Custom Search
donate car tax deduction | donate car to charity | donate car to charity california | donate car to charity los angeles | donate car without title | donate cars for kids | donate my car | donate my car to charity | donate your car | donate your car bay area | donate your car california | donate your car for kids | donate your car in maryland | donate your car nyc | donate your car tax deduction | donate your car to charity
รauto donation charities | best car donation program | best charity car donation program | best place to donate car | best place to donate car for tax deduction | california car donation | california donate car | car donation | car donation bay area | car donation ca | car donation california | car donation dc | car donation deduction | car donation in california |

เครื่องยนต์แก๊สโซลีน 2 จังหวะ


            การทำงานของเครื่องยนต์ 2 จังหวะจะมีลักษณะคล้ายกับเครื่องยนต์ 4 จังหวะ คือจะต้องมีจังหวะดูด อัด  ระเบิด คาย เช่นเดียวกันจะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างตรงที่เครื่องยนต์ 2 จังหวะจะทำงานครบตามจังหวะดังกล่าวได้ก็โดยที่ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นแล้วลง 2 ครั้ง  หรือเพลาข้อเหวี่ยงหมุน 1 รอบเท่านั้นก็จะได้งาน 1 ครั้ง
เครื่องยนต์แก๊สโซลีน 2 จังหวะ  มีหลักการทำงานในจังหวะต่างๆดังนี้คือ
1.  จังหวะคายและจังหวะดูด  (Exhaust  and  Intake  Stroke)

เครื่องยนต์แก๊สโซลีน 2 จังหวะเมื่อแรงระเบิดซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของส่วนผสมระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงภายในห้องเผาไหม้จะผลักดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลงจนถึงจุดหนึ่ง  ขอบบนของลูกสูบจะเปิดช่องไอเสียแก็สไอเสียก็จะพุ่งตัวออกไปทางช่องไอเสียของกระบอกลูกสูบ  และเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงมาเล็กน้อยขอบบนอีกด้านหนึ่งของลูกสูบจะเปิดช่องไอดี (Transfer  Port) ซึ่งไอดีที่มีกำลังดันสูงจากห้องแคร้งจะถูกส่งผ่านช่องส่งไอดีเข้าไปบรรจุอยู่ภายในกระบอกสูบพร้อมทั้งขับไล่ไอเสีย  ขณะนี้เครื่องยนต์จะอยู่ที่จังหวะคายและจังหวะดูด



            การที่ไอดีในห้องแคร้งมีกำลังดันสูง  ก็เนื่องมาจากในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ลงมาจนกระทั่งขอบล่างของลูกสูบปิดช่องไอดี (Inlet Port) ทำให้ไอดีที่อยู่ภายในห้องนี้ถูกอัดตัวให้มีกำลังดันสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เครื่องยนต์ 
2  จังหวะชนิดนี้ลิ้นรีดวาล์วแบบแผ่นในการจัดส่งไอดีเข้าสู่ห้องแคร้งเป็นลิ้นในการจัดส่งไอดีเข้าสู่ห้องแคร้งเป็นลิ้นชนิดกันกลับแรงดันที่เกิดจากการเคลื่อนตัวลงของลูกสูบจะดันให้ลิ้นปิดได้เองโดยอัตโนมัติทำให้ไอดีที่อยู่ในห้องแคร้งที่มีกำลังดันสูงขึ้น และป้องกันไม่ให้ไอดีรั่วไหลออกจากห้องแคร้งอีกด้วย

