Custom Search
donate car tax deduction | donate car to charity | donate car to charity california | donate car to charity los angeles | donate car without title | donate cars for kids | donate my car | donate my car to charity | donate your car | donate your car bay area | donate your car california | donate your car for kids | donate your car in maryland | donate your car nyc | donate your car tax deduction | donate your car to charity
รauto donation charities | best car donation program | best charity car donation program | best place to donate car | best place to donate car for tax deduction | california car donation | california donate car | car donation | car donation bay area | car donation ca | car donation california | car donation dc | car donation deduction | car donation in california |

อีซูซุร่วมสนับสนุนงานวิจัยไทย-ญี่ปุ่น “นวัตกรรมไบโอดีเซลจากพืชที่ไม่ใช่อาหาร” เพื่อวงการยานยนต์


กลุ่มอีซูซุในประเทศไทย ร่วมกับภาคีภาครัฐ และปตท. สนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการทย-ญี่ปุ่นในโครงการนวัตกรรมไบโอดีเซลทางเลือกใหม่จากพืชที่ไม่ใช่อาหาร” ร่วมทดสอบน้ำมันไบโอดีเซลจากต้นสบู่ดำ โดยใช้นวัตกรรมใหม่ล่าสุด Partial Hydrogenation ซึ่งมีศักยภาพที่จะนำมาใช้งานเชิงพาณิชย์ในยานยนต์เพื่อประโยชน์ด้านความมั่นคงทางพลังงานของชาติในอนาคต
มร. เอช. นาคางาวะ กรรมการผู้จัดการ  บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เผยว่า ท่ามกลางวิกฤตพลังงานที่เราต้องเผชิญอยู่ขณะนี้ การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับพลังงานทางเลือกเป็นทางออกที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่าให้ความสนใจ อีซูซุในฐานะผู้นำด้านเครื่องยนต์ดีเซลของโลกเล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ จึงให้การสนับสนุนโครงการ นวัตกรรมไบโอดีเซลทางเลือกใหม่จากพืชที่ไม่ใช่อาหาร” ซึ่งเป็นความร่วมมือทางวิชาการไทย - ญี่ปุ่นในการค้นคว้าวิจัยน้ำมันไบโอดีเซลทางเลือกจาก “ต้นสบู่ดำ” ที่น่าจะเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพสูงในการใช้งานจริงในเชิงพาณิชย์ อีซูซุภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ โดยกลุ่มอีซูซุในประเทศไทยได้มอบเงินสนับสนุนทุนวิจัย พร้อมรถปิกอัพ “อีซูซุดีแมคซ์ สเปซแค็บ รุ่นใหม่หมด! และเครื่องยนต์อีซูซุซูเปอร์คอมมอนเรล 2500 ดีดีไอแก่ทีมวิจัยในการใช้ทดสอบประสิทธิภาพของไบโอดีเซลทางเลือกใหม่จากพืชที่ไม่ใช่อาหาร รวมทั้งช่วยเหลือด้านการทดสอบรถและเครื่องยนต์ซึ่งอีซูซุมีความเชียวชาญเป็นอย่างสูงเพื่อให้เกิดความมั่นใจสูงสุดตามมาตรฐานของอีซูซุ นอกจากนี้กลุ่มอีซูซุยังจัดเตรียมห้องปฏิบัติการทดสอบสารมลพิษสำหรับการประเมินผลรถที่ใช้ไบโอดีเซลทางเลือกใหม่จากพืชที่ไม่ใช่อาหารอีกด้วย เราหวังว่าการวิจัยน้ำมันไบโอดีเซลทางเลือกใหม่จากสบู่ดำนี้จะมีศักยภาพที่จะนำมาใช้งานเชิงพาณิชย์ได้จะส่งผลให้เกิดความมั่นคง และเสถียรภาพทางด้านพลังงานของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้"
                            
