Custom Search
donate car tax deduction | donate car to charity | donate car to charity california | donate car to charity los angeles | donate car without title | donate cars for kids | donate my car | donate my car to charity | donate your car | donate your car bay area | donate your car california | donate your car for kids | donate your car in maryland | donate your car nyc | donate your car tax deduction | donate your car to charity
รauto donation charities | best car donation program | best charity car donation program | best place to donate car | best place to donate car for tax deduction | california car donation | california donate car | car donation | car donation bay area | car donation ca | car donation california | car donation dc | car donation deduction | car donation in california |

ห้ามพลาดงาน! บางกอก ซูเปอร์คาร์ แอนด์ ออโต้โชว์ 2012 ณ ศูนย์การค้า เดอะมอลล์บางแค 21-27 มิ.ย.นี้



บริษัท บ๊อบแม็กซ์ อีเว้น แอ่น เอ็กซิบิชั่น จำกัด ร่วมกับ เดอะมอลล กรุ๊ป จำกัด ระดมค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่พร้อมโชว์รูมรถนำเข้าและรถรถซูเปอร์คาร์ชั้นนำที่จะมาอวดโฉมภายในงาน บางกอก ซเปอร์คาร์ แอนด์ ออโต้โชว์ 2012 (BANGKOK SUPER CARS & AUTO SHOW 2012) งานนี้บริษัทรถแบรนด์ดังขนขบวนถหรูและรถรุ่นใหม่ล่าสุดมาโชว์กันอย่างเต็มสตรีม ซึ่งมาพร้อมกิจกรรมและโปรโมชั่นที่โดนใจที่รวมไว้ในงานเดียวเท่านั้นยังไม่พอ! เตรียมพบกับมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินดาราที่จะมาให้ความบันเทิงตั้งแต่วัน ศุกร์ที่ 22 มิถุนายน เวลา 15.00 น. ท่านจะได้พบกับคาราวานนางแบบสาวสวยเซ็กซี่ จากนิตยสารชื่อดัง ในวันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน เวลา 15.00 น. ชมมินิคอนเสริต์จาก แคน-เดอะสตาร์, สต๊อป- เดอะสตาร์ ในวันวันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน เวลา 15.00 น. ชมมินิคอนเสริต์จาก ไมค์- พิรัชต์ และวันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน เวลา 15.00 น.ชมมินิคอนเสริต์จาก พอร์ช - ศรัณย์ ที่จะมาร่วมสร้างความสนุกสนานให้ทุกท่าน และปรโมชั่นโดนๆ ของค่ายรถภายในงานที่นำมามอบให้คุณแบบจุใจ
ตั้งแต่วันที่ 21-27 มิถุนายน 2555 ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ ลาน อีเว้นท์ ฮอล ชั้นG โซน A,B เดอะมอลล์ บางแค


ระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน, Gasoline Fuel Injection System


ระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน (Gasoline Fuel Injection System)
หมายเหตุ  

หัวฉีด (Injector) ในพจนานุกรมศัพท์ยานยนต์ ฉบับบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒ เรียกว่า "ตัวฉีด"
มาตรวัดการไหลอากาศ (Air Flow Meter) ในพจนานุกรมฯ เรียกว่า "มาตรอากาศไหล"
ตัวตรวจจับ (Sensor) ในพจนานุกรมฯ เรียกว่า "ตัวรับรู้"


รูปที่ 1 เครื่องยนต์ระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีนแบบหัวฉีดกลไกร่วมกับอิเล็กทรอนิกส์ (KE-Jetronic)