2.  จังหวะอัดและจังหวะระเบิด (Compress and Power Stroke)
จังหวะนี้จะเกิดต่อเนื่องมาจากจังหวะดูด เริ่มตั้งแต่เมื่อขอบบนของลูกสูบซึ่งเคลื่อนที่จากศูนย์ตายล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบนจะปิดช่องส่งไอดีและช่องไอเสียตามลำดับ (ช่องส่งไอดีโดยปกติจะอยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าช่องไอเสียเล็กน้อยเพื่อผลในการบรรจุไอดีเข้าสู่กระบอกสูบ และขับไล่ไอเสียออกจากกระบอกสูบ) ลูกสูบจะทำการอัดไอดีขึ้นไปเรื่อยๆ ในช่วงนี้เครื่องยนต์จะอยู่ในจังหวะอัด  เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นก่อนจะถึงศูนย์ตายบนเล็กน้อยหัวเทียนจะจุดประกายไฟ ทำให้ส่วนไอดีหรือส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศเกิดการเผาไหม้ ช่วงนี้เครื่องยนต์จะอยู่ในจังหวะระเบิด แรงระเบิดที่เกิดจากการเผาไหม้จะทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลง  และหมุนเวียนกันอยู่เช่นนี้ตลอดเวลาที่เครื่องยนต์ทำงาน จะเห็นได้ว่าในการทำงาน 1 ครั้ง ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้น-ลง 2 ครั้ง คือ  ขึ้น 1 ครั้ง ลง 1 ครั้ง  หรือเพลาข้อเหวี่ยงหมุน 1รอบ จึงเรียกเครื่องยนต์ชนิดนี้ว่า เครื่องยนต์ 2 จังหวะ



หน้าที่ของเครื่องยนต์


      เครื่องยนต์ (Engine) หมายถึง เครื่องจักรหรือเครื่องกลที่สามารถเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกล ซึ่งเครื่องยนต์ เป็นเครื่องต้นกำลัง และที่สำคัญนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันสามารถจัดส่งกำลังให้กับส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องทุ่นแรงต่างๆ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนหรือทำงานได้ เครื่องยนต์จึงเป็นสิ่งที่ทำประโยชน์ให้กับมนุษย์ได้อย่างมหาศาล เครื่องยนต์ที่นิยมโดยทั่วไป ได้แก่ เครื่องจักรไอน้ำ (Steam Engine) เครื่องยนต์แก๊สโซลีน (Gassolene Engine) เครื่องยนต์ดีเซล (Diesel Engine) เครื่องยนต์โรตารี่ (Rotary Engine) และเครื่องยนต์กังหันแก๊ส เป็นต้น
เครื่องยนต์แก๊สโซลีน (Gassolene Engine) หมายถึง เครื่องจักรหรือเครื่องกลทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานความร้อนของน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานกลที่ขับออกมาทางเพลาข้อเหวี่ยงจึงกล่าวได้ว่าพลังงานที่เกิดขึ้นได้จากการเผาไหม้ มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
  1.    อากาศ (Air) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเผาไหม้ การไม่มีอากาศเผาไหม้ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากอากาศมีออกซิเจนซึ่งช่วยให้ติดไฟ
  2.  เชื้อเพลิง (Fuel) เชื้อเพลิงเป็นวัตถุติดไฟ ในกรณีนี้หมายถึง น้ำมันเชื้อเพลิง
  3.   ความร้อน (Fire) ในที่นี้หมายถึงความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงถึงการจุดติด เช่นประกายไฟจากการอาร์ก เป็นต้น
การเผาไหม้ (Combustion)
  คือ การเผาไหม้ส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงภายในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาอันสั้น เมื่ออากาศผสมกับน้ำมันในอัตราส่วนที่ถูกต้อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาตรของห้องเผาไหม้ คาร์บอนในน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อเกิดการเผาไหม้จะรวมตัวกับออกซิเจนเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ดังสมการนี้

C + O2                                 Co2+ ความร้อน
           
   สรุปได้ว่า พลังงานเครื่องยนต์ เกิดขึ้นได้จากพลังงานความร้อนจากการเผาไหม้ในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ การเผาไหม้ในเครื่องยนต์ เป็นการเผาไหม้ที่มีการควบคุมได้ ห้องเผาไหม้ในกระบวนการเผาไหม้จะทำให้เกิดความร้อนภายในกระบอกสูบของเครื่องยนต์ การเผาไหม้ในห้องเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศถูกผสมกันกลายเป็นไอดี (Mixture) และถูกส่งเข้าไปในกระบอกสูบแล้วอัดให้มีปริมาตรเล็กลงทำให้ไอดีที่ถูกอัดตัวมีกำลังดันสูง เมื่อมีประกายไฟมาจุดไอดีที่ถูกอัดดังกล่าว การเผาไหม้จึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว เรียกว่า การจุดระเบิดมีปริมาตรเท่ากับความจุของกระบอกสูบ



