ยานยนต์อุตสาหกรรม | ระบบรักษาเสถียรภาพขณะขับเคลื่อน(SAS)
Posted by Contemporary industry
Posted on 03:33
ระบบรักษาเสถียรภาพขณะขับเคลื่อน(SAS)
การควบคุมเสายกขณะขับเคลื่อน
การควบคุมเสายกขณะขับเคลื่อนเป็นฟังก์ชั่นที่ช่วยรักษาเสถียรภาพขณะกำลังยกหรือเอียงเสา อันประกอบไปด้วยฟังก์ชั่นต่างๆ ซึ่งช่วยรักษาเสถียรภาพและช่วยให้เสาทำงานได้เร็วและง่ายขึ้นดังต่อไปนี้ เช่น (1) การควบคุมองศาการเอียงด้านหน้าของเสายกขณะขับเคลื่อน, (2) การควบคุมความเร็วของการเอียงไปด้านหลังของเสายกขณะขับเคลื่อน, (3) การเปลี่ยนระดับงายกอัตโนมัติ, (4) ระบบล๊อคการยกอัตโนมัติ และ (5) ระบบวาล์วกันการรั่วซึม
(1) การควบคุมองศาการเอียงด้านหน้าของเสายกขณะขับเคลื่อน
ระบบนี้ช่วยจำกัดองศาการเอียงด้านหน้าที่อาจเกิดขึ้นได้อัตโนมัติเมื่อทำการลำเลียงสิ่งของที่ความสูงมากๆ (ความสูงมากกว่า 2,000 มม.)
มีจุดที่ยานยนต์อุตสาหกรรมจะคว่ำไปด้านหน้าได้หากเสายกนั้นเอนไปด้านหน้า เมื่อใช้เสายกความสูงมาก ๆ บรรทุกของ น้ำหนักของสิ่งที่บรรทุก กึ่งกลางศูนย์ถ่วงของสิ่งที่บรรทุก และความสูงของเสายกที่ใช้ในการบรรทุกส่งผลให้รถคว่ำได้ ระบบการควบคุมองศาการเอียงด้านหน้าของเสายกขณะขับเคลื่อนจะจับความสูงของเสายก และน้ำหนักของสิ่งที่บรรทุกไว้ และหยุดการเอียงของเสายกก่อนที่จะถึงจุดที่อาจทำให้ยานยนต์อุตสาหกรรมคว่ำไปด้านหน้าได้
(2) การควบคุมความเร็วของการเอียงด้านหลังของเสายกขณะขับเคลื่อน
ความเร็วของการเอียงไปด้านหลังกลายเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่ง เมื่อทำการเอียงเสาไปด้านหลัง ระบบการควบคุมความเร็วของการเอียงด้านหลังของเสายกขณะขับเคลื่อนควบคุมความเร็วการเอียงไปด้านหลัง เมื่อเสายกต้องลำเลียงสิ่งของหนัก ๆ โดยใช้ความสูงของเสามาก ๆ
ในยานยนต์อุตสาหกรรมแบบเดิม ความเร็วในการเอียงไปด้านหลังของเสายกนั้น จะใช้ระดับเดียวกันไม่ว่าจะใช้ความสูงของเสายกมากเพียงใดก็ตาม นั่นหมายความว่า ความเร็วที่แท้จริงที่เคลื่อนสิ่งของบรรทุกจะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ความสูงของเสายกที่มากขึ้น (ทั้งนี้เนื่องจากใช้ระยะเวลาเท่ากันในระยะทางที่ยาวกว่า) ระบบควบคุมความเร็วของการเอียงด้านหลังของเสายกขณะขับเคลื่อนจะลดความเร็วในการเอียงไปด้านหลังของเสายกลงเมื่อความสูงของเสายกมากกว่า 2,000 มม. ผลที่ได้ก็คือ จะเกิดแรงกระแทกนิดหน่อยเมื่อเสายกยกถึงตำแหน่งการเอียงไปด้านหลังสูงสุด อันเป็นการช่วยลดการร่วงของสิ่งที่บรรทุกได้
(3) การเปลี่ยนระดับงายกอัตโนมัติ
ฟังก์ชั่นนี้ช่วยให้สอดงายกไปใต้พาเลทได้ง่ายกว่ามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ยังไม่มีประสบการณ์ เมื่อเสายกเอนไปด้านหลัง ผู้ปฏิบัติงานเพียงแค่กดปุ่มบนคันโยกควบคุมการเอน เสายกก็จะกลับ
ไปอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากโดยอัตโนมัติ หากไม่มีฟังก์ชั่นนี้ ผู้ปฏิบัติงานต้องโยกคันโยกควบคุมการเอนซ้ำแล้ว
ซ้ำอีกจนกว่างายกจะอยู่ในระดับที่ต้องการ(4) ระบบอกการยกอัตโนมัติ
ระบบบอกการยกอัตโนมัติช่วยป้องกันงายกไม่ให้เลื่อนลงมา หากเครื่องไม่ได้ทำงาน แม้ว่าคันโยกบังคับการยกจะทำงานก็ตาม (พึงระลึกว่าคุณสามารถเลื่อนงายก ลงมา เมื่อใดก็ตามสำหรับยานยนต์อุตสาหกรรมแบบเดิม)
ความปลอดภัยในการใช้ยานยนต์อุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานคือ เมื่อจอดยานยนต์อุตสาหกรรม ควรลดระดับงายกให้อยู่ในต่ำแหน่งต่ำสุดและให้เสายกเอนไปด้านหน้าจนจรดพื้น บุคคลทั่วไปไม่ควรยืน หรือลอดใต้งายก กฎความปลอดภัยพื้นฐานเหล่านี้นั้นเป็นความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน แต่ความผิดพลาดต่าง ๆ ก็อาจเกิดขึ้นได้
ระบบบอกการยกอัตโนมัติ เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดผลลัพธ์อันตรายต่าง ๆ จากความผิดพลาดของมนุษย์ หากผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถวางงายกให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมได้ก่อนดับเครื่องยนต์ ระบบบอกการยกอัตโนมัติช่วยป้องกันการทำงานของคันโยกควบคุมการยก ไม่ให้งายกเคลื่อนที่แบบไม่ได้คาดคิดไว้ก่อนได้
(5) ระบบวาล์วกันการรั่วซึม
แรงโน้มถ่วง และการรั่วซึมภายในตามธรรมชาติของระบบไฮดรอลิก จะทำให้งายกเลื่อนตกลงมาอย่างช้า ๆ เอง หากงาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกยกไว้ เมื่อเครื่องยนต์ดับการรั่วซึมนี้เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับระบบไฮดรอลิก
ทุกประเภท ซึ่งเกิดจากแรงดันที่ลดลงเรื่อย ๆ ของน้ำมันไฮดรอลิกในสายไฮดรอลิก ซึ่งอออยู่ที่ซีลของวาล์วเนื่องจากน้ำมันจะไหลย้อนกลับไปที่ถังน้ำมันไฮดรอลิกนั่นเอง ระบบวาล์วกันการรั่วซึมช่วยลดการรั่วซึมภายในตามธรรมชาตินี้ได้ประมาณ 30 %
พึงจำไว้ว่าจำเป็นต้องใช้ระบบนี้เมื่อผู้ปฏิบัติงาน ไม่สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยขั้นพื้นฐานของยานยนต์อุตสาหกรรมที่กล่าวไว้ด้านบนได้ และปล่อยให้ยานยนต์อุตสาหกรรมอยู่ในตำแหน่งยกงาเท่านั้น
ระบบรักษาเสถียรภาพขณะขับเคลื่อน
ระบบประสานการทำงานของพวงมาลัยขณะขับเคลื่อน
รถยกไฟฟ้าใช้ระบบพวงมาลัยพาวเวอร์ไฮโดรสถิตย์ พวงมาลัยพาวเวอร์ไฮโดรสถิต อีกประเภทหนึ่งมี
ชื่อเรียกว่า ระบบพวงมาลัยพาวเวอร์ไฮโดรลิกเต็มขั้น หรือ Full Hydraulic Power Steering (FHPS) ดังที่ชื่อบอก ระบบนี้คือ การออกแบบที่เป็นไฮดรอลิกอย่างเต็มรูปแบบ; ดังนั้นจึงไม่มีการเชื่อมต่อด้วยกลไกใด ๆ ทั้งสิ้น ในขณะที่ระบบนี้ให้ประโยชน์ต่าง ๆ มากมาย อย่างเช่น สมรรถนะการหมุนพวงมาลัยที่องศาการหมุนสูงสุดขณะที่ยานยนต์อุตสาหกรรมหยุดเคลื่อนที่ แต่ระบบนี้ก็มีความไม่สะดวกที่สร้างความลำบากใจอย่างหนึ่ง นั่นก็คือเมื่อเลี้ยวซ้ำ ความสัมพันธ์ ระหว่างตำแหน่งของขอบพวงมาลัย และล้อบังคับเลี้ยวด้านหลังจะไม่อยู่ในต่ำแหน่งเดิม ด้วยเหตุผลนี้เองผู้ปฏิบัติงาน จึงไม่สามารถอิงพวงมาลัยหากต้องการขับเคลื่อนเป็นเส้นตรงได้