          เครื่องยนต์ระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน (โดยทั่วไปแล้วใช้กับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ) ถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามการทำงานของหัวฉีด (หรือตัวฉีด) ดังต่อไปนี้
          1.  หัวฉีดกลไก เริ่มถูกนำมาใช้กับรถยนต์เมอร์เซดิส-เบนซ์ (MERCEDES–BENZ) ตั้งแต่ปี พ.. 2497 (.. 1954) โดยเป็นแบบฉีดเชื้อเพลิงตรงเข้ากระบอกสูบ ต่อมาจึงพัฒนาเป็นการฉีดเชื้อเพลิงแบบฉีดโดยอ้อม คือฉีดเชื้อเพลิงที่ปลายท่อร่วมไอดี โดยคูเกลฟิสเชอร์ (Kugelfischer) ซึ่งระบบนี้เป็นการฉีดเชื้อเพลิงด้วยกลไก  (Mechanical Fuel Injection) 
            1.1  หัวฉีดกลไกล้วน (K–Jetronic ) ใช้กับวอลโว่ (VOLVO) และเมอร์เซเดส-เบนซ์  W-123
            1.2  หัวฉีดกลไกร่วมกับอิเล็กทรอนิกส์ (KE–Jetronic) ระบบนี้นำมาใช้ในประเทศไทยกับรถยนต์ เมอร์เซดิส-เบนซ์ W-124 (เช่นในรุ่น 190E, 230E และ 300E เป็นต้น) โดยเรียกชื่อย่อว่า CIS-E (Continuous Injection System-Electronic Adaptation of Mixture) ดังแสดงในรูปที่ 1  สำหรับตัวอย่างของระบบ KE-Jetronic นี้ในสหรัฐอเมริกาใช้กับรถยนต์ Ferrari GTSi QV ปี ค.ศ. 1984 
          2.  หัวฉีดไฟฟ้า หัวฉีดไฟฟ้าได้เริ่มนำมาใช้กับรถยนต์เมอร์เซดิส-เบนซ์ เมื่อปี พ.. 2511 (.. 1968) ออกแบบโดยบอสช์ (BOSCH) ต่อจากนั้นมา รถยนต์ของญี่ปุ่นจึงเริ่มใช้ในปี พ.. 2514 (.. 1971)
            ระบบการทำงานของเครื่องยนต์ที่ใช้หัวฉีดไฟฟ้านี้ถูกเรียกว่าระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีนควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์หรือเรียกสั้น ๆ ว่า EFI (Electronic Fuel Injection)  เครื่องยนต์รุ่นเก่าบางรุ่นการฉีดเชื้อเพลิงจะเป็นแบบฉีดโดยอ้อม ถ้าหัวฉีดถูกติดตั้งที่ตัวเรือนลิ้นเร่งเรียกว่า การฉีดแบบจุดเดียว (Single Point Injection) หรือ SPI แต่บางบริษัทเรียกว่า การฉีดที่ตัวเรือนลิ้นเร่ง (Throttle Body Injection) หรือ TBI ดังแสดงในรูปที่ 2 สำหรับการฉีดเชื้อเพลิงแบบจุดเดียวนี้บางบริษัทใช้หัวฉีดเพียงหัวเดียวแต่บางบริษัทใช้ 2 หัว ระบบฉีดเชื้อเพลิงแบบนี้รถยนต์ใหม่ในปัจจุบันไม่ผลิตแล้ว


รูปที่  2  หัวฉีดไฟฟ้าแบบจุดเดียว

            ระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีนควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากและใช้อยู่ปัจจุบัน คือหัวฉีดถูกติดตั้งที่ปลายท่อร่วมไอดีเรียกว่าการฉีดแบบหลายจุด (Multi Point Injection) หรือ MPI แต่มีบางบริษัทเรียกว่า การฉีดเชื้อเพลิงที่ท่อ (Port Fuel Injection) หรือ PFI ดังแสดงในรูปที่ 3

รูปที่ 3 หัวฉีดไฟฟ้าแบบหลายจุด
(จังหวะการฉีดเชื้อเพลิงมีอยู่ 3 แบบ)

            ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ.1996 โตโยต้าเริ่มพัฒนาต้นแบบเครื่องยนต์ระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีนเข้าห้องเผาไหม้โดยตรง เรียกระบบนี้ว่า D-4 ซึ่งหมายถึงการฉีดเชื้อเพลิงโดยตรง 4 โหมด (4 Modes Direct Injection  Gasoline) แต่มิตซูบิชิได้ผลิตเครื่องยนต์ระบบเดียวกันนี้ใช้เชิงพาณิชย์เมื่อปี ค.ศ.1997 โดยเรียกระบบว่า GDI (Gasoline Direct Injection) ซึ่งต่อมาหลายบริษัทได้พัฒนามาใช้จนถึงปัจจุบันโดยเรียกหลายชื่อเช่น Petrol Direct Injection หรือ Direct Petrol Injection หรือ Spark Ignited Direct Injection (SIDI) หรือ Fuel Stratified Injection (FSI)
          ระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีนควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (EFI) สามารถแบ่งตามวิธีการตรวจจับปริมาณอากาศที่ประจุเข้ากระบอกสูบได้ 2 แบบ คือ
          2.1  ระบบฉีดเชื้อเพลิงแบบ L (L-Type EFI หรือ L–Jetronic) (L มาจากภาษาเยอรมันว่า Lüft Mengen Messer หมายถึงวัดส่วนผสมจากอากาศ) EFI แบบ L นี้ใช้การตรวจจับปริมาตรของอากาศที่ประจุเข้ากระบอกสูบจากมาตรวัดการไหลอากาศ (หรือมาตรอากาศไหล(Air Flow Meter) หรือบางบริษัทเรียกว่า มาตรวัดมวลอากาศ (Air Mass Meter) เป็นสัญญาณหลักที่ส่งเข้าหน่วยควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Control Unit) หรือ ECU  โดย ECU จะประมวลผลร่วมกับสัญญาณความเร็วรอบเครื่องยนต์และอื่น ๆ แล้วกำหนดปริมาณการฉีดเชื้อเพลิงของหัวฉีด  สำหรับมาตรวัดการไหลอากาศนั้นมีอยู่ 4 ชนิด คือแบบครีบหรือแผ่นวัด (Flap หรือ Vane) แบบคลื่นไหลวนคาร์มาน (Karman Vortex) แบบขดลวดร้อน (Hot Wire) และแบบฟิล์มร้อน (Hot Film) ซึ่งมาตรวัดการไหลอากาศ 2 แบบแรกนั้นปัจจุบันเลิกผลิตแล้ว



