ยานยนต์อุตสาหกรรม | ข้อมูลจำเพาะของส่วนต่างๆ
Posted by Contemporary industry
Posted on 09:12
ภาพวาดแสดงขนาดของยานยนต์อุตสาหกรรม
นอกเหนือไปจากข้อมูลจำเพาะต่างที่ได้แสดงไปแล้ว ยังมีข้อมูลจำเพาะอื่นๆ ที่แสดงในรูปวาดแสดงขนาด ซึ่งรวมถึงภาพแสดงดังต่อไปนี้ด้วย
1. การแยกของงายก (ต่ำสุดและสูงสุด)
คือระยะห่างแนวระนาบระหว่างด้านนอกสุดของงายกข้างหนึ่งไปยังด้านนอกสุดของงายกอีกข้าง การแยกของงายกที่กว้างกว่าจะให้ความมั่นคงที่ดีกว่าเมื่อลำเลียงสิ่งของที่มีขนาดกว้าง
2. รัศมีการเลี้ยว (ภายใน)
คือ “วงกลม” ในจินตนาการที่ถูกวาดโดยล้อหน้าด้านในเมื่อหมุนยางบังคับเลี้ยว ด้วยองศาการหมุนสูงสุดด้วยความเร็วขับเคลื่อนต่ำสุด
3. ความกว้างของช่องทางที่ตัดกัน
คือความกว้างต่ำสุดของทางที่ตัดกันเป็นมุมฉาก ซึ่งยานยนต์อุตสาหกรรมอาจต้องเลี้ยว ไม่ว่าจะมาจากทางใด ข้อมูลจำเพาะนี้อ้างอิงจากยานยนต์อุตสาหกรรมที่ไม่บรรทุกสิ่งของ
4. ความสูงของที่กั้นของตก
คือความสูงในส่วนที่กั้นของตกซึ่งสิ่งของที่บรรทุกใช้พิงเมื่อเสายกนั้นเอียงไปทางด้านหลัง อาจต้องเลือกเสายกที่มีความสูงที่กั้นของตกมากๆ หากจำเป็นสำหรับการบรรทุก
5. การปรับเบาะที่นั่ง
เบาะนั่งนี้สามารถเลื่อนไปยังตำแหน่งด้านหน้าหรือด้านหลังได้ ซึ่งทำให้ไม่ว่าผู้ปฏิบัติงานจะมีขนาดตัวเท่าใดก็สามารถทำงานในตำแหน่งที่สบายในห้องปฏิบัติงานของยานยนต์อุตสาหกรรมได้
6. ช่องว่างของศีรษะ
คือระยะห่างจากส่วนบนของเบาะนั่งในแนวระนาบไปยังส่วนล่างสุดของหลังคาป้องกัน ยานยนต์อุตสาหกรรมได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานได้กับผู้ปฏิบัติงานทุกคนบนโลกนี้
7. ความสูงของน้ำหนักถ่วงดุล
คือระยะห่างจากพื้นดินไปยังส่วนน้ำหนักถ่วงดุล
8. ความสูงกึ่งกลางของสลักต่อพ่วง
คือระยะห่างจากพื้นไปยังกึ่งกลางของสลักต่อพ่วงมาตรฐาน ขณะที่การลากจูงไม่ใช่ฟังก์ชั่นพื้นฐานขอบยานยนต์อุตสาหกรรมรูปวาดแสดงขนาดนี้จะให้การบ่งชี้ความสูงของสลักต่อพ่วงรถพ่วงที่สามารถใช้ได้
9. ระยะห่างบนทางลาดชัน (ด้านหน้าและด้านหลัง)
ช่องว่างบนทางลาดชันทั้งด้านหน้าและด้านหลังนั้นคือการแสดงองศาสูงสุดระหว่างพื้นผิวราบเรียบและทางลาดชั้นที่ยานยนต์อุตสาหกรรมสามารถวิ่งผ่านได้โดยสามารถสัมผัสพื้นผิวได้
เสถียรภาพของยานยนต์อุตสาหกรรม
สามเหลี่ยมความมั่นคง
สามเหลี่ยมความมั่นคงคือพื้นที่ทางทฤษฎีที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อเส้นด้านข้างที่มีความยาวเท่ากับเส้นหน้ายางด้านหน้าและเส้น
ตรงสองเส้นที่ลากไปทางด้านหลังจากจุดปลายของเส้นระหว่างหน้ายางด้านหน้าซึ่งตัดกันที่จุดกึ่งกลางระหว่างเพลาหลังพอดี