วิวัฒนาการของเครื่องยนต์


วิวัฒนาการของเครื่องยนต์
            ในปีพ.ศ. 2236 นายปาแปง (Papin) ชาวฝรั่งเศสได้คิดประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำขึ้นสำเร็จเป็นครั้งแรก และในระยะเดียวกันนายเซปาเลย์ (Sepaley) ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ และสามารถนำมาเป็นตัวต้นกำเนิดกำลังฉุดเครื่องปั๊มน้ำออกจากเหมืองแร่ได้สำเร็จ แต่ปรากฏว่าเครื่องจักรไอน้ำมีปัญหาบางประการ และนายนิวแมน (Newman) ชาวอังกฤษได้ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น
            จากนั้นนายเจมส์ วัตต์ (James Watt) ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ โดยใช้กำลังดันของไอน้ำไปผลักดันให้ลูกสูบเคลื่อนไปมาในแนวดิ่งขับดันเพลาให้หมุน เพื่อเป็นตัวกำเนิดกำลังของเครื่องจักรไอน้ำเป็นพื้นฐานของเครื่องยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะต่างๆในปัจจุบัน
            ต่อมาปี พ.ศ. 2312 นายนิโคลัส โจเซฟ กูโน (Nicholas Joseph Gunoe) นายทหารชาวฝรั่งเศษได้ประดิษฐ์รถยนต์ใช้เครื่องจักรไอน้ำวิ่งได้ แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนส่วนใหญ่ในยุคนั้น
            ปี พ.ศ. 2415 ดร.ออตโต (Count Nicholas Otto) วิศวกรชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เครื่องยนต์แก๊สโซลีน (Gassoline Engine) ขึ้นสำเร็จและได้มีการพัฒนาทางด้านยนตกรรมให้เจิรฺญก้าวหน้าจนถึงปัจจุบัน
            ปี พ.ศ. นายเดมเลอร์ (Gottlieb Daimler) นายเบนซ์ (Carl Benz) และนายเมย์บัค (Maybach) ซึ่งเป็นชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์เครื่องยนต์แก๊สโซลีนที่มีความเร็วมากกว่าของ ดร.ออตโต ถึง4เท่า คอมีความเร็วรอบถึง 900 รอบต่อนาที
            ปี พ.ศ. 2436 นายเมย์บัค ได้ประดิษฐ์คาร์บูเรเตอร์ที่ใช้ระบบนมหนู
            ปี พ.ศ. 2437 นายเบนซ์ ได้คิดประดิษฐ์เครื่องยนต์ขนาด 2 ¾ แรงม้าขึ้นสำเร็จ
            ปี พ.ศ. 2438 พี่น้องตระกูลมิชลิน (Michelin) ได้คิดผลิตยางแบบเติมลมขึ้นใช้กับล้อรถยนต์
            ปี พ.ศ 2440 นายมอร์ ชาวฝรั่งเศษ ได้คิดพัฒนาเครื่องยนต์เป็นรูปทรงตัววี (V) ขนาด 8 สูบ หรือเรียกว่าเครื่องยนต์ V8 ได้สำเร็จ

            ปี พ.ศ. 2440 ชาวออสเตรียชื่อ นายแกรฟและสตีฟ ผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้าขึ้นสำเร็จ