รูปที่ 4  โครงสร้างระบบฉีดเชื้อเพลิงแบบ  L

            2.2  ระบบฉีดเชื้อเพลิงแบบ D (D–Type EFI หรือ D–Jetronic) (D มาจากภาษาเยอรมันว่า Druckfühler หมายถึงวิธีวัดจากความดัน) (EFI แบบ D นี้ ใช้การตรวจจับความดันอากาศในห้องประจุไอดีจากตัวตรวจจับความดันในท่อร่วมไอดี (Manifold Pressure Sensor) หรือเรียกได้ว่า ตัวตรวจจับ (หรือตัวรับรู้) สุญญากาศ (Vacuum Sensor) สำหรับรถยนต์ยุโรปและฮอนด้าจะเรียกว่า ตัวตรวจจับความดันสมบูรณ์ในท่อร่วมไอดี (Manifold Absolute Pressure Sensor) (MAP Sensor) ซึ่ง ECU จะประมวลผลของสัญญาณนี้ร่วมกันกับสัญญาณความเร็วรอบเครื่องยนต์และสัญญาณอื่น ๆ สำหรับการกำหนดปริมาณการฉีดเชื้อเพลิงโดยควบคุมระยะเวลาการฉีดเชื้อเพลิงที่หัวฉีด


รูปที่ 5 โครงสร้างระบบฉีดเชื้อเพลิงแบบ D

ระบบฉีดเชื้อเพลิงด้วยอิเล็กทรอนิกส์แบบต่างๆ
            หน่วยควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ ECU (Electronic Control Unit) หรือบางบริษัทเรียกว่า ECM (Electronic Control Module) ระบบฉีดเชื้อเพลิงแบบดั้งเดิม (Conventional EFI) หรือ EFI ธรรมดา ภายใน ECU ยังไม่ได้นำระบบไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้ โดยใช้เพียงไอซีขยายสัญญาณการทำงาน (IC-Op Amp) ECU จึงมีหน้าที่ควบคุมการฉีดเชื้อเพลิงเพียงอย่างเดียว จึงมิได้ควบคุมจังหวะการจุดระเบิด และความเร็วรอบเดินเบา (ที่จานจ่ายมีชุดเร่งไฟด้วยสุญญากาศ (Vacuum Advance) และชุดเร่งไฟด้วยกลไก (Mechanical Advance) ต่อมาได้นำระบบไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้ใน ECU โดยมีหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU 8 บิต (Bit) ทำให้ ECU มีความสามารถมากขึ้นด้วยการควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์มิใช่แค่ควบคุมระบบฉีดเชื้อเพลิงเพียงอย่างเดียว (เช่นควบคุมอัตราส่วนผสมอากาศต่อเชื้อเพลิง, ควบคุมจังหวะและมุมการจุดระเบิด, ควบคุมความเร็วรอบเดินเบา, ควบคุมการประจุอากาศ และการวินิจฉัยข้อบกพร่องตัวเองเป็นต้น) โดยแต่ละบริษัทได้ตั้งชื่อเรียกระบบเหล่านี้ไว้เช่น
            ECCS (Electronic Concentrated Engine Control System) หรือระบบควบคุมเครื่องยนต์ด้วยศูนย์กลางทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบของนิสสัน (NISSAN) เริ่มใช้ในปี  ..2522  (..1979)
            TCCS (Toyota Computer-Controlled System) หรือระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ของของโตโยต้า เริ่มใช้ในปี พ..2526  (..1983)      
            PGM-FI (Programmed-Fuel Injection) หรือการฉีดเชื้อเพลิงด้วยโปรแกมของฮอนด้า (HONDA) 
            โมโทรนิค (Motronic) (Digital Motor Electronics) หรือ DME ซึ่งบอสช์ (BOSCH) เป็นผู้ผลิตให้กับหลายบริษัท เช่นบีเอ็มดับเบิลยู (BMW) เริ่มใช้ในปี พ..2522 (..1979)

รูปที่ หน้าที่การควบคุมของ ECU

             ปัจจุบัน CPU ของ ECU มีระบบปฏิบัติการประมวลผล 32 บิต (Bit) มีหน้าที่ควบคุมการฉีดเชื้อเพลิงด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fuel Injection) การจุดระเบิดล่วงหน้าด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Spark Advance) หรือ ESA ควบคุมความเร็วรอบเดินเบา (Idle Speed Control) หรือ ISC การวิเคราะห์ข้อบกพร่องตัวเอง (Self Diagnostic) ควบคุมระบบเสริมประสิทธิภาพต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ รวมทั้งยังสามารถควบคุมระบบการทำงานของเกียร์อัตโนมัติ และควบคุมความเย็นของระบบปรับอากาศรถยนต์อีกด้วย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของเครื่องยนต์ EFI

คลิปที่ 1 การทำงานของเครื่องยนต์ระบบฉีดเชื้อเพลิงด้วยอิเล็กทรอนิกส์
(ขอขอบคุณที่มาของคลิปจากบางส่วนของไฟล์ภาพเคลื่อนไหวรักษาหน้าจอของ Deutz Engine)


คลิปที่ 2 การทำงานของหัวฉีด (หรือตัวฉีด) 
(ขอขอบคุณที่มาของคลิปจาก Wikipedia.com)