แม้ว่ายานยนต์อุตสาหกรรมแบบเดิมจะมี 4 ล้อ พื้นที่ ที่เกิดจากพื้นที่ต่างๆซึ่งสามารถเลื่อนจุดศูนย์ถ่วงได้อย่างปลอดภัยจะไม่ถูกแสดงด้วยรูปสี่เหลี่ยม แต่แสดงด้วยรูปสามเหลี่ยม โครงและเพลาหลังจะถูกรองรับที่จุดๆ หนึ่งที่อยู่ช่วงกลางของเพลาหลัง
พูดให้ง่ายก็คือ หากศูนย์ถ่วงที่รวมกันนี้เลื่อนออกนอกสามเหลี่ยมความมั่นคงดังกล่าว ยานยนต์อุตสาหกรรมก็สามารถพลิกค่ำได้
ข้อควรจำ: เมื่อมองอย่างผิวเผิน ยานยนต์อุตสาหกรรม 3 ล้อดูจะมีความมั่นคงน้อยกว่ายานยนต์อุตสาหกรรม 4 ล้อ อย่างไรก็ตาม ยานยนต์อุตสาหกรรม 3 ล้อมีสามเหลี่ยมความมั่นคงเหมือนกันกับยานยนต์อุตสาหกรรม 4 ล้อและไม่ได้ด้อยกว่ารถยก 4 ล้อเมื่อพูดถึงเรื่องความมีเสถียรภาพเลย
เสถียรภาพในแนวตั้ง
ทฤษฎีของแรงโมเมนต์แสดงให้เห็นว่าคันโยกจะอยู่นิ่งบนแป้นหากแรงที่ต้องการจะเลื่อนคันโยกตามเข็มนาฬิกานั้นเท่ากับแรงโยกที่ต้องการจะเคลื่อนคันโยกทวนเข็มนาฬิกา
ซึ่งแสดงได้โดยสูตรดังนี้
L1 x W1 = L2 x W2
ซึ่ง
W1 = น้ำหนักของสิ่งที่บรรทุก
W2 = การกระจายน้ำหนักของเพลาหลังที่ไม่มีการบรรทุกใดๆ
L1 = ระยะห่างจากจุดหมุนไปยังกึ่งกลางการบรรทุก
L2 = ระยะห่างจากจุดหมุนไปยังกึ่งกลางเพลาหลัง
เมื่อมีการบรรทุกที่ด้านหน้างายก อันจะทำให้ชดเชยความสมดุลโดยการทำงานที่เราเรียกว่าโมเมนต์คว่ำไปด้านหน้า (Mf) หากไม่การการต้านทานโมเมนต์นี้ ยานยนต์อุตสาหกรรมจะเอนไปด้านหน้า อย่างไรก็ตาม น้ำหนักถ่วงบนยานยนต์อุตสาหกรรมได้ชดเชยโมเมนต์คว่ำด้วยโมเมนต์เสถียรภาพ (Mr) ตราบใดที่ (Mr)มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า (Mf) ยานยนต์อุตสาหกรรมก็จะไม่เอียงไปด้านหน้า
สามารถดูการทำงานของแรงโมเมนต์ได้จากรูปภาพประกอบ
Mf = โมเมนต์คว่ำไปด้านหน้า
Mr= โมเมนต์เสถียรภาพด้านหลัง
ข้อควรจำ: ต้องทำตามสูตรดังต่อไปนี้เพื่อให้ตรงกับมาตรฐาน JIS
สำหรับเสถียรภาพในแนวตั้ง
Mr/Mf = (W2 x L2) / (W1 x L1) > 1.25
โปรดจำไว้ว่ายานยนต์อุตสาหกรรมมีเสถียรภาพเกินกว่าข้อกำหนดนั้นไปมาก
ชาร์ตแสดงความสามารถสูงสุดในการบรรทุก
ชาร์ตแสดงความสามารถสูงสุดในการบรรทุกแสดงให้เห็นว่ายิ่งจุดศูนย์ถ่วงถูกเลื่อนออกไปไกลจากยานยนต์อุตสาหกรรมมากเท่าใดยานยนต์อุตสาหกรรมก็จะสามารถบรรทุกของได้น้อยลงเท่านั้น ชาร์ตแสดงความสามารถสูงสุดในการบรรทุกคือการแสดงผลด้วยเส้นกราฟของความสัมพันธ์นี้และใช้สูตรคำนวณดังต่อไปนี้
(ระยะห่างจากสิ่งบรรทุก+ศูนย์กลางการบรรทุก)X (จำนวนที่สามารถบรรทุกได้) = ค่าคงที่
ด้านล่างนี้คือวิธีการคำนวณความจุเมื่อศูนย์กลางการบรรทุกเปลี่ยนไปโดยพื้นฐานแล้ว วิธีการคำนวณวิธีนี้ใช้ค่าแน่นอนที่ได้จากกระบวนการดังต่อไปนี้:
ดังที่ได้เห็นในชาร์ตแล้ว เสายกที่มีความสูงมากถึง 4,000 มม.
