่งเป็นผลร้าย ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมแต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคุณภาพของน้ำมันโดยไม่ต้อง ใช้สารตะกั่วมาเป็นสาร ประกอบเพื่อเพิ่มค่าออกเทนอีกต่อไป ดังนั้นเราจึงได้ยินคำว่า “ น้ำมันไร้สารตะกั่ว ” ซึ่งในขณะนี้มีอยู่ 2 ชนิดในท้องตลาดคือ น้ำมันเบนซินออกเทน 91 และน้ำมันเบนซิน ออกเทน 95 โดยทั้ง 2 ชนิด จะเป็นน้ำมันที่ไร้สารตะกั่วทั้งคู่
ค่าออกเทน คือ คุณสมบัติของน้ำมันที่แสดงถึงความสามารถในการต้านทานการจุดระเบิดก่อนเวลาที่กำหนดใน เครื่องยนต์เบนซิน หรือเป็นค่าที่แสดงถึงความต้านทานการน็อคของเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ซึ่งใน เครื่องยนต์แต่ละรุ่นแต่ละแบบจะมีความต้องการค่าออกเทนที่ไม่เท่ากันโดยขึ้น อยู่กับการ ออกแบบของวิศวกรและบริษัทผู้ผลิตรถยนต์
ผลลัพธ์ที่ได้ คือ...
เมื่อผู้ใช้รถยนต์ใช้น้ำมันที่มีค่าออกเทนที่เหมาะสมกับความต้องการหรือข้อ กำหนดของเครื่องยนต์จะทำให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน และยังช่วยให้ประหยัดทรัพยากร รวมทั้งยังประหยัดเงิน แต่ถ้าใช้น้ำมันที่มีค่าออกเทนต่ำกว่าความต้องการอาจทำให้เครื่องยนต์เกิด การน็อคทำให้ประสิทธิภาพ ของเครื่องยนต์ลดลง รวมถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับตัวกรองไอเสียในขณะเดียวกันหากใช้น้ำมัน ที่มีค่าออกเทนสูงเกินความต้องการของเครื่องยนต์ ถึงแม้จะไม่ส่งผลกระทบต่อเครื่องยนต์หรือการใช้งาน แต่จะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองได้
ดังนั้น ผู้ใช้รถยนต์จึงควรเลือกเติมน้ำมัน ตามที่คู่มือการใช้รถยนต์ระบุไว้ เพื่อประสิทธิภาพต่อเครื่องยนต์และเป็นการประหยัดต่อผู้ใช้รถยนต์เอง
เกียร์ B ของ camry hybrid มีไว้ทำไม
จะเห็นได้ว่าใน camry ที่ไม่ใช่ hybrid ที่เป็นโฉมเดียวกันกับ camry hybrid จะมีบางสิ่งบางอย่างที่-
แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแต่ละรุ่น ได้แก่ 3.5 , 2.4 , และ 2.0 ลิตรในเรื่องของตำแหน่งเกียร์ B ของ camry hybrid นั้นจะมีประโยชน์มากสำหรับเจ้าของรถตลอดจนผู้ขับขี่ กล่าวคือ จะได้ทั้งประโยชน์ , ทั้งความเพลิดเพลิน , มีความปลอดภัย , มีความประหยัด ( ผ้าเบรก ) เป็นต้น.
เมื่อขับขี่รถยนต์ตามเส้นทางต่างๆ หากต้องการใช้ตำแหน่งเกียร์ B ผู้ขับขี่สามารถกระทำได้เป็น-
การหน่วงความเร็วโดยอาศัยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยที่ผู้ขับขี่ไม่ต้องเหยียบเบรกเลยแม้แต่น้อย เป็นการชะลอรถยนต์ด้วยความเร็วที่ลดลงเพียงแค่เลื่อนคันเกียร์ไปในตำแหน่ง B เท่านั้น สังเกตใด้บนมาตรวัด หากมีการเลื่อนเกียร์แล้ว ไฟจะสว่างขึ้นตรงตัวอักษร B อาการของรถยนต์ก็จะลดความเร็วลง นอกจากนั้นระบบไฟจะทำการชาร์จไฟของระบบไฮบริดเพื่อเก็บในแบตเตอรี่ไฮบริด เช่นเดียวกับในกรณีที่รถยนต์จอดนิ่ง มีข้อแม้จะต้องเลื่อนคันเกียร์ไปในตำแหน่ง P เท่านั้น มิฉะนั้นจะไม่มีการชาร์จไฟของระบบไฮบริดแต่อย่างใด เมื่อเป็นเช่นนี้เครื่องยนต์จะมีการทำงาน เพื่อทำการชาร์จไฟเข้าสู่ระบบไฮบริด ก็เท่ากับว่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงก็จะมากขึ้นตามลำดับ หากการขับขี่ของผู้ใช้รถยนต์กระทำตามที่ใด้ระบุอยู่ในคู่มือการใช้รถ ดังเช่น ตำแหน่งเกียร์ B ตามที่กล่าวมาจะส่งผลต่อระบบไฟฟ้าของระบบไฮบริด แต่ยังมีสิ่งที่เจ้าของรถและผู้ขับขี่ได้ประโยชน์อีก คือ การสึกหรอของผ้าเบรกจะน้อยลงอย่างมากถึงแม้ว่าจะขับด้วยความเร็วสูงก็ตาม ก็สามารถกระทำได้ตามความต้องการและอาการของรถยนต์ก็ไม่เสียการทรงตัว ทางด้านผู้ขับขี่ก็ไม่เสียการควบคุมรถแต่อย่างใด
อาจมีคนสงสัยว่า หากมีการขับรถขึ้นเขาและลงเขาจะทำอย่างไรในเมื่อเกียร์อัตโนมัติรุ่นอื่นๆมี ตำแหน่งการใช้ engine brake ในขณะขับลงเขาเพื่อชะลอความเร็วยกตัวอย่างเช่น จาก D ไป 3 หรือจาก 3
ไป 2 เป็นต้นแต่สำหรับ คัมรี่ ไฮบริดผู้ขับขี่สามารถเลือกใช้ตำแหน่งเกียร์ B หรือจะเล่นเกียร์ B ได้เช่นกัน ในบางครั้งทำให้ผู้ขับขี่มีความรู้สึกว่า มีความปลอดภัยมากกว่า หรือมีการขับขี่ที่สนุกสนานมากกว่า ( อันนี้ขึ้นอยู่ความชำนาญของผู้ขับขี่ ) ถึงอย่างไรแล้วผู้ที่เป็นเจ้าของรถ คัมรี่ ไฮบริด คงจะต้องฝึกเพื่อให้เกิดความเคยชิน แล้วจะเกิดประโยชน์สูงสุดนั่นองครับ
สำหรับข้อมูลที่ได้กล่าวมานั้นหากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามไปยังแผนกเทคนิคของเราได้ในเวลาทำการครับ ท้ายนี้ขอให้ผู้อ่านทุกท่าน สุขภาพอนามัยแข็งแรง ร่ำรวยกันถ้วนหน้าครับ
เกียร์ CVT (Continuosly Variable Transmission)
หลักการทำงานอย่างง่ายๆเพื่อความเข้าใจมากขึ้น ดังนี้
คือ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานจะถ่ายทอดกำลังงานมายังชุด เกียร์ผ่านมาทางทอร์คคอนเวอร์เตอร์ หากเราทำการเข้าเกียร์ชิ้นส่วนภายในเกียร์ก็เริ่มทำงานเพลารับกำลังจะรับการ ส่งถ่ายกำลังมาจากเครื่องยนต์ ซึ่งเพลารับกำลังนี้จะมีมูเลย์ติดตั้งอยู่หนึ่งตัว จะเรียกว่ามูเลย์ขับ และจะมีอีกหนึ่งตัวเป็นตัวตามแต่จะอยู่อีกเพลาหนึ่ง โดยทั้ง 2 เพลานี้จะมีสายพานโลหะต่อเนื่องถึงกันและตัวมูเลย์ดังกล่าวนั้นสามารถปรับ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ตามความเร็วรอบ หมายความว่า รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยความเร็วต่ำ รอบเครื่องยนต์ก็ต่ำร่องของมูเลย์ตัวขับก็จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่เล็ก ส่วนทางด้านมูเลย์ตามนั้นเส้นผ่าศูนย์กลางนั้นจะใหญ่ ทำให้รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยความเร็วที่ต่ำนั่นเอง