ภาพโครงสร้างเครื่องยนต์หัวฉีด EFI

(ขอขอบคุณที่มาของคลิปประกอบการทำงานของเครื่องยนต์ EFI จาก Samarins.com)


ภาพโครงสร้างเครื่องยนต์ระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีนด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (EFI Circuitry)
ตัวอย่างของเครื่องยนต์ Toyota 4A-GE

สแตมป์-อภิวัตน์ ควบบิ๊กไบค์คว้าชัย SB 1 ประเดิมสนามแรกแบบลอยลำในศึก “ Motorcycle Mag Road Racing Championship ” นัดเปิดฤดูกาล 2012



เปิดฉากการชิงชัยเกมส์มอเตอร์ไซค์ทางเรียบชิงแชมป์ นิตยสารมอเตอร์ไซค์” ในรายการ Motorcycle Mag Road Racing Championship ฤดูกาล 2012 กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ภายใต้การจัดการแข่งขันโดย GPI Motorsport บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด นำโดยคุณอโณทัย  เอี่ยมลำเนา พร้อมตัดเชือกสนามแรกสุดมันส์ที่สนามพีระฯ พัทยา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม 2555 ทีผ่านมา
หลังพิธีเปิดการแข่งขันอย่างเป็นทางการเริ่มเปิดฉากความมันส์กันจากในรุ่นออโตเมติก U16 ที่จำกัดอายุนักแข่งเอาไว้ที่ไม่เกิน 16 ปี ซึ่งในรุ่นนี้มี “น้องการ์ตูน” เกียรติศักดิ์ ช่วยวิเศษ นักแข่งในสังกัด Castrol Honda IRC DID YSS Direk Team แชมป์เก่าจากฤดูกาลก่อนยืนเป็นตัวเต็งในรุ่น แต่ยังมีคู่แข่งมือเขี้ยวรุ่นกระเตาะที่พร้อมแย่งตำแหน่งอีกกว่า 10 คน
จากผลควอลิฟายหาตำแหน่งสตาร์ทในสนามเปิดฤดูกาล พีรพวศ์ บุญเลิศ ทำเวลามาดีที่สุดคว้าตำแหน่งสตาร์ทโพลโพสิชั่นไปครอง ส่วนเกียรติศักดิ์ทำเวลาตามมาในอันดับที่สอง และเขมินทร์ คูโบะ เป็นอันดับสาม ตามด้วยอัครัตน์ เพ็ญจันทร์ เป็นคนสุดท้ายในตำแหน่งสตาร์ทแถวหน้า ... และทันทีที่สัญญาณไฟสตาร์ทดับลงนักแข่งทั้ง 11 คันทะยานออกจากจุดสตาร์ท โดยพีรพงษ์เป็นคนแรกที่ชิงผ่านโค้งแรกขึ้นเป็นผู้นำได้ก่อน โดยมีเขมินท์ และเกียรติศักดิ์ตามมาติดๆ การไล่ล่าที่สุดมันของกลุ่มหัวแถวระหว่าง พีรพงษ์ กับเกียรติศักดิ์ เป็นไปอย่างตื่นเต้น ผลัดกันขึ้นเป็นผู้นำตลอด จนถึงปลายเกมส์ เขมินทร์ ที่ตามเกาะติดในกลุ่มเริ่มแรงขึ้นมา ทะยานเสียบผ่านขึ้นเป็นผู้นำ แต่ยังไม่สามารถทิ้งระยะห่างได้ จนที่สุดเมื่อผ่านเข้าสู่รอบสุดท้าย ในกลุ่มนำยังคงตามเกาะติดกันอยู่ แต่ที่สุดหลังผ่านโค้งสุดท้ายแล้ว พีรพงษ์ ที่อาศัยจังหวะขยับหนีกลุ่มได้เฉือนเข้าเส้นก่อนรับแชมป์สนามแรกไปครองตามติดด้วยเกียรติศักดิ์ และเขมินทร์ ที่เบียดเข้าเส้นในเสี้ยววินาทีเดียวกัน
ต่อเนื่องความมันกับการแข่งขันในรุ่นบันไดสู่ดาวที่ต้นสังกัดค่ายปีกนก ฮอนด้า ยังคงให้การสนับสนุน เพื่อเปิดโอกาสให้บรรดานักแข่งหน้าใหม่ได้มีเวทีพิสูจน์ฝีมือกันเหมือนเคย โดยในรุ่น Honda Click 125 I Super Star ที่สนามนี้มีนักแข่งรายงานตัวร่วมทำการแข่งขันทั้งหมด 12 คน โดยในสนามแรกของการแข่งขันได้รับเกียรติจาก อารักษ์ พรประภา ผู้บริหารระดับสูงของ เอ.พี. ฮอนด้า ที่ยังคงผลักดันเต็มที่กับเกมส์มอเตอร์สปอร์ตเดินทางมาร่วมเปิดการแข่งขันด้วย ... ภายหลังการแข่งขันที่ตื่นเต้นของบรรดานักแข่งหน้าใหม่ครบ รอบสนามแล้ว กฤษพร แก้วสนธิ ที่เกาะติดในกลุ่มหัวแถวสามารถชิงจังหวะในช่วงโค้งสุดท้ายขึ้นเป็นผู้นำ ผ่านเข้ารับการตีธงตาหมากรุกรับแชมป์สนามแรกไปครองแบบฉิวเฉียด ตามติดด้วย ภาสวิชญ์ ฐิติวรารักษ์ และจิระกิตต์ ธีระนุพงษ์ ตามลำดับ             