โครงการ นวัตกรรมไบโอดีเซลทางเลือกใหม่จากพืชที่ไม่ใช่อาหาร” เป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทยและญี่ปุ่นในการค้นคว้าวิจัยน้ำมันไบโอดีเซลจากต้นสบู่ดำ โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด Partial Hydrogenation ในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลคุณภาพสูง และมีต้นทุนไม่สูงนักภายใต้ความร่วมมือของภาคีภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน  กระทรวงพลังงาน  และสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น   ต้นสบู่ดำนี้เป็นพืชที่มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เติบโตง่าย มีความทนทานต่อความแห้งแล้งและแมลงได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญไม่ไปกระทบห่วงโซ่อุปทานของอาหาร  เพราะเป็นพืชที่ไม่สามารถนำมาใช้รับประทานได้ ไบโอดีเซลทางเลือกใหม่จากสบู่ดำซึ่งผ่านกระบวนการ Partial Hydrogenation นี้ทำให้สามารถผสมกับน้ำมันดีเซลได้ในสัดส่วนมากกว่า 5% (B5) ซึ่งเป็นสัดส่วนการผสมของเชื้อเพลิงดีเซลทั่วไปในท้องตลาดปัจจุบัน

ไบโอดีเซลสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ได้ หากแต่ปัจจุบันต้นทุนการผลิตยังมีราคาแพงกว่าดีเซลจากปิโตรเลียม  แต่ละประเทศจะใช้วัตถุดิบในการผลิตที่แตกต่างกันตามลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นวัตถุดิบที่เกี่ยวเนื่องกับอาหาร เช่น ประเทศไทยผลิตไบโอดีเซลจากปาล์มเป็นหลัก  ดังนั้น “ต้นสบู่ดำ ซึ่งเป็นพืชที่ไม่สามารถใช้เป็นอาหารได้ จึได้รับความสนใจในฐานะพืชพลังงานที่สามารถ นำมาผลิตไบโอดีเซลเพื่อความยั่งยืนในอนาคต วามร่วมมือทางวิชาการไทย - ญี่ปุ่นในโครงการ นวัตกรรมไบโอดีเซลทางเลือกใหม่จากพืชที่ไม่ใช่อาหาร” จึงเป็นอีกหนึ่งความหวังใหม่เพื่อผลิตไบโอดีเซลที่มีคุณภาพที่สูงขึ้น และมีศักยภาพในการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคตอันใกล้  เนื่องจากมีต้นทุนการสร้างโรงงานหรือต้นทุนการผลิตอื่นๆ ที่ไม่สูงนัก อีกทั้งสามารถปรับเปลี่ยนจากโรงงานผลิตไบโอดีเซลอยู่เดิมได้ ซึ่งชุมชนต่างๆยังคงใช้ประโยชน์จากโรงงานแบบเดิมไว้ได้ นับเป็นการสร้างงานและความเป็นดีอยู่ดีของชุมชนตามวิถีอีซูซุ

เมื่อเร็วๆ นี้ นายบรมกช ลีนุตพงษ์ รองประธานกรรมการบริหาร “ไทยยานยนตร์ กรุ๊ป” ได้รับเกียรติเป็นผู้จับไปรษณียบัตร ให้แก่ผู้โชคดีที่จะได้รับรางวัลพิเศษ จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ รถยนต์โฟล์คสวาเกน รุ่นกอล์ฟ จีที 1.4 รถซีดานสปอร์ตคลาสสิค 4 ประตู มูลค่า 1,980,000 บาท กับรางวัลรถยนต์เฌอรี่ รุ่นบิ๊ก-บี รถตู้เอนกประสงค์ระดับหรู 14 ที่นั่ง มูลค่า 959,000 บาท ภายในงานพิธีจับไปรษณียบัตร “โครงการทายผลแชมป์ฟุตบอลยูโร 2012 ครั้งที่14” ของหนังสือพิมพ์ “ไทยรัฐ” ณ  สำนักงานหนังสือพิมพ์ “ไทยรัฐ” ซึ่งผู้โชคดีที่ได้รับรางวัลดังกล่าว ได้แก่
1.คุณฉวีวรรณ เขมะสุริจันทร์โญ จากกรุงเทพฯ    รางวัลรถยนต์โฟล์คสวาเกน รุ่นกอล์ฟ จีที 1.4
2.คุณแก้วตา วงศ์สุวรรณกิต จากปทุมธานี    รางวัลรถยนต์เฌอรี่ รุ่นบิ๊ก-ดี