แต่พอไต่ความเร็วขึ้นมาเรื่อยๆร่องของมูเลย์มี่ การปรับเปลี่ยนเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างต่อเนื่องและการขับขี่ก็เป็นไปอย่าง นุ่มนวลต่อเนื่องราบเรียบ แต่พอต้องการความเร็วสูงนั้น มูเลย์ตัวขับจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่กว้างขึ้นหรือใหญ่ขึ้น ส่วนทางด้านมูเลย์ตามนั้นก็จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่แคบลงหรือเล็กลง เป็นผลให้มีรอบของการหมุนเพิ่มขึ้น ทำให้รถยนต์มีความเร็วที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน และนี่คือภาพของการทำงานอย่างเข้าใจแบบไม่ซับซ้อนหรืออย่างง่ายๆครับ
การทำงานของเกียร์ cvt ที่เป็นอย่างต่อเนื่องนั้นนอกจาก ความนุ่มนวลแล้วยังมีในเรื่องของความประหยัดเชื้อเพลิงอีกด้วย แต่ถึงอย่างไรทั้งนี้และทั้งนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมด้านการขับขี่ไปพร้อมๆ กันด้วย หากมีการขับกระชากแบบรุนแรงแล้วจะมีการเสียหายที่รวดเร็ว สำหรับเกียร์ cvt ในบางครั้งอาจจะไม่ชินกับผู้ที่ขับรถเร็วเพราะว่าการตอบสนองบวกกับความเร้า ใจของการขับไม่ได้ดังที่ใจต้องการ ไม่เหมือนรถก่อนหน้านี้ที่เคยใช้มา ไม่ว่าจะเป็น ปุ่ม o/d , ปุ่ม ect PWR และอื่นๆ ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ เป็นต้น
หลายคนอาจจะคงเคยเห็นลักษณะของเกียร์ประเภทอย่างนี้กันมาบ้าง แล้ว เช่น ในรถกอล์ฟ หากมีการใส่เกียร์เดินหน้าแล้วเหยียบคันเร่งก็จะมีการเพิ่มความเร็วขึ้น เรื่อยๆตามสภาวะของมูเลย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าคล้ายกัน แต่สิ่งที่ไม่เหมือนกันนั้นจะมีส่วนประกอบอื่นมาเป็นปัจจัยในการทำงานที่มาก ขึ้นรวมถึงระบบต่างๆ เช่น ระบบอิเล็กทรอนิค, โครงสร้างของกลไกต่าง เป็นต้น
อาจะมีคำถามว่า...แล้วเกียร์อัตโนมัติประเภทไหนจะใช้งานได้ดีที่สุด อัน นี้คงตอบยากเพราะผู้ผลิตรถยนต์คงคำนวณเป็นอย่างดีแล้วว่าเหมาะสมที่จะบรรจุ อยู่ในรถยนต์รุ่นใดอย่างไร คงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ใช้รถยนต์จะเป็นผู้กำหนดระบบส่งกำลังเอง ดังนั้น หากรถยนต์ของท่านผู้อ่านมีระบบส่งกำลังแบบใด เกียร์ประเภทอย่างไร ถ้าเป็นไปได้ควรทำความเข้าใจกับระบบเกียร์ที่ท่านใช้อยู่ย่อมเกิดประโยชน์ แก่ท่านผู้อ่านครับ
ประหยัดง่ายๆกับไฮบริด
เรื่องราวของเครื่องยนต์ไฮบริดที่บอกว่าประหยัดกว่าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น ได้พิสูจน์แล้วว่ามีความประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงหรือมีการบริโภคน้ำมันเชื้อ เพลิงน้อยลงจริงๆ เปรียบเทียบกับรถยนต์ที่มีปริมาตรความจุกระบอกสูบที่น้อยกว่าก็ตาม และในการนี้เพื่อให้รถยนต์ ไฮบริดมีความประหยัดอย่างสูงสุด ถ้าเป็นไปได้โดยให้ผู้ขับขี่ ปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่จะกล่าวถึงดังต่อไปนี้
*เมื่อต้องการออกตัว*
1. ให้เหยียบเบรก
2. เข้าเกียร์D
3. ปลด parleing Brake
4. เหยียบคันเร่งเบาๆ
ให้สังเกต บนมาตรวัดหน้าจอจะแสดงการออกตัวด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ถ้ากำลังไฟในแบตเตอรี่ไฮบริดไม่เพียงพอ เครื่องยนต์จะทำงานโดยอัตโนมัติ เพื่อทำการชาร์จไฟกลับเข้าไปไว้ที่แบตเตอร์ไฮบริด
*เมื่อต้องการเร่งความเร็ว*
ให้สังเกตหน้าจอแสดงผลบนมาตรวัด จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งจะได้กำลังเสริมจากแบตเตอร์ไฮบริดโดยตรงในขณะเร่งความเร็ว จะเห็นได้ว่าหัวลูกศรทั้ง2อย่าง จะส่งไปยังล้อขับเคลื่อน หากมีเสียงดังเกิดขึ้นบ้างถือว่าเป็นเสียงปกติของมอเตอร์ทำงาน
*เมื่อต้องการขับแบบประหยัด*
ให้สังเกตมาตรวัด ทางซ้ายมือของหน้าจอ เข็มมาตรวัดหากชี้อยู่ทางด้านล่างในหมายความว่า ขับขี่อย่างประหยัดสูงสุด เพราะเป็นการขับเคลื่อนโดยระบบไฟฟ้า(E MODE) จะไม่มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่อย่างใด หากว่า เข็มบนมาตรวัด ชี้อยู่ที่ตัวเลข20 นั่นหมายความว่า มีอัตราการสิ้นเปลืองของน้ำมันอยู่ที่ 20 กิโลเมตรต่อลิตร อันนี้ถือว่าเป็นการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงเช่นกัน แต่ถ้าหากว่าเข็มบนมาตรวัดชี้ขึ้นทางด้านบนเกินตำแหน่ง10 หรือเลยแถบสีเขียวอันนี้ถือว่าใช้น้ำมันเชื้อเพลิงพอสมควรหรือค่อนข้างมาก นั่นเองครับ นอกจากนั้นเพื่อให้มีความประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างสมบูรณ์ผู้ขับขี่จะ ต้องมีการขับขี่ตามที่จะกล่าวถึงดังนี้
• การเบรก
การชะลอความเร็ว สามารถทำได้โดย การเหยียบเบรกหรือการใช้เกียร์B ขณะขับ
- ไม่ควรขับประชิดรถคันหน้าจนเกินไป
- ถอนคันเร่ง
- ค่อยๆเหยียบเบรกให้รถชะลอไม่ควรเหยียบเบรกอย่างรวดเร็วและรุนแรง เพราจะทำให้โอกาสในการชาร์จไฟมีน้อย