            ปี พ.ศ. 2441 นายเดมเลอร์ได้คิดประดิษฐ์เครื่องยนต์สูบเรียง 4 สูบขึ้นได้สำเร็จและหลังจากนั้นหนึ่งปีนายเดมเลอร์ได้คิดประดิษฐ์ เกียร์ หม้อน้ำ และเร่งเครื่องยนต์ด้วยเท้าสำเร็จ
            ปี พ.ศ. 2442 นายเรโนลต์ แห่งฝรั่งเศส ได้ผลิตข้อต่ออ่อนใช้กับเพลาขับของรถยนต์ได้สำเร็จ
            ปี พ.ศ. 2445 ชาวฮอลแลนด์ชื่อนายสไปร์เดอร์ ได้ผลิตเครื่องยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ (4WD) โดยใช้เครื่องยนต์ 6 สูบ เป็นเครื่องยนต์ต้นกำลังสำเร็จ
            ปี พ.ศ. 2446 นายเมาด์สเลย์ ชาวอังกฤษได้คิดค้นประดิษฐ์เครื่องยนต์ที่ติดตั่งเพลาลูกเบี้ยวอยู่บนฝาสูบได้สำเร็จ ที่เรียกว่า O.H.C (Over Head Camshaft)
            ปี พ.ศ. 2450 นายซักวิก ชาวอเมริกาไดประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์ที่เรียกว่า ซูเปอร์ชาร์จเจอร์ (Supercharger) ใช้กับเครื่องยนต์
            ปี พ.ศ. 2451 นายฟอร์ด ได้ผลิตระบบจุดระเบิดที่ใช้คอยล์และจานจ่าย และประดิษฐ์รถยนต์โมเดลใหม่ขึ้นมาเรียกว่า โมเดล-ที
            ปี พ.ศ. 2455 นายเปอร์โยต์ (Peugeot) ได้นำเครื่องยนต์ที่ใช้เพลาลูกเบี้ยวอยู่บนฝาสูบชนิดคู่ (O.H.C Twincam) ใช้กับเครื่องยนต์ของรถยนต์
            เครื่องยนต์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีจุดหมายอยู่ที่ความปลอดภัยความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว ความประหยัด และการลดมลภาวะจากเครื่องยนต์รถยนต์


แสดงรูปวิวัฒนาการของเครื่องยนต์





ระบบจุดระเบิด


ระบบจุดระเบิด

       ทำหน้าที่นำกระแสไฟแรงเคลื่อนต่ำ  12  โวลท์ มาแปลงเป็นไฟแรงเคลื่อนสูง ประมาณ  5,000 – 30,000  โวลต์  ไปกระโดดข้ามที่หัวเทียน เพื่อให้เกิดการระเบิดของไอดี  ระบบจุดระเบิดประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ  ดังนี้

2.1    แบตเตอรี่  เป็นแหล่งจ่ายกระแสไฟเบื้องต้นในรถยนต์  ในขณะที่เครื่องยนต์ยังไม่ติด



รูปแสดงแบตเตอรี่รถยนต์

2.2    สวิตช์จุดระเบิดหรือสวิตช์กุญแจ  ทำหน้าที่ตัดต่อไฟแรงต่ำกับระบบจุดระเบิด คอยล์จุดระเบิด  ทำหน้าที่แปลงไฟแรงเคลื่อนต่ำให้เป็นไฟแรงเคลื่อนสูง  แล้วส่งไปยังหัวเทียน




สดงรูปสวิตช์กุญแ

2.3    คอนเดนเซอร์  ทำหน้าที่ป้องกันการอาร์คที่หน้าททองขาวขณะที่หน้าทองขาวเปิด


แสดงรูปคอนเดนเซอร์

2.4    ชุดทองขาว  ทำหน้าที่เป็นสวิทช์อัตโนมัติตัดต่อไฟแรงต่ำจากคอยล์จุดระเบิดกับกราวด์


แสดงรูปชุดหน้าทองขาว

2.5    จานจ่าย  ทำหน้าที่จ่ายไฟแรงสูงให้กับหัวเทียนแต่ละสูบตามจังหวะการทำงาน


แสดงรูปจานจ่าย

2.6    หัวเทียน  ทำหน้าที่นำไฟแรงสูงที่คอยล์ส่งมาให้  ทำให้เกิดการสปาร์ค เพื่อจุดระเบิดไอดี