สามารถบรรทุกได้ 2,000 กิโลกรัมที่ศูนย์กลางการบรรทุก500 มม. ระยะห่าง
จากสิ่งบรรทุก (จากเส้นกึ่งกลางของเพลาหน้าไปยังด้านหน้างา) ที่แสดง
ในข้อมูลจำเพาะข้อที่ 22 คือ 420 มม. ตามลำดับ
2,000 kg x ( 420 mm + 500 mm ) = 1,840,000
1,840,000 จึงกลายเป็นค่าแน่นอนที่ได้
หากมีจุดศูนย์กลางการบรรทุกเท่ากับ 1,000 มม ก็จะคำนวณความสามารถสูงสุดของการบรรทุกได้ดังต่อไปนี้
X กิโลกรัม = 1,840,000 ÷ (420 มม. + 1,000 มม.)
X กิโลกรัม = จุได้ 1,295 กิโลกรัม
ยิ่งไปกว่านั้น หากมีศูนย์กลางการบรรทุกที่ยาวมากประมาณ 1,500 มม. จะสามารถคำนวณได้ดังนี้
X กิโลกรัม = 1,840,000 ÷ (420 มม. + 1,500 มม.)
X กิโลกรัม = จุได้ 958 กิโลกรัม
ข้อควรจำ: โปรดจำไว้ว่าระยะห่างจากสิ่งบรรทุกจะไกลขึ้นเมื่อใช้เสาชนิด FV, FSV และเสาชนิดอื่นๆ
ป้ายกำกับ:
ยานยนต์ อุตสาหกรรม,
รถยก,
รถยกอุตสาหกรรม,
อุตสาหกรรมรถยก
ยานยนต์อุตสาหกรรม | ข้อมูลจำเพาะของส่วนต่างๆ
Posted by Contemporary industry
Posted on 10:17
ระบบเบรกที่ใช้ (เท้า)
บ่งบอกถึงชนิดของระบบเบรกที่ใช้ในยานยนต์อุตสาหกรรมอันเป็นระบบเบรก (ใช้เท้าบังคับ)หลัก โดยปรกติแล้ว ระบบเบรกที่ใช้นั้นทำงานด้วยไฮดรอลิค
ข้อควรจำ: คันเหยียบของยานยนต์อุตสาหกรรมนั้นได้รับการวางตำแหน่งอย่างระมัดระวังเพื่อการทำงานที่ง่าย ไม่เมื่อยล้าและให้ผลผลิตสูง
เบรกมือ
บ่งบอกถึงชนิดของระบบเบรกที่ใช้สำหรับระบบเบรก (ใช้มือควบคุม)สำรอง โดยปรกติแล้วเบรกชนิดนี้มีการเชื่อมต่อแบบกลไก (สาย)
ที่ให้กำลังเบรกไปยังระบบเบรกหรือเพลาขับในยานยนต์อุตสาหกรรมรุ่นใหญ่ๆ
ข้อควรจำ: โดยหลักๆ แล้วยานยนต์อุตสาหกรรมมีเบรกมือแบบโยกซึ่งง่ายต่อการใช้และสามารถปลดเบรกได้อย่างง่ายดายโดยการกดปุ่มบนหัวของคันโยกเบรกมือ
โวลต์แบตเตอรี่/ความจุ (5 ชั่วโมง)
(รุ่นเครื่องยนต์)
คือโวลต์ (12โวลต์)และความจุตามอัตราโดยใช้การประเมินแบตเตอรี่ 5 ชั่วโมงสำหรับระบบจุดระเบิดของยานยนต์อุตสาหกรรมพลังเครื่องยนต์ มีการใช้การประเมินการใช้แบตเตอรี่ 5 ชั่วโมงในรถยนต์ด้วย
(รุ่นไฟฟ้า)
บ่งบอกถึงโวลต์ของแบตเตอรี่และความจุตามอัตราเมื่อใช้ 5 ชั่วโมง (จำนวนแบตเตอรี่ที่ถูกใช้เป็นเวลากว่า 5 ชั่วโมง) มาตรฐาน (STD) หมายถึงขนาดแบตเตอรี่เล็กที่สุดที่ให้น้ำหนักเพียงพอสำหรับการถ่วงดุลน้ำหนักเช่นเดียวกับให้คุณลักษณะประสิทธิภาพในการทำงานดังที่ระบุไว้ในข้อมูลจำเพาะ (สูง) หมายถึงขนาดแบตเตอรี่ที่ใหญ่ที่สุดที่สามารถใส่ในกล่องใส่แบตเตอรี่ได้สำหรับยานยนต์อุตสาหกรรมน้ำหนัก (ชนิดความจุ STD)
(รุ่นไฟฟ้า)
คือน้ำหนักของแบตเตอรี่และกล่องใส่แบตเตอรี่มาตรฐาน เช่นเดียวกัน แบตเตอรี่มาตรฐานก็คือน้ำหนักน้อยที่สุดของแบตเตอรี่ที่สามารถใช้ถ่วงดุลน้ำหนักได้และให้คุณลักษณะประสิทธิภาพในการทำงานดังที่ระบุไว้ในข้อมูลจำเพาะมอเตอร์ไฟฟ้า -- ระบบขับเคลื่อน
