Custom Search
donate car tax deduction | donate car to charity | donate car to charity california | donate car to charity los angeles | donate car without title | donate cars for kids | donate my car | donate my car to charity | donate your car | donate your car bay area | donate your car california | donate your car for kids | donate your car in maryland | donate your car nyc | donate your car tax deduction | donate your car to charity
รauto donation charities | best car donation program | best charity car donation program | best place to donate car | best place to donate car for tax deduction | california car donation | california donate car | car donation | car donation bay area | car donation ca | car donation california | car donation dc | car donation deduction | car donation in california |

เปิดตัว TOYO TIRES R1R DRAG BATTLE 2016 สนามหนึ่ง ศึกสายแดร็กเบนซิลสุดโหด ดวลคันเร่งร้อนระอุ รังสิตคลอง 5



ต.สยาม คอมเมอร์เชียล จำกัด เอาใจสิงห์ทางตรงสนับสนุนศึกเบนซิล สายแดร็กสุดโหด “TOYO TIRES R1R DRAG BATTLE 2016” โดยส่งยาง TOYO TIRES รุ่น PROXES R1R ให้กับนักแข่งได้พิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของ TOYO TIRES รุ่น Proxes R1R  ซึ่งเป็นยางที่บรรดานักแข่งสายแดร็กทั่วโลกให้ความนิยมเป็นอย่างมาก   สำหรับการแข่งขัน TOYO TIRES R1R DRAG BATTLE 2016 ได้แบ่งการแข่งขันเป็นรุ่นต่างๆ อาทิ 1500 N/A, TURBO B และ K SERIES, 4 สูบ และ 6 สูบ TURBO และยังมีการแข่งขันรุ่นพิเศษ BRACKET CHALLENGE  ซึ่งเป็นรุ่นที่เปิดโอกาสสำหรับ ให้ลูกค้าท่านใดก็ได้ที่ใช้ยาง TOYO TIRES  ได้เข้าร่วมแข่งขันโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ชิงเงินรางวัลสูงถึง 10,000 บาท  สำหรับกิจกรรมครั้งนี้มีรถซิ่งสายแดร็ก เครื่องเบนซิล เข้าร่วมโชว์พลังเครื่องกันอย่างคับคั่งท่ามกลางบรรยากาศที่มีควันตลบอบอบอวล
สำหรับสนามต่อไปจะจัดขึ้นวันที่ 11 มิถุนายน 2559  ณ บางกอกแดร็กอเวนิว รังสิตคลอง 5  สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.toyotires.in.th

สหพันธ์ขนส่งฯ หนุนโปรเจ็คเศรษฐกิจพิเศษตาก เน้นย้ำ เอกชน – รัฐฯ ต้องร่วมมือแบบบูรณาการ