แสดงรูปหัวเทียน


หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ

หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ
       เครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ มีกลวัตรในการทำงานดังนี้คือ จังหวะดูด จังหวะอัด จังหวะระเบิด และจังหวะคาย








1. จังหวะที่1 เป็นจังหวะดูดและจังหวะอัดในจังหวะนี้จะเริ่มต้นเมื่อลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ตายล่างและเริ่มเคลื่อนที่ขึ้นสู่ศูนย์ตายบนก่อนที่จะเคลื่อนที่ขึ้นหัวลูกสูบจะอยู่ต่ำกว่าช่องทางเข้าไอดีทำให้ช่องทางไอดีเปิด(Blower)จะดูดอากาศจากภายนอกผ่านช่องทางไอดีจนบรรจุเต็มลูกสูบจะเคลื่อนที่จากจุดศูนย์ตายล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบนปิดช่องทางไอดีลิ้นไอเสียทั้งสองจะปิดสนิทอากาศจะถูกอัด


รูปแสดงการทำงานของจังหวะดูดกับอัด





















2. จังหวะที่ 2  เป็นจังหวะระเบิดกับจังหวะคาย เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นอัดอากาศหัวฉีดจะฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นฝอยละอองเข้าสู่ห้องเผาไหม้เพื่อให้คลุกเคล้ากับอากาศที่ร้อนเกิดการเผาไหม้และจุดระเบิดขึ้นดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลงศูนย์ตายล่างทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลงประมาณ 80 ถึง 85 เปอร์เซ็นของระยะชักลิ้นไอเสียจะเปิดให้ไอเสียระบายออกจนเต็มจนเกิดอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว



รูปแสดงการทำงานของจังหวะระเบิดกับคาย


หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ

หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล
        เครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องยนต์สันดาปภายในเช่นเดียวกับเครื่องยนต์แก็สโซลีนแต่ถูกออกแบบให้เชื้อเพลิงที่อยู่ในกระบอกสูบเกิดการลุกไหม้ด้วยความร้อนของอากาศดังนั้นอัตราส่วนการอัดจึงต้องสูงกว่า15ถึง22ต่อ1น้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดด้วยหัวฉีดให้เข้าคลุกเคล้ากับอากาศที่มีอุณหภูมิสูงจนสามารถทำให้เกิดการจุดระเบิดขึ้นเป็นกำลังงานในการขับเคลื่อนรถยนต์
       โครงสร้างและชิ้นส่วนต่างๆส่วนใหญ่ยังคงเหมือนกับเครื่องยนต์แก็สโซลีนแต่จำเป็นจะต้องออกแบบให้มีความแข็งแรงเพื่อทนการสึกหรอที่เกิดขึ้นได้อย่างดี

         หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบคือ เครื่องยนต์ดีเซล 4จังหวะ และเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ
หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ
          เครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะมีจังหวะการทำงานใน 1 กลวัตรประกอบด้วย จังหวะดุด จังหวะอัด จังหวะระเบิด จังหวะคาย โดยการทำงานครบ 1 กลวัตรการทำงานเพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2 รอบและเกิดการลุกไหม้ของเชื้อ 1 ครั้ง ดั้งนั้นการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะมีดังนี้



1.จังหวะดูด (Intake Stroke)ลูกสูบเคลื่อนที่จากตำแหน่งศูนย์ตายบน(TDC)ลงสู่จุดศูนย์ตายล่าง(BDC)ลิ้นไอดีเริ่มเปิดให้อากาศบริสุทธ์จากภายนอกเข้ามาในกระบอกสูบในขณะที่ลิ้นไอเสียปิดสนิทเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงจนถึงจุดศูนย์ตายล่างลิ้นไอดีจึงปิด เป็นการสิ้นสุดจังหวะดูด