• ถ้าใช้ระบบเบรกไกล ยังช่วยชาร์จไฟให้มากขึ้น เรื่องยนต์จะทำงานน้อยลง
- ตำแหน่งเกียร์ B ความเร็วของรถจะลดลง ด้วยแรงหน่วงจากมอเตอร์ไฟฟ้า การชาร์จไฟจึงเป็นการเปลี่ยนกำลังที่สูญเปล่าเป็นไฟฟ้า เพื่อเก็บในแบตเตอรี่ไฮบริดเพื่อการขับครั้งต่อไป และการชาร์จไฟกลับนั้นไม่ว่าจะเป็นการถอนคันเร่งแล้วให้รถไหล, ชะลอความเร็วหรือเหยียบเบรก, หรือจังหวะนั้นกำลังไฟ แบตเตอร์ไฮบริดนิ่ง เครื่องยนต์ก็จะติดเพื่อชาร์จไฟ
• การหยุดรถ
การหยุดรถเพียงเวลาสั้นๆ สามารถหยุดด้วยเกียร์ N ได้ แต่หากกำลังไฟในแบตเตอรี่ไฮบริดวิ่งกว่าระดับจะมีข้อความเตือนให้ผู้ขับขี่ เข้าเกียร์ P แต่เพื่อให้รถยนต์ไฮบริดมีความประหยัดเมื่อมีการจอดรถให้เข้าเกียร์ P ทุกครั้ง เพื่อให้ระบบมีการชาร์จไฟในกรณีหยุดรถนานๆเช่น รถติดไฟแดง, ติดขบวนรถไฟ, จอดรถภารกิจต่างๆ เป็นต้น และที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นวิธีการใช้รถยนต์ไฮบริดอย่างคุ้มค่าและถูกต้อง ก็เพื่อความประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างสูงสุดนั่นเองครับ นอกจากนั้น รถยนต์ไฮบริดของโตโยต้า ยังเลือกใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้หลายประเภทไม่ว่าจะเป็น แก๊สโซฮอล์ E10 91 และ E10 95 และอ๊อกเทน 91 ขึ้นไปได้อีกด้วย
ดังนั้น หากผู้ขับขี่รถยนต์ไฮบริด สามารถกระทำได้ตามที่กล่าวมา จะพบว่า อัตราการกินน้ำมันเชื้อเพลิงจะประหยัดถึงได้ถึง57% สำหรับการใช้งานในเมือง ความเร็วน้อยกว่า 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและ24% สำหรับวิ่งทางไกลนอกเมือง ความเร็ว 80-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และนี้คือสุดยอดนวัตกรรมจากโตโยต้า
การดูแลรักษาเครื่องยนต์
เครื่องยนต์ | ทุกๆ ระยะทางหรือเวลา |
ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่น | ทุกครั้งที่เข้าปั๊มเติมน้ำมันเชื้อเพลิง หรือสับดาห์ละครั้ง |
เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่น | 3,000 - 5,000 กิโลเมตร (1 ปี) |
เปลี่ยนกรองน้ำมันหล่อลื่น | ทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่น |
ตรวจสอบระยะช่องว่างของวาล์ว ถ้าไม่เหมาะสม ก็ตั้งวาล์วใหม่ | 20,000 กิโลเมตร (1 ปี) |
ระบบจุดระเบิด | |
ตั้งระยะหน้าทองขาว และเขี้ยวหัวเทียน | 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน) |
เปลี่ยนชุดทองขาว และคอนเดนเซอร์ | 20,000 กิโลเมตร (1 ปี) |
เปลี่ยนหัวเทียน | 20,000 กิโลเมตร (1 ปี) |
ตรวจสอบสายหัวเทียน | 20,000 กิโลเมตร (1 ปี) |
เปลี่ยนสายหัวเทียน | 60,000 กิโลเมตร (3 ปี) |
ตรวจสอบฝาครอบจานจ่าย และหัวนักกระจอก (หัวโรเตอร์) | 20,000 กิโลเมตร (1 ปี) |
ปรับไทม์มิ่งจุดระเบิด | ทุกครั้งที่ตั้งระยะหน้าทองขาว |
แบตเตอรี่ | |
ตรวจสอบระดับของเหลวในแบตเตอรี่ | ทุกสัปดาห์ |
ทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ | 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน) |
ระบบหล่อเย็น | |
ตรวจสอบระดับน้ำหล่อเย็น | ทุกสัปดาห์ |
ตรวจสอบสภาพท่อน้ำหล่อเย็น | 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน) |
ตรวจสอบฝาหม้อน้ำ | 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน) |
ตรวจสอบสายพาน และปรับความตึง | 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน) |
เปลี่ยนสายพาน | 40,000 กิโลเมตร (2 ปี) |
เปลี่ยนน้ำหล่อเย็น | 20,000 กิโลเมตร (1 ปี) |
ล้างหม้อน้ำ | 20,000 กิโลเมตร (1 ปี) |
ระบบเชื้อเพลิง | |
ทำความสะอาดกรองอากาศ | 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน) |
เปลี่ยนกรองอากาศ | 20,000 กิโลเมตร (1 ปี) |
เปลี่ยนกรองน้ำมันเชื้อเพลิง | 40,000 กิโลเมตร (2 ปี) |
ล้าง และทำความสะอาดคาร์บูเรเตอร์ | 40,000 กิโลเมตร (2 ปี) |
ตรวจสอบวาล์ว พีซีวี | 20,000 กิโลเมตร (1 ปี) |
เครื่องปรับอากาศ | |
ทำความสะอาดคอยล์ร้อน | 5,000 กิโลมตร (3 เดือน) |
ตรวจสอบรอยรั่วที่ข้อต่อ | 5,000 กิโลมตร (3 เดือน) |
ตรวจสอบปริมาณน้ำยาทำความเย็น | 5,000 กิโลมตร (3 เดือน) |
ตรวจสอบ และปรับสายพานแอร์ | 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน) |
เปลี่ยนสายพานแอร์ | 40,000 กิโลเมตร (2 ปี) |
เปิดเครื่องปรับอากาศ ให้ทำงาน 3-4 นาที | สัปดาห์ละครั้ง ถึงแม้จะเป็นฤดูหนาว |
ระบบถ่ายทอดกำลัง | |
เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ | 30,000 กิโลเมตร (1 1/2 ปี) |
เปลี่ยนน้ำมันเฟืองท้าย | 20,000 กิโลเมตร (2 ปี) |
อัดจาระบี ลูกปืน เพลากลาง | 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน) |
เปลี่ยนจาระบีลูกปืนล้อ | 20,000 กิโลเมตร (1 ปี) |
ตรวจสอบ ระยะฟรีของแป้นคลัตช์ | 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน) |
ตรวจสอบน้ำมันคลัตช์ (ถ้าเป็นระบบไฮดรอลิก) | 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน) |
ตรวจสอบระดับ น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ | 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน) |
เปลี่ยนน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ | 40,000 กิโลเมตร (2 ปี) |
ระบบเบรค | |