(รุ่นไฟฟ้า)
แสดงถึง พลังงานของมอเตอร์ขับเคลื่อน อันแทนด้วย วัตต์ (W)หรือกิโลวัตต์ (kW)
ข้อควรจำ 1: เนื่องจากหนึ่งแรงม้ามีค่าเท่ากับ 736 วัตต์ ดังนั้นมอเตอร์ขนาด 2 กิโลวัตต์จึงมีค่าเท่ากับ 2.7 แรงม้า (2kW/0.736=2.72แรงม้า)
ข้อควรจำ 2: เป็นเรื่องธรรมดาของผู้ผลิตยานยนต์อุตสาหกรรมที่จะแสดงอัตราสูงสุดในสมุดรายการสินค้า(catalogs)ของบริษัท โปรดแน่ใจว่าได้ตรวจสอบการประเมินระยะเวลาในขณะที่ทำการเปรียบเทียบ
มอเตอร์ไฟฟ้าควบคุมการลำเลียงของบรรทุก/ระบบพวงมาลัยพาวเวอร์
(รุ่นไฟฟ้า)
แสดง output พลังงานสำหรับมอเตอร์ของระบบไฮดรอลิคและมอเตอร์ของระบบพวงมาลัยพาวเวอร์ พลังของทั้งสองระบบนี้ถูกแสดงด้วยกิโลวัตต์ (kW) ด้วยเช่นกัน
แรงม้าตามอัตรา/รอบหมุนต่อนาที
(รุ่นเครื่องยนต์)
งานนี้ทำได้โดยการส่งพลังงานไปยังวัตถุเพื่อให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ ดังที่เราเห็นได้จากภาพประกอบ จำนวนงานคือสิ่งที่ได้เมื่อแรง (F) ถูกส่งไปยกน้ำหนัก (W) กก. ตามระยะห่าง (H) ม. อย่างไรก็ตาม เราไม่รู้ว่าต้อใช้ระยะเวลานานเท่าไรในการทำงานนี้ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะระบุหน่วยที่เกิดขึ้น แรงม้าจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ระบุจำนวนงานที่เกิดขึ้น (หรือที่อาจเกิดขึ้นได้) ดังนั้น แรงม้าจึงเป็นวิธีที่ใช้แสดงว่าได้ทำงานเสร็จสิ้นไปมากเท่าใดในเวลาที่กำหนด
ข้อควรจำ: ที่ยานยนต์อุตสาหกรรม อัตรานี้สร้างขึ้นด้วยส่วนประกอบต่างๆ ที่รองรับซึ่งมีมากับตัวรถ (บ่งบอกด้วยค่าNet) อย่างเช่น พัดลมระบายความร้อน อุปกรณ์ปรับความเร็วและเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ ผู้ผลิตบางรายให้ข้อมูลตามการทดสอบแรงม้าที่ทำขึ้นโดยไม่มีอุปกรณ์เหล่านี้รวมอยู่ด้วย (บ่งบอกด้วยค่า Gross) ซึ่งส่งผลให้ได้อัตราแรงม้าที่สูงกว่า
อัตราแรงบิด
(รุ่นเครื่องยนต์)
เราส่งกำลังเมื่อไรก็ตามที่เราดันหรือดึงบางสิ่งบางอย่าง แรงบิดก็เป็นสิ่งเดียวกันที่ใช้แสดงการเคลื่อนไหวแบบหมุน จำนวนแรงที่ต้องใช้ขันสลักให้แน่นก็ถูกแสดงค่าด้วยแรงบิดในกรณีนี้ แรงบิดนี้ถูกคำนวณโดยการใช้จำนวนแรงที่ส่งไปและระยะทางจากจุดศูนย์กลางของข้อหมุนเมื่อมีการส่งแรงบิดไป อีกนัยหนึ่ง แรงบิด T (กิโลกรัม-เมตร.) ก็คือรัศมีจากจุดศูนย์กลางของข้อหมุนไปยังที่ที่ได้แรง
r (เมตร.) และจำนวนแรงที่ใช้ F (กิโลกรัม)
T = F x r (กิโลกรัม-เมตร)
เห็นได้ง่ายว่าจำนวนแรงบิดสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยการเพิ่มความยาวของการบิดเช่นเดียวกันกับโดยการเพิ่มจำนวนแรงที่ส่งไป ในเครื่องยนต์สันดาปภายใน แรงที่ถูกส่งไปยังการบิดคือแรงที่มาจากลูกสูบในห้องสันดาปและรัศมีคือความยาวขาของข้อเหวี่ยง นี่เป็นวิธีที่แสดงว่ากำลังจากลูกสูบถูกเปลี่ยนไปหมุนเครื่องยนต์เพื่อหมุนล้อขับเคลื่อนได้อย่างไร