สหพันธ์ขนส่งฯ ขานรับ “โครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก” เน้นย้ำเอกชนต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรม ความจริงใจของภาครัฐและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
จากสรุปผลการประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 โครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก ซึ่งจะมีการสร้างสนามบินแห่งที่ 2 ที่พื้นที่ อ.แม่ระมาด รองรับการเติบโตในอีก 20 ปี ข้างหน้า และดันแม่สอดเป็น Green Economy เพื่อฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำ ดร.ทองอยู่ คงขันธ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแหงประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้ อ.แม่สอด จ.ตาก มีความเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดดังนั้นสิ่งที่ต้องระมัดระวังควบคู่ไปกับการพัฒนาคือ
1.ผังเมือง : การเติบโตอย่างรวดเร็วอาจจะทำให้การขยายผังเมืองแบบไร้ทิศทาง เพราะแต่เดิมไม่ได้มีการกำหนดว่าพื้นที่นี้จะเป็นเศรษฐกิจพิเศษ ดังนั้น
- การวางผังเมืองต้องสอดคล้องกับสภาพทางกายภาพ (พื้นที่เป็นที่ราบสลับเนิน รวมถึงเป็นภูเขา)
- มองเป้าหมายระยะยาวใน 20 – 50 ปีข้างหน้า
- ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ การวางผังเมืองจะต้องไม่ขวางกั้นทางน้ำ
- ควรจัดสร้างถนนแบบวงแหวนเพื่อเชื่อมต่อระหว่างเมืองชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก
- ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ด้านอุปโภค-บริโภค ทั้งนี้การเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษแน่นอนว่าจะมีการเติบโตของอุตสาหกรรมทุกรูปแบบ ทั้งหนักและเบา
- ระบบไฟฟ้า เมื่อมีการเติบโตของอุตสาหกรรม ไฟฟ้าจะต้องมีเพียงพอ
- การขยายการขนส่งทางอากาศ ปัจจุบันด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่างทำให้สนามบินของที่นี่ไม่สามารถรองรับได้อย่างเต็มที่ จะต้องมีการวางแผนเพื่อรองรับการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ
2.การขนส่ง : การขนส่งไปยัง อ.แม่สอด ค่อนข้างมีปัญหา ดังนั้น
- การให้สิทธิพิเศษเพื่อดึงดูดให้นักลงทุนมาทำธุรกิจ เช่น สิทธิพิเศษด้านภาษี
- ศูนย์กลางโลจิสติกส์ หรือ Truck Terminal ที่มีมาตรฐาน และต้องใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
- ความพร้อมรองรับอุตสาหกรรมด้าน Warehouse และ Logistics ต้องมีการจัดสรรพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องเชื่อมโยงกับการขนส่งไปยังประเทศเมียนม่าร์ได้อย่างสะดวก สามารถนำสินค้าไปพักเพื่อรอขนส่งข้ามแดนได้ โดยมีการควบคุมให้ชัดเจน
3.พื้นที่สีเขียว : คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การกำจัดขยะ การบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและ ไม่สร้างมลภาวะให้เกิดขึ้นกับชุมชน
4.สร้างรายได้ให้ชุมชน : การมีส่วนร่วมกับชุมชน ทำให้คนในท้องถิ่นมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น
ดร.ทองอยู่กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งสำคัญเหนืออื่นใดคือ นโยบายของภาครัฐฯ และท้องถิ่นต้องไปด้วยกัน ทุกหน่วยงานที่เข้าไปมีบทบาทต้องมีมิติที่สัมพันธ์กับชุมชน พื้นที่ที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษจะมีปัญหาที่คล้ายคลึงกัน คือ ปัญหาแรงงาน ถ้าแรงงานพม่ากลับบ้านจะเอาแรงงานที่ไหนมาทดแทน การเชื่อมโยงของระบบโลจิสติกส์จะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดต้นทุนของการขนส่ง เหล่านี้ต้องควบคุมจัดการให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า
“นโยบายของภาครัฐฯ จะต้องสมดุลกับเอกชน เพื่อไม่ให้การลงทุนของรัฐสูญเปล่า ใครบ้างที่มีส่วนร่วม เช่นผู้ลงทุน ผู้ใช้บริการ ทำอย่างไรให้มีการพัฒนาเมืองแม่สอดอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ไม่ใช่พอเปลี่ยนรัฐบาลทีก็ค้างไม่มีการเดินหน้าต่อ ต้องมีการกำหนดให้ชัดเจน ในแง่ของภาคเอกชนมองว่าที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐฯ ที่เกี่ยวข้องในด้านคมนาคม ไม่ได้ทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง และภาคเอกชนที่เป็นหน่วยงานหลักอย่างสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ต้องเข้าไปมีบทบาทร่วมกับภาครัฐฯ ซึ่งจะต้องรับฟังจากเอกชนเพื่อนำไปเป็นแผนในการบูรณาการร่วมกัน”
ทางด้านนายสมบูรณ์ ห้วยผัด นายกสมาคมขนส่งจังหวัดตาก กล่าวว่า ปัจจุบันสมาคมขนส่งจังหวัดตากมีสมาชิกประมาณ 50 ราย มีปริมาณรถรวมกันประมาณ 500 คัน จากข้อมูลของกรมศุลกากรด่านแม่สอดมีรถบรรทุกตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป วิ่งข้ามผ่านชายแดนประมาณ 200-300 คัน ต่อวัน หากโครงการนี้มีการพัฒนาอย่างจริงจังจะทำให้ปริมาณรถเพิ่มมากขึ้นอีก ที่ผ่านมาสมาคมฯ ได้รับเชิญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็น ซึ่ง “โครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก” นี้จะเกิดผลดีต่อทั้งภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศและชุมชนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะด้านการขนส่งค้าขายชายแดน หากแต่อุปสรรคที่ยากต่อการแก้ไขคือ เรื่องของกฎหมายการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องของเชิงนโยบาย ยังไม่มีความชัดเจนตั้งแต่เปิด AEC มา ซึ่งหากมีการลงนาม MOU ร่วมกัน ก็จะเป็นสิ่งที่จะเกิดประโยชน์กับผู้ประกอบการในประเทศไทย

สุดท้ายก็คงเป็นเรื่องของภาคเอกชนที่ไปลงทุน จะต้องมีการแข่งขันกันในเชิงมาตรฐาน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาร่วมไปกับแผนของพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษอย่างแท้จริง

เทคโนโลยีแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า Electric Car Battery Technology



สารคดี ที่นำเสนอและบอกเล่าเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักการของแบตเตอรี่สำหรับเก็บพลังและจ่ายพลังงานไฟ้าให้กับรถยนต์ไฟฟ้า(Electric Car) สำหรับระบบเทคโนโลยียานยนต์แห่งอนาคต 





ระหว่างรถ Hydrogen cars กับ รถยนต์ระบบ Electric cars ต่างกันอย่างไร


การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้งาน ประโยชน์ และ ข้อดีข้อเสีย รวมถึงความต่างของเทคโนโลยียานยนต์ รถยนต์ 2 ระบบ ระหว่าง รถยนต์ระบบให้พลังงานการขับเคลื่อนด้วยน้ำ(Hydrogen cars) กับ รถยนต์ระบบที่ใช้ไฟฟ้า ( Electric cars) ในการให้พลังงานตลอดการทำงาน 100% 







พีทีจีเดินหน้าให้บริการน้ำมันคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ชูความสดใหม่เสมือนได้เติมจากโรงกลั่น