2.จังหวะอัด (Compression Stroke)จังหวะนี้ลูกสูบเคลื่อนที่จากศูนย์ล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบน   ลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียปิดสนิทลูกสูบจะอัดอากาศเพื่อเพิ่มแรงดันในห้องเผาไหม้ประมาณ 30 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (427ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)ทำให้อุณภูมิของอากาศภายในระบอกสูบสูงถึงประมาณ 500 ถึง 800 องศาเซลเซียส


  3. จังหวะระเบิดหรือจังหวะงาน (Power Stroke) ก่อนลูกสูบเคลื่อนที่ถึงตำแหน่งศูนย์ตายบนเล็กน้อยน้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดเข้ากระบอกสูบผ่านหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงถูกฉีดเป็นฝอยละเอียดเข้าไปคลุกเคล้ากับอากาศที่ร้อนจึงเกิดการลุกไหม้ขึ้นหรือเกิดการระเบิดอย่างรวดเร็วและขยายตัวเป็นแก็สผลักดันให้ลูกเคลื่อนที่จากศูนย์ตายบนลงสู่ศูนย์ตายล่าง


4. จังหวะคาย (Exhaust Stroke)ก่อนลูกสูบเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายล่างเล็กน้อยลิ้นไอเสียเริ่มเปิดแต่ลิ้นไอดียังคงปิดสนิทจากนั้นลูกสูบก็เคลื่อนที่จากศูนย์ตายล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบนเพื่อขับไล่แก็สไอเสียให้ออกจากห้องเผาไหม้เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายบนลิ้นไอเสียก็ปิด




โครงสร้างของเครื่องยนต์











Review ในเชิงลึกรถยนต์ไฟฟ้า Tesla รุ่น S


         รีวิว ประสิทธิภาพ และสมถนะการใช้งาน รถยนต์ไฟฟ้า ของ Tesla  Model S ที่ถูกจัดอันดับ Top 5 Electric Cars ที่เร็วและดีที่สุด ในขณะนี้    เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่เพิ่งเข้ามาแทนที่ระบบเครื่องยนต์ ที่ใช้เชื้อเพลิงเผาไหม้จากน้ำมันและแก๊ส ซึ่งระบบน้ำมันและแก๊สจะเป็นระบบที่ยังมีการสร้างมลภาวะเสียและเป็นพิษทางบรรยากาศอยู่  จึงจำเป็นต้องมีการออกแบบรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า  มาใช้ให้มากขื้นเพื่อลดมลภาวะเป็นพิษได้ด้วย  โดยปัจจุบันก็ได้มีหลายค่ายผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆ หันมาวิจัยพัฒนาและออกแบบรถยนต์ที่ใช้ระบบไฟ้ฟ้าให้ตอบสนองการใช้งานได้ดีเทียบเท่าหรือดีกว่าทุกระบบการทำงานของระบบเครื่องยนต์แบบเดิมๆอีก








10 สุดยอดรถยนต์ไฟฟ้าที่เร็วที่สุด( Fastest Electric Cars )


การทดสอบเพื่อวัดผลความเร็วที่สุด ใน 10 อันดับ รถยนต์ ที่ใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ส่วนใหญ๋จะเป็นรถยนต์ที่ได้นำเอามาดัดแปลงใส่เครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานจากไฟฟ้ามาขับขี่ในความเร็วสูงเพื่อดูความเร็วที่ทำได้ 





donate your car today | donate your vehicle | donating a car for taxes | donating car in california | donating my car tax deduction | donating used cars to charity | donation for cars | how donate car | how to donate a car | how to donate a car in california | how to donate my car | how to donate your car | i want to donate my car | junk car donation | places to donate cars | sacramento car donation | tax break for donating a car | tax deduction car donation | tax deduction for car donation | vehicle donate | vehicle donation | where can i donate my car | where to donate a car | where to donate car | where to donate my car

หมวดหมู่ยานยนต์

 
Support : A | B | C
Copyright © 2016. เทคโนโลยียานยนต์ - All Rights Reserved