ทั้งนี้ทาง “ไทยยานยนตร์ กรุ๊ป” รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนโครงการ “ไปรษณีบัตรทายผลฟุตบอลยูโร ปี 2012” ของหนังสือพิมพ์ “ไทยรัฐ” นับเป็นโครงการที่ส่งเสริมและสนับสนุนกีฬาฟุตบอลให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น และร่วมสร้างสีสันในการเชียร์ฟุตบอลยูโรให้มีความสนุกสนานมากขึ้น ทั้งได้รับกระแสตอบรับจากประชาชนคนไทยเป็นอย่างดี โดยมีผู้ร่วมส่งไปรษณีบัตรสูงเกือบ 160 ล้านฉบับ นับเป็นหนึ่งในโครงการที่ประสบความสำเร็จสูงสุดสำหรับในปีนี้

เทคโนโลยียานยนต์แห่งโลกอนาคต เพื่อการเดินทางในเมืองหลวง



เซี่ยงไฮ้มีการคาดการณ์ว่าภายในปี .. 2573 ประชากรกว่า 60 เปอร์เซนต์ของโลก จะอาศัยอยู่ในเขตชุมชนเมืองเป็นจำนวนมากถึง 8,000 ล้านคน ซึ่งอาจส่งผลทำให้มีความต้องการด้านระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแม้แต่ในปัจจุบันระบบดังกล่าวยังไม่สามารถตอบสนองต่อความเพียงพอได้มากนัก อินดัสทรี่ (เอสเอไอซี) ได้ร่วมกันสร้างวิสัยทัศน์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการเดินทางของผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวง พัฒนาระบบทางเลือกใหม่แห่งการขับขี่ของยานยนต์ในโลกอนาคต และได้ทำการพัฒนาเทคโนโลยีอันล้ำยุคขึ้นภายใต้โครงการรถยนต์เทคโนโลยี อีเอ็น-วี

หรือ ที่ย่อมาจาก Electric Networked-Vehicle เป็นเทคโนโลยีที่ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์เพื่อลดข้อจำกัดในการเดินทาง และลดปัญญาด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยรถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยี อีเอ็น- วี จะเป็นรถยนต์ขนาดสองที่นั่ง ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องความคับคั่งของการจราจร ปัญหาในการหาที่จอดรถ ปัญหาคุณภาพอากาศ และปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นในเมืองใหญ่
รถยนต์รุ่นดังกล่าวได้ถูกพัฒนาตามขึ้นตามหลักปรัชญาของประเทศจีน โดยมุ่งเน้นถึงความภาคภูมิใจ (Jiao/Pride) ความน่าหลงใหล (Miao/Magic) ความสนุกสนาน (Xiao/Laugh) ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวอันโดดเด่นที่แตกต่างกันไป