ข้อควรจำ: ด้านล่างนี้คือสูตรที่ใช้สำหรับคำนวณ kg-m และ N-m N-m = แรงบิด (kg-m) x 9.8
จำนวนกระบอกสูบ
(รุ่นเครื่องยนต์)
แสดงจำนวนกระบอกสูบในเครื่องยนต์
ข้อควรจำ: โดยปรกติแล้ว จำนวนกระบอกสูบที่มากกว่าจะหมายถึงการสั่นสะเทือนของเครื่องยนต์น้อยกว่าขณะเครื่องทำงาน
ความจุของถังน้ำมัน
(รุ่นเครื่องยนต์)
แสดงความจุของถังน้ำมัน
ข้อควรจำ: ถังน้ำมันที่ใหญ่กว่าและประสิทธิภาพของเชื้อเพลิงที่ดีจะทำให้ยานยนต์อุตสาหกรรมทำงานได้นานขึ้นระหว่างรอการเติมเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นจุดสำคัญสำหรับลูกค้าหลายๆ คน
ชนิดการควบคุมระบบขับเคลื่อน/การลำเลียงของบรรทุก/ระบบพวงมาลัยพาวเวอร์
(รุ่นไฟฟ้า)
ในที่นี้ แสดงชนิดตัวควบคุมต่างๆ ซึ่งใช้สำหรับมอเตอร์ระบบขับเคลื่อน, ระบบลำเลียงของบรรทุก และระบบพวงมาลัยพาวเวอร์
ข้อควรจำ: ปัจจุบันนี้ ชนิดที่เป็นที่นิยมที่สุดคือชนิด transistor chopper ในอดีตมีการใช้ตัวควบคุมชนิดอื่นๆ เช่นชนิดตัวต้านทาน, ชนิดแม่เหล็กไฟฟ้าและชนิด SCR chopper เป็นต้น
ชนิดและช่วงของระบบเกียร์ด้านหน้า/ด้านหลัง
(รุ่นเครื่องยนต์)
คือชนิดของระบบเกียร์ที่ใช้เช่นแมนนวลหรือ powershift ส่วนช่วงระยะเวลาคือจำนวนของความเร็วอย่างเช่นสูงหรือต่ำ ซึ่งจะถูกแสดงในทิศทางการขับเคลื่อนทั้งด้านหน้าหรือด้านหลัง
แรงดันของการทำงานสำหรับอุปกรณ์เสริม
คือจำนวนแรงดันไฮดรอลิคที่ถูกสร้างโดยปั๊มไฮดรอลิคเพื่อทำให้อุปกรณ์เสริมทำงาน
ป้ายกำกับ:
ยานยนต์ อุตสาหกรรม,
รถยก,
รถยกอุตสาหกรรม,
อุตสาหกรรมรถยก
หมวดหมู่ยานยนต์
- 014 Chevrolet Silverado HD (1)
- 10 เคล็ดลับขับปลอดภัยเมื่อน้ำท่วม (1)
- 2014 Volvo S80 (1)
- 2015 Lincoln MKC crossover (1)
- 2015 Volvo S60 T6 (1)
- 2015 Volvo V40 (1)
- 2016 Chevrolet (1)
- 2016Chevrolet Colorado (1)
- 2016 Toyota Fortuner (1)
- 2018 Mazda CX-5 (1)
- 2018 Toyota Rush (2)
- 2 Stroke Engine (1)
- 5 ประตู (6)
- กระบวนการผลิต (19)
- กระบอกสูบ (1)
- กราฟกำลัง (1)
- กราฟแรงบิด (1)
- ก้านสูบ (1)
- การขับรถอย่างปลอดภัย (1)
- การใช้ไฟอย่างถูกต้อง เมื่อฝนตกหนัก (1)
- การดูแลรักษารถด้วยตนเอง (2)
- การเติมลม (1)
- การเติมลม กับ ล้อแม็กซ์ (1)
- การถ่วงล้อ (1)
- การบำรุงรักษา (4)
- การบำรุงรักษาและตรวจเช็คประจำวันรถยนต์คู่ใจ ควรทำอย่างไร (1)
- การปลี่ยนขนาด ยางรถยนต์ (1)
- การเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกลของเครื่องยนต์ (1)
- การเผาไหม้ (11)
- การเผ่าไหม้ (1)
- การวิเคราะห์ปัญหาเครื่องยนต์ (1)
- การหยุดรถ และการจอดรถ (1)
- การออกแบบ (10)
- แก๊สโซลีน (3)
- ข้อควรปฏิบัติทั่วไป ในการใช้รถยนต์ (1)
- ข้อควรปฏิบัติ เมื่อการขับขี่ในพื้นที่ลักษณะต่างๆ (1)
- ขับเคลื่อน (13)