ข้อควรจำ: อัตราบังคับเลี้ยวเสถียรคือ จำนวนที่ยางบังคับเลี้ยวด้านหลังสามารถเลี้ยวตามการหมุนของพวงมาลัยไป
ยังตำแหน่งล๊อกสูงสุด 100% หมายถึง ยางหลังจะเลี้ยวด้วยองศาการเลี้ยวหักสูงสุดเมื่อพวงมาลัยถูกหมุน
ไปถึงตำแหน่งล๊อกสูงสุด มีรถยกรุ่นปัจจุบันประมาณ 80% ที่มีระบบบังคับเลี้ยวเสถียร
ป้ายกำกับ:
ยานยนต์ อุตสาหกรรม,
รถยก,
รถยกอุตสาหกรรม,
อุตสาหกรรมรถยก
ยานยนต์อุตสาหกรรม | ระบบรักษาเสถียรภาพขณะขับเคลื่อน (SAS)
Posted by Contemporary industry
Posted on 03:50
ระบบรักษาเสถียรภาพขณะขับเคลื่อน (SAS)
จุดประสงค์และฟังค์ชั่นต่างๆ ของระบบ SAS
ระบบรักษาเสถียรภาพขณะขับเคลื่อน (SAS) มักจะถูกเรียกว่า “ระบบในฝันของวิศวกรยานยนต์อุตสาหกรรม” มันถูกใช้ครั้งแรกในมี 1998 ในซีรี่ย์ 7 อันโด่งดังระดับโลกของยานยนต์อุตสาหกรรม ภายหลังระบบ SAS ถูกใช้ในซีรี่ย์ 7FB พลังไฟฟ้าและหลังจากนั้นกรอบความคิดของระบบนี้ก็ถูกใช้เพื่อพัฒนาการยึดเกาะและการควบคุมระบบเบรก (TBC) ซึ่งใช้ในยานยนต์อุตสาหกรรมแบบยืนซีรี่ย์ 7FBR
กรอบความคิดต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบ SAS นั้นมีความคล้ายคลึงกับระบบเบรกป้องกันการล๊อกตาย (ABS) และระบบการควบคุมเสถียรภาพของยานยนต์ (VSC) ในหลาย ๆ ด้าน จุดประสงค์ของระบบ SAS ก็เพื่อให้ฟังก์
ชั่นการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ซึ่งช่วยผู้ปฏิบัติงานรักษาช่วงเสถียรภาพของยานยนต์อุตสาหกรรม ระบบ SAS ได้รับการออกแบบเพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุรถคว่ำ และการทำสิ่งบรรทุกร่วงหล่น
ระบบ SAS ประกอบไปด้วยเซ็นเซอร์และมอเตอร์ควบคุมต่าง ๆ ที่ถูกเชื่อมต่อกับตัวควบคุม (ไมโคร
คอมพิวเตอร์) เซ็นเซอร์ต่าง ๆ นี้จะแสดงสถานะของพื้นที่สำคัญ ๆ ของการทำงานของยานยนต์อุตสาหกรรมและส่งข้อมูลนี้ไปยังตัวควบคุมซึ่งก็จะควบคุมการทำงานของตัวมอเตอร์ควบคุมทดแทนต่างๆ ที่ช่วยรักษาเสถียรภาพของยานยนต์อุตสาหกรรมอีกทีหนึ่ง เป็นเรื่องสำคัญที่ควรจำไว้ว่าในขณะที่ระบบ SAS สามารถช่วยลดอุบัติเหตุรถคว่ำ และการทำของตกหล่นที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ระบบนี้ก็ไม่สามารถทดแทนการทำงานที่ประมาทได้ ดังนั้นการทำงานด้วยความปลอดภัยจึงเป็นความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานเสมอ
สรุปสาระสำคัญของระบบควบคุมเสถียรภาพด้านหลังขณะขับเคลื่อน
