Custom Search
donate car tax deduction | donate car to charity | donate car to charity california | donate car to charity los angeles | donate car without title | donate cars for kids | donate my car | donate my car to charity | donate your car | donate your car bay area | donate your car california | donate your car for kids | donate your car in maryland | donate your car nyc | donate your car tax deduction | donate your car to charity
รauto donation charities | best car donation program | best charity car donation program | best place to donate car | best place to donate car for tax deduction | california car donation | california donate car | car donation | car donation bay area | car donation ca | car donation california | car donation dc | car donation deduction | car donation in california |

ยานยนต์อุตสาหกรรม | ระบบเตรื่องยนต์


หัวฉีดน้ำมันดีเซล
                เครื่องยนต์ดีเซลไม่จำเป็นต้องใช้ระบบการจุดระเบิด   แต่จะใช้การฉีดน้ำมันไปยังอากาศ  ซึ่งถูกทำให้ร้อนโดยการบิดอัดภายในกระบอกสูบเพื่อให้ได้การสันดาป  ในส่วนนี้จะให้รายละเอียดของชนิดวิธีการฉีด  2  วิธีหลัก: คือ   Direct injection   และ   Indirect injection
ชนิด  Direct Injection  ( เครื่อง 2Z, 13Z  และ 14Z )
                ดังที่ชื่อบอกชนิดของหัวฉีด   Direct injection    จะสเปรย์  หรือฉีดน้ำมันดีเซลไปยังห้องสันดาปโดยตรงเพื่อให้เกิดการจุดระเบิด   ในตัวหัวฉีดน้ำมันดีเซล 1   ตัว   นั้นจะมีรูเล็ก ๆ มากมายที่จะแปลงน้ำมันที่ถูกฉีดเข้าไปให้เป็นละอองน้ำมันเพื่อให้ได้การสันดาปที่มากกว่า
 
ชนิด  In-Direct Injection   ( เครื่อง 1DZ  และ 1DZ-II )
                สำหรับหัวฉีดชนิดนี้  จะมีห้องเล็ก ๆ  อยู่ภายนอกห้องสันดาป หรือที่เรียกว่าห้องก่อนการสันดาป  ซึ่งถูกเชื่อมต่อโดยทางผ่านไปยังห้องสันดาป   โดยน้ำมันจะถูกฉีดไปยังห้องก่อนการ   ซึ่งทำให้น้ำมันเกิดการจุดระเบิดและกระจายตัวไปยังห้องสันดาป
 
(b) คุณลักษณะเครื่องยนต์แก๊สโซลีน
เครื่องยนต์แก๊สโซลีนของยานยนต์อุตสาหกรรมเมื่อมองโดยรวม
                มีเครื่องยนต์แก๊สโซลีนให้เลือกใช้  4  รุ่น  สำหรับยานพาหนะเพื่อการอุตสาหกรรมของยานยนต์อุตสาหกรรม  (เมื่อเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2544)  ซึ่งแต่ละรุ่นมีขนาดเครื่อง  และ  Output  ต่าง  ๆ ที่ตรงกับชนิดของงานที่แตกต่างกัน พึงจำไว้ว่าจริง  ๆ   แล้วเครื่องยนต์เหล่านี้บางตัว  อาจมีส่วนประกอบที่เหมือนกันกับในเครื่องยนต์อื่น ๆ  แต่ถูกปรับแต่งพิเศษจนได้ระดับพลังงานและแรงบิดเฉพาะเพื่อเหมาะสมการสภาพการลำเลียงสิ่งของที่แตกต่างกัน
                ในช่วงทศวรรษ 1970 ยานยนต์อุตสาหกรรมใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีน  4 รุ่น แตกต่างกันในยานยนต์อุตสาหกรรม: เครื่อง 3P  ขนาด 1,345 ซีซี ,  เครื่อง  2R   ขนาด  1,490  ซีซี ;   และเครื่องแก๊สโซลีน  5R   4  กระบอกสูบ  ขนาด  1,994  ซีซี   เช่นเดียวกัน เครื่องยนต์  F 6  กระบอกสูบ  ขนาด  3,873  ซีซี   เครื่องยนต์  P series   เป็นที่รู้จักกันดีนั้น  มีวิวัฒนาการจากเครื่อง  3P   ในช่วงต้นทศวรรษ  1970   ไปเป็นเครื่อง  4P   ขนาด  1,493  ซีซี    และไปเป็นเครื่อง  5P    ขนาด  2,771  ซีซี ในช่วงกลางทศวรรษ  1970  ในภายหลัง  ส่วนเครื่อง F series  ได้เปลี่ยนไปเป็นเครื่อง 2F ขนาด 4,230 ซีซี  ในช่วงปลายทศวรรษ 1980  และเปลี่ยนไปเป็นเครื่องยนต์ 3F  ขนาด 3,955  ซีซี   ในช่วงต้นทศวรรษ 1990
                ในช่วงที่มีการเปลี่ยนรุ่น series 1 ถึง 3  ตัน  เต็มรูปแบบในช่วงกลางทศวรรษ 1980  เครื่องยนต์ 4Y ขนาด 2,237  ซีซี   ได้เข้ามาแทนที่เครื่องยนต์  5P  และยังคงใช้เรื่อยมาจนถึงวันนี้   ในช่วงปลายทศวรรษ 1980   ได้มีการแนะนำเครื่องยนต์  5K ขนาด 1,486 ซีซี เข้าสู่ท้องตลาดเพื่อเข้ามาแทนที่เครื่องยนต์ 5Pในขณะที่มีการใช้เครื่องยนต์ 5K   และ 4Y   ใน  series 1  ถึง  3.5 ตัน ซึ่งเครื่องทั้งสองรุ่นมีเพลาข้อเหวี่ยงถึง  5   ตัวอันจะช่วยเพิ่มความไว้วางใจให้รถได้   ยิ่งไปกว่านั้นเครื่องยนต์ 4Y มีการถ่วงดุลน้ำหนัก (ที่เพลาข้อเหวี่ยง) ถึง 8 จุดเพื่อช่วยลดการสั่นสะเทือน
ของเครื่องยนต์ได้อย่างมาก   เครื่องยนต์ 1FZ   ถูกใช้ในรุ่น  3.5  ถึง  5  ตัน