ในคลาสแฟมิลี่ 115 ซีซี. เป็นอีกหนึ่งรุ่นการแข่งขันที่ความมันส์ความตื่นเต้นถูกอัดแน่นอยู่เต็พิกัด กับการลงรักษาตำแหน่งแชมป์เก่าของจอมเก๋าเกมส์อย่าง “ผู้ใหญ่โก๋” สุรพงษ์ บุญเลิศ ทว่าเส้นทางสู่ความสำเร็จนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย จากรายชื่อนักแข่งที่รายงานตัวลงชิงชัยล้วนเป็นมือบิดระดับหัวแถวในวงการทั้งสิ้น โดยเฉพาะเจ้าหนูหริ่ง อัมพร ศิริพัฒน์ ที่ควบคู่ขา Suzuki Smash เพียงคันเดียวในสนามลงร่วมต่อกรด้วย ... กลับมาที่ตำแหน่งสตาร์ทหัวแถวในสนามเปิดนั้นตกเป็นของเจ้าซุป อนุชา นาคเจริญศรี นักบิดค่ายตราปีกนกเพียงคันเดียว ท่ามกลางฝูงนักแข่งค่ายยามาฮ่า ไล่เรียงกันมาตั้งแต่ประวัติ ญาณวุฒิ นักแข่งมือดีในสังกัด แต๋ว ช่อง.. กรรณสูตร สิทธิเสนา และสุรพงษ์ตามลำดับ ... หลังผ่านช่วงชุลมุนในรอบแรกกลุ่มนำที่พันตูกันกลุ่มใหญ่ถึง คัน ตำแหน่งผู้นำยังไม่ถูกยึดจากใครแบบเด็ดขาด ยังคงมีการสลับตำแหน่งไปมาตลอดเกมส์ ทุกคนล้วนมีโอกาสขึ้นเป็นจ่าฝูงทั้งสุรพงษ์ กรรณสูตร ประวัติ นฤเดช ธเนศ และอัมพร ในขณที่อนุชารถแข่งเกิดปัญหาตำแหน่งตกลงไปอยู่ท้ายแถว
ผ่านครึ่งทางของการแข่งขัน “เจ้าเบิร์ด” ประวัติ ญาณวุฒิ ที่ผ่านประสบการณ์จากเกมส์การแข่งขันในระดับอินเตอร์มาเริ่มฉีกตัวหนีกลุ่มขึ้นเป็นผู้นำด้วยระยะท่างที่ค่อนข้างไกล ปล่อยให้กลุ่มตามที่พยายามแย่งชิงอันดับ ต้องขับเคี่ยวกันอย่างตื่นเต้นต่อไป .. จนที่สุดเมื่อผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายของการแข่งขัน เจ้าเบิร์ด ยังคงรักษาระยะห่างของตำแหน่งผู้นำได้อย่างน่าพอใจ ด้วยสไตล์การขับขี่ที่นิ่งแน่นพารถแข่ง Yamaha Spark พุ่งผ่านรับแชมป์ไปครอง ตามด้วย กรรณสูตร ที่เฉือนเอาชนะสุรพงษ์ ได้แบบเส้นยาแดงผ่าแปด ส่วนอันดับที่สี่เป็นของ หนูหริ่ง อัมพร ที่สู้สุดใจประทับใจกองเชียร์รอบสนาม
Honda Wave I Super Star เป็นอีกหนึ่งรุ่นการแข่งขันแบบวันเมคเรซที่ได้รับการสนับสนุนจาก ฮอนด้า              โดยบรรดานักแข่งมือใหม่ที่ลงชิงชัยล้วนเป็นศิษย์ความเร็วที่ผ่านการฝึกฝนจากสถาบันความแรงหลักสูตร Honda Racing School มาแล้วทั้งสิ้น โดยในสนามแรกของการแข่งขันมีนักแข่งรายงานตัวลงชิงชัยทั้งสิ้น คันกับการแข่งขัน รอบสนาม โดยหลังทำการแข่งขันครบรอบ จิรกิตต์ ธีระนุพงษ์ ที่ทิ้งห่างในตำแหน่งผู้นำตั้งแต่ต้นเกมส์ก็ผ่านเข้าป้ายรับการตีธงไปแบบสบายๆ ตามด้วยกฤชพร แก้วสนธิในอันดับที่สอง และอันดับสามที่ตามมาแบบห่างๆ เป็นของวัลลภ รุ่งสอาด ที่เฉือนผ่านอันดับสี่ ภาสวิชชญ์ ฐิติวรารักษ์ เพียงเสี้ยววินาที