การรักษาเสถียรภาพเมื่อยานยนต์อุตสาหกรรมทำการเลี้ยวคือ สิ่งที่ควรให้ความสำคัญ ด้วยสาเหตุนี้เองจึงทำให้ยานยนต์อุตสาหกรรมพัฒนาระบบควบคุมเสถียรภาพด้านหลังในขณะขับเคลื่อน ทฤษฎีต่าง ๆ ที่อยู่เบื้องหลังเสถียรภาพของยานยนต์และการทำงานของระบบควบคุมเสถียรภาพด้านหลัง ในขณะขับเคลื่อนได้ถูกแสดงไว้ด้านล่าง
ระบบควบคุมเสถียรภาพด้านหลัง ในขณะขับเคลื่อนใช้ข้อมูลที่ถูกส่งมาจาก เซ็นเซอร์หลายตัว เพื่อ
ประเมิน ว่ายานยนต์อุตสาหกรรมกำลังตกอยู่ในสภาวะที่อาจเป็นอันตราย อย่างเช่น การแกว่งเอียงไปด้านหนึ่งในขณะที่เลี้ยวรถหรือเมื่อต้องทำการเร่งเครื่องเนื่องจากมีแรงดูดจากด้านข้างในขณะที่เลี้ยวรถ เป็นต้น หากมีการประเมินว่ารถอาจตกอยู่ในสภาวะที่เป็นอันตราย ระบบควบคุมเสถียรภาพด้านหลังในขณะขับเคลื่อน จะทำการล๊อกการแกว่งของเพลาหลังชั่วคราวเพื่อให้ยานยนต์อุตสาหกรรมมีเสถียรภาพด้านข้างในระดับสูง การล๊อกเพลาหลังชั่วคราวนี้มีชื่อว่า การล๊อคการแกว่ง
ปิดการทำงานระบบควบคุมเสถียรภาพด้านหลังในขณะขับเคลื่อน
ภายใต้สภาวะปรกติ กระบอกสูบล๊อคการแกว่งจะยืดและหดพร้อมกับการแกว่งของเพลาหลัง ซึ่งทำให้เพลาหลังแกว่งไปด้านข้างที่สลักกลางได้เหมือนกับในยานยนต์อุตสาหกรรม
เปิดการทำงานระบบควบคุมเสถียรภาพด้านหลังในขณะขับเคลื่อน
เมื่อใดก็ตามที่มีการตรวจจับสภาวะที่อาจเป็นอันตรายได้ เช่น ระหว่างการหักเลี้ยว ตัวควบคุมจะส่งคำสั่งให้หยุดการไหลของน้ำมันภายในกระบอกสูบล๊อคการแกว่ง ซึ่งจะป้องกันไม่ให้กระบอกสูบล๊อคการแกว่งเคลื่อนที่ อันจะเป็นการป้องกันไม่ให้เพลาแกว่ง
ทฤษฎีต่าง ๆ ที่อยู่เบื้องหลังเสถียรภาพของยานยนต์อุตสาหกรรม และการทำงานของระบบควบคุมเสถียรภาพด้านหลังในขณะขับเคลื่อน
สำหรับยานยนต์อุตสาหกรรม เพลาหลังถูกรองรับ โดยสลักกลางที่มีตำแหน่งอยู่ที่จุดกึ่งกลางของเพลา การออกแบบนี้ทำให้เพลาสามารถแกว่งขึ้นลง ซึ่งเป็นการยก และลดระดับยางในแต่ละด้าน และเป็นการรองรับแรงกระแทกจากพื้นผิวที่ไม่สม่ำเสมอขณะขับเคลื่อน ด้วยรูปแบบสลักกลางนี้เอง ทำให้จริง ๆ แล้ว ยานยนต์อุตสาหกรรมถูกรองรับด้วยจุด 3 จุด ตามที่แสดงด้วยรูปสามเปลี่ยนในภาพประกอบ 1 ยานยนต์อุตสาหกรรมจะมั่นคงได้ก็ต่อเมื่อ จุดกลางศูนย์ถ่วงอยู่ที่ด้านในของเส้นรูปสามเหลี่ยมนั้น ณ จุดนี้เองที่ระบบควบคุมเสถียรภาพด้านหลังในขณะขับเคลื่อนเข้ามาช่วย ระบบช่วยล๊อคการแกว่งของเพลาหลัง และจึงเพิ่มพื้นที่โซนเสถียรภาพได้
ดังที่คุณได้เห็นในภาพประกอบ 2 เมื่อกระบอกสูบล็อกการแกว่งทำการล๊อคเพลาหลัง มันได้เปลี่ยนจำนวนของจุดรองรับจาก 3 ไปเป็น 4 จุด สี่เหลี่ยมที่ได้จากจุด 4 จุดนั้นเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นถึงพื้นที่ ๆ ใหญ่
กว่าที่จุดศูนย์ถ่วงสามารถเคลื่อนได้ นี่แสดงให้เห็นว่าระบบควบคุมเสถียรภาพด้านหลัง ในขณะขับเคลื่อนของ
ยานยนต์อุตสาหกรรมให้เสถียรภาพด้านข้างในระดับสูงได้อย่างไร
ยานยนต์อุตสาหกรรมแบบเดิมที่ไม่มีระบบควบคุมเสถียรภาพด้านหลังในขณะขับเคลื่อน
แรงหนีจุดศูนย์ถ่วงอาจเกิดขึ้นกับรถยกได้ระหว่างการเลี้ยวหักศอก และอาจทำให้ตัวรถเอนไปด้านหนึ่งซึ่งทำให้ยานยนต์อุตสาหกรรมอยู่ในสถานะที่ไม่มั่นคง สาเหตุคือรูปแบบจุดรับน้ำหนัก 3 จุดของรถยกตามที่แสดงด้านบน เมื่อยานยนต์อุตสาหกรรมหยุดจุดกลางศูนย์ถ่วงจะอยู่ใกล้โซนเสถียร อย่างไรก็ตาม ระหว่างการเลี้ยวหักศอก แรงหนีจุดศูนย์ถ่วงได้เคลื่อนจุดศูนย์ถ่วงไปยังด้านนอกของโซนเสถียร ซึ่งอาจทำให้ล้อหน้ายกขึ้นหรือรถคว่ำเลยก็ได้
ยานยนต์อุตสาหกรรมที่มีระบบควบคุมเสถียรภาพด้านหลังในขณะขับเคลื่อน
เซ็นเซอร์หลายตัว เช่นเซ็นเซอร์จับความสูงเสายก, เซ็นเซอร์จับน้ำหนักการบรรทุกและเซ็นเซอร์จับอัตราการเอน ส่งข้อมูลไปยังตัวควบคุมซึ่งจะประเมินเกี่ยวกับการล๊อคเพลาหลังทันทีต่อการทำงานในสภาพ เช่นการหักเลี้ยวเมื่อทำการล๊อคเพลาหลังเรียบร้อยแล้ว ยานยนต์อุตสาหกรรมจะมีเสถียรภาพ 4 จุด และมีโซนเสถียรภาพที่ใหญ่กว่าซึ่งทำให้สามารถป้องกันการเอียงได้
คำเตือน
ในขณะที่ระบบควบคุมเสถียรภาพด้านหลังในขณะขับเคลื่อนสามารถช่วยรักษาเสถียรภาพของยานยนต์อุตสาหกรรม แต่ระบบนี้ก็ไม่สามารถทดแทนการขับขี่ที่ไม่ระมัดระวัง หรือประมาทได้ ภายใต้สภาพที่ยาก อย่างเช่น การเลี้ยวหักศอกเมื่อขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูง ทำให้กึ่งกลางจุดศูนย์ถ่วงเคลื่อนไปนอกโซนเสถียรภาพ 4 จุดและอาจทำให้ยานยนต์อุตสาหกรรมคว่ำได้
ป้ายกำกับ:
ยานยนต์ อุตสาหกรรม,
รถยก,
รถยกอุตสาหกรรม,
อุตสาหกรรมรถยก
หมวดหมู่ยานยนต์
- 014 Chevrolet Silverado HD (1)
- 10 เคล็ดลับขับปลอดภัยเมื่อน้ำท่วม (1)
- 2014 Volvo S80 (1)
- 2015 Lincoln MKC crossover (1)
- 2015 Volvo S60 T6 (1)
- 2015 Volvo V40 (1)
- 2016 Chevrolet (1)
- 2016Chevrolet Colorado (1)
- 2016 Toyota Fortuner (1)
- 2018 Mazda CX-5 (1)
- 2018 Toyota Rush (2)
- 2 Stroke Engine (1)
- 5 ประตู (6)
- กระบวนการผลิต (19)
- กระบอกสูบ (1)
- กราฟกำลัง (1)
- กราฟแรงบิด (1)
- ก้านสูบ (1)
- การขับรถอย่างปลอดภัย (1)
- การใช้ไฟอย่างถูกต้อง เมื่อฝนตกหนัก (1)
- การดูแลรักษารถด้วยตนเอง (2)
- การเติมลม (1)
- การเติมลม กับ ล้อแม็กซ์ (1)
- การถ่วงล้อ (1)
- การบำรุงรักษา (4)
- การบำรุงรักษาและตรวจเช็คประจำวันรถยนต์คู่ใจ ควรทำอย่างไร (1)
- การปลี่ยนขนาด ยางรถยนต์ (1)
- การเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกลของเครื่องยนต์ (1)
- การเผาไหม้ (11)
- การเผ่าไหม้ (1)
- การวิเคราะห์ปัญหาเครื่องยนต์ (1)
- การหยุดรถ และการจอดรถ (1)
- การออกแบบ (10)
- แก๊สโซลีน (3)
- ข้อควรปฏิบัติทั่วไป ในการใช้รถยนต์ (1)
- ข้อควรปฏิบัติ เมื่อการขับขี่ในพื้นที่ลักษณะต่างๆ (1)
- ขับเคลื่อน (13)
- ขับอย่างไรเพื่อยืดอายุยาง (1)
- ข่าวยานยนต์ (4)
- ควรจะทำอย่างไรเมื่อยางรถระเบิดขณะขับรถอยู่ (1)
- คว้านเสื้อสูบ (2)
- ความรู้ (3)
- คอมมอนเรล (1)
- คอยล์จุดระเบิด (8)
- คำศัพท์น่ารู้ (1)
- เครื่องมือ (1)
- เครื่องยนต์ (64)
- เครื่องยนต์ 2 จังหวะ (1)
- เครื่องยนต์ 4 จังหวะ (1)
- เครื่องยนต์คอมมอนเรล (1)
- เครื่องยนต์ดีเซล (3)
- เครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร (1)
- เครื่องยนต์ดีเซลตระกูล GD รุ่นใหม่ (1)
- เครื่องยนต์เบนซิน (1)
- เครื่องยนต์แบบโรตารี่ (1)
- เครื่องยนต์ร้อนแล้วดับ สตาร์ทติดยาก เกิดจากสาเหตุใด และแก้ไขอย่างไร (1)
- เครื่องยนต์เล็ก (2)
- เครื่องยนต์สตาร์ทติดยากตอนอากาศชื้นเกิดจากอะไร ? (1)
- เครื่องยนต์สันดาปภายใน (3)
- เครื่องยนต์หัวฉีด (1)
- เครื่องยนต์ EFI (2)
- เครื่องยนต์V8 (1)
- เคล็ดลับ (2)
- จอดรถให้ปลอดภัย (1)
- จักรยานยนต์ (1)
- จังหวะการฉีดเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ EFI (1)
- ชิ้นส่วนยานยนต์ (1)
- ชื่อชิ้นส่วนเครื่องยนต์ภาษาไทย และอังกฤษพร้อมรูป คลิปวีดีโอ (1)
- เชฟโรเลต (1)
- เชฟโรเลต โคโลราโด 2015 (1)
- โช๊คอัพ (5)
- ซ่อม (21)
- ซ่อมเครื่องยนต์ (7)
- ซ่อมบำรุง (6)
- ซุปเปอร์คาร์ (3)
- ซูซุูกิ (2)
- ซูซูกิ ไฮบริด (1)
- โซลินอย (1)
- ดัดแปลง (3)
- ไดชาร์จ (2)
- ไดร์สตาร์ท (10)
- ไดสตาร์ท (12)
- ตรวจสอบเครื่องยนต์ (1)
- ตลับลูกปืน (2)
- ตัวอักษรบนยาง บอกอะไร? (1)
- ตีปลอก (1)
- โตโยต้า (21)
- โตโยต้า 2015 (1)
- ถุงลมนิรภัย (1)
- ที่นั่งเด็ก (5)
- เทคนิคการขับรถป้องกันเชิงอุบัติเหตุ (1)
- เทคนิคการใช้รถและการดูแลรถอย่างง่ายๆ (1)
- เทคโนโลยียานยนต์ (53)
- เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ (8)
- เทอร์โบ (1)
- เทอร์โบแปรผัน (7)
- น้ำมันเชื้อเพลิง (14)
- น้ำมันดีเซล (6)
- น้ำมันเบนซิน (4)
- นิตยสาร (3)
- นิสสัน (11)
- บำรุงรักษาเครื่องยนต์ (1)
- บีเอ็มดับเบิ้ลยู (1)
- เบรค (22)
- เบาะรถยนต์ (5)
- เบาะสำหรับเด็ก (5)
- แบตเตอรี่ (3)
- แบรนด์รถยนต์ (1)
- แบริ่ง (1)
- ไบโอดีเซล (2)
- ประกอบเครื่องยนต์ (5)
- ประกอบรถยนต์ (13)
- ประดับยนต์ (5)
- ประเภทรถยนต์ (1)
- ปอร์เช่ (2)
- ปัญหารถยนต์ (1)
- ปาเจโร สปอร์ต ใหม่ 2015 (1)
- ปิกอัพ (4)
- ปี2017 (3)
- เปลี่ยนอะไหล่ (3)
- ผลิตรถยนต์ (16)
- แผนภาพจังหวะการเปิดของลิ้น (Valve Timing Diagram) เครื่องยนต์ 4 สูบ และ 6 สูบ (1)
- แผนภาพต้นกำลังงานของรถยนต์ (1)
- ฝาสูบ (4)
- พจนานุกรมศัพท์ยานยนต์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒ (1)
- พูเล่ (1)
- เพลาข้อเหวี่ยง (1)
- เพลาท้าย (2)
- ฟอร์ด (1)
- ฟิล์มกรองแสง ติดดี หรือ ไม่ติดดี มีประโยชน์อย่างไร วันนี้ทีคำตอบ (1)
- เฟอรารี่ (3)
- เฟืองท้าย (14)
- ไฟฉุกเฉิน ไม่จำเป็นและไร้สาระ (1)
- ไฟฟ้ารถยนต์ (24)
- ภาพโครงสร้างเครื่องยนต์ EFI (1)
- ภาพรวมรถยนต์ (9)
- มาสด้า (3)
- มิตซูบิชิ (6)
- มินิ (2)
- โมเดลรถยนต์ (3)
- ยนตกรรม (1)
- ยานยนต์ อุตสาหกรรม (26)
- ยาริส (15)
- รถกระบะ (9)
- รถกระบะ Revo (1)
- รถเก๋ง (51)
- รถแข่ง (2)
- รถจิ๊บ (1)
- รถเบนซ์ (19)
- รถยก (27)
- รถยก อุตสาหกรรม (26)
- รถยก อุตสาหกรรมม (1)
- รถยนต์ (3)
- รถยนต์ไฟฟ้า (4)
- รถรุ่นเก่า (1)
- รถศูนย์ (16)
- รถสปอร์ต (10)
- รถหรู (1)
- รถใหม่ (41)
- ระบบขับอัตโนมัติ (1)
- ระบบความร้อน (2)
- ระบบจุดระเบิด (10)
- ระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน (Gasoline Fuel Injection System) (1)
- ระบบช่วงล่าง (27)
- ระบบเบรค (22)
- ระบบไฟฟ้า (14)
- ระบบรองรับ (5)
- ระบบระบายความร้อน (6)
- ระบบลม (3)
- ระบบส่งกำลัง (1)
- ระบบหล่อเย็น (2)
- ระบบหัวฉีด (1)
- ระบบห้ามล้อ (14)
- ระบบ Hybrid (1)
- ราคารถยนต์ (5)
- รางร่วม (1)
- รีเลย์ (6)
- รีวิว (15)
- รีวิวรถยนต์ (11)
- รู้ไว้ก่อน : การเปลี่ยนขนาดยาง (1)
- เรื่อง น้ำมันเครื่อง (1)
- โรงงานผลิตรถยนต์ (13)
- ล้อตุนกำลัง (1)
- ลักษณะดอก ยางรถยนต์ (1)
- ลากรถอย่างไรเมื่อรถเสีย (1)
- ลำดับการจุดระเบิด (1)
- ลูกปืนกลม (1)
- ลูกสูบ (3)
- วงจรไฟฟ้า (7)
- วงจรไฟฟ้าเครื่องยนต์หัวฉีด ECCS Nissan RB20E (1)
- วงจรไฟฟ้าเครื่องยนต์หัวฉีด ECI-multi Mitsubishi 4G61 (1)
- วงจรไฟฟ้าเครื่องยนต์หัวฉีด EFI เครื่องยนต์ Toyota 4A-GE (1)
- วงจรไฟฟ้าเครื่องยนต์หัวฉีด Honda B16A VTEC DOHC รุ่นแรก (1)
- วิชาช่างยนต์ (10)
- วี8 (1)
- สเปกรถยนต์ (5)
- สร้างเครื่องยนต์ (1)
- สร้างโมเดลรถยนต์ (1)
- สายพานเครื่องยนต์ (2)
- สีรถ (8)
- เสื้อสูบ (5)
- หนังสือรถยนต์ (7)
- หม้อน้ำ (2)
- หลักการทำงาน (2)
- หลักการทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ (1)
- หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ (1)
- หัวเทียน (24)
- ห้ามล้อ (14)
- แหวนลูกสูบ (1)
- องค์ประกอบการสันดาปของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน (1)
- ออกแบบรถยนต์ (22)
- อะไหล่เครื่องยนต์ (3)
- อะไหล่ยนต์ (1)
- อัตราค่าปรับ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 (1)
- อัตราส่วนผสมอากาศต่อเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน (1)
- อาการหัวเทียน (12)
- อินเตอร์คูลเลอร์ (6)
- อีโก้คาร์ (5)
- อุตสาหกรรม รถยก (27)
- อุปกรณ์เสริม (6)
- แอร์เริ่มไม่เย็น และส่งกลิ่นอับเวลาเปิดแอร์ใหม่ ควรทำอย่างไร ? (1)
- ไอดี (3)
- ไอเสีย (6)
- ฮอนด้า (6)
- ฮอนด้า แอคคอร์ด ไฮบริด (2)
- Accessories (5)