ตรวจสอบระดับน้ำมันเบรค | 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน) |
ตรวจสอบสภาพเบรค | 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน) |
ปรับเบรคมือ | ตามความจำเป็น |
ระบบบังคับเลี้ยวเพาเวอร์ | |
ตรวจสอบระดับน้ำมันในปั้ม | 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน) |
ตรวจสอบความตึงของสายพานขับปั้ม | 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน) |
เปลี่ยนสายพานขับปั้ม | 40,000 กิโลเมตร (2 ปี) |
ยาง | |
ตรวจสภาพการสึกของยาง | 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน) |
สับเปลี่ยนตำแหน่งของยาง | 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน) |
ตรวจสอบความดันลมในยาง | 2 สัปดาห์ |
ตรวจความลึกของดอกยาง | 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน) |
ทำความสะอาดยาง | ตามความจำเป็น |
อุปกรณ์ปัดน้ำฝน | |
ตรวตสอบใบปัดน้ำฝน | 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน) |
เปลี่ยนใบปัดน้ำฝน | 40,000 กิโลเมตร (2 ปี) |
ตรวจสอบการทำงานของหัวฉีด | 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน) |
หล่อลื่นข้อต่อต่างๆ | 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน) |
ยางระเบิดขณะขับขี่
ขณะขับขี่แล้วเกิดยางระเบิด แน่นอนที่สุดย่อมเกิดอาการตกใจ และสิ่งที่ตามมาอาจเกิดอันตรายได้ และในฐานะของผู้ขับขี่ก็ไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้น แต่ในเมื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ฉุกเฉินขณะยางระเบิดไม่ได้ ในฐานะของผู้ขับขี่ จะทำอย่างไรดี? และนี่คือคำถามที่อยู่ในใจของใครหลายๆ คน
การที่ยางระเบิดไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของท่าน, ผู้โดยสารและผู้ร่วมใช้เส้นทาง ในฐานะผู้ขับขี่ ก่อนอื่นต้องตั้งสติให้ดี สมาธิให้ดี แล้วพยายามทำตามวิธีที่จะกล่าวถึงนี้
1. ผู้ขับขี่พยายามตั้งสมาธิของตนเองให้เป็นปกติ ห้าม ! ทำการเหยียบเบรกโดยเด็ดขาด เพราะการเหยียบเบรกจะเกิดอันตรายอย่างมาก
2. จับพวงมาลัยให้มั่นคง และแน่นขึ้น พร้อมกับบังคับพวงมาลัยเพื่อให้รถยนต์ชิดขอบทาง ให้อยู่ในที่ที่ปลอดภัย
3. ลดความเร็วของรถยนต์ลงเรื่อยๆ พร้อมกับเปิดไฟเลี้ยว (ในกรณีขอทาง) หรือเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน
4. ให้ทำการติดต่อขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานช่วยเหลือต่างๆ ในกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขด้วยตนเองได้
ส่วนกรณี สามารถแก้ไข (เปลี่ยนยาง) ได้ด้วยตนเอง ให้นำสัญลักษณ์ขอทาง หรือ นำวัสดุที่พอจะเป็นที่สังเกตได้ไปวางไว้ก่อนถึงจุดจอดรถประมาณ 10 เมตร (ถ้าเป็นไปได้) อันนี้เพื่อความปลอดภัยของตนเอง และผู้ใช้เส้นทางท่านอื่นด้วย
การป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ ยางระเบิดขณะขับขี่ มีวิธีดังต่อไปนี้
•ตรวจสภาพของยางอย่างสม่ำเสมอ เช่น รอยฉีกขาด, วัสดุที่ตำยาง, ความสึกหรอ
•ตรวจสอบความดันลมยางอย่างสม่ำเสมอ (ตามค่ากำหนดจากคู่มือการใช้รถ)
•ทำความสะอาดยางอย่างสม่ำเสมอ (ถ้าเป็นไปได้ควรทำความสะอาดทั่วทั้งเส้น)
•บำรุงรักษาตามระยะทางที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้รถกำหนด เช่น ตรวจสอบช่วงล่าง, การสลับยาง ถ่วงยาง ทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร
•ขึ้นชื่อว่า “ยาง” ย่อมมีอายุการใช้งาน ดังนั้น ให้ทำการเปลี่ยนยางตามที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้รถหรือ บริษัท ผู้ผลิตยางกำหนด (ระยะเวลา 2 ปี หรือ 50,000 กิโลเมตร) แล้วแต่ระยะใดระยะหนึ่งถึงก่อน
เพียงเท่านั้น โอกาสที่จะมีการเกิดอุบัติเหตุจากยางระเบิด ก็เป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์ (0%) อย่างแน่นอน ความปลอดภัยของท่าน คือความตั้งใจของเรา
อนึ่ง...สำหรับเหตุการณ์ตามที่กล่าวมา “รู้ไว้ ใช่ว่า” เพราะเมื่อมีการเกิดขึ้นแล้ว จะเกิดอันตรายและความเสียหายตามมาในที่สุด ดังนั้น ป้องกันไว้เป็นดีที่สุดครับ
ยางกับการจอด
เป็นไปไม่ได้ที่การจอดรถทุกครั้ง จะเป็นพื้นที่เรียบตลอด ตามถนนหนทางหรือแม้แต่ตรอก ซอยต่างๆ จะมีขอบของถนน, ช่องระบายน้ำ, ลูกระนาดและอื่นๆ สิ่งเหล่านี้ตัวมันหรือลักษณะของมันจะไม่เรียบตรง พร้อมกับมีความแข็ง ดังนั้น เมื่อรถจอดทับแล้ว จะไม่มีการเสียรูปแต่อย่างใด แต่กลับว่าตัวรถยนต์ชำรุดแทนนั่นก็คือ “ยางล้อรถยนต์”
การจอดรถในแต่ละครั้งมีนานบ้าง เร็วบ้าง แตกต่างกัน หากมีการจอดที่นานมากๆ ควรหาพื้นที่เรียบ เพื่อที่จะไม่ทำให้ยางชำรุด (เสียรูป) หากลองสังเกตให้ดี จะพบว่า เมื่อจอดรถตรงร่องของท่อระบายน้ำ สังเกตตรงแก้มยาง จะเห็นว่ายางแบน ที่เป็นอย่างนี้ เพราะหน้าสัมผัสยางกับพื้นตรงนั้น ไม่สมดุล ทำให้มองเห็นอย่างนั้น ถ้าเป็นการจอดนานบวกกับลมยางที่อ่อน ทำให้ยางชำรุดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ไหนจะน้ำหนักของรถยนต์ทั้งหมดกดลงบนยางอีก ยิ่งเพิ่มภาระให้กับยาง