ห้องสันดาปรูปลิ่ม  (เครื่องยนต์  5K  และ  4 )
                “ลิ่ม   คือรูปทรงที่ได้ระหว่างลูกสูบและส่วนบนของห้องสันดาป   โดยปรกติแล้วพื้นที่ส่วนนี้จะมีรูปทรงครึ่งวงกลม  แต่ยานยนต์อุตสาหกรรมเห็นแล้วว่าทรงรูปลิ่มนั้นสร้างสภาพการผสมน้ำมันกับอากาศได้ดีที่สุด  สภาพการผสมหรือที่เรียกว่า   การหมุน  ที่ได้จากรูปทรงรูปลิ่มนั้นให้ประสิทธิภาพ   และกำลังของเชื้อเพลิงได้สมบูรณ์ที่สุดในช่วงการหมุน  1,000   ถึง  2,400   รอบต่อนาที   ในเครื่องยนต์ของยานพาหนะเพื่อการอุตสาหกรรม
 
ห้องสันดาปทรงหลังคาห้าเหลี่ยม  (เครื่องยนต์  1FZ)
                ดังที่ชื่อบอก   หลังคาห้าเหลี่ยมหมายถึง   รูปทรงห้าเหลี่ยมที่ถูกสร้างขึ้นระหว่างลูกสูบ   และส่วนบนของห้องสันดาป  รูปทรงนี้เพิ่มกระแสการผสมภายในกระบอกสูบ   อันเป็นการช่วยปล่อยแก๊สไอเสียออกมา  รูปแบบนี้ยังช่วยสร้างกระแสน้ำมันหมุนวนภายในห้องสันดาป  เมื่อลูกสูบอยู่จุดบนสุดของการเหวี่ยงซึ่งช่วยลดเสียงกระแทก  ( เสียงกระแทก:  เสียงที่เหมือนการตอกตะปูอันเกิดขึ้นระหว่าง   การสันดาปที่ไม่เหมาะสมของการผสมเชื้อเพลิง )
 
ระบบการจุดระเบิดแบบองค์รวม (เครื่องยนต์ 5K และ 4Y)
                ระบบจุดระเบิดแบบองค์รวม  หรือ The Integrated Ignition Assembly (I.I.A) มีคอยล์จุดระเบิดและตัวจุดระเบิดที่ถูกสร้างเข้าไปในตัวจ่าย การออกแบบเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะให้ระบบการจุดระเบิดที่กะทัดรัดและไม่ต้องใช้การดูแลรักษา (ไม่มีจุดใดที่ต้องเปลี่ยน) แล้ว  การจุดระเบิดไฟฟ้าจะส่งประกายไฟที่ร้อนกว่าที่ได้จากระบบดั้งเดิม ทั้งหมดนี้ให้การสันดาปที่ดีกว่าเพื่อประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงคุ้มกว่าและเกิดสารคาร์บอนในเครื่องยนต์น้อยลง


ห้องสันดาปรูปลิ่ม  (เครื่องยนต์  5K  และ  4 )
                ลิ่ม   คือรูปทรงที่ได้ระหว่างลูกสูบและส่วนบนของห้องสันดาป   โดยปรกติแล้วพื้นที่ส่วนนี้จะมีรูปทรงครึ่งวงกลม  แต่โตโยต้าเห็นแล้วว่าทรงรูปลิ่มนั้นสร้างสภาพการผสมน้ำมันกับอากาศได้ดีที่สุด  สภาพการผสมหรือที่เรียกว่า   การหมุน  ที่ได้จากรูปทรงรูปลิ่มนั้นให้ประสิทธิภาพ   และกำลังของเชื้อเพลิงได้สมบูรณ์ที่สุดในช่วงการหมุน  1,000   ถึง  2,400   รอบต่อนาที   ในเครื่องยนต์ของยานพาหนะเพื่อการอุตสาหกรรม