อีเอ็น-วี เป็นเทคโนโลยีซึ่งรวมเอาความก้าวหน้าด้านวิศวกรรมยานยนต์และเทคโนโลยีสื่อสารที่ไร้ขีดจำกัดมาพลิกโฉมยานยนต์ยุคใหม่ จะทำให้การขับขี่ยานพาหนะในโลกอนาคตไม่จำเป็นต้องพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิง และจะไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และยังสามารถช่วยลดปัญหาด้านการจราจรและการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้อีกด้วย พร้อมกันนี้ยังสามารถสร้างความสนุกสนานในการขับขี่ และการออกแบบที่มีสีสัน
สำหรับเทคโนโลยีนี้จะสามารถค้นหาข้อมูลการจราจรในเวลาปัจจุบันได้ทันที ทำให้สามารถเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างรวดเร็วที่สุด เทคโนโลยีใหม่นี่ยังรวมถึงระบบเครือข่ายไร้สายที่ผู้ขับขี่สามารถติดต่อกับผู้ขับขี่รายอื่น เพื่อนฝูง และลูกค้าได้ รถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีอีเอ็น-วี ถูกออกแบบให้มีน้ำหนักที่เบากว่าเพียง 500 กิโลกรัม และมีความยาวประมาณ 1.5 เมตรเท่านั้น เมื่อเทียบกับรถยนต์ในปัจจุบันที่มีน้ำหนักมากถึง 1,500 กิโลกรัม และยาวกว่าถึง 3 เท่า อีกทั้งยังต้องการพื้นที่ในการจอดรถมากกว่า 10 ตารางเมตร ซึ่งหมายความว่าที่จอดรถยนต์ทั่วไปสามารถรองรับรถยนต์เอ็นอี-วี ได้มากถึง 5 คัน
ทางด้านการออกแบบโดยอาศัยหลักปรัชญาของประเทศจีน โดยเริ่มตั้งแต่ความสนุกสนานในการขับขี่ (Xiao/Laugh) ที่ได้ถูกริเริ่มขึ้นโดยทีมออกแบบของ จีเอ็ม โฮลเดนประเทศออสเตรเลีย โดยเลือกสีฟ้าสดใสเป็นจุดเด่น ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากท้องทะเลในวันที่อากาศแจ่มใส ขณะที่รูปลักษณ์ที่เน้นถึงความภาคภูมิใจ (Jiao/Pride) ได้ถูกออกแบบโดยทีมงานออกแบบของ จีเอ็ม ยุโรป ที่มีต้นแบบมาจากรถไฟความเร็วสูงของประเทศญี่ปุ่น และหน้ากากที่ใช้ในการแสดงอุปรากรจีน ส่วนแนวคิดความน่าหลงใหล (Miao/Magic) ได้รับการออกแบบมาจากทีมงานของ จีเอ็ม ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เน้นความแข็งแรง ทะมัดทะแมง
เมื่อแนวคิดทั้งสามมารวมกันจนเกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของรถยนต์อีเอ็น-วี แสดงออกมาถึงรูปลักษณ์ภายนอกอันสง่างาม สีสันเย้ายวนใจ ส่วนภายในบ่งบอกถึงความหรูหรา ซึ่งคอนเซ็ปต์ในการออกแบบรถยนต์ อีเอ็น-วี นี้ เป็นการระดมความคิดของทีมออกแบบของจีเอ็มทั่วโลกนาย เครย์ ดีน ผู้อำนวยการฝ่ายการออกแบบ บริษัท จีเอ็ม แห่งภูมิภาคอเมริกาเหนือ อะคลีลิก ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้ในการผลิตรถยนต์เพื่อการแข่งขัน เครื่องบินรบ ยานอวกาศ เนื่องจากมีความแข็งแรงทนทาน และมีน้ำหนักเบา การนำนวัตกรรมใหม่ทางด้านวัสดุเหล่านี้มาใช้ก่อให้เกิดโอกาสในการเรียนรู้สำหรับทีมงานการออกแบบของจีเอ็ม ซึ่งนำไปสู่การพัฒนารยนต์แห่งโลกอนาคต

 ในอนาคตเราจะเดินทางสัญจรไปในเมืองใหญ่ๆ อย่างนครเซี่ยงไฮ้ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยียานยนต์อันทันสมัย ผนวกกับโครงสร้างของระบบสาธารณูปโภคด้านการคมนาคมที่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับเทคโนโลยียานยนต์รุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิทยาการใหม่ๆ ที่จะสามารถช่วยในเรื่องการเดินทางได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งยังสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเมืองให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม







“ปทุมธานี มอเตอร์โชว์ 2012” ยอดจองกระหน่ำ ทะลุเป้า 7 วันโกยกว่า 900 คัน



              ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากสำหรับการจัดงานครั้งแรกของ “คุณจรวย ขันมณี” แห่งยานยนต์สแควร์ กรุ๊ป ที่ได้รับความไว้วางใจจากโตโยต้า ให้จัดงาน “ปทุมธานี มอเตอร์โชว์ 2012” ผลตอบรับสำหรับผู้เข้าชมงานเป็นไปตามคาด จบงาน 7 วัน (19-25 ก.ค.55ยอดจองรถยนต์

โตยต้าทะลุเป้าโกยมากกว่า 900 คัน พร้อมคืนกำไรให้ลูกค้าเต็มพิกัดแจกทองรวมกว่าล้านบาท