นอกจากยางจะเสียรูปแล้ว บางครั้ง อาจทำให้ยางรั่วได้ ในการนี้ขอกล่าวในกรณีจอดรถบริเวณท่อระบายน้ำเท่านั้น สิ่งที่มีอาจมองข้ามได้ ก็คือสิ่งต่างๆที่อยู่บนถนนกระเด็นมา, ปลิวมา หรือ ไหลมากับน้ำ อะไรทำนองนี้ มาติดอยู่ที่ยาง ไม่ว่าจะเป็น เหล็ก, ตะปู, ลวด, ขวด, แก้ว และอื่นๆ ล้วนแล้วแต่สามารถตำทะลุยางได้ เมื่อเราต้องการใช้รถ แล้วขยับรถยนต์ออกจากจุดจอด ก็บดทับสิ่งเหล่านั้นได้ เมื่อใช้รถยนต์ระยะเวลาหนึ่ง ลมยางล้อรถยนต์จะน้อยลงเรื่อยๆ จนแบน พฤติกรรมของผู้ขับขี่ส่วนมาก ไม่มีใครก้มลงดูบริเวณยางอยู่แล้ว ดังนั้น ในการเลือกที่จอด ควรพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ก็ดีต่อยางยิ่งขึ้น
อีกประการหนึ่ง ถึงแม้ว่าจอดรถบนพื้นที่เรียบ แต่หากจอดเป็นระยะเวลาที่นานมากๆควรให้ล้อรถยนต์เปลี่ยนตำแหน่งหน้าสัมผัสยางกับถนนบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นกับยาง ถึงแม้จะเป็นยางใหม่ก็ตามก็อาจเกิดขึ้นได้ การรับประกันยางมีอยู่ก็จริง แต่ส่วนใหญ่แล้ว เคลมได้น้อยมากหรือยากมาก และใช้เวลาในการตรวจสอบก็ใช้เวลาหลายวัน ซึ่งข้อจำกัดของการรับประกัน (ยาง) มีอยู่หลายข้อและ จะไม่อยู่ ภายใต้เงื่อนไขการรับประกัน
•ยางได้รับความเสียหายจากการใช้งานบนท้องถนนตามปกติ เช่น บาด, ตำทะลุ หรือ บวม เนื่องจากการกระแทก
•ยางที่ถอด-ประกอบใส่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ระหว่างยางกับกระทะล้อ
•ยางที่ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากความผิดปกติของช่วงล่าง ไม่ว่าจะเป็นระบบช่วงล่างและศูนย์ล้อ
•ยางที่ติดตั้งหรือใช้กับวาล์ว กระทะล้อ หรือ ล้อไม่เหมาะสมตามประเภทยาง
•รถที่มีการบรรทุกน้ำหนัก หรือ ใช้ความเร็วเกินพิกัดที่ระบุไว้ตรงแก้มยาง หรือ ตามคำแนะนำ สำหรับรถประเภทนั้นๆ
•ยางเก่าที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว และนำมาซื้อขายใหม่
•ยางที่เก็บรักษาไม่ถูกวิธี
•ยางที่ไม่ได้ใช้งานตามคำแนะนำทางเทคนิคของบริษัทผู้ผลิต
•ยางที่เสียหายจากอุบัติเหตุ, ไฟไหม้, สารเคมี หรือ มีการปรับแต่งช่วงล่างของรถ
•ยางที่ไม่ได้ซื้อมาจากตัวแทนจำหน่ายยางโดยตรง
•ยางที่เสียหาย เนื่องจากสภาพอากาศและผลกระทบจากบรรยากาศ
เห็นไหมครับว่า ข้อกำหนดดังกล่าวโดยรวมแล้ว ท่านเจ้าของรถจะต้องดูแลเอาใจใส่ยางพอสมควร ดังที่กล่าวมาตั้งแต่ตอนต้นว่า แม้กระทั่งการจอดรถก็ต้องพิจารณา เพราะอยู่ภายใต้ ข้อกำหนดของการรับประกันนั่นเอง หากเป็นรถใหม่ที่ออกจากตัวแทนจำหน่าย แล้วมีปัญหาเกี่ยวกับยาง ทางศูนย์บริการของตัวแทนจำหน่ายของรถยนต์ยี่ห้อนั้นๆก็ต้องเข้ามาดูแลให้ท่านอยู่แล้ว แต่การพิจารณาการอนุมัติเคลมยางว่าได้หรือไม่ได้นั้นขึ้นอยู่กับบริษัท ผู้ผลิตยางนั้นๆครับ ท้ายนี้ขอให้ผู้อ่านทุกท่านใช้รถยนต์อย่างมีความสุขมากๆ ครับ
เปลี่ยนหรือไม่ ใคร่คิดดู 2
เรียนผู้อ่านทุกท่าน บทความเรื่อง เปลี่ยนหรือไม่ ใคร่คิดดู 2 ก่อนจะเกิดขึ้นนั้น ได้มีบทความ เปลี่ยนหรือไม่ ใคร่คิดดู มาก่อนแล้ว และนั่นก็เป็นครั้งแรก ซึ่งครั้งนั้นได้กล่าวถึงชิ้นส่วนอยู่ 3 อย่าง ได้แก่ แบตเตอรี่, ยางแท่นเครื่อง, แท่นเกียร์ และยางล้อรถยนต์ เมื่อผู้อ่านได้อ่านแล้วมีความเข้าใจในตัวชิ้นส่วนมากยิ่งขึ้น ว่าทำไมต้องเปลี่ยน การแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่บริการก็มีความเข้าใจที่ตรงกันอีกด้วย ชิ้นส่วนทุกชิ้นส่วนย่อมมีอายุการใช้งานอยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว ณ โอกาสนี้ ก็มีด้วยกัน 3 อย่าง ได้แก่ น้ำมันเบรก, น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ และน้ำมันเกียร์ ขอเริ่มเลยละกันนะครับ
น้ำมันเบรก
เป็นชิ้นส่วนที่สำคัญมากต่อรถยนต์ ถ้าน้ำมันเบรกไม่ดี จะส่งผลต่อประสิทธิภาพต่อการเบรก และชิ้นส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องกับระบบเบรก นอกจากนั้น อาจนำพาไปสู่เรื่องของอุบัติเหตุได้ ดังนั้น น้ำมันเบรกจะต้องมีการเปลี่ยนถ่ายทุกๆ 40,000 กิโลเมตร ตามระยะทางที่กำหนดครับ
ไม่เปลี่ยน - การส่งถ่ายแรงเบรกด้อยลง
เปลี่ยน - การไหลของน้ำมันเบรกได้เต็มที่ และรวดเร็ว
ไม่เปลี่ยน - การคืนตัวของผ้าเบรกช้า
เปลี่ยน - ผ้าเบรกคืนตัวได้เร็วหลังจากถอนเท้าออกจากคันเหยียบเบรก
ไม่เปลี่ยน - แม่ปั้มเบรก, ลูกยางเบรก ชำรุด(รั่ว) เร็วกว่าที่ควรเป็น
เปลี่ยน - ชิ้นส่วนเสียหายช้า ประหยัดเงินในการซ่อม
ไม่เปลี่ยน - กระบอกเบรก เกิดเป็นตามด ไม่สามารถซ่อมได้ ต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งลูก (ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น)
เปลี่ยน - กระบอกเบรก ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์
ไม่เปลี่ยน - ใช้แรงในการเบรกมากกว่าที่ควรจะเป็น
เปลี่ยน - แรงที่ใช้ในการเหยียบเบรกเหมือนปกติ
ไม่เปลี่ยน - เกิดฟองอากาศในระบบเบรกง่ายขึ้น อาการเบรกจมหายง่ายขึ้น
เปลี่ยน - โอกาสที่เบรกจมหายในระบบจะไม่เกิดขึ้น
น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์
จะต้องมีการเปลี่ยนเหมือนน้ำมันทั่วๆไป บางท่านอาจมองข้ามกันไปว่า ไม่สำคัญเท่าไหร่ อะไรทำนองนี้ ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะว่า หากไม่เปลี่ยนตามระยะทางที่กำหนด จะนำพาหรือเป็นเหตุให้ชิ้นส่วนอื่นเสียหายมากขึ้น นอกจากนั้นยังทำให้ประสิทธิภาพในการบังคับเลี้ยวด้อยลง การเปลี่ยนถ่ายก็ทุกๆ 40,000 กิโลเมตร ดังนั้น เรามาลองทำความเข้าใจกันครับ