คุณพิทักษ์ รัชกิจประการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTGตอกย้ำการให้บริการน้ำมันที่มีคุณภาพ สดใหม่อยู่เสมอเหมือนได้เติมน้ำมันจากโรงกลั่น ด้วยการคุมเข้มตรวจสอบคุณภาพน้ำมันอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่การขนส่ง ไปจนถึงการจัดตั้งหน่วยตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเคลื่อนที่ ตลอดจนมาตรการตรวจสอบน้ำมันในถังเก็บทุกวัน นอกจากนี้ยังได้พัฒนาการจัดการด้านโลจิสติกส์ให้ทันสมัย ด้วยรถบรรทุกน้ำมันพีทีกว่า 300 คัน เพื่อการขนส่งน้ำมันไปยังคลังและสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศได้อย่างรวดเร็วและตรงเวลา พร้อมมุ่งเน้นการบริหารจัดการและการสำรองน้ำมันให้สอดคล้องกับการขายเพื่อป้องกันน้ำมันค้างสต๊อก คงความสดใหม่ของน้ำมันคุณภาพเพื่อให้ผู้บริโภคได้เติมน้ำมันจากสถานีบริการน้ำมันพีทีอย่างมั่นใจ

ซูซูกิ กลับมาแล้ว!!! บินาเรส ขึ้นโพเดียมรายการชิงแชมป์โลก โมโตจีพี


ทีม ซูซูกิ เอสสตาร์ ประกาศศักดิ์ดาในรายการรถจักรยานยนต์ชิงแชมป์โลก โมโตจีพี หลังจากที่ได้กลับมาเข้าร่วมแข่งขันในรายการนี้เป็นปีที่ 2 โดย มาเวลริค บินาเรส นักแข่งดาวรุ่งที่กำลังเป็นที่จับตาอยู่ในขณะนี้ชาวสเปน สังกัดทีม ซูซูกิ เอสสตาร์ โชว์ฟอร์มร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในการแข่งขันสนามล่าสุด ณ สนาม เลอมัง ประเทศฝรั่งเศส ขึ้นโพเดี่ยม คว้าอันดับที่ 3 มาครองได้อย่างสมศักดิ์ศรี และนับเป็นครั้งแรกของ มาเวลริค บินาเรส ที่ได้ขึ้นโพเดียมในรุ่นท็อปคลาสของรายการนี้อีกด้วย

การชิงชัยในครั้งนี้ มาเวลริค บินาเรส ได้ออกสตาร์ทเป็นลำดับที่ 8 และตามหลังเพื่อนร่วมทีมอย่าง อเล็กซิส เอสปากาโร่ ในช่วงรอบเปิดสนาม และในวันนี้ มาเวลริค บินาเรส ฟอร์มดีมากขึ้นเรื่อยๆ ทะยานขึ้นเป็นอันดับ 3 โดยเหลือเพียง 11 รอบสนาม

และนักแข่งดาวรุ่งของ ซูซูกิ ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง ด้วยความพร้อมจากทีมที่ช่วยกันเซ็ตอัพรถให้ลงตัวในสัปดาห์ที่ผ่านมา และตัวของ บินาเรส เองก็สามารถทำได้อย่างยอดเยี่ยมในช่วงวอร์มอัพ นี่คือผลงานที่การันตีความตั้งใจจาก ความพยายาม และการปรับปรุงที่สำคัญ ทำให้ บินาเรส สามารถขับขี่ Suzuki GSX-RR ในวันนี้ได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย และสามารถขี่รถได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นหนึ่งเดียวกับรถจนสามารถสร้างประวัติศาสตร์ให้กับทีมซูซูกิได้อีกครั้ง

ในส่วนของเพื่อนร่วมทีมอย่าง อเล็กซิส เอสปากาโร่ นั่น เมื่อวันสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เอสปากาโร่ สามารถขับขี่และทำเวลาได้เป็นอย่างดี และคาดหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะทำผลงานได้ดีในสนามนี้ ซึ่งเขาก็พยายามที่จะไล่ล่าตำแหน่งที่ดีที่สุด โดยเกาะกลุ่มเข้าเส้นชัยในลำดับที่ 6 ซึ่งเป็นผลงานที่ดีสำหรับทีม ซูซูกิ



ร่วมกันเชียร์ทีม ซูซูกิ เอสสตาร์ ชิงชัยให้เป็นแชมป์ ในรายการการแข่งขันรถจักรยานยนต์ทางเรียบชิงแชมป์โลก โมโตจีพี 2016 สนามที่ 6 ต่อไปที่ประเทศ อิตาลี ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2559

มาสด้าจับมือกระทรวงอุตสาหกรรมส่งคนไทยก้าวสู่เวที ยานยนต์โลก นำร่องพัฒนาวิศวกรไทยภายใต้โครงการ ODM

กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย – เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมด้วย ดร. อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมจัดงานแถลงข่าวความร่วมมือระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (TAPMA) บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น และบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ในการบุกเบิกโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนไทย หรือ “โครงการพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยไปสู่การผลิตตามรูปแบบของตนเอง หรือ Original Design Manufacturer (ODM)” พร้อมยกระดับพัฒนาฝีมือผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยจากการผลิตตามแบบหรือ OEM สู่การสร้างนวัตกรรมริเริ่มการผลิตคิดค้นชิ้นส่วนในแบบของตนเองหรือ ODM
ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ที่ผ่านมา มาสด้าได้แสดงถึงความเชื่อมั่นที่มีต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการก่อตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ ภายใต้ชื่อ บริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย)  เพื่อทำการผลิตรถเพื่อการพาณิชย์และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เพื่อจำหน่ายในประเทศไทยและเพื่อการส่งออกกว่า 140 ประเทศทั่วโลก  และเพิ่มเงินลงทุนอีกกว่า 10,000 ล้านบาท เพื่อเริ่มสายการผลิตรถยนต์ All-New Mazda2 ซึ่งเป็นรถยนต์ภายใต้โครงการรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ระยะที่ 2 ส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์มาสด้าที่ใหญ่สุดในอาเซียน ล่าสุดมาสด้ายังทุ่มเม็ดเงินก้อนโตก่อตั้ง บริษัท มาสด้า พาวเวอร์เทรน แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย เพื่อทำการผลิตชุดเกียร์ออโตเมติก SKYACTIV-DRIVE ส่งออกสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก
นายชาญชัย ตระการอุดมสุข รองประธานบริหาร บริษัท มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “มาสด้า คือ บริษัทเอกชนที่มีความสัมพันธ์อันเหนียวแน่นกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและการลงทุนในประเทศไทย ด้วยการร่วมมือร่วมใจกับหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชนมาโดยตลอด การริเริ่มดำเนินการโครงการในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับขีดความสามารถของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย โดยคณะผู้บริหารระดับสูงของ มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ได้ให้ความสำคัญกับโครงการนี้เป็นอย่างมาก และมอบหมายให้ มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย เป็นผู้พัฒนาและดำเนินการโครงการดังกล่าว ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย โดยทาง มาสด้า มอเตอร์ ได้จัดเตรียมองค์ความรู้ สถานที่ทำงานตลอดจนผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจะร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีของมาสด้าให้กับวิศวกรชาวไทยทั้ง 4 คน ที่กำลังจะเดินทางไปทำงานร่วมกับมาสด้าในต้นเดือนมิถุนายนนี้ รวมระยะเวลา 4 เดือน ทางมาสด้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีส่วนสำคัญในการยกระดับความสามารถของวิศวกรไทย และถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกที่เข้าร่วมในโครงการนี้ และเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย รวมถึงการพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญของวิศวกรคนไทยให้เป็นที่ยอมรับในเวทีโลก”
ทางด้าน ดร. อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงโครงการนี้ว่า “โครงการ ODM เป็นการพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะในการวิจัยและพัฒนา ตามแนวทางของนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ไทยไปสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงหรือยานยนต์ในอนาคต อันหมายถึง รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า รวมทั้งรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในที่มีการพัฒนาคุณสมบัติ “สะอาด ประหยัด ปลอดภัย” ให้ดีขึ้น
โครงการพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยไปสู่การผลิตตามรูปแบบของตนเอง หรือ Original Design Manufacturer หรือ ODM นี้ เป็นโครงการนำร่องที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถบุคลากรแบบใหม่ ที่เปิดโอกาสให้วิศวกรจากบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนการทำงานในลักษณะการทำงานจริงกับผู้ผลิตรถยนต์ โดยมาสด้าถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกที่เข้าร่วมในโครงการนี้ด้วยการเปิดโอกาสให้ทีมวิศวกรของผู้ผลิตชิ้นส่วนชาวไทยได้ไปร่วมงานกับบริษัทมาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ที่กรุงฮิโรชิมาบ้านเกิดของมาสด้า ประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยที่เข้าร่วมโครงการนี้มีจำนวน 3 บริษัทได้แก่ บริษัท ซัมมิท โอโตซีท อินดัสตรี จำกัด บริษัท ซัมมิท โอโต บอดี้ อินดัสตรี จำกัด และบริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด

มาสด้านั้นมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์คุณภาพสูงออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยี SKYACTIV ของมาสด้า ที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าด้านความต้องการรถยนต์พลังงานสะอาด ให้ความแรง ประหยัดน้ำมัน และความปลอดภัย ซึ่งทำการผลิตขึ้นในประเทศไทย โดยฝีมือคนไทย และส่งออกไปให้คนทั่วโลกได้ประจักษ์ ด้วยความมุ่งมั่นสร้างสรรค์รถยนต์ที่เปี่ยมด้วยความสนุกสนานในการขับขี่ และเป็นแบรนด์หนึ่งเดียวที่ลูกค้าจะเลือกใช้ตราบนานเท่านาน

มจธ.จับมือ 4 หน่วยงาน ร่วมเดินหน้าขับเคลื่อนเทคโนโลยีสีเขียว ผลักดันการส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย



“โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการส่งเสริมการผลิตและใช้จักรยานไฟฟ้าและยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กในประเทศไทย”เป็นความร่วมมือของ 4 หน่วยงาน ระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)มหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สนับสนุนโดยโครงการร่วมสนับสนุนวิจัยและพัฒนา กฟผ.และ สวทช. มีระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 18 เดือน ( ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2557 – พฤษภาคม 2559 ) ล่าสุดได้มีการจัดประชุมสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษาโครงการฯขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2559 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมจำรัส ฉายะพงศ์ มจธ.
รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวเปิดงานว่า มจธ.ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เห็นได้จากการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ “KMUTT Sustainability Strategic Plan2010 – 2020” ซึ่งในด้านการคมนาคมขนส่งมีเป้าหมายที่จะมุ่งเน้นการลดการปลดปล่อยมลพิษภายในมหาวิทยาลัย ดังนั้น โครงการนี้ถือเป็นโครงการฯ ที่มีประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย สังคมและต่อประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง ในการส่งเสริมการผลิตและการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก ซึ่งไม่มีการปลดปล่อยมลพิษ และยังเป็นต้นแบบให้เห็นถึงประโยชน์ในการหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้า
คุณภัทรพงศ์ เทพา ผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารงานวิจัยและพัฒนา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการส่งเสริมการผลิตและใช้จักรยานไฟฟ้าและยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กในประเทศไทยนี้ จะมีส่วนช่วยลดการใช้พลังงานที่เป็นสาเหตุของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นปัญหาสำคัญของโลกและโครงการฯ ยังได้ศึกษาถึงผลกระทบต่อการใช้ไฟฟ้าของประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ กฟผ.จะต้องตอบสังคมให้ได้ว่า เมื่อมีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น การผลิตไฟฟ้าจะเพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ และการไฟฟ้าฯ ได้มีการเตรียมความพร้อมเรื่องนี้ไว้อย่างไรบ้าง ดังนั้น ผลการศึกษาโครงการนี้ จะเป็นหนึ่งในคำตอบที่ให้กับ กฟผ.ในการวางแผนการจัดการการใช้ไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงมากขึ้น และหวังว่าผลการศึกษาจะช่วยให้หันมาตระหนักถึงสิ่งสำคัญด้านปัญหามลพิษและความมั่นคงด้านพลังงาน รวมถึงหันมาใช้จักรยานยนต์และยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กเพิ่มมากขึ้น
รศ.ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ ประธานคลัสเตอร์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า จากมติ ครม.เมื่อวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา เห็นชอบแผนมุ่งเป้าด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ พร้อมกำหนดเป้าหมายให้ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมการผลิต ประกอบ และพัฒนาพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2564 เพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค โดยแผนฯ ดังกล่าวมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและทดลองใช้จริงให้ได้ แบ่งเป็น 4 แผนงานวิจัย คือ 1) ด้านแบตเตอรี่และระบบจัดการพลังงาน 2) ด้านมอเตอร์และระบบขับเคลื่อน 3) ด้านโครงสร้างน้ำหนักเบาและการประกอบ ซึ่งจะทำให้น้ำหนักรถเบาลง และ 4) ด้านการพัฒนานโยบาย มาตรฐาน และบุคลากรรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งผลการศึกษาโครงการนี้ ก็จะสอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาล และถือว่าเป็นการระดมสมองช่วยกันคิด ช่วยกันปรับปรุงพัฒนารถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังจะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปรู้จักและหันมาใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและมีการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักให้แพร่หลายเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ภายในงานยังได้รับเกียรติจากคุณวิชัย จิราธิยุต ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวถึง“สถานการณ์อุตสาหกรรมจักรยานยนต์ไทยและแนวโน้มการใช้จักรยานยนต์ไฟฟ้า” ว่า ประเทศในเอเชียนิยมใช้รถจักรยานยนต์ถึงกว่าร้อยละ 90 ของการใช้รถจักรยานยนต์ของโลก และประเทศที่มีการผลิตจักรยานยนต์มากที่สุดในเอเชีย คือ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทยตามลำดับ โดยเฉพาะจีนแม้จะมีปริมาณความต้องการใช้ในประเทศค่อนข้างมาก แต่การผลิตส่วนใหญ่เน้นการส่งออกเป็นหลัก แต่ล่าสุดจีนมีนโยบายที่จะลดปริมาณการใช้จักรยานยนต์ที่ไม่ใช้ไฟฟ้าลง เพราะจีนมีปัญหาเรื่องของมลภาวะ และหันมาสนับสนุนมาตรการที่เกี่ยวกับจักรยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น กลับกันประเทศไทยซึ่งเป็นฐานการผลิตรถจักรยานยนต์ทุกค่ายทั้งจากค่ายญี่ปุ่นและค่ายยุโรป สามารถผลิตรถจักรยานยนต์ได้ปีละ 2 ล้านคัน ส่วนใหญ่ใช้เองในประเทศกว่า 1.6 ล้านคันต่อปี ขณะที่ส่งออกรถจักรยานยนต์เพียง 4-5 แสนคันต่อปี แต่ในช่วง 2- 3 ปีที่ผ่านมาไทยเริ่มมีการส่งออกรถจักรยานยนต์โดยเฉพาะมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเริ่มเป็นที่นิยมและไทยยังเป็นฐานในการส่งออกบิ๊กไบค์ในภูมิภาค จึงมองว่าประเทศไทยยังมีศักยภาพในการเป็นผู้ผลิตจักรยานยนต์และยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก แม้ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในไทยขณะนี้จะมีปริมาณลดลง แต่แนวโน้มการใช้จักรยานยนต์ไฟฟ้ามาแน่ ดังนั้นภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมมาตรการที่จะให้เกิดการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้น เรื่องของนโยบายสนับสนุน มาตรการด้านภาษีเพื่อจูงใจ รวมถึงการกำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยและมาตรฐานของชิ้นส่วนต่างๆ
ผศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้า ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ จาก มจธ. กล่าวว่า ประเทศไทยมีรถจักรยานยนต์ 20 ล้านคัน แต่มีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าไม่ถึง 10,000 คัน อีกทั้งยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กยังไม่มีการใช้งานในประเทศไทย และไม่มีนโยบายส่งเสริมจากภาครัฐที่ชัดเจน ซึ่งทีมวิจัยได้มองเห็นข้อดีในการส่งเสริมให้เกิดการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าด้วยรูปแบบการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คำถามที่สำคัญของทีมวิจัยคือทำไมเทคโนโลยีใหม่ที่ดีเช่นนี้จึงไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย โครงการนี้ จึงเป็นการศึกษา รวบรวมข้อมูลจากการทดสอบจริงโดยผู้บริโภค และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย พร้อมมาตรการต่างๆ เพื่อเสนอต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งจากการประเมินภาพรวมเทคโนโลยีของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ นักวิจัยโครงการฯ กล่าวว่า จากผลการทดสอบตามมาตรฐานจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่มีขายอยู่ในปัจจุบัน มีระยะทางการวิ่งและความเร็วต่ำกว่าค่าที่ผู้ผลิตกำหนดค่อนข้างมากด้วยข้อจำกัดตัวแบตเตอรี่และการออกแบบตัวรถเป็นหลัก จึงได้เสนอแนวทางการออกแบบโครงสร้างใหม่เพื่อให้ได้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่ใกล้เคียงกับความต้องการของผู้บริโภค 
ด้านการประเมินพฤติกรรมการใช้จักรยานยนต์ไฟฟ้า ดร.ปิยธิดา ไตรนุรักษ์ นักวิจัยโครงการฯ กล่าวว่า มุมมองของผู้ใช้รถจักรยานยนต์เห็นว่าการออกตัว ระยะเวลาการประจุไฟ และระยะทางที่วิ่งได้ต่อการประจุไฟหนึ่งครั้ง ยังเป็นประเด็นที่ต้องปรับปรุงแก้ไขสำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ส่วนใหญ่เห็นว่าหากมีการพัฒนาในเรื่องอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ให้นานขึ้น การทำให้สามารถวิ่งในระยะทางที่ไกลขึ้นต่อการประจุไฟแต่ละครั้ง รวมถึงการพัฒนาระบบประจุไฟฟ้าเร็ว (Quick charging) ที่ทำให้ระยะเวลาประจุไฟสั้นลง จะทำให้เกิดการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจากข้อได้เปรียบในเรื่องค่าใช้จ่ายต่อระยะทางของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่น้อยกว่า 20 สตางค์ต่อกิโลเมตร เมื่อคำนวณจากอัตราค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน
ขณะที่การประเมินผลกระทบทางด้านเศรษฐศาสตร์ พลังงาน และสิ่งแวดล้อมนั้น ดร.นุวงศ์ ชลคุป นักวิจัยโครงการฯ จากศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช. กล่าวว่า เมื่อมีการคาดการณ์การขยายตัวของเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้ารถโดยสารไฟฟ้าและรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต พบว่า ภายในปี 2579 สามารถลดการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลสะสมได้ถึง 4 แสนล้านบาทและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสมได้กว่า 90 ล้านตันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าโดยมีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้ในกรณีที่ไม่มียานยนต์ไฟฟ้าเพียง 2% เท่านั้น
ทั้งนี้ ผศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล หัวหน้าโครงการ ยังได้กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า  การจัดงานในครั้งนี้จะทำให้ได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมให้เกิดการใช้และการผลิตจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่สมบูรณ์มากขึ้นและภาครัฐที่เกี่ยวข้องและเอกชนที่สนใจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป

สแกนเนีย สยาม ร่วมแสดงความยินดีแก่ เหว่ยป๋อ อินเตอร์เนชั่นแนล ทรานสปอร์ต เนื่องในโอกาสเปิดดำเนินธุรกิจ พร้อมส่งมอบรถหัวลากประสิทธิภาพสูง 15 คัน เพื่อใช้ในการขนส่งผลไม้ระหว่างประเทศไทย - จีน



มร.มาร์ติน นีลสัน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ พร้อมด้วย นายสุรัช พร้อมรุ่งเรือง ผู้จัดการฝ่ายขายรถบรรทุก บริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด เป็นตัวแทนร่วมแสดงความยินดีแก่ บริษัท เหว่ยป๋อ อินเตอร์เนชั่นแนล ทรานสปอร์ต จำกัด เนื่องในโอกาสเปิดดำเนินธุรกิจขนส่งสินค้าระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ พร้อมทำการส่งมอบรถหัวลากสแกนเนีย รุ่น P410 LA6x2MSZ จำนวน 15 คัน เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี นายนฤพล กันยาปรีดากุล กรรมการบริหารและผู้จัดการฝ่ายการจัดซื้อ นายธนพงศ์ กันยาปรีดากุล กรรมการบริหาร และ เหล่าพนักงาน บริษัท เหว่ยป๋อ อินเตอร์เนชั่นแนล ทรานสปอร์ต จำกัด เป็นตัวแทนในการรับมอบรถ เมื่อเร็วๆ นี้