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยถึงยอดจองรถภายในงาน “ปทุมธานี มอเตอร์โชว์ 2012” หลังจากเสร็จสิ้นงานรวม 7 วัน (19-25 กรกฏาคม 2555) สูงถึง 972 คัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจำนวน 541 คัน และ รถกระบะเพื่อการพาณิชย์จำนวน 431 คัน
รถโตโยต้าหลากหลายรุ่นได้รับความสนใจเป็นอย่างมากภายในงาน “ปทุมธานี มอเตอร์โชว์ 2012” ครั้งนี้ อันเนื่องมาจากเข้าหลักเกณฑ์ ตามนโยบายคืนภาษีให้กับประชาชนเมื่อซื้อรถคันแรกของรัฐบาล จึงส่งผลให้ลูกค้าในจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดใกล้เคียง เข้าจองรถในงานนี้มากเป็นพิเศษ
อีกทั้งจำนวนยอดจองรถยนต์โตโยต้าดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคในเขตจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดใกล้เคียง อยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ รวมถึงแคมเปญแจกทองรวมมูลค่ากว่าล้านบาท นับว่าเป็นแคมเปญสุดระทึกใจสำหรับผู้ที่จองรถภายในงาน จึงส่งผลให้ยอดจองรถยนต์รวมหลังเสร็จสิ้นงานเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
ด้านนายจรวย ขันมณี ประธานกรรมการ บริษัท ยานยนต์สแควร์ กรุ๊ป จำกัด ผู้จัดงาน ปทุมธานี มอเตอร์โชว์ 2012” เปิดเผยว่า “ความสำเร็จในการจัดงานครั้งนี้ ต้องขอขอบคุณ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ที่มอบความไว้วางใจให้ บริษัท ยานยนต์สแควร์ กรุ๊ป จำกัด เป็นผู้ดำเนินงานในการจัดงานครั้งนี้ พร้อมทั้ง ผู้แทนจำหน่ายโตโยต้า ทั้ง 5 รายในเขตจังหวัดปทุมธานีที่ร่วมสร้างความสำเร็จไปด้วยกัน ได้แก่ บริษัท โตโยต้าปทุมธานี ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัดบริษัท โตโยต้าเฟรนส์ชิป จำกัดบริษัท โตโยต้า พาราก้อน มอเตอร์ จำกัดบริษัท โตโยต้า เภตรา จำกัด บริษัท โตโยต้า พี.เอส. เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด
อีกทั้งขอขอบคุณ นายขจรศักดิ์ สิงโตกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ที่ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ปทุมธานี มอเตอร์โชว์ 2012” จึงส่งผลให้งานนี้ประสบความสำเร็จทั้งด้านผู้เข้าชมงาน รวมถึงจำนวนยอดจองรถที่สูงเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ก่อนหน้านี้

“ทีเอสแอล”นำเข้า เบนท์ลี่ย์ นิว คอนทิเนนทัล จีที วี8 หรูหรา แรงเต็มกำลังระดับมาสเตอร์พีซ




ทีเอสแอล พร้อมให้ยลโฉม เบนท์ลี่ย์ คอนทิเนนทัล จีที วี8 รถหรูระดับมาสเตอร์พีซ สะกดทุกสายตาให้จับจ้อง ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกโดเด่นเหนือใคร สมรถนะเต็มกำลังเครื่องยนต์ Vขนาด4000 ซีซี พร้อมกำลังสูงสุดที่ 500 แรงม้า สามารถทำอัตราเร่งจาก 0-100 กิโลเมตรเพียง 4.8 วินาทีเท่านั้น สนุก เร้าใจ ปลอดภัยทุกการขับขี่ เคาะราคาเริ่มต้น 16 ล้านบาท เท่านั้น