มาถึงอีกรุ่นการแข่งขันที่แฟนความเร็วต่างรอคอย กับการชิงชัยในรุ่น Moto 3 Production ที่มีรถแข่งลงชิงชัยมากถึง 19 คัน ซึ่งล้วนเป็นบรรดานักแข่งมือพระกาฬของเมืองไทยจากซุ้มความแรงแถวบนทั้งสิ้น ... ภายหลังทำการควอลิฟายหาตำแหน่งสตาร์ทแล้ว ผู้ที่ทำเวลามาดีที่สุดจนสามารถคว้าตำแหน่งโพลโพสิชั่นไปครองได้เป็นของ จักรกฤษณ์ แสวงสวาท นักบิดในสังกัด แดง บางทราย ส่วนอันดับสองเป็นของ อภิวัฒน์ วงศ์ธนานนท์ และอนุชา นาคเจริญศรี .. สุหทัย แช่มทรัพย์ ตามลำดับ .. ภาพการขับเคี่ยวที่สุดมันส์เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นเกมส์ ในกลุ่มหัวแถวที่เกาะกันมาเป็นแพใหญ่มี จักรกฤษ อภิวัฒน์ สุหทัย อนุชา สิทธิศักดิ์ และชานนท์ ยังคงแย่งตำแหน่งจ่าฝูงกันอย่างดุเดือด จนเมื่อผ่านเข้าปลายรอบที่ ในจังหวะเข้าโค้งที่อนุชาพลาดเสียจังหวะจนรถแข่งเสียอาการ ทำให้สุหทัยที่ตามมาติดๆ ชนท้ายเข้าเต็มๆ ส่งผลให้พลาดล้มลงทั้งคู่ ทำให้ อนุชา ต้องออกจากการแข่งขันไปอย่างน่าเสียดาย ในขณะที่สุหทัยคนชนตูดสามารถพารถแข่งกลับขึ้นมาทำการแข่งขันต่อไปได้
ตำแหน่งเริ่มชัดขึ้นเมื่อ จักรกฤษ ที่ฉีกตัวเองหนีขึ้นมาเป็นผู้นำตามด้วย วรพงษ์ มาลาหวล .. แมน ชวดเชื้อ .. กิตติ แจ่มสาคร และชานนท์ ชุ่มใจ จนกระทั่งผ่านถึงการแข่งขันในรอบสุดท้าย จักรกฤษ ยิ่งทิ้งห่างกลุ่มออกไปจนไม่น่ามีใครตามแซงได้ และผ่านเข้ารับการตีธงไปแบบไร้เงาคู่แข่ง โดยอันดับที่สองที่ตามเข้ามาแบบห่างๆ ถึง วินาทีเป็นแมน ชวดเชื้อ และชานนท์ ชุ่มใจตามลำดับ ในขณะที่อภิวัฒน์นักแข่งอีกคนที่ได้รับการจับตามองรถแข่งมีปัญหาจนต้องออกจากการแข่งขันไปอีกคน
ในรุ่นออโตเมติก U19 เป็นอีกรุ่นการแข่งขันที่ความมันส์ต้องระเบิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะบรรดานักแข่งที่ลงชิงชัยล้วนเป็นนักบิดมือดีของวงการทั้งสิ้น และเป็นอีกรุ่นที่นักบิดในสังกัดดิเรกทีม .. เจ้าฟอง คณาทัต ใจมั่น ต้องลงแข่งขันเพื่อรักษาแชมป์ให้ได้อีกสมัย .. บนแถวสตาร์ทที่มีรถแข่งลงชิงชัยทั้งหมด 19 คัน ในแถวหน้าถูกนักแข่งฮอนด้าจับจองเอาไว้ทั้งหมดโดย นครินทร์ พจนปริญญา นักแข่งในสังกัดทีมเอกราชยึดตำแหน่งสตาร์ทโพลโพสิชั่นไปครอง ตามด้วยวรพจน์ เนียมสุคนธ์สกุล ..คณาทัต ใจมั่น และพาทิศ ชูประเทศ  ตามลำดับ ... ภายหลังสัญญาณการแข่งขันเริ่มต้นขึ้น นักแข่งทั้งหมดยังคงเกาะติดเป็นกลุ่มใหญ่ในช่วงต้นเกมส์ ตำแหน่งผู้นำที่ทุกคนหวังครอบครองยังไม่ตกเป็นของใครอย่างเด็ดขาด กระทั่งผ่านรอบที่สองของการแข่งขัน มุกข์ลดา สารพืช นักบิดสาวหนึ่งเดียวของสนามก็สร้างความสะใจให้กองเชียร์เมื่อสามารถเบียดขึ้นเป็นผู้นำได้สำเร็จ แต่ยังมีคณาทัต ใจมั่น กับรัฐพงษ์ บุญเลิศ ตามติดและพยายามหาจังหวะเสียบแซงตลอดเวลา