ไม่เปลี่ยน - ชิ้นส่วนต่างๆ จะมีการชำรุดสึกหรอ ง่ายขึ้น
เปลี่ยน - อายุการใช้งานของชี้ยาวนาน
ไม่เปลี่ยน - หากมีการชำรุด แล้วมีการซ่อม ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ใช้เวลาก็มาก
เปลี่ยน - ประหยัดเงิน และ เวลาได้มาก
ไม่เปลี่ยน - เกิดเสียงดังเวลาปั้มเพาเวอร์ทำงาน
เปลี่ยน - ไม่เกิดเสียงดังแต่อย่างใด
ไม่เปลี่ยน - การส่งถ่ายแรงในการบังคับเลี้ยว ได้ไม่เต็มที่
เปลี่ยน - การบังคับเลี้ยวเป็นไปอย่างสมบูรณ์
ไม่เปลี่ยน - ปั้มเพาเวอร์มีการทำงานหนักมากขึ้น การสึกหรอย่อมสูงขั้น
เปลี่ยน - การทำงานของปั้มเพาเวอร์ทำงานเป็นปกติ การใช้งานนาน
ไม่เปลี่ยน - หากมีการรั่วแล้วเลอะเทอะบนถนน ผู้ร่วมใช้เส้นทางเกิดอุบัติเหตุได้
เปลี่ยน - ปัญหาของอุบัติเหตุที่เกิดจากรถยนต์ของเรา จะไม่เกิดขึ้น
น้ำมันเกียร์ (ธรรมดา, อัตโนมัติ)
เป็นชิ้นส่วนที่สำคัญชิ้นหนึ่ง จำเป็นจะต้องมีการบำรุงรักษาหรือเปลี่ยนถ่ายตามระยะทางที่กำหนด ซึ่งแต่ละรุ่นแต่ละแบบจะแตกต่างกันไป อย่างไรแล้วท่านผู้อ่านศึกษาได้จากคู่มือการใช้รถยนต์ของท่าน แต่ถ้าไม่มีคู่มือการใช้รถก็สามารถสอบถามไปยังแผนกบริการ รถยนต์รุ่นนั้นๆได้อีกทางหนึ่ง น้ำมันเกียร์เหมือนกับน้ำมันอื่นๆ ดังนั้น หากไม่ปฏิบัติอาจส่งผลถึงสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้
ไม่เปลี่ยน - ชิ้นส่วนของเกียร์มีการสึกหรอสูงขึ้นกว่าปกติ
เปลี่ยน - ชิ้นส่วนของเกียร์มีการใช้งานยาวนาน
ไม่เปลี่ยน - การรั่วของน้ำมันเกียร์ผ่านทางชิ้นส่วนต่างๆง่ายขึ้น
เปลี่ยน - การรั่วของน้ำมันเกียร์ผ่านซีลช้าขึ้น
ไม่เปลี่ยน - การระบายความร้อนของตัวเกียร์ไม่ดี (กว่าที่ควรจะเป็น)
เปลี่ยน - การถ่ายเทความร้อนของตัวเกียร์ดีเป็นปกติ
ไม่เปลี่ยน - การไหลลื่นของเกียร์ด้อยลง
เปลี่ยน - การไหลลื่นของเกียร์เป็นไปอย่างสมบูรณ์
ไม่เปลี่ยน - ในการเลื่อนเข้าเกียร์ยาก
เปลี่ยน - การเลื่อนเข้าเกียร์นุ่มนวล
ไม่เปลี่ยน - กินเชื้อเพลิงมากขึ้น สำหรับเกียร์อัตโนมัติ
เปลี่ยน - อัตราเร่งดี การสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อยลง
ไม่เปลี่ยน - หากมีการซ่อมชุดเกียร์ จะมีค่าใช้จ่ายและเวลาที่มาก
เปลี่ยน - การที่จะมีการซ่อมเกียร์ยากมาก ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
เป็นอย่างไรบ้างครับ สำหรับความเข้าใจในครั้งนี้ หากผู้ขับขี่พบเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งก็แสดงว่ามีการขัดข้องเกิดขึ้น ก็ให้รีบตรวจสอบโดยด่วน คงไม่มีใครไม่รักรถนะครับ ข้อกำหนดต่างๆที่อยู่ในคู่มือการใช้รถนั้น ถือว่าเป็นมาตรฐานในการดำเนินการปฏิบัติครับ หลายท่านอาจจะไม่นำรถเข้าศูนย์บริการแล้ว ก็ให้คำนึงถึงตามที่กล่าวมาด้วยครับ ท้ายนี้ขอให้ผู้อ่านทุกท่านใช้รถยนต์อย่างมีความสุขและคุ้มค่าสูงสุดครับ สวัสดีครับ
จานเบรกพ่นสีดีหรือไม่
หากสังเกตรถยนต์ที่วิ่งอยู่ตามท้องถนน จะพบว่า รถยนต์บางคันได้ทำการพ่นสีจานเบรก ไม่ว่าจะเป็นดิสเบรก หรือ ดรัมเบรก ก็ตาม ส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่น การกระทำเช่นนี้ เป็นความประสงค์ของเจ้าของรถเอง ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นจุดเด่น เห็นสวยงาม สะดุดตากับผู้พบเห็น น่าจะเป็นเหตุผลอันดับต้นๆ
รถยนต์ที่ถูกผลิตขึ้นสังเกตให้ดีจะพบว่า รถยนต์ใหม่ที่ออกมาจากโรงงานจะไม่มีการพ่นสีใดๆเลยซึ่งน่าจะมีเหตุผล คือ ความร้อนที่เกิดจากการเบรกจะมีอุณหภูมิสูงมากๆจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีการถ่ายเทความร้อนได้ดีและรวดเร็ว ทางด้านวัสดุที่ใช้ทำผ้าเบรกและจานเบรก จะต้องมีการถ่ายเทความร้อน หรือ ระบายความร้อนที่ดีด้วย เพื่อให้ประสิทธิภาพเบรกสูงสุด ในรถยนต์สมัยก่อนได้มีการออกแบบและผลิตจานดิสเบรกหน้าเป็นจานดิสเบรกธรรมดา จะมีแผ่นดักลมอยู่ข้างๆเพื่อระบายความร้อน ยามที่รถยนต์เคลื่อนที่ แต่ปัจจุบัน จานดิสเบรกหน้า ได้ถูกออกแบบให้มีครีบระบายความร้อนอยู่ที่ตัวจานดิสเบรกเลย ถูกบรรจุอยู่ในรถยนต์ทุกคันไม่ว่าจะเป็นรถเก๋งหรือรถกะบะก็ตาม ซึ่งการออกแบบและผลิตขึ้นนั้นจุดประสงค์ก็เพื่อให้ประสิทธิภาพของระบบเบรกนั้นเองครับ
ในการพ่นสีที่จานดิสเบรกและดรัมเบรก ก็เท่ากับว่าเป็นการปิดกั่นการระบายความร้อน ทำให้ประสิทธิภาพของระบบเบรกด้อยลง ยิ่งขณะนั้นจานเบรกมีอุณหภูมิสูง ด้วยแล้วละก็ยิ่งไม่เป็นผลดีต่อเบรกยิ่งขึ้นไม่ทราบว่าท่านผู้อ่าน เคยลองเอามือสัมผัสกระทะล้อรถยนต์ของตนเองขณะวิ่งใช้งานมาแล้ว จะพบว่ามีความร้อนพอสมควรเลยที่เดียว เป็นเพราะว่ามีการถ่ายเทความร้อนจากจานเบรกมานั่นเอง นี่ขนาดกระทะล้อแล้วเป็นจานเบรกจะร้อนแค่ไหน (อย่านำมือแตะเด็ดขาดผิวหนังจะละลาย) ดังนั้น การที่จะทำการพ่นสี ขอให้คำนึงตามที่ได้กล่าวมาครับ
สำหรับผู้ที่ซื้อรถใหม่ อาจจะมีการตำหนิว่า รถใหม่ทำไมมีคราบสนิมเกิดขึ้นบริเวณจานเบรกสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะตามที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นว่า วัสดุที่ใช้ทำจะต้องมีการคำนวณเป็นอย่างดีแล้วว่า เหมาะสมที่สุด และการที่โลหะ ( เหล็ก ) เป็นสนิม ก็มิได้ผิดปกติแต่อย่างใด หากหลายท่านใช้รถยนต์มานานแล้ว จะเกิดขึ้นมาก ก็ให้ทำการถอดจานเบรกออกมาขจัดคราบสนิมก็สามารถทำได้โดยไม่ยากเย็นนัก ส่วนรถยนต์บางรุ่น ไม่สามารถกระทำได้โดยง่าย ก็ให้ช่างช่วยจัดการให้ก็ได้ แต่ถึงอย่างไรใช้ไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง สนิมย่อมเกิดขึ้นอีกอยู่ดี ถือเป็นเรื่องปกติครับ
การพ่นสีจานเบรกมองดูแล้วก็สวยงาม สะดุดตากับผู้พบเห็น ยิ่งสีนั้นๆตัดกับสีของล้อ และตัวรถยิ่งแจ่มขึ้นอย่างมาก แต่สำหรับผู้ที่ใช้งานทั่วไป หากไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะทำการพ่นสีจานเบรกถือว่าเป็นการดีอย่างยิ่งครับ
หมวดหมู่ยานยนต์
- 014 Chevrolet Silverado HD (1)
- 10 เคล็ดลับขับปลอดภัยเมื่อน้ำท่วม (1)
- 2014 Volvo S80 (1)
- 2015 Lincoln MKC crossover (1)
- 2015 Volvo S60 T6 (1)
- 2015 Volvo V40 (1)
- 2016 Chevrolet (1)
- 2016Chevrolet Colorado (1)
- 2016 Toyota Fortuner (1)
- 2018 Mazda CX-5 (1)
- 2018 Toyota Rush (2)
- 2 Stroke Engine (1)
- 5 ประตู (6)
- กระบวนการผลิต (19)
- กระบอกสูบ (1)
- กราฟกำลัง (1)
- กราฟแรงบิด (1)
- ก้านสูบ (1)
- การขับรถอย่างปลอดภัย (1)
- การใช้ไฟอย่างถูกต้อง เมื่อฝนตกหนัก (1)
- การดูแลรักษารถด้วยตนเอง (2)
- การเติมลม (1)
- การเติมลม กับ ล้อแม็กซ์ (1)
- การถ่วงล้อ (1)
- การบำรุงรักษา (4)
- การบำรุงรักษาและตรวจเช็คประจำวันรถยนต์คู่ใจ ควรทำอย่างไร (1)
- การปลี่ยนขนาด ยางรถยนต์ (1)
- การเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกลของเครื่องยนต์ (1)
- การเผาไหม้ (11)
- การเผ่าไหม้ (1)
- การวิเคราะห์ปัญหาเครื่องยนต์ (1)
- การหยุดรถ และการจอดรถ (1)
- การออกแบบ (10)
- แก๊สโซลีน (3)
- ข้อควรปฏิบัติทั่วไป ในการใช้รถยนต์ (1)
- ข้อควรปฏิบัติ เมื่อการขับขี่ในพื้นที่ลักษณะต่างๆ (1)
- ขับเคลื่อน (13)
- ขับอย่างไรเพื่อยืดอายุยาง (1)
- ข่าวยานยนต์ (4)
- ควรจะทำอย่างไรเมื่อยางรถระเบิดขณะขับรถอยู่ (1)
- คว้านเสื้อสูบ (2)
- ความรู้ (3)
- คอมมอนเรล (1)
- คอยล์จุดระเบิด (8)
- คำศัพท์น่ารู้ (1)
- เครื่องมือ (1)
- เครื่องยนต์ (64)
- เครื่องยนต์ 2 จังหวะ (1)
- เครื่องยนต์ 4 จังหวะ (1)
- เครื่องยนต์คอมมอนเรล (1)
- เครื่องยนต์ดีเซล (3)
- เครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร (1)
- เครื่องยนต์ดีเซลตระกูล GD รุ่นใหม่ (1)
- เครื่องยนต์เบนซิน (1)
- เครื่องยนต์แบบโรตารี่ (1)
- เครื่องยนต์ร้อนแล้วดับ สตาร์ทติดยาก เกิดจากสาเหตุใด และแก้ไขอย่างไร (1)
- เครื่องยนต์เล็ก (2)
- เครื่องยนต์สตาร์ทติดยากตอนอากาศชื้นเกิดจากอะไร ? (1)
- เครื่องยนต์สันดาปภายใน (3)
- เครื่องยนต์หัวฉีด (1)
- เครื่องยนต์ EFI (2)
- เครื่องยนต์V8 (1)
- เคล็ดลับ (2)
- จอดรถให้ปลอดภัย (1)
- จักรยานยนต์ (1)
- จังหวะการฉีดเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ EFI (1)
- ชิ้นส่วนยานยนต์ (1)
- ชื่อชิ้นส่วนเครื่องยนต์ภาษาไทย และอังกฤษพร้อมรูป คลิปวีดีโอ (1)
- เชฟโรเลต (1)
- เชฟโรเลต โคโลราโด 2015 (1)
- โช๊คอัพ (5)
- ซ่อม (21)
- ซ่อมเครื่องยนต์ (7)
- ซ่อมบำรุง (6)
- ซุปเปอร์คาร์ (3)
- ซูซุูกิ (2)
- ซูซูกิ ไฮบริด (1)
- โซลินอย (1)
- ดัดแปลง (3)
- ไดชาร์จ (2)
- ไดร์สตาร์ท (10)
- ไดสตาร์ท (12)
- ตรวจสอบเครื่องยนต์ (1)
- ตลับลูกปืน (2)
- ตัวอักษรบนยาง บอกอะไร? (1)
- ตีปลอก (1)
- โตโยต้า (21)
- โตโยต้า 2015 (1)
- ถุงลมนิรภัย (1)
- ที่นั่งเด็ก (5)
- เทคนิคการขับรถป้องกันเชิงอุบัติเหตุ (1)
- เทคนิคการใช้รถและการดูแลรถอย่างง่ายๆ (1)
- เทคโนโลยียานยนต์ (53)
- เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ (8)
- เทอร์โบ (1)
- เทอร์โบแปรผัน (7)
- น้ำมันเชื้อเพลิง (14)
- น้ำมันดีเซล (6)
- น้ำมันเบนซิน (4)
- นิตยสาร (3)
- นิสสัน (11)
- บำรุงรักษาเครื่องยนต์ (1)
- บีเอ็มดับเบิ้ลยู (1)
- เบรค (22)
- เบาะรถยนต์ (5)
- เบาะสำหรับเด็ก (5)
- แบตเตอรี่ (3)
- แบรนด์รถยนต์ (1)
- แบริ่ง (1)
- ไบโอดีเซล (2)
- ประกอบเครื่องยนต์ (5)
- ประกอบรถยนต์ (13)
- ประดับยนต์ (5)
- ประเภทรถยนต์ (1)
- ปอร์เช่ (2)
- ปัญหารถยนต์ (1)
- ปาเจโร สปอร์ต ใหม่ 2015 (1)
- ปิกอัพ (4)
- ปี2017 (3)
- เปลี่ยนอะไหล่ (3)
- ผลิตรถยนต์ (16)
- แผนภาพจังหวะการเปิดของลิ้น (Valve Timing Diagram) เครื่องยนต์ 4 สูบ และ 6 สูบ (1)
- แผนภาพต้นกำลังงานของรถยนต์ (1)
- ฝาสูบ (4)
- พจนานุกรมศัพท์ยานยนต์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒ (1)
- พูเล่ (1)
- เพลาข้อเหวี่ยง (1)
- เพลาท้าย (2)
- ฟอร์ด (1)
- ฟิล์มกรองแสง ติดดี หรือ ไม่ติดดี มีประโยชน์อย่างไร วันนี้ทีคำตอบ (1)
- เฟอรารี่ (3)
- เฟืองท้าย (14)
- ไฟฉุกเฉิน ไม่จำเป็นและไร้สาระ (1)
- ไฟฟ้ารถยนต์ (24)
- ภาพโครงสร้างเครื่องยนต์ EFI (1)
- ภาพรวมรถยนต์ (9)
- มาสด้า (3)
- มิตซูบิชิ (6)
- มินิ (2)
- โมเดลรถยนต์ (3)
- ยนตกรรม (1)
- ยานยนต์ อุตสาหกรรม (26)
- ยาริส (15)
- รถกระบะ (9)
- รถกระบะ Revo (1)
- รถเก๋ง (51)
- รถแข่ง (2)
- รถจิ๊บ (1)
- รถเบนซ์ (19)
- รถยก (27)
- รถยก อุตสาหกรรม (26)
- รถยก อุตสาหกรรมม (1)
- รถยนต์ (3)
- รถยนต์ไฟฟ้า (4)
- รถรุ่นเก่า (1)
- รถศูนย์ (16)
- รถสปอร์ต (10)
- รถหรู (1)
- รถใหม่ (41)
- ระบบขับอัตโนมัติ (1)
- ระบบความร้อน (2)
- ระบบจุดระเบิด (10)
- ระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน (Gasoline Fuel Injection System) (1)
- ระบบช่วงล่าง (27)
- ระบบเบรค (22)
- ระบบไฟฟ้า (14)
- ระบบรองรับ (5)
- ระบบระบายความร้อน (6)
- ระบบลม (3)
- ระบบส่งกำลัง (1)
- ระบบหล่อเย็น (2)
- ระบบหัวฉีด (1)
- ระบบห้ามล้อ (14)
- ระบบ Hybrid (1)
- ราคารถยนต์ (5)
- รางร่วม (1)
- รีเลย์ (6)
- รีวิว (15)
- รีวิวรถยนต์ (11)
- รู้ไว้ก่อน : การเปลี่ยนขนาดยาง (1)
- เรื่อง น้ำมันเครื่อง (1)
- โรงงานผลิตรถยนต์ (13)
- ล้อตุนกำลัง (1)
- ลักษณะดอก ยางรถยนต์ (1)
- ลากรถอย่างไรเมื่อรถเสีย (1)
- ลำดับการจุดระเบิด (1)
- ลูกปืนกลม (1)
- ลูกสูบ (3)
- วงจรไฟฟ้า (7)
- วงจรไฟฟ้าเครื่องยนต์หัวฉีด ECCS Nissan RB20E (1)
- วงจรไฟฟ้าเครื่องยนต์หัวฉีด ECI-multi Mitsubishi 4G61 (1)
- วงจรไฟฟ้าเครื่องยนต์หัวฉีด EFI เครื่องยนต์ Toyota 4A-GE (1)
- วงจรไฟฟ้าเครื่องยนต์หัวฉีด Honda B16A VTEC DOHC รุ่นแรก (1)
- วิชาช่างยนต์ (10)
- วี8 (1)
- สเปกรถยนต์ (5)
- สร้างเครื่องยนต์ (1)
- สร้างโมเดลรถยนต์ (1)
- สายพานเครื่องยนต์ (2)
- สีรถ (8)
- เสื้อสูบ (5)
- หนังสือรถยนต์ (7)
- หม้อน้ำ (2)
- หลักการทำงาน (2)
- หลักการทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ (1)
- หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ (1)
- หัวเทียน (24)
- ห้ามล้อ (14)
- แหวนลูกสูบ (1)
- องค์ประกอบการสันดาปของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน (1)
- ออกแบบรถยนต์ (22)
- อะไหล่เครื่องยนต์ (3)
- อะไหล่ยนต์ (1)
- อัตราค่าปรับ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 (1)
- อัตราส่วนผสมอากาศต่อเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน (1)
- อาการหัวเทียน (12)
- อินเตอร์คูลเลอร์ (6)
- อีโก้คาร์ (5)
- อุตสาหกรรม รถยก (27)
- อุปกรณ์เสริม (6)
- แอร์เริ่มไม่เย็น และส่งกลิ่นอับเวลาเปิดแอร์ใหม่ ควรทำอย่างไร ? (1)
- ไอดี (3)
- ไอเสีย (6)
- ฮอนด้า (6)
- ฮอนด้า แอคคอร์ด ไฮบริด (2)
- Accessories (5)
- All New toyota yaris 2013 2014 (1)
- Alternator (1)
- alternators (1)
- Ativ (7)
- Audi (2)
- Audi A4 (1)
- Automatic drive (1)
- Ball Bearing (1)
- bearing (1)
- biodiesel (2)
- BMW (4)
- Brake (23)
- Brake system (23)
- BT-50 (1)
- Car Family (1)
- Cars (61)
- CAT (Catalytic Converter) เครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา (1)
- Check Engine (1)
- Chevrolet (1)
- CHEVROLET COLORADO (2)
- Colorado (1)
- commonrail (1)
- Common Rail (1)
- Common Rail Engine (1)
- Concept Car (1)
- Connecting rod (1)
- Crankshaft (1)
- Cylinder head (1)
- Diesel Engine (3)
- Diesel fuel (6)
- differential (12)
- DIY (8)
- DURAMAX ENGINE (1)
- DURAMAX VIN CHART (1)
- ECCS (1)
- EFI (1)
- EGR (Exhaust Gas Recirculation) หรือการหมุนเวียนไอเสีย (1)
- Electric car (4)
- Electric cars (4)
- Electronic Fuel Injection Engine (1)
- Engine (37)
- Engine Block (1)
- Engine Curve (1)
- Ferrari (3)
- Flywheel (1)
- Ford (4)
- Ford Ranger (2)
- Fuel (14)
- gasoline (3)
- Gasoline engine (1)
- General Motors (2)
- GMC Canyon (1)
- Honda (11)
- Honda Accord (1)
- HONDA ACCORD HYBRID ใหม่ (1)
- Honda CR-V 2015 (1)
- Honda HR-V (1)
- Honda HRV 2015 (1)
- Honda Jazz (1)
- Honda Vezel (1)
- Hydrogen cars (1)
- i-DTEC (1)
- Ignition Coil (8)
- Ignition System (1)
- i-MMD (1)
- Intercooler (6)
- internal combustion engine (3)
- Jeeb (1)
- lamborghini (4)
- Lamborghini Revuelto (2)
- Mazda (4)
- Mercedes Benz (21)
- Mini (2)
- MINI Cooper (2)
- Mitsubishi (9)
- Mustang (1)
- Navara (2)
- NGV (1)
- Nissan (11)
- nissan np300 navara (1)
- NP300 (1)
- NP300 NAVARA Single Cab (1)
- pickup (6)
- pickup truck. (5)
- Piston (3)
- Piston Ring (1)
- Porsche (2)
- Port Timing Diagram ของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ (1)
- Ranger (1)
- Rear axle (1)
- Relay (6)
- Revuelto (1)
- Rotary Engine (1)
- S60 (1)
- S90 (1)
- SEAT (1)
- Self Diagnosis System (1)
- Shock Absorbers (5)
- SKODA (1)
- SKYACTIV-D เครื่องยนต์สกายแอคทีฟคลีนดีเซล (1)
- solenoid (4)
- Spark Plugs (20)
- Starter (6)
- Supper Car (4)
- Suspension System (3)
- Suzuki (2)
- TCCS (1)
- Tesla Model X (1)
- TOYOTA (29)
- Toyota และ Lexus (1)
- Toyota Hilux Revo (1)
- Triton (1)
- V60 (1)
- Ⅴ8 (1)
- Variable Nozzle Turbo (2)
- VGT (5)
- Volkswagen (1)
- Volvo (4)
- Volvo purchased the Polestar brand (1)
- Volvo S90 (1)
- Wankel Engine (1)
- XC90 (1)
- Yaris (15)