- All New toyota yaris 2013 2014 (1)
- Alternator (1)
- alternators (1)
- Ativ (7)
- Audi (2)
- Audi A4 (1)
- Automatic drive (1)
- Ball Bearing (1)
- bearing (1)
- biodiesel (2)
- BMW (4)
- Brake (23)
- Brake system (23)
- BT-50 (1)
- Car Family (1)
- Cars (61)
- CAT (Catalytic Converter) เครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา (1)
- Check Engine (1)
- Chevrolet (1)
- CHEVROLET COLORADO (2)
- Colorado (1)
- commonrail (1)
- Common Rail (1)
- Common Rail Engine (1)
- Concept Car (1)
- Connecting rod (1)
- Crankshaft (1)
- Cylinder head (1)
- Diesel Engine (3)
- Diesel fuel (6)
- differential (12)
- DIY (8)
- DURAMAX ENGINE (1)
- DURAMAX VIN CHART (1)
- ECCS (1)
- EFI (1)
- EGR (Exhaust Gas Recirculation) หรือการหมุนเวียนไอเสีย (1)
- Electric car (4)
- Electric cars (4)
- Electronic Fuel Injection Engine (1)
- Engine (37)
- Engine Block (1)
- Engine Curve (1)
- Ferrari (3)
- Flywheel (1)
- Ford (4)
- Ford Ranger (2)
- Fuel (14)
- gasoline (3)
- Gasoline engine (1)
- General Motors (2)
- GMC Canyon (1)
- Honda (11)
- Honda Accord (1)
- HONDA ACCORD HYBRID ใหม่ (1)
- Honda CR-V 2015 (1)
- Honda HR-V (1)
- Honda HRV 2015 (1)
- Honda Jazz (1)
- Honda Vezel (1)
- Hydrogen cars (1)
- i-DTEC (1)
- Ignition Coil (8)
- Ignition System (1)
- i-MMD (1)
- Intercooler (6)
- internal combustion engine (3)
- Jeeb (1)
- lamborghini (4)
- Lamborghini Revuelto (2)
- Mazda (4)
- Mercedes Benz (21)
- Mini (2)
- MINI Cooper (2)
- Mitsubishi (9)
- Mustang (1)
- Navara (2)
- NGV (1)
- Nissan (11)
- nissan np300 navara (1)
- NP300 (1)
- NP300 NAVARA Single Cab (1)
- pickup (6)
- pickup truck. (5)
- Piston (3)
- Piston Ring (1)
- Porsche (2)
- Port Timing Diagram ของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ (1)
- Ranger (1)
- Rear axle (1)
- Relay (6)
- Revuelto (1)
- Rotary Engine (1)
- S60 (1)
- S90 (1)
- SEAT (1)
- Self Diagnosis System (1)
- Shock Absorbers (5)
- SKODA (1)
- SKYACTIV-D เครื่องยนต์สกายแอคทีฟคลีนดีเซล (1)
- solenoid (4)
- Spark Plugs (20)
- Starter (6)
- Supper Car (4)
- Suspension System (3)
- Suzuki (2)
- TCCS (1)
- Tesla Model X (1)
- TOYOTA (29)
- Toyota และ Lexus (1)
- Toyota Hilux Revo (1)
- Triton (1)
- V60 (1)
- Ⅴ8 (1)
- Variable Nozzle Turbo (2)
- VGT (5)
- Volkswagen (1)
- Volvo (4)
- Volvo purchased the Polestar brand (1)
- Volvo S90 (1)
- Wankel Engine (1)
- XC90 (1)
- Yaris (15)