โรลส์-รอยซ์รังสรรค์คอลเล็กชั่นกระเป๋าเดินทางสุดหรูสำหรับยนตรกรรมรุ่น เรธ


บริษัท โรลส์-รอยซ์ มอเตอร์ คาร์ส จำกัด ในฐานะผู้นำด้านยนตรกรรมหรูระดับโลก ได้สร้างสรรค์คอลเล็กชั่นกระเป๋าเดินทางสุดหรูสำหรับยนตรกรรม รุ่น เรธ (The Wraith Luggage Collection) ขึ้นโดยเฉพาะ


คอลเล็กชั่นกระเป๋าเดินทางประกอบด้วย กระเป๋าเดินทางล้อลาก 2 ใบ กระเป๋า Weekender 3 ใบ และกระเป๋าใส่เสื้อผ้า 1 ใบ ที่ถูกรังสรรค์ขึ้นพิเศษเพื่อวางในห้องเก็บสัมภาระส่วนท้ายของยนตรกรรมโรลส์-รอยซ์ รุ่น เรธ ได้อย่างลงตัว  โดยคอลเล็กชั่นนี้เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของ มร. ไมเคิล ไบรเดน นักออกแบบของแผนกบริการสั่งทำพิเศษ (บีสโป๊ก) และถูกออกแบบในโรลส์-รอยซ์ บีสโป๊ก สตูดิโอ ซึ่งนำทีมโดยมร. ไจลส์ เทย์เลอร์  เฉกเช่นเดียวกับยนตรกรรมโรลส์-รอยซ์ ชุดกระเป๋าเดินทางนี้สามารถสั่งทำพิเศษได้ตามต้องการเฉพาะบุคคล


ในการสร้างสรรค์คอลเล็กชั่นกระเป๋าเดินทางนี้ ทางทีมออกแบบของโรลส์-รอยซ์ได้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการจัดการดูแลกระเป๋าเดินทางให้แก่กลุ่มลูกค้าระดับบน  นั่นคือ  กลุ่มหัวหน้าบัตเลอร์ของโรงแรมหรูระดับโลกผู้สามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะการใช้งานกระเป๋าเดินทางของแขกที่เข้าพัก พร้อมให้ข้อสังเกตว่า กระเป๋าเดินทางไม่เพียงแต่สะท้อนให้เห็นถึงไลฟสไตล์ในการดำเนินชีวิต แต่ยังทำหน้าที่ประหนึ่งตู้เสื้อผ้าของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะในหมู่นักธุรกิจ หรือผู้นำทางธุรกิจต่างที่ต้องเดินทางบ่อยครั้ง จึงทำให้ความสำคัญของกระเป๋าเดินทางเพิ่มมากขึ้น


ดังนั้น การใส่ใจในทุกรายละเอียดจึงปรากฏให้เห็นในทุกส่วนของกระเป๋าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่ถูกสัมผัสโดยเจ้าของเพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับประสบการณ์ในการใช้งานอย่างง่ายดาย  หูหิ้วกระเป๋าได้รับการออกแบบให้มีการถ่ายเทน้ำหนักให้เท่ากัน ซึ่งหมายความว่าเจ้าของจะรู้สึกสบายเหมือนไม่ได้แบกน้ำหนักแต่อย่างใด หรือแม้แต่การซ่อนรอยฝีเข็มก็เป็นฝีมือการสร้างสรรค์ของช่างระดับโอต์ กูตูร์ (Haute Couture) ของโลกเพื่อให้ได้ความสวยงามที่สมบูรณ์แบบและสัมผัสที่นุ่มนวล


การออกแบบที่เหนือการเวลาด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย  
เทคโนโลยีการสร้างต้นแบบเร็ว ถูกใช้ในการพัฒนากระเป๋า Weekender  และทดสอบหูหิ้วกระเป๋าให้มีความปลอดภัย และสะดวกสบายต่อการใช้งานหลายต่อหลายครั้ง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ใช้งานสามารถหิ้วได้อย่างสบาย รายละเอียดที่โดดเด่นอีกสิ่งหนึ่งคือ เมื่อรูดซิปปิดกระเป๋า ส่วนของหัวซิปจะถูกเก็บเข้าไปในล็อคแม่เหล็ก เพื่อความเรียบร้อยสวยงาม     


มร.ไมเคิล ไบรเดน นักออกแบบของแผนกบริการสั่งทำพิเศษ (บีสโป๊ก) กล่าวว่า “คอลเล็กชั่นกระเป๋าเดินทางสำหรับยนตรกรรมรุ่น เรธ ประกอบด้วยกระเป๋า 6 ใบ โดยแต่ละใบสะท้อนให้เห็นถึงการออกแบบที่ไม่เป็นสองรองใครของยนตรกรรมโรลส์-รอยซ์  ด้วยเทคโนโลยีและวัสดุอันทันสมัยถูกผสมผสานอย่างลงตัวกับงานหัตถศิลป์และเทคนิคแบบดั้งเดิม นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานคอลเล็กชั่นกระเป๋าเดินทางในครั้งนี้ ที่ออกแบบขึ้นเฉพาะสำหรับยนตรกรรม รุ่น เรธ สุดยอดแห่งยนตรกรรมแกรนด์ ทัวริสโมของสุภาพบุรุษ”     