นางสาวสุรีย์ภรณ์ อุดมผลวณิช ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร บริษัท ทีเอสแอล ออโต้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้นำเข้าและจำหน่ายสุดยอดยนตรกรรมชั้นนำจากต่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้นำเข้ารถเบนท์ลี่ย์ คอนทิเนนทัล จีที วี8 เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ด้วยไฮไลท์โดดเด่นของเครื่องยนต์ V8 ขนาด 4,000 ซีซี พลังความแรงระดับ 500 แรงม้าที่ 6,000 รอบต่อนาที สามารถทำอัตราเร่งจาก 0-100 กิโลเมตรเพียง 4.8 วินาทีเท่านั้น ให้ความเร็วสูงสุดที่ 303 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำงานร่วมกับระบบเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีด พร้อมระบบหยุดรถปลอดภัยสูงสุดจากโรงงานผลิตระบบเบรกที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าดีที่สุ ตั้งราคาจำหน่ายไว้คันละ 16 ล้านบาท

ภายในห้องโดยสารตกแต่งด้วยวัสดุคุณภาพและหรูหราตามแบบฉบับของเบนท์ลี่ย์ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้ลายไม้่วมสมัยที่สุดอย่างเนื้อไม้ Dark Fiddleback Eucalyptus อีกทั้งยังมีคอนโซลกลางที่โดดเด่นตามรูปแบบสปอร์ต รวมถึงการจัดวางตำแหน่งเครื่องยนต์และถังน้ำมันรูปแบบพิเศษใต้พื้นห้องโดยสารที่ทำให้ห้องโดยสารกว้างขวางสะดวกสบายทุกการเดินทาง” นางสาวสุรีย์ภรณ์กล่าว

ด้านรูปลักษณ์ภายนอกถูกออกแบบไว้โฉบเฉี่ยวทุกมุมมอง สะดุดตากับกระจังหน้าแบบตาข่ายสีดำวาว มีกรอบและแถบกลางแนวตั้งสีโครเมียม พร้อมโลโก้เบนท์ลีย์แบบตัวอักษร “B” สีแดงประทับอยู่ช่วยพิ่มความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ไฟหน้าแบบวงแหวน รวมทั้งท่อไอเสียคู่แบบเลขแปดอีกด้วย

เสน่ห์ของเบนท์ลี่ย์ คอนทิเนนทัล จีที วี8 มาพร้อมับระบบเทคโนโลยีล้ำสมัย อาทิ ระบบเปิดและสตาร์ทรถโดยไม่ต้องใช้กุญแจ Keyless entry, ระบบปรับอากาศแบบ Multi-Zone automatic climate control, เบาะหนังพรีเมียมคู่หน้าปรับอุณหภูมิไฟฟ้า 14 ทิศทาง พร้อม Lumbar Support และการสื่อสารแบบ infotainment หน้าจอขนาด 8 นิ้วที่ทำงานร่วมกับ SD Card Slot และชุดเชื่อมต่อโทรศัพท์ผ่าน Bluetoothนับเป็นสุดยอดงานฝีมือและศิลปะชิ้นเอกที่ถ่ายทอดลงสู่ท้องถนน ทั้งหมดนี้เพื่อตอบสนองความภูมิใจของผู้ได้ครอบครองยนตกรรมระดับมาสเตอร์พีซคันนี้

เชิญแวะชมและทดลองขับแบบเอ็กซ์คลูซีฟก่อนใคร.. ได้ที่ทีเอสแอลทั้ง 4 สาขา แจ้งวัฒนะ สาท       ทองหล่อ และภูเก็ต หรือจะโทรมานัดหมายล่วงหน้าได้ที่ ทีเอสแอล คอลเซ็นเตอร์ โทร 02-269-9999