- ขับอย่างไรเพื่อยืดอายุยาง (1)
- ข่าวยานยนต์ (4)
- ควรจะทำอย่างไรเมื่อยางรถระเบิดขณะขับรถอยู่ (1)
- คว้านเสื้อสูบ (2)
- ความรู้ (3)
- คอมมอนเรล (1)
- คอยล์จุดระเบิด (8)
- คำศัพท์น่ารู้ (1)
- เครื่องมือ (1)
- เครื่องยนต์ (64)
- เครื่องยนต์ 2 จังหวะ (1)
- เครื่องยนต์ 4 จังหวะ (1)
- เครื่องยนต์คอมมอนเรล (1)
- เครื่องยนต์ดีเซล (3)
- เครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร (1)
- เครื่องยนต์ดีเซลตระกูล GD รุ่นใหม่ (1)
- เครื่องยนต์เบนซิน (1)
- เครื่องยนต์แบบโรตารี่ (1)
- เครื่องยนต์ร้อนแล้วดับ สตาร์ทติดยาก เกิดจากสาเหตุใด และแก้ไขอย่างไร (1)
- เครื่องยนต์เล็ก (2)
- เครื่องยนต์สตาร์ทติดยากตอนอากาศชื้นเกิดจากอะไร ? (1)
- เครื่องยนต์สันดาปภายใน (3)
- เครื่องยนต์หัวฉีด (1)
- เครื่องยนต์ EFI (2)
- เครื่องยนต์V8 (1)
- เคล็ดลับ (2)
- จอดรถให้ปลอดภัย (1)
- จักรยานยนต์ (1)
- จังหวะการฉีดเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ EFI (1)
- ชิ้นส่วนยานยนต์ (1)
- ชื่อชิ้นส่วนเครื่องยนต์ภาษาไทย และอังกฤษพร้อมรูป คลิปวีดีโอ (1)
- เชฟโรเลต (1)
- เชฟโรเลต โคโลราโด 2015 (1)
- โช๊คอัพ (5)
- ซ่อม (21)
- ซ่อมเครื่องยนต์ (7)
- ซ่อมบำรุง (6)
- ซุปเปอร์คาร์ (3)
- ซูซุูกิ (2)
- ซูซูกิ ไฮบริด (1)
- โซลินอย (1)
- ดัดแปลง (3)
- ไดชาร์จ (2)
- ไดร์สตาร์ท (10)
- ไดสตาร์ท (12)
- ตรวจสอบเครื่องยนต์ (1)
- ตลับลูกปืน (2)
- ตัวอักษรบนยาง บอกอะไร? (1)
- ตีปลอก (1)
- โตโยต้า (21)
- โตโยต้า 2015 (1)
- ถุงลมนิรภัย (1)
- ที่นั่งเด็ก (5)
- เทคนิคการขับรถป้องกันเชิงอุบัติเหตุ (1)
- เทคนิคการใช้รถและการดูแลรถอย่างง่ายๆ (1)
- เทคโนโลยียานยนต์ (53)
- เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ (8)
- เทอร์โบ (1)
- เทอร์โบแปรผัน (7)
- น้ำมันเชื้อเพลิง (14)
- น้ำมันดีเซล (6)
- น้ำมันเบนซิน (4)
- นิตยสาร (3)
- นิสสัน (11)
- บำรุงรักษาเครื่องยนต์ (1)
- บีเอ็มดับเบิ้ลยู (1)
- เบรค (22)
- เบาะรถยนต์ (5)
- เบาะสำหรับเด็ก (5)
- แบตเตอรี่ (3)
- แบรนด์รถยนต์ (1)
- แบริ่ง (1)
- ไบโอดีเซล (2)
- ประกอบเครื่องยนต์ (5)
- ประกอบรถยนต์ (13)
- ประดับยนต์ (5)
- ประเภทรถยนต์ (1)
- ปอร์เช่ (2)
- ปัญหารถยนต์ (1)
- ปาเจโร สปอร์ต ใหม่ 2015 (1)
- ปิกอัพ (4)
- ปี2017 (3)
- เปลี่ยนอะไหล่ (3)
- ผลิตรถยนต์ (16)
- แผนภาพจังหวะการเปิดของลิ้น (Valve Timing Diagram) เครื่องยนต์ 4 สูบ และ 6 สูบ (1)
- แผนภาพต้นกำลังงานของรถยนต์ (1)
- ฝาสูบ (4)
- พจนานุกรมศัพท์ยานยนต์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒ (1)
- พูเล่ (1)
- เพลาข้อเหวี่ยง (1)
- เพลาท้าย (2)
- ฟอร์ด (1)
- ฟิล์มกรองแสง ติดดี หรือ ไม่ติดดี มีประโยชน์อย่างไร วันนี้ทีคำตอบ (1)