เมื่อผ่านครึ่งทางของการแข่งขันในกลุ่มนำตำแหน่งหัวแถวยังคงสลับไปมาระหว่างมุกข์ลดา .. คณาทัต และนครินทร์ จนที่สุดเมื่อการแข่งขันผ่านเข้าสู่ในรอบสุดท้ายในจังหวะการไล่ล่าตำแหน่งผู้นำ มุกข์ลดา ที่พยายามอย่างที่สุดในการแย่งตำแหน่งพลาดเสียจังหวะรถหลุดออกนอกแทร็คทำให้ต้องออกจากการแข่งขันไปอย่างน่าเสียดาย ปล่อยให้สองหนุ่มนครินทร์กับคณาทัตวัดพลังกันแบบตัวต่อตัว หลังผ่านโค้งสุดท้านสองนักบิดเบียดติดตีคู่กันเข้าป้าย ชนิดที่ภาพถ่ายก็ยังไม่สามารถจับภาพได้ชัดเจน ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากทรานสปอนเดอร์จึงสามารถชี้ผู้ชนะที่เฉือนเข้าป้ายเพียงเศษเสี้ยววินาทีได้ โดยนครินทร์ พจน์ปริญญา ผ่านเข้าเส้นมาด้วยเวลา 09:25.712 เอาชนะ คณาทัต ใจมั่น ที่ติดเข้ามาด้วยตัวเลขเวลา 09:25.869 ส่วนอันดับที่สามเป็นของรัฐพงษ์ บุญเลิศ
อีกหนึ่งไฮไลท์ของการแข่งขันที่แฟนความเร็วตั้งตารอ กับภาพความมันส์ของการชิงชัยในรุ่นซูเปอร์ไบค์ ที่นอกจากจะเก็บคะแนนชิงแชมป์ประจำรายการแล้ว ยังเป็นความร่วมมือของสองผู้จัดยักษ์ใหญ่ของวงการที่จัดการแข่งขันเก็บคะแนนร่วมเพื่อชิงตำแหน่งแชมป์ประเทศไทยด้วยในคลาส SB1 ... ในแมทช์การชิงชัยสนามเปิดฤดูกาลนั้น จัดการปล่อยรวมรุ่นตั้งแต่คลาส SB1 SB2 และ SuperSport 600 กับรถแข่งที่ลงชิงชัยทั้งหมด 18 คัน ทันทีที่ออกสตาร์ท อภิวัฒน์ วงศ์ธนานนท์ แชมป์เก่าก็กระแทกคันเร่ง HONDA CBR100RR ขึ้นเป็นผู้นำทันที ตามด้วย Colin Butler นักแข่งในสังกัด ติ๊งโน๊ตช้อป และเอกชัย เซี่ยงหว่อง ตามลำดับ ... ระยะห่างของอภิวัฒิในฐานะผู้นำยิ่งห่างขึ้นตามรอบการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น จนไม่เห็นเงาผู้ตาม โดยอันดับสองยังคงเป็นของ Colin และอันดับสามเป็นเอกชัยเหมือนเดิม
การแข่งขันผ่านเข้าสู่ช่วงท้ายเกมส์ตำแหน่งผู้นำ ยังคงเป็นของ เจ้าสแตมป์-อภิวัฒน์ ที่ขยับหนีกลุ่มออกไปเรื่อยๆ ด้วยลีลาการขับขี่ที่ร้อนแรง แถมยังไล่แซงน็อครอบเก็บรถช้าอย่างเมามัน จนที่สุดเมื่อครบ 12รอบก็เป็นคนแรกที่ผ่านเข้าเส้นชัยไปพร้อมกำนัลแฟนความเร็วด้วยลีลายกล้อรูดยาวรับการตีธง ส่วนอันดับสองที่ตามเข้ามาเป็น Colin และเอกชัย ตามลำดับ
สำหรับแฟนกีฬามอเตอร์สปอร์ตที่ชื่นชอบและรอคอยศึก 4 ล้อ เตรียมติดตามได้ในรายการ Pro.Racing Series Thailand Championship 2012  ระเบิดสนาม 1 ของฤดูกาล วันที่ 16-17 มิถุนายน 2555 นี้แน่นอน ที่สนามพีระ อินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต พัทยา หรือติดตามชมถ่ายทอดสดการแข่งขันได้ที่         T-Sport Channel และ ช่องGrand Prix Channel ผ่านทาง จานดาวเทียม PSI (จานดำ) ช่อง 111,กล่องดูทีวี Gmm Z ช่อง 127,กล่องดูทีวีอินเตอร์เน็ต Vooz,เคเบิ้ลทีวี ทั่วประเทศ, Application ระบบปฏิบัติการ (IOS และ Android) และ www.grandprixchannel.com  ประเดิมสนามแรกวันอาทิตย์ที่17 มิถุนายน 2555 นี้ ตั้งแต่เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป ห้ามพลาด!!!