การติดตั้งระบบช่วยจอด ลดปัญหาการเทียบจอดริมถนน


ฟอร์ด โฟกัสใหม่   นำเทคโนโลยีทันสมัยมาสู้ตลาด ด้วยระบบช่วยจอดที่สามารถกำหนดตำแหน่งของรถและพวงมาลัยได้อย่างอัตโนมัติ  ช่วยให้สะดวกสบายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกที่จอด คำนวณองศาในการหมุนพวงมาลัย และจัดตำแหน่งของรถให้เหมาะสมกับการเทียบจอด ฟอร์ด โฟกัสใหม่ ใช้ระบบเซ็นเซอร์จากคลื่นเสียงความถี่สูง(Ultrasonic) และพวงมาลัยพาวเวอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ในการควบคุมทิศทางของรถขณะเทียบจอด ความเครียดและอาการหงุดหงิดที่มักเกิดขึ้นเมื่อต้องการจอดรถเทียบริมถนนจะหมดไป เพียงแค่คุณกดปุ่มระบบช่วยจอด หรือ Active Park Assist แค่ครั้งเดียวผู้ขับขี่ก็สามารถจอดรถเทียบกับข้างทางได้อย่างรวดเร็ว ง่ายดาย สะดวกสบาย และปลอดภัย มากขึ้น โดยไม่ต้องเอามือจับพวงมาลัย

เทคโนโลยีนี้ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ทันสมัย รวดเร็วและสดวกสบาย ระบบช่วยจอดไม่จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ขับขี่มากนัก และช่วยลดความเสี่ยงในการเลือกที่จอดที่แคบจนเกินไป และสามารถทำงานได้แม้อยู่บนพื้นที่ลาดชัน  ในการใช้งานของระบบดังกล่าว ผู้ขับขี่เพียงแค่กดปุ่มบนแผงหน้าปัดเพื่อเปิดการทำงานของระบบเซ็นเซอร์ทั้งด้านหน้าและท้ายรถ ระบบจะวัดขนาดของช่องจอดว่าเหมาะสมหรือไม่ โดยช่องจอดที่เหมาะสมอาจกว้างกว่าความยาวโดนรวมของรถเพียง 3 ฟุต เมื่อระบุได้แล้ว ระบบจะส่งสัญญาณแจ้งให้ผู้ขับขี่ตอบรับความช่วยเหลือจากระบบช่วยจอด จากนั้นระบบจะเข้าควบคุมพวงมาลัยและบังคับทิศทางของรถเข้าสู้ที่จอด ซึ้งผู้ขับขี่สามารถปล่อยมือได้ เพียงควบคุมคันเร่งและเบรก และเลือกเกรียร์เดินหน้าถอยหลัง ขณะที่ระบบจะหมุนพวงมาลัยให้แบบอัตโนมัติ 
คำอธิบายขั้นตอนในการจอดรถจะแสดงไว้บนแผงหน้าปัดด้วยตัวหนังสือและภาพที่ดูง่าย ระบบเซ็นเซอร์ช่วยจอดแบบมาตรที่ติดตั้งอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านท้ายของรถยังส่งสัญญาณคอยเตือนผู้ขับขี่ เพื่อช่วยให้การจอดรถในพื้อที่แคบกลายเป็นเรื่องง่าย ระบบจะแจ้งให้ผู้ขับขี่ถอยหลังและเดินหน้าจนกว่ารถจะจอดในตำแหน่งที่เหมาะสมได้สำเร็จ 

ระบบช่วยจอดนี้สามารถทำงานได้ด้วยการติดตั้งพวงมาลัยพาวเวอร์แบบอิเล็กทรินิกส์ที่ทันสมัย ระบบพวงมาลัยดังกล่าวนี้สามารถช่วยให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้นสูงถึง 5 เปอร์เซ็นต์ และช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพิ่มประสิทธภาพในการควบคุมทิศทางได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น การใช้พลังงานมอเตอร์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับแบตเตอรี่โดยตรง ต่างจากระบบปั๊มไฮดรอลิกที่ใช้งานจากเคื่องยนต์ จึงเป็นสาเหตุทำให้ประหยัดน้ำมัน





donate your car today | donate your vehicle | donating a car for taxes | donating car in california | donating my car tax deduction | donating used cars to charity | donation for cars | how donate car | how to donate a car | how to donate a car in california | how to donate my car | how to donate your car | i want to donate my car | junk car donation | places to donate cars | sacramento car donation | tax break for donating a car | tax deduction car donation | tax deduction for car donation | vehicle donate | vehicle donation | where can i donate my car | where to donate a car | where to donate car | where to donate my car

หมวดหมู่ยานยนต์

 
Support : A | B | C
Copyright © 2016. เทคโนโลยียานยนต์ - All Rights Reserved