- เฟอรารี่ (3)
- เฟืองท้าย (14)
- ไฟฉุกเฉิน ไม่จำเป็นและไร้สาระ (1)
- ไฟฟ้ารถยนต์ (24)
- ภาพโครงสร้างเครื่องยนต์ EFI (1)
- ภาพรวมรถยนต์ (9)
- มาสด้า (3)
- มิตซูบิชิ (6)
- มินิ (2)
- โมเดลรถยนต์ (3)
- ยนตกรรม (1)
- ยานยนต์ อุตสาหกรรม (26)
- ยาริส (15)
- รถกระบะ (9)
- รถกระบะ Revo (1)
- รถเก๋ง (51)
- รถแข่ง (2)
- รถจิ๊บ (1)
- รถเบนซ์ (19)
- รถยก (27)
- รถยก อุตสาหกรรม (26)
- รถยก อุตสาหกรรมม (1)
- รถยนต์ (3)
- รถยนต์ไฟฟ้า (4)
- รถรุ่นเก่า (1)
- รถศูนย์ (16)
- รถสปอร์ต (10)
- รถหรู (1)
- รถใหม่ (41)
- ระบบขับอัตโนมัติ (1)
- ระบบความร้อน (2)
- ระบบจุดระเบิด (10)
- ระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน (Gasoline Fuel Injection System) (1)
- ระบบช่วงล่าง (27)
- ระบบเบรค (22)
- ระบบไฟฟ้า (14)
- ระบบรองรับ (5)
- ระบบระบายความร้อน (6)
- ระบบลม (3)
- ระบบส่งกำลัง (1)
- ระบบหล่อเย็น (2)
- ระบบหัวฉีด (1)
- ระบบห้ามล้อ (14)
- ระบบ Hybrid (1)
- ราคารถยนต์ (5)
- รางร่วม (1)
- รีเลย์ (6)
- รีวิว (15)
- รีวิวรถยนต์ (11)
- รู้ไว้ก่อน : การเปลี่ยนขนาดยาง (1)
- เรื่อง น้ำมันเครื่อง (1)
- โรงงานผลิตรถยนต์ (13)
- ล้อตุนกำลัง (1)
- ลักษณะดอก ยางรถยนต์ (1)
- ลากรถอย่างไรเมื่อรถเสีย (1)
- ลำดับการจุดระเบิด (1)
- ลูกปืนกลม (1)
- ลูกสูบ (3)
- วงจรไฟฟ้า (7)
- วงจรไฟฟ้าเครื่องยนต์หัวฉีด ECCS Nissan RB20E (1)
- วงจรไฟฟ้าเครื่องยนต์หัวฉีด ECI-multi Mitsubishi 4G61 (1)
- วงจรไฟฟ้าเครื่องยนต์หัวฉีด EFI เครื่องยนต์ Toyota 4A-GE (1)
- วงจรไฟฟ้าเครื่องยนต์หัวฉีด Honda B16A VTEC DOHC รุ่นแรก (1)
- วิชาช่างยนต์ (10)
- วี8 (1)
- สเปกรถยนต์ (5)
- สร้างเครื่องยนต์ (1)
- สร้างโมเดลรถยนต์ (1)
- สายพานเครื่องยนต์ (2)
- สีรถ (8)
- เสื้อสูบ (5)
- หนังสือรถยนต์ (7)
- หม้อน้ำ (2)
- หลักการทำงาน (2)
- หลักการทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ (1)
- หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ (1)
- หัวเทียน (24)
- ห้ามล้อ (14)
- แหวนลูกสูบ (1)
- องค์ประกอบการสันดาปของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน (1)
- ออกแบบรถยนต์ (22)
- อะไหล่เครื่องยนต์ (3)
- อะไหล่ยนต์ (1)
- อัตราค่าปรับ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 (1)
- อัตราส่วนผสมอากาศต่อเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน (1)
- อาการหัวเทียน (12)
- อินเตอร์คูลเลอร์ (6)
- อีโก้คาร์ (5)
- อุตสาหกรรม รถยก (27)
- อุปกรณ์เสริม (6)
- แอร์เริ่มไม่เย็น และส่งกลิ่นอับเวลาเปิดแอร์ใหม่ ควรทำอย่างไร ? (1)
- ไอดี (3)
- ไอเสีย (6)
- ฮอนด้า (6)
- ฮอนด้า แอคคอร์ด ไฮบริด (2)
- Accessories (5)