สรุปผลการแข่งขัน “Motorcycle Mag Road Racing Championship” 2012  สนามที่ 1

ฮอนด้า คลิ๊ก  125 ไอ ซุปเปอร์ สตาร์
อันดับ              1              กฤชพร                            แก้วสนธิ              รถหมายเลข              78
อันดับ              2              ภาสวิชญ์              ฐิติวรารักษ์              รถหมายเลข              61
อันดับ              3              จิรกิตต์                            ธีระนุพงษ์              รถหมายเลข              66
อันดับ              4              วัลลภ                            รุ่งสอาด                            รถหมายเลข              60
อันดับ              5              มัฆวาล                            ทองขาว              รถหมายเลข              71

ฮอนด้า เวฟ ไอ ซุปเปอร์ สตาร์
อันดับ              1              จิรกิตต์                             ธีระนุพงษ์              รถหมายเลข              97
อันดับ              2              กฤชพร                            แก้วสนธิ              รถหมายเลข              88
อันดับ              3              ภาสวิชญ์              ฐิติวรารักษ์              รถหมายเลข              22
อันดับ              4              วัลลภ                            รุ่งสอาด                            รถหมายเลข              8
อันดับ              5              มัฆวาล                            ทองขาว              ถหมายเลข              75
ออโตเมติค รุ่นอายุไม่เกิน 16  ปี
อันดับ              1              พีรพงศ์                            บุญเลิศ                            รถหมายเลข              5
อันดับ              2              เกียรติศักดิ์              ช่วยวิเศษ              รถหมายเลข              101
อันดับ              3              เขมินทร์              คูโบะ                            รถหมายเลข              13
อันดับ              4              พาทิศ                            ชูประเทศ              รถหมายเลข              98
อันดับ              5              อัครัตน์                            เพ็ญจันทร์              รถหมายเลข              9

ออโตเมติค รุ่นอายุไม่เกิน 19  ปี
อันดับ              1              นครินทร์              พจนปริญญา              รถหมายเลข              41
อันดับ              2              คณาฑัต              ใจมั่น                            รถหมายเลข              91
อันดับ              3              รัฐพงศ์                            บุญเลิศ                            รถหมายเลข              4
อันดับ              4              พาทิศ                            ชูประเทศ              รถหมายเลข              98
อันดับ              5              อนุภาพ                            ซามูล                            รถหมายเลข              18

แฟมิลี่ 125 ซีซี (บังลม)
อันดับ              1              ประวัติ                            ญาณวุธฒิ              รถหมายเลข              95
อันดับ              2              กรรณสูตร              สิทธิเสนา              รถหมายเลข              85
อันดับ              3              สุรพงศ์                            บุญเลิศ                            รถหมายเลข              9
อันดับ              4              อัมพร                            ศิริพัฒ                            รถหมายเลข              28
อันดับ              5              พรภวิษย์              เส็นฤทธิ์              รถหมายเลข              91



โมโต 3 โปรดักส์ชั่น
อันดับ              1              จักรกฤษ              แสวงสวาท              รถหมายเลข              91
อันดับ              2              แมน                            ชวดเชื้อ                            รถหมายเลข              3
อันดับ              3              วรพงศ์                            มาลาหวล              รถหมายเลข              46
อันดับ              4              กิตติ                            แจ่มสาคร              รถหมายเลข              8
อันดับ              5              เอกชัย                            เซี่งหว่อง              รถหมายเลข              55

ซุปเปอร์ ไบค์ 1 (SB 1)
อันดับ              1              อภิวัฒน์                            วงศ์ธนานนท์              รถหมายเลข              24
อันดับ              2              COLIN                            BUTLER              รถหมายเลข              33
อันดับ              3              เอกชัย                            เซี่ยงหว่อง              รถหมายเลข              55
อันดับ              4              RICHARD              STOKES              รถหมายเลข              70
อันดับ              5              ชาตรี                            คงพัฒนานนท์              รถหมายเลข              23

ซุปเปอร์ ไบค์ (SB 2)
อันดับ              1              อัครกิตต์              วรโรจน์เจริญเดช รถหมายเลข              53
อันดับ              2              ชาตรี                            คงพัฒนานนท์                รถหมายเลข              23
อันดับ              3              เจริญเกียรติ              แซ่เดียว                รถหมายเลข              12
อันดับ              4              ธเนศ                            วนิศรกุล                รถหมายเลข              47
อันดับ              5              ณัฎฐ์                            ประสาทนานนท์  รถหมายเลข              29

ซุปเปอร์ ไบค์ (SB 3)
อันดับ              1              ณัฐชัย                            ยิ่งรัตนสุข              รถหมายเลข              74
อันดับ              2              พัฒนชัย              ด้วงพิทักษ์              รถหมายเลข              82
อันดับ              3              วัชระ                            ลินมา                            รถหมายเลข              88
อันดับ              4              KAZIS                            KESJUTHARATรถหมายเลข              19
อันดับ              5              GRAHAM              KNIGH                                      รถหมายเลข              92

ซุปเปอร์ ไบค์ อายุไม่เกิน  30  ปี 
อันดับ              1              อนันต์                            เปลื้องสาย              รถหมายเลข              22
อันดับ              2              รชต                            วโรกร                            รถหมายเลข              4
อันดับ              3              อำนาจ                            รุ่งสอาด                            รถหมายเลข              15

donate your car today | donate your vehicle | donating a car for taxes | donating car in california | donating my car tax deduction | donating used cars to charity | donation for cars | how donate car | how to donate a car | how to donate a car in california | how to donate my car | how to donate your car | i want to donate my car | junk car donation | places to donate cars | sacramento car donation | tax break for donating a car | tax deduction car donation | tax deduction for car donation | vehicle donate | vehicle donation | where can i donate my car | where to donate a car | where to donate car | where to donate my car

หมวดหมู่ยานยนต์

 
Support : A | B | C
Copyright © 2016. เทคโนโลยียานยนต์ - All Rights Reserved