สัญลักษณ์ “สปีริต ออฟ เอ็กสตาซี” หญิงสาวที่พร้อมทะยานไปเบื้องหน้าประดับอยู่บนกระจังหน้าของโรลส์-รอยซ์ทุกคันตั้งแต่ปีพ.ศ. 2454  ได้ถูกนำมาปักเพื่อตกแต่งด้านนอกของกระเป๋าทุกใบ        


ส่วนล้อของกระเป๋าล้อลากประดับด้วยโลโก้ RR  ถูกจัดวางอย่างแยบยลเพื่อความเสถียรเมื่อเคลื่อนที่ และความสะดวกง่ายดายในการยกจากพื้นเพื่อใส่ในห้องเก็บสัมภาระส่วนท้าย  
เส้นใยคาร์บอนถูกเลือกใช้เพื่อความมีน้ำหนักเบา และคงทน เมื่อเทียบกับวัสดุสวยงามทั่วไปที่ใช้กันในท้องตลาด ทั้งนี้ เส้นใยคาร์บอนจะถูกหลอมขึ้นรูปให้ด้านข้างสูง และตกแต่งด้วยหูลากขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มความสามารถในการบรรจุสัมภาระ


มร. ทอร์สตัน มูเลอร์-ออทเวิส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรลส์-รอยซ์ มอเตอร์ คาร์ส จำกัด กล่าวว่า “ผลงานสร้างสรรค์คอลเล็กชั่นกระเป๋าเดินทางของมร. ไมเคิล ไบรเดน ส่งมอบคำมั่นสัญญาของเซอร์ เฮนรี่ รอยซ์ ที่ว่า “จงยอมรับแต่สิ่งที่เป็นเลิศ และพัฒนาสิ่งนั้นให้ดีเยี่ยมยิ่งขึ้น และถ้าสิ่งนั้นไม่มีอยู่ จงสร้างมันขึ้นมา”  ทีมงานออกแบบไม่ได้หยุดอยู่ที่การรังสรรค์คอลเล็กชั่นกระเป๋าเดินทางสุดหรูร่วมสมัยอย่างแท้จริงไว้เพียงแค่นี้ แต่ยังได้สร้างสรรค์คอลเล็กชั่นที่สามารถสั่งทำพิเศษเพื่อความสวยหรูร่วมสมัยและความรื่นรมย์ในการใช้งานอีกด้วย”    


ในส่วนของกระเป๋าใส่เสื้อผ้า ที่มาในรูปทรงเรียวยาวสามารถวางบนกระเป๋าล้อลากและกระเป๋า Weekender ได้อย่างพอดี ถูกออกแบบสำหรับรองรับเสื้อเชิ้ตและชุดทักซิโด้ของสุภาพบุรุษ หรือชุดราตรียาวของสุภาพสตรี  พร้อมห่วงคล้องสำหรับเนคไท และผ้าพันคอเพื่อความสะดวกในการใช้งาน  


ทั้งนี้ คอลเล็กชั่นกระเป๋าเดินทางสำหรับยนตรกรรมรุ่น เรธ ถูกสร้างสรรค์โดยช่างฝีมือที่มีความเชี่ยวชาญทั้งชายหญิงต่างสวมถุงมือขาวเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนและรักษาคุณภาพของหนังชั้นยอด ซึ่งนับเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับกระเป๋าเดินทางหรู  อีกทั้ง การออกแบบที่มีให้เลือกแบบสีเดียว หรือสีทูโทนอันโฉบเฉี่ยวที่เข้ากันได้อย่างสมบูรณ์แบบกับยนตรกรรม รุ่น เรธ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถออกแบบชุดกระเป๋าเดินทางได้ตามต้องการเฉพาะบุคคล  เพื่อให้เข้ากับการตกแต่งภายในของโรลส์-รอยซ์ของตน          หนังคุณภาพเดียวกับที่ใช้ในยนตรกรรมโรลส์-รอยซ์ถูกเย็บมือโดยใช้ด้ายสีเดียวกันเหมือนกับที่ใช้ในรถยนต์ของเจ้าของ พร้อมบุภายในด้วยผ้าลายโมโนแกรม RR


ผู้สนใจสามารถสั่งซื้อคอลเล็กชั่นกระเป๋าเดินทางสำหรับยนตรกรรมรุ่น เรธ โดยสามารถแยกซื้อแต่ละใบได้ที่ตัวแทนจำหน่ายโรลส์-รอยซ์อย่างเป็นทางการทุกแห่ง
donate your car today | donate your vehicle | donating a car for taxes | donating car in california | donating my car tax deduction | donating used cars to charity | donation for cars | how donate car | how to donate a car | how to donate a car in california | how to donate my car | how to donate your car | i want to donate my car | junk car donation | places to donate cars | sacramento car donation | tax break for donating a car | tax deduction car donation | tax deduction for car donation | vehicle donate | vehicle donation | where can i donate my car | where to donate a car | where to donate car | where to donate my car

หมวดหมู่ยานยนต์

 
Support : A | B | C
Copyright © 2016. เทคโนโลยียานยนต์ - All Rights Reserved