- All New toyota yaris 2013 2014 (1)
- Alternator (1)
- alternators (1)
- Ativ (7)
- Audi (2)
- Audi A4 (1)
- Automatic drive (1)
- Ball Bearing (1)
- bearing (1)
- biodiesel (2)
- BMW (4)
- Brake (23)
- Brake system (23)
- BT-50 (1)
- Car Family (1)
- Cars (61)
- CAT (Catalytic Converter) เครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา (1)
- Check Engine (1)
- Chevrolet (1)
- CHEVROLET COLORADO (2)
- Colorado (1)
- commonrail (1)
- Common Rail (1)
- Common Rail Engine (1)
- Concept Car (1)
- Connecting rod (1)
- Crankshaft (1)
- Cylinder head (1)
- Diesel Engine (3)
- Diesel fuel (6)
- differential (12)
- DIY (8)
- DURAMAX ENGINE (1)
- DURAMAX VIN CHART (1)
- ECCS (1)
- EFI (1)
- EGR (Exhaust Gas Recirculation) หรือการหมุนเวียนไอเสีย (1)
- Electric car (4)
- Electric cars (4)
- Electronic Fuel Injection Engine (1)
- Engine (37)
- Engine Block (1)
- Engine Curve (1)
- Ferrari (3)
- Flywheel (1)
- Ford (4)
- Ford Ranger (2)
- Fuel (14)
- gasoline (3)
- Gasoline engine (1)
- General Motors (2)
- GMC Canyon (1)
- Honda (11)
- Honda Accord (1)
- HONDA ACCORD HYBRID ใหม่ (1)
- Honda CR-V 2015 (1)
- Honda HR-V (1)
- Honda HRV 2015 (1)
- Honda Jazz (1)
- Honda Vezel (1)
- Hydrogen cars (1)
- i-DTEC (1)
- Ignition Coil (8)
- Ignition System (1)
- i-MMD (1)
- Intercooler (6)
- internal combustion engine (3)
- Jeeb (1)
- lamborghini (4)
- Lamborghini Revuelto (2)
- Mazda (4)
- Mercedes Benz (21)
- Mini (2)
- MINI Cooper (2)
- Mitsubishi (9)
- Mustang (1)
- Navara (2)
- NGV (1)
- Nissan (11)
- nissan np300 navara (1)
- NP300 (1)
- NP300 NAVARA Single Cab (1)
- pickup (6)
- pickup truck. (5)
- Piston (3)
- Piston Ring (1)
- Porsche (2)
- Port Timing Diagram ของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ (1)
- Ranger (1)
- Rear axle (1)
- Relay (6)
- Revuelto (1)
- Rotary Engine (1)
- S60 (1)
- S90 (1)
- SEAT (1)
- Self Diagnosis System (1)
- Shock Absorbers (5)
- SKODA (1)
- SKYACTIV-D เครื่องยนต์สกายแอคทีฟคลีนดีเซล (1)
- solenoid (4)
- Spark Plugs (20)
- Starter (6)
- Supper Car (4)
- Suspension System (3)
- Suzuki (2)
- TCCS (1)
- Tesla Model X (1)
- TOYOTA (29)
- Toyota และ Lexus (1)
- Toyota Hilux Revo (1)
- Triton (1)
- V60 (1)
- Ⅴ8 (1)
- Variable Nozzle Turbo (2)
- VGT (5)
- Volkswagen (1)
- Volvo (4)
- Volvo purchased the Polestar brand (1)
- Volvo S90 (1)
- Wankel Engine (1)
- XC90 (1)
- Yaris (15)