ห้องสันดาปทรงหลังคาห้าเหลี่ยม  (เครื่องยนต์  1FZ)
                ดังที่ชื่อบอก   หลังคาห้าเหลี่ยมหมายถึง   รูปทรงห้าเหลี่ยมที่ถูกสร้างขึ้นระหว่างลูกสูบ   และส่วนบนของห้องสันดาป  รูปทรงนี้เพิ่มกระแสการผสมภายในกระบอกสูบ   อันเป็นการช่วยปล่อยแก๊สไอเสียออกมา  รูปแบบนี้ยังช่วยสร้างกระแสน้ำมันหมุนวนภายในห้องสันดาป  เมื่อลูกสูบอยู่จุดบนสุดของการเหวี่ยงซึ่งช่วยลดเสียงกระแทก  ( เสียงกระแทก:  เสียงที่เหมือนการตอกตะปูอันเกิดขึ้นระหว่าง   การสันดาปที่ไม่เหมาะสมของการผสมเชื้อเพลิง )





ยานยนต์อุตสาหกรรม | ระบบส่งกำลัง

ยานยนต์อุตสาหกรรม ระบบส่งกำลัง
                แม้ว่ายานยนต์อุตสาหกรรมจะมีระบบขับเคลื่อนล้อหน้า   โครงสร้างระบบส่งกำลังของยานยนต์อุตสาหกรรมนั้นเหมือนกับของรถกระบะ   (ปิกอัพ) มากกว่าของรถยนต์ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า  สำหรับรถกระบะปิกอัพพลังขับเคลื่อนที่เกิดจากเครื่องยนต์  นั้น   โดยปรกติแล้วจะถูกส่งไปยังอุปกรณ์ปรับแรงบิด  และจากนั้นก็ผ่านไปยังระบบเกียร์   เพลากลาง   เฟืองท้าย   และเพลาข้างจนไปถึงล้อขับเคลื่อนด้านหลัง  โดยสรุปก็คือ   ยานยนต์อุตสาหกรรมมีระบบการส่งกำลังเหมือนกับรถกระบะปิกอัพ
                ยานยนต์อุตสาหกรรมมีเพลาหน้าที่ทนทานแข็งแรง  และมีการบังคับทิศทางจากล้อหลัง  จุดสำคัญที่ควรจำไว้ก็คือไม่ว่าจะมีชนิดเกียร์ขับเคลื่อนแบบใด   จุดหมายก็คือ  การวางสิ่งที่บรรทุกให้ใกล้ล้อขับเคลื่อนให้ได้มากที่สุด   เพื่อให้ได้แรงดึงสูงสุด


 
1) เครื่องยนต์สำหรับยานพาหนะเพื่อยานยนต์อุตสาหกรรม
                ในขณะที่เครื่องยนต์ของรถยนต์ได้รับการออกแบบเพื่อให้พลัง  และแรงบิดสูงสุดเมื่อขับเคลื่อนด้วยความ
เร็วค่อนข้างสูง เครื่องยนต์ของรถยกอุตสาหกรรมกลับได้รับการออกแบบให้ขับเคลื่อน  ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยความเร็วในการทำงานที่ต่ำกว่า
                ลักษณะเด่นต่าง  ๆ  ที่จำเป็นสำหรับเครื่องยนต์ยานยนต์อุตสาหกรรม  ประกอบด้วยการให้แรงบิดสูงที่ความเร็วรอบเครื่องยนต์ต่ำกว่า   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเชื่อถือได้   การประหยัดเชื้อเพลิง    การปล่อยไอเสียที่ต่ำ   และไม่ส่งเสียงดัง
                ในการเปรียบเทียบเส้นกราฟพลังงานของเครื่องยนต์ที่ใช้ในรถยนต์   และเครื่องยนต์ที่ใช้ในยานยนต์อุตสาหกรรม  คุณจะเห็นได้ว่าแรงบิดสูงสุดนั้น  เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วบนเส้นกราฟพลังงานของยานยนต์อุตสาหกรรม    และช้ากว่าในเส้นกราฟพลังงานของรถยนต์   ทั้งนี้เป็นเพราะว่ายานยนต์อุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้แรงบิดสูงสุดเมื่อเครื่องยนต์อยู่ที่   rpms    ต่ำ

(a) แรงบิดสูงที่ความเร็วเครื่องยนต์ต่ำ
                มีความจำเป็นที่ต้องมีขั้นตอนต่าง ๆ  เพื่อใช้ในการป้องกันเครื่องยนต์ดับ   เมื่อระบบลำเลียงสิ่งของทำงานหรือเมื่อพวงมาลัยพาวเวอร์ทำงานในขณะที่เครื่องยนต์วิ่งด้วยความเร็วต่ำ   หรือไม่ได้เคลื่อนที่    เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเลือกใช้ระบบเชื้อเพลิง   ระบบจุดระเบิด   และระบบไอดีที่เข้ากัน
(b) การควบคุมความเร็วเครื่องยนต์โดยอุปกรณ์ปรับความเร็ว
          -   การควบคุมความเร็วเครื่องยนต์สูงสุด    ความเร็วสูงสุดของเครื่องยนต์มีอิทธิพลต่อปัจจัยต่าง   ๆ   อย่างมากมายอีกด้วยอย่างเช่น  เสียงรบกวนของการทำงาน   และความเร็วของปั๊มไฮดรอลิก     จึงมีการใช้อุปกรณ์ปรับความเร็ว    เพื่อควบคุมความเร็วสูงสุดของเครื่องยนต์
-   การควบคุมอุปกรณ์ปรับความเร็วที่แม่นยำ    มีความจำเป็นที่จะต้องมีการควบคุมอุปกรณ์ปรับความเร็ว
ที่แม่นยำ     เพื่อป้องกันสมรรถนะการทำงานของเครื่องยนต์ที่อาจลดลงอย่างน่าตกใจ  เมื่อบรรทุกสิ่งของจำนวน
มาก   เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเลือกอุปกรณ์ปรับความเร็วที่มีลักษณะเหมาะสมมากที่สุด

(C) เครื่องยนต์ที่ใช้ในการทำงานต่าง ๆ ที่หลากหลาย
                นอกเหนือจากงานต่าง ๆ  ที่รถยนต์สามารถทำได้  เครื่องยนต์ยานยนต์อุตสาหกรรมยังจะต้องทำงานอย่างเช่น  การเร่งเครื่องเมื่อยกสิ่งของที่บรรทุกได้ด้วย   เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้กว้างกว่า   เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเลือก  ระบบไอดี  ระบบจุดระเบิด   และระบบเชื้อเพลิงที่เหมาะสมที่สุด
ข้อความพิเศษ
อุปกรณ์ปรับความเร็ว
                โดยทั่วไป    บทบาทหน้าที่ของอุปกรณ์ปรับความเร็วในรถยนต์นั้นคือ    เพื่อป้องกันเครื่องยนต์ขับเคลื่อนด้วยความเร็วที่เกินอัตรารอบหมุน / นาทีสูงสุด   บทบาทหน้าที่ของมันในรถยกอุตสาหกรรมนั้นมีความซับซัอนมากกว่า และถูกใช้เพื่อให้ได้กำลัง   และแรงบิดสูงสุดที่อัตรารอบหมุน / นาที   ของเครื่องยนต์ที่ต่ำของยานยนต์อุตสาหกรรม
                หน้าที่ของอุปกรณ์ปรับความเร็วของยานยนต์อุตสาหกรรมประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ  ต่อไปนี้
·        จำกัดความเร็วเครื่องยนต์สูงสุด ซึ่งไม่จำเป็นต่อยานยนต์อุตสาหกรรม
·        ใช้แรงบิดเครื่องอย่างมีประสิทธิภาพ
·        ให้ความเร็วปั๊มไฮดรอลิกที่สมบูรณ์ที่สุด
·        ให้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงสุด
·        ช่วยลดเสียงรบกวน
·        ช่วยยืดอายุการใช้งาน

(a) คุณลักษณะของเครื่องยนต์ดีเซล
เครื่องยนต์ดีเซลของยานยนต์อุตสาหกรรมเมื่อมองโดยรวม
                ยานยนต์อุตสาหกรรมนำเสนอเครื่องยนต์ที่แตกต่างกันถึง  5  แบบ   พร้อมด้วยขนาดตัวเครื่องยนต์ที่แตกต่างกันเพื่อให้ตรงกับความต้องการใช้ยานยนต์อุตสาหกรรมได้กว้างกว่า  (เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2544)   พึงจำไว้ว่าจริง ๆ แล้วเครื่องยนต์เหล่านี้บางตัว  อาจมีส่วนประกอบที่เหมือนกันกับในเครื่องยนต์อื่น ๆ  แต่ถูกปรับแต่งพิเศษจนได้ระดับพลังงาน   และแรงบิดเฉพาะเพื่อเหมาะสมการสภาพการลำเลียงสิ่งของที่แตกต่างกัน
                ในตอนแรก   ยานยนต์อุตสาหกรรมใช้เพียงเครื่องยนต์ดีเซลแบบของรถยนต์   ซึ่งได้รับการปรับแต่งให้ใช่ในยานยนต์อุตสาหกรรมได้ ภายหลังเครื่องยนต์ดีเซลจึงได้รับการพัฒนา   เพื่อใช้ในยานยนต์อุตสาหกรรมเป็นการเฉพาะเท่านั้น
                ในช่วงเริ่มต้น   ยานยนต์อุตสาหกรรมใช้เครื่องยนต์ J  4  กระบอกสูบ  ระบบ  indirect injection  ขนาดเครื่อง  2,366 cc กับยานยนต์อุตสาหกรรม   จากวันนั้นถึงตอนนี้เครื่องยนต์  J series   มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดี  ในเรื่องให้กำลังที่สมดุลที่สุด ,  สมรรถนะ ,    และการทำงานที่คุ้มค่าแก่ยานยนต์อุตสาหกรรม
                ตั้งแต่เป็นที่รู้จัก เครื่องยนต์ J series   ได้ผ่านการอัพเกรดหลายครั้ง   เพื่อเพิ่มพลัง    และกำลังเครื่องมีการเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์  2J  ขนาด  2,481 cc   ในการอัพเกรดครั้งแรกในช่วงปลายยุค  ค.ศ. 1970    เครื่องยนต์ 2J  ถูกใช้เรื่อยไปอย่างต่อเนื่อง    จนกระทั่งได้รับการพัฒนาไปเป็นเครื่องยนต์  1DZ   ขนาด  2,486  cc   ในช่วงกลางทศวรรษ  1980    ประโยชน์ของมันใน  1 to 3 ton series   ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ  1990  ได้ทำให้มันเป็นที่รู้จักในฐานะเครื่องยนต์ที่ไว้วางใจได้สูงพร้อมกับเสียงที่เบา    ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน    ภายหลังจึงติด
ตามมาด้วยเครื่องยนต์  1DZ-II    ที่ได้รับการพัฒนาเข้าสู่ท้องตลาด
                เครื่อง 1Z   4  กระบอกสูบ   ขนาดเครื่อง  2,953 cc   อันเป็นเครื่องยนต์ดีเซล  direct injection   เครื่องแรกของยานยนต์อุตสาหกรรมนั้นได้รับการพัฒนาในปี  1986   และไม่นานจากนั้นก็ถูกใช้ในรถรุ่น 2 to 3 ton ในช่วงกลางทศวรรษ 1990  เครื่องยนต์ 1Z   ถูกอัพเกรดไปเป็นเครื่องยนต์ 2Z   ขนาด 3,469 cc   ในปัจจุบันยังคงใช้เครื่องยนต์ชนิดนี้ในรุ่น 2 to 3.5 ton   ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าให้การสตาร์ทเครื่องที่ง่าย  ใช้เชื้อเพลิงน้อย   และปล่อยไอเสียเพียงน้อยนิด
                เครื่องยนต์ 11Z  ระบบ direct injection  6  กระบอกสูบ  ขนาด 4,429 cc  ซึ่งถูกนำเข้าสู่ตลาดในช่วงปลายทศวรรษ  1980   เพื่อใช้ใน  3.5 ton series   ได้รับการอัพเกรดไปเป็นเครื่องยนต์ 13Z  ขนาด 4,616 cc ในช่วงกลางทศวรรษ 1990 ซึ่งตามมาด้วยเครื่องยนต์  12Z ขนาด 4,994 cc ที่ถูกพัฒนาขึ้นในปี 1990 เพื่อใช้ใน 5 to 8 ton series ได้รับการอัพเกรดไปเป็นเครื่องยนต์ 14Z ขนาด 5,204 cc ในช่วงกลางทศวรรษ 1990 และใช้เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้











ยานยนต์อุตสาหกรรม | การออกแบบรูปลักษณ์ของยานยนต์อุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน

การออกแบบรูปลักษณ์ของยานยนต์อุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน

คุณลักษณะต่าง  ๆ  ของยานยนต์อุตสาหกรรมเครื่องยนต์สันดาปภายใน   ที่มีน้ำหนักถ่วงด้านหลัง  เราจึงเปรียบเทียบยานยนต์อุตสาหกรรมกับรถยนต์ธรรมดาและรถบรรทุก    ยานยนต์อุตสาหกรรมได้รับการออกแบบมาเฉพาะเพื่อยก  และบรรทุกสิ่งของหนัก ๆ ในขณะที่รถยนต์ได้รับการออกแบบให้บรรทุกผู้โดยสาร เราจะทำการเปรียบเทียบรูปแบบของยานยนต์อุตสาหกรรม  กับรถบรรทุก   ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าใจถึงรูปแบบเฉพาะของยานยนต์อุตสาหกรรมได้

ตำแหน่งการยกสูงขึ้นของเครื่องยนต์
                ดังที่คุณได้เห็นในภาพตัวอย่าง  ตัวเครื่องยนต์จะถูกยกขึ้นไปอยู่ใกล้กับตำแหน่งกึ่งกลางของยานยนต์อุตสาหกรรม  และถูกเชื่อมต่อเข้ากับระบบการส่งกำลัง   ยานยนต์อุตสาหกรรมมีการขับเคลื่อน 4  ล้อเหมือนกันรถยนต์ในปัจจุบัน   แต่เพลาหน้าถูกใช้ในยานยนต์อุตสาหกรรมเพื่อรักษากำลังไว้

ตำแหน่งการบรรทุกของ
                ในรถกระบะ  ของจะถูกบรรทุกบริเวณเหนือเพลาหลังศูนย์กลาง  ของบรรทุกจะอยู่ใกล้กับศูนย์กลางของตัวรถกระบะ   น้ำหนักของการบรรทุกจะถูกเฉลี่ยอย่างเท่า ๆ  กันไปบนลูกล้อทั้งหมด
                อย่างไรก็ตามหากคุณดูที่ภาพตัวอย่างของยานยนต์อุตสาหกรรม   คุณจะเห็นว่าของนั้นถูกบรรทุกที่ด้านหน้าของเพลาหน้า ซึ่งหมายความว่ายานยนต์อุตสาหกรรมจะเอนไปด้านหน้าหากไม่มีน้ำหนักถ่วงดุลที่ด้านหลังของยานยนต์อุตสาหกรรมบทบาทของการถ่วงน้ำหนักก็เพื่อจะชดเชยน้ำหนักการบรรทุกบนตัวยก   และเพื่อป้องกันไม่ให้ยานยนต์อุตสาหกรรมเอนไปด้านหน้า


ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า
                ในขณะที่รถยนต์ในปัจจุบัน   ใช้ระบบการขับเคลื่อนล้อหน้า   โดยปรกติรถกระบะโดยส่วนใหญ่ใช้ระบบการขับเคลื่อนล้อหลัง
                เหตุผลสำหรับเรื่องนี้คือ  น้ำหนักของการบรรทุกซึ่งโดยปรกติแล้วจะตกไปที่ล้อหลัง  ช่วยทำให้เกิดแรงดึงไปยังล้อขับเคลื่อนด้านหลัง  หากล้อขับเคลื่อนอยู่ด้านหน้าน้ำหนักของสิ่งที่บรรทุกก็มีแนวโน้มที่จะลดน้ำหนักที่ตกบนล้อหน้าได้   ซึ่งทำให้ล้อหมุนได้ง่ายขึ้นยานยนต์อุตสาหกรรมก็ใช้หลักการพื้นฐานเดียวกันนี้   เช่นกันน้ำหนักของสิ่งที่บรรทุกจะตกลงที่ล้อหน้า   ซึ่งเป็นล้อขับเคลื่อนด้วยการออกแบบนี้จะให้น้ำหนักสูงสุดไปตกที่เพลาและล้อด้านหน้าเพื่อให้ได้แรงลากที่ยอดเยี่ยม


การบังคับทิศทางล้อหลัง
                รถกระบะ และรถยนต์ทุกประเภทใช้ล้อหน้าบังคับทิศทางการออกแบบนี้เหมาะสมกับการใช้งานเนื่องจาก  รถยนต์จะขับเคลื่อนไปในทิศทางด้านหน้า
                อย่างไรก็ตาม   คุณเคยสังเกตไหมว่ารถยนต์ของคุณหักเลี้ยวได้มากเท่าไรเมื่อถอยรถไปด้านหลัง   รูปแบบของล้อหลังให้การหักเลี้ยวที่มากกว่า  นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่รถยกอุตสาหกรรมใช้ล้อหลังเป็นล้อบังคับทิศทาง
                เมื่อมีการบรรทุกสิ่งของ   โดยปรกติแล้วสัดส่วนน้ำหนักที่ตกลงบนล้อหน้า   และล้อหลังของรถกระบะจะ
อยู่ที่    40/60  โดย  40%   ของสิ่งที่บรรทุกตกบนล้อหน้าและ   60%   บนล้อหลัง    เมื่อเปรียบเทียบกันสัดส่วนการกระจายน้ำหนักของยานยนต์อุตสาหกรรมเมื่อบรรทุกของเต็มอัตราจะอยู่สูงถึง   90/10   โดยที่น้ำหนักเพียง   10%   สิ่งที่บรรทุกตกบนล้อหลังซึ่งทำให้การบังคับทิศทางเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

พัดลมแรงดันด้านหลัง
                รถบรรทุกและรถยนต์ส่วนใหญ่มีหม้อน้ำที่ด้านหน้าของยานพาหนะ   ซึ่งมีเหตุผลดีที่จะอธิบายเรื่องนี้เนื่อง จากยานพาหนะเหล่านี้ขับเคลื่อนด้วยความเร็วที่ค่อนข้างสูง  ทำให้ดันอากาศให้เข้าไปยังตัวทำความร้อนได้มากกว่าโดยธรรมชาติ   และใช้พัดลมเพื่อให้ความเย็นมากขึ้นไปอีก
                ยานยนต์อุตสาหกรรมไม่ต้องขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูง    ยิ่งไปกว่านั้นยังมีส่วนประกอบไฮดรอลิกจำนวนมากที่ทำให้เกิดความร้อน  รูปแบบพัดลมระบายความร้อนออกด้านหลังจึงช่วยเป่าความร้อนจากห้องเครื่องยนต์ และส่วนประกอบของไฮดรอลิกไปทางด้านหลังของยานยนต์อุตสาหกรรม   และก็ให้ความเย็นแก่หม้อน้ำไปพร้อม ๆ  กันอีกด้วย  โปรดจำไว้ว่ามีการใช้พัดลมชนิดดึงลมที่ได้รับการติดตั้งในส่วนหลังของหม้อน้ำในยานยนต์อุตสาหกรรมมาด้วย




ค่าออกเทนมีผลอย่างไรกับเครื่องยนต์

ในปัจจุบันราคาน้ำมันได้สูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รัฐบาลต้องออกมารณรงค์ เกี่ยวกับการประหยัดน้ำมันโดยมีข้อ ความเชิญชวนต่างๆ เช่น “ ใช้ 91 เติม 91 ” หรือ “ ขับ 90 กม./ชม.แทน110 กม./ชม. ” หรือ “ ใช้แก๊สโซฮอล์ 95 แทนเบนซิน 95 ” และ จากกระทู้ต่างๆที่สอบถามเข้ามายัง Webboard ของเราเกี่ยวกับการเลือกใช้ค่าออกเทนที่ถูกต้องดังนั้นทางแผนกเทคนิคและฝึก อบรมจึงได้จัดหาข้อมูลที่น่าสนใจและน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้รถยนต์ให้ สามารถทราบถึงข้อมูลของค่าออกเทนเพื่อที่จะได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการ เลือกใช้ค่าออกเทนที่เหมาะสมสำหรับเครื่องยนต์ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ สูงสุดกับเจ้าของรถยนต์และประเทศชาติของเรา

ค่าออกเทน คือ อะไร...

โดย ปกติแล้วในน้ำมันเบนซินจะถูกเติมสารเพิ่มค่าออกเทน เพื่อจะทำให้น้ำมันมีคุณสมบัติทนต่อการน๊อคได้สูงขึ้น เช่นเดียวกับการเพิ่มค่าซีเทนในน้ำมันดีเซล ซึ่งในอดีตสารที่ใช้ในการเพิ่มค่าออกเทน จะมีส่วนผสมของสารตะกั่วประกอบอยู่ด้วย โดยสารตะกั่วจะทำให้เกิดมลพิษจากไอเสีย ซึ่งเป็นผลร้าย ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมแต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคุณภาพของน้ำมันโดยไม่ต้อง ใช้สารตะกั่วมาเป็นสาร ประกอบเพื่อเพิ่มค่าออกเทนอีกต่อไป ดังนั้นเราจึงได้ยินคำว่า “ น้ำมันไร้สารตะกั่ว ” ซึ่งในขณะนี้มีอยู่ 2 ชนิดในท้องตลาดคือ น้ำมันเบนซินออกเทน 91 และน้ำมันเบนซิน ออกเทน 95 โดยทั้ง 2 ชนิด จะเป็นน้ำมันที่ไร้สารตะกั่วทั้งคู่

ค่าออกเทน คือ คุณสมบัติของน้ำมันที่แสดงถึงความสามารถในการต้านทานการจุดระเบิดก่อนเวลาที่กำหนดใน เครื่องยนต์เบนซิน หรือเป็นค่าที่แสดงถึงความต้านทานการน็อคของเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ซึ่งใน เครื่องยนต์แต่ละรุ่นแต่ละแบบจะมีความต้องการค่าออกเทนที่ไม่เท่ากันโดยขึ้น อยู่กับการ ออกแบบของวิศวกรและบริษัทผู้ผลิตรถยนต์

ผลลัพธ์ที่ได้ คือ...
เมื่อผู้ใช้รถยนต์ใช้น้ำมันที่มีค่าออกเทนที่เหมาะสมกับความต้องการหรือข้อ กำหนดของเครื่องยนต์จะทำให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน และยังช่วยให้ประหยัดทรัพยากร รวมทั้งยังประหยัดเงิน แต่ถ้าใช้น้ำมันที่มีค่าออกเทนต่ำกว่าความต้องการอาจทำให้เครื่องยนต์เกิด การน็อคทำให้ประสิทธิภาพ ของเครื่องยนต์ลดลง รวมถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับตัวกรองไอเสียในขณะเดียวกันหากใช้น้ำมัน ที่มีค่าออกเทนสูงเกินความต้องการของเครื่องยนต์ ถึงแม้จะไม่ส่งผลกระทบต่อเครื่องยนต์หรือการใช้งาน แต่จะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองได้

ดังนั้น ผู้ใช้รถยนต์จึงควรเลือกเติมน้ำมัน ตามที่คู่มือการใช้รถยนต์ระบุไว้ เพื่อประสิทธิภาพต่อเครื่องยนต์และเป็นการประหยัดต่อผู้ใช้รถยนต์เอง

เกียร์ B ของ camry hybrid มีไว้ทำไม

ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า camry hybrid มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆนั้นแตกต่างจากรถยนต์ทั่วไปหรือแม้กระทั่งในรถ ยนต์ camry ด้วยกันเอง ดังเช่น ตำแหน่งของเกียร์ ซึ่งรถทั่วไปจะมีตำแหน่งเกียร์ที่ เราคุ้นกันคือ P , R ,N ,D ,3 , 2 , L แต่สำหรับ camry hybrid จะมีตำแหน่งเกียร์ คือ P , R ,N ,D ,B จะสังเกตได้ว่ามีบางเกียร์หายไปและจะมีบางเกียร์เพิ่มมา เฉพาะ camry hybrid เท่านั้นและในการนี้ขอกล่าวถึงตำแหน่งของเกียร์ B เท่านั้น

จะเห็นได้ว่าใน camry ที่ไม่ใช่ hybrid ที่เป็นโฉมเดียวกันกับ camry hybrid จะมีบางสิ่งบางอย่างที่-
แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแต่ละรุ่น ได้แก่ 3.5 , 2.4 , และ 2.0 ลิตรในเรื่องของตำแหน่งเกียร์ B ของ camry hybrid นั้นจะมีประโยชน์มากสำหรับเจ้าของรถตลอดจนผู้ขับขี่ กล่าวคือ จะได้ทั้งประโยชน์ , ทั้งความเพลิดเพลิน , มีความปลอดภัย , มีความประหยัด ( ผ้าเบรก ) เป็นต้น.

เมื่อขับขี่รถยนต์ตามเส้นทางต่างๆ หากต้องการใช้ตำแหน่งเกียร์ B ผู้ขับขี่สามารถกระทำได้เป็น-
การหน่วงความเร็วโดยอาศัยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยที่ผู้ขับขี่ไม่ต้องเหยียบเบรกเลยแม้แต่น้อย เป็นการชะลอรถยนต์ด้วยความเร็วที่ลดลงเพียงแค่เลื่อนคันเกียร์ไปในตำแหน่ง B เท่านั้น สังเกตใด้บนมาตรวัด หากมีการเลื่อนเกียร์แล้ว ไฟจะสว่างขึ้นตรงตัวอักษร B อาการของรถยนต์ก็จะลดความเร็วลง นอกจากนั้นระบบไฟจะทำการชาร์จไฟของระบบไฮบริดเพื่อเก็บในแบตเตอรี่ไฮบริด เช่นเดียวกับในกรณีที่รถยนต์จอดนิ่ง มีข้อแม้จะต้องเลื่อนคันเกียร์ไปในตำแหน่ง P เท่านั้น มิฉะนั้นจะไม่มีการชาร์จไฟของระบบไฮบริดแต่อย่างใด เมื่อเป็นเช่นนี้เครื่องยนต์จะมีการทำงาน เพื่อทำการชาร์จไฟเข้าสู่ระบบไฮบริด ก็เท่ากับว่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงก็จะมากขึ้นตามลำดับ หากการขับขี่ของผู้ใช้รถยนต์กระทำตามที่ใด้ระบุอยู่ในคู่มือการใช้รถ ดังเช่น ตำแหน่งเกียร์ B ตามที่กล่าวมาจะส่งผลต่อระบบไฟฟ้าของระบบไฮบริด แต่ยังมีสิ่งที่เจ้าของรถและผู้ขับขี่ได้ประโยชน์อีก คือ การสึกหรอของผ้าเบรกจะน้อยลงอย่างมากถึงแม้ว่าจะขับด้วยความเร็วสูงก็ตาม ก็สามารถกระทำได้ตามความต้องการและอาการของรถยนต์ก็ไม่เสียการทรงตัว ทางด้านผู้ขับขี่ก็ไม่เสียการควบคุมรถแต่อย่างใด

อาจมีคนสงสัยว่า หากมีการขับรถขึ้นเขาและลงเขาจะทำอย่างไรในเมื่อเกียร์อัตโนมัติรุ่นอื่นๆมี ตำแหน่งการใช้ engine brake ในขณะขับลงเขาเพื่อชะลอความเร็วยกตัวอย่างเช่น จาก D ไป 3 หรือจาก 3
ไป 2 เป็นต้นแต่สำหรับ คัมรี่ ไฮบริดผู้ขับขี่สามารถเลือกใช้ตำแหน่งเกียร์ B หรือจะเล่นเกียร์ B ได้เช่นกัน ในบางครั้งทำให้ผู้ขับขี่มีความรู้สึกว่า มีความปลอดภัยมากกว่า หรือมีการขับขี่ที่สนุกสนานมากกว่า ( อันนี้ขึ้นอยู่ความชำนาญของผู้ขับขี่ ) ถึงอย่างไรแล้วผู้ที่เป็นเจ้าของรถ คัมรี่ ไฮบริด คงจะต้องฝึกเพื่อให้เกิดความเคยชิน แล้วจะเกิดประโยชน์สูงสุดนั่นองครับ

สำหรับข้อมูลที่ได้กล่าวมานั้นหากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามไปยังแผนกเทคