Custom Search
donate car tax deduction | donate car to charity | donate car to charity california | donate car to charity los angeles | donate car without title | donate cars for kids | donate my car | donate my car to charity | donate your car | donate your car bay area | donate your car california | donate your car for kids | donate your car in maryland | donate your car nyc | donate your car tax deduction | donate your car to charity
รauto donation charities | best car donation program | best charity car donation program | best place to donate car | best place to donate car for tax deduction | california car donation | california donate car | car donation | car donation bay area | car donation ca | car donation california | car donation dc | car donation deduction | car donation in california |

ยานยนต์อุตสาหกรรม | ยางและขอบล้อ


(a) ยาง
                โดยพื้นฐานแล้ว  มียาง  3  ประเภทอยู่ในท้องตลาด: ยางลม, ยางตัน, และยางตันหล่อดอก ซึ่งแต่ละประเภทก็มีรูปแบบดอกยางและขนาดที่แตกต่างกันเพื่อให้เข้ากับความต้องการที่ต่างกันในสถานที่ใช้งานจริง
                ยางลม    มีความคล้ายคลึงกับยางรถยนต์ของคุณ  ยางชนิดนี้เติมลมได้   ซึ่งเป็นการกันกระแทกพื้นที่ตะปุ่ม  ตะป่ำ   และความผิดปรกติของพื้นผิวถนนต่าง ๆ   ได้ในขณะขับเคลื่อน   ยางตันนั้นไม่สามารถเติมลมได้แต่ถูกผลิตโดยการใช้ยางหนา ๆ  หรือวัสดุอื่น ๆ  ทั้งเส้น แล้วก็เหมือนที่ชื่อของมันได้บอก ยางตันหล่อดอกนั้นเป็นการรวมเอารูปทรงของยางลมเข้ากับโครงสร้างที่แข็งแรงของยางตันไว้ด้วยกัน  สำหรับยางชนิดนี้ ตัวยางหรือสิ่งบรรจุอื่น ๆ จะถูกใช้เพื่อเติมส่วนกลางของยางให้เต็มแทนลม
                ในขณะที่ยางลมให้การขับเคลื่อนที่ดีกว่า    และเหมาะสำหรับขับเคลื่อนไปบนพื้นผิวที่ขรุขระ   แต่ยางนี้ก็สามารถแบนได้หากถูกตะปู  หรือวัสดุอื่น ๆ  ทิ่ม   ส่วนยางตันนั้นจะไม่มีอาการยางแบน  แต่การออกแบบที่ใช้ยางหนา ๆ   นั้นก็หมายความว่า  ยางชนิดนี้จะกันกระแทกจากพื้นผิวที่ขรุขระ   และการสั่นสะเทือนได้น้อยกว่า  แล้วก็เช่นเดิม ยางตันหล่อดอกนั้นให้การขับเคลื่อนที่นุ่มนวลกว่ายางตันในขณะเดียวกันก็ลดความเป็นไปได้ที่ยางจะแบน
                พึงระลึกว่า  ขอบล้อของยางลมนั้นค่อนข้างอยู่ห่างจากพื้นดินมากกว่าขอบล้อตัน   ยางตันจะทำให้รถยกทั้งคันอยู่ใกล้พื้นดินมากกว่า   และจะไม่เปลี่ยนรูปร่างแม้จะบรรทุกของหนัก   ซึ่งทำให้ยางชนิดนี้เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการลำเลียงของหนัก ๆ  ที่เสามีความสูงมาก

 
การอ่านขนาดยาง
ยางลม   และยางตันหล่อดอก
              7.00                          -                              12                         -                            12PR (I)
   ความกว้างของยาง          เส้นผ่านศูนย์กลางขอบล้อ   อัตราชั้นผ้าใบ (Ply Rating)
              (นิ้ว)                                                   (นิ้ว)          (จำนวนตัวเลขที่บอกถึงความสามารถในการบรรทุกสิ่งของ)ยางตัน
                18                           X                               6                      X                             12-8/1
   เส้นผ่านศูนย์กลางยางด้านนอก            ความกว้างของยาง                  เส้นผ่านศูนย์กลางล้อ                                                                      (นิ้ว)                                                      (นิ้ว)                                                                (นิ้ว)   


 ตราชั้นผ้าใบ  (Ply Rating)
                ตัวอักษร PR  ใน 12PR ข้างบนอ้างอิงถึงอัตราชั้นผ้าใบหรือ Ply Rating ซึ่งก็คือจำนวนของชั้นเส้นใย (หรือผ้า) ที่ใช้สร้างโครง  โดยทั่ว ๆ ไป  ยิ่งอัตราชั้นผ้าใบสูงขึ้นเท่าใด   ยางก็จะมีความแข็งแรงมากขึ้นเท่านั้น พึงจำไว้ว่า 2 P  หมายถึงผ้าหนึ่งชั้น ดังนั้นอัตราชั้นผ้าใบจึงเป็นเลขคู่เสมอ พึงจำไว้ด้วยว่าเมื่อใช้ไนลอน ตัวเลข 12P บ่งบอกถึงความแข็งแรงที่เทียบเท่ากับผ้าใบ  6  ชั้น;   ซึ่งไม่จำเป็นต้องหมายความว่ามีจำนวนชั้นเส้นใย  6  ชั้น
 
 
(b) ขอบยาง
(a) ชนิดของขอบยาง
                ขอบยางที่ใช้ในรถยกของโตโยต้านั้นถูกแบ่งเป็น  2  หมวดหมู่;   ชนิดแบ่งครึ่งและชนิดวงแหวนด้านข้าง   ชนิดแบ่งครึ่งนั้นเป็นขอบยางที่ใช้โดยทั่วไปมากที่สุด   ในขณะที่รถยกที่มียางหน้าคู่จะใช้ขอบยาง   ชนิดวงแหวนด้านข้างแทน
                ข้อควรจำ:   บางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะเปลี่ยนยางหน้าแบบเดี่ยวไปเป็นยางหน้าแบบคู่  เนื่องจากไม่เพียง
แต่ต้องเปลี่ยนชนิดขอบยางแบบแบ่งครึ่งไปเป็นแบบวงแหวนด้านข้างแล้ว  ยังต้องเปลี่ยนดุมล้อและส่วนประกอบ
ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ  อีก  (ในทางกลับกัน  เป็นเรื่องค่อนข้างง่ายที่จะเปลี่ยนยางหน้าแบบคู่ไปเป็นแบบเดี่ยว;   เพียงแค่ถอดยางด้านนอกออกหากด้านข้างของยางคู่นั้น  เหมือนกับของยางเดี่ยวมาตรฐาน)

 
คุณลักษณะ
                DT:  ล้อถูกแบ่งเป็นด้านขวาและด้านซ้ายดังนั้นจึงทำให้เปลี่ยนยางง่าย อันเป็นขอบล้อที่ใช้กันมากที่สุดใน                         ยานพาหนะเพื่ออุตสาหกรรม
                DC:  ขอบล้อที่แข็งแรง โดยทั่วไปแล้วใช้กับยางขนาดเล็ก
                IR:   มีร่องบริเวณ  bead seat  ของวงแหวนด้านนอกจึงทำให้ขอบล้อและยางผนึกกันได้ดี   ขอบล้อที่กว้าง                         มากทำให้ยางมีเสถียรภาพด้านข้างที่ดีกว่า
                TB:  มีร่องทางด้านขวาและด้านซ้ายบริเวณ bead seat ของวงแหวนด้านข้างจึงทำให้มีการเคลื่อนที่ระหว่าง                       ยางและล้อน้อยมาก อันจะทำให้เบรกและยึดเหนี่ยวได้ดีขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น โครงสร้างที่แยกออกจาก                    กันของส่วนขอบล้อและล้อนั้นช่วยเพิ่มความแข็งแรงอีกด้วย
                SDC:  กึ่งกลางขอบล้อลดลงเพื่อเพิ่มการผนึกระหว่างขอบล้อและยาง

* ขนาดของขอบล้อ
                ควรตีความขนาดของขอบล้อดังตัวอย่างต่อไปนี้:
                 400   x   9   DT (I)
                                            ชนิดขอบล้อ (ทางอุตสาหกรรม)

                                b: เส้นผ่านศูนย์กลางขอบล้อที่มีประสิทธิภาพ (นิ้ว)
                  
                     a: ความกว้างของขอบล้อ (นิ้ว)



ยานยนต์อุตสาหกรรม | ระบะเกียร์

  ระบบเกียร์
                ระบบเกียร์มีหน้าที่   เปลี่ยนกำลังหมุนที่มาจากเครื่องยนต์ไปยังกำลังขับเคลื่อน  และจากนั้นจึงควบคุมการทำงานของมันไปยังล้อขับเคลื่อน   รถยกพลังเครื่องยนต์โดยส่วนใหญ่มี   ระบบเกียร์แบบธรรมดา  หรือระบบเกียร์ Power shift   ชนิดใดชนิดหนึ่ง  อย่างเช่น    ระบบเกียร์ที่ส่งถ่ายกำลังด้วยของเหลว   (Hydrodynamic transmission) หรือระบบเกียร์ไฮโดรสถิต (Hydrostatic transmission)
ระบบเกียร์แบบธรรมดา
                ระบบเกียร์แบบธรรมดา  คือ    ระบบเกียร์ที่มีคันเหยียบคลัทช์    และกระปุกเกียร์เหมือนกับระบบเกียร์ในรถยนต์มาตรฐาน  ผู้ปฏิบัติงานต้องกดคันเหยียบคลัทช์และเลื่อนคันโยกเกียร์ด้วยตัวเองเพื่อเปลี่ยนเกียร์ ระบบเกียร์แบบธรรมดานี้  ยังคงเป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับรถยก  เนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายแรกเริ่มน้อยกว่าระบบเกียร์ Power shift และง่ายต่อการดูแลรักษา





ระบบเกียร์  Power shift   แบบส่งถ่ายกำลังด้วยของเหลว
                โดยปรกติแล้ว  รถยกที่มีระบบเกียร์ Power shift  ของโตโยต้าจะมีเลข   02-, 62-  หรือ 42  ระบุอยู่ด้านหน้าเลขโมเดล ในระบบเกียร์ Power shift เหล่านี้   จะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่าอุปกรณ์ปรับแรงบิดทำหน้าที่แทนคลัตช์  ซึ่งจะเปลี่ยนแรงบิดโดยอัตโนมัติเพื่อให้เข้ากับความต้องการ อุปกรณ์ปรับแรงบิดเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบเกียร์ซึ่งประกอบไปด้วยจานคลัตช์ที่ทำงานด้วยไฮดรอลิกมากมาย   ผู้ใช้งานเพียงแค่ใช้คันโยกควบคุมทิศทางเพื่อเปลี่ยนว่าจะเคลื่อนไปด้านหน้าหรือด้านหลัง   ประโยชน์อย่างหนึ่งที่จะได้รับจากระบบเกียร์ชนิดนี้คือ   ผู้ใช้ไม่ต้องเหยียบคลัตช์หรือวุ่นวายเกี่ยวกับเกียร์   ผู้ใช้เพียงแต่เลือกทิศทางที่ต้องการ   และแค่เหยียบตัวคันเร่ง    สิ่งหนึ่งที่ไม่เหมือนรถยนต์ทั่วไปก็คือ   การเปลี่ยนไปใช้ความเร็วสูงหรือต่ำนั้นผู้ใช้ต้องทำด้วยตนเอง  โดยการเลื่อนคันโยกภายหลังที่รถเคลื่อนที่แล้ว





ระบบเกียร์ไฮโดรสถิตย์
                โดยทั่วไปแล้วระบบเกียร์ไฮโดรสถิตย์จะถูกใช้กับรถตักใหญ่  ซึ่งก็เหมือนที่ชื่อบอก ยานพาหนะเหล่านี้ถูกบังคับทิศทางโดยกระจายกำลังไปที่ล้อทั้งสองด้าน   การเคลื่อนที่และการบังคับทิศทางของรถประเภทนี้เหมือนกับรถแทรกเตอร์เกลี่ยดิน   หรือรถถัง
                ในระบบเกียร์ไฮโดรสถิตย์   เครื่องยนต์จะทำหน้าที่หมุนปั๊มไฮดรอลิก    ซึ่งส่งแรงดันไปยังสารไฮดรอลิก สารนั้นจะให้กำลังมอเตอร์ไฮดรอลิกต่างๆ ที่ถูกเชื่อมต่อกับล้อขับเคลื่อน  การเลือกทิศทาง ความเร็วขับเคลื่อนและการควบคุมทิศทางนั้นจะถูกควบคุม   โดยปริมาณสารไฮดรอลิกที่ถูกส่งเข้าไปยังมอเตอร์ไฮดรอลิกทั้งหมด
                จานเอียงถูกติดที่ปั๊ม   การเอียงของจานนี้จะควบคุมทิศทาง   และจำนวนกระแสน้ำมันที่ไหลไปยังมอเตอร์ จานนี้ถูกเชื่อมต่อกับคันโยกในห้องผู้โดยสาร  ผู้ใช้เลื่อนคันโยกไปด้านหน้าหรือด้านหลัง เพื่อควบคุมความเร็วและทิศทางของตัวมอเตอร์


                อัตราทดเกียร์:  อัตราทดเกียร์คือ  อัตราระหว่างความเร็วเครื่องยนต์และความเร็วของเพลากลาง  พึงจำไว้ว่าความเร็วของการหมุนในลักษณะนี้ถูกเรียกว่า  “RPM”  หรืออัตรารอบหมุน / นาที  ซึ่งมีสูตรที่ง่าย ๆ ดังนี้: อัตราทดเกียร์ =  อัตรารอบหมุน / นาทีของเพลากลาง  (อัตรารอบหมุน / นาทีของเครื่องยนต์)  หรืออีกนัยหนึ่ง อัตราใหญ่ในที่นี้หมายถึงกำลังรอบหมุน  / นาทีที่มาก  อัตรารอบหมุน / นาทีของเพลากลางจะต่ำ  แต่จำนวนแรงบิดจะเพิ่มสูงขึ้น ในทางกลับกัน อัตราทดเกียร์น้อยก็จะหมายถึงรอบหมุน / นาทีที่เร็วขึ้นของเพลากลาง  แต่จำนวนแรงบิดลดต่ำลง
                คันเหยียบเคลื่อนน้อย:  คันเหยียบเคลื่อนน้อยเป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่ทำให้ ระบบเกียร์ Power shift  แตก
ต่างจากระบบเกียร์อัตโนมัติสำหรับรถยนต์  คันเหยียบเคลื่อนน้อยนี้ถูกเชื่อมต่อกับคันเหยียบเบรก  และแป้นคลัตช์ในระบบเกียร์ Power shift    ความแตกต่างระหว่างคันเหยียบเคลื่อนน้อย  และคันเหยียบเบรกคือ   เมื่อกดคันเหยียบเบรก   กำลังทั้งหมดที่ถูกส่งไปยังระบบขับเคลื่อนจะหยุดชะงักลง   แต่เมื่อกดคันเหยียบเคลื่อนน้อย   ซึ่งเป็นการลดแรงดันน้ำมันไปที่คลัตช์    จึงทำให้เกิดผลเหมือน   การเหยียบคลัตช์เพียงครึ่งเดียว    ซึ่งทำให้สามารถควบคุมการเคลื่อนที่ของรถยกได้อย่างแม่นยำแม้ว่าเครื่องยนต์กำลังทำงานอย่างเต็มกำลัง
                เหล่านี้หมายความว่าเครื่องยนต์สามารถทำงานได้อย่างเต็มกำลัง   เพื่อยกสิ่งของในขณะที่คันเหยียบเคลื่อนน้อยก็จะถูกใช้   เพื่อเลือกตำแหน่งที่รถยกควรวางของที่บรรทุกไว้ได้อย่างแม่นยำ
คันโยกและคันเหยียบเลือกทิศทาง
                โตโยต้าใช้คันโยกเลือกทิศทางสำหรับรถยกทุกรุ่น  อย่างไรก็ตาม พึงจำไว้ว่าไม่ใช่ผู้ผลิตทั้งหมดจะเลือกใช้คันโยกควบคุมทิศทางนี้ ผู้ผลิตบางรายใช้คันเหยียบแทน  ผู้ปฏิบัติงานกดคันเหยียบเพื่อควบคุมทิศทางที่เขาต้องการขับเคลื่อนไป  ทฤษฎีเบื้องหลังเรื่องนี้ก็คือผู้ปฏิบัติงานยังสามารถถือพวงมาลัยหรือตัวควบคุมอื่น ๆ  ได้ในขณะที่ใช้เท้าเลือกทิศทาง  โตโยต้านั้นใช้คันโยกโดยเหตุผลหลายประการ   นั่นคือมันถูกควบคุมแบบแมนนวล   และให้ผู้ใช้
งานมองเห็นทิศทางการขับเคลื่อนได้อย่างแน่นอน   เนื่องจากคันโยกเป็นตัวควบคุมการทำงาน  จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่ทิศทางขับเคลื่อนนั้นจะมีความผิดพลาด   โตโยต้ายังใช้สวิตช์ควบคุมความปลอดภัยเกียร์ว่าง    สวิตช์นี้ป้องกันรถยกจากการติดเครื่อง  เมื่อคันโยกเปลี่ยนทิศทางอยู่ในต่ำแหน่งอื่นๆ  ที่ไม่ใช่ตำแหน่งเกียร์ว่าง ส่วนชนิดเลือกทิศทางด้วยคันเหยียบนั้นไม่มีฟังก์ชั่นนี้    ดังนั้นรถยกจะเคลื่อนที่ไปด้านหน้าทันทีที่รถติด










donate your car today | donate your vehicle | donating a car for taxes | donating car in california | donating my car tax deduction | donating used cars to charity | donation for cars | how donate car | how to donate a car | how to donate a car in california | how to donate my car | how to donate your car | i want to donate my car | junk car donation | places to donate cars | sacramento car donation | tax break for donating a car | tax deduction car donation | tax deduction for car donation | vehicle donate | vehicle donation | where can i donate my car | where to donate a car | where to donate car | where to donate my car

หมวดหมู่ยานยนต์

 
Support : A | B | C
Copyright © 2016. เทคโนโลยียานยนต์ - All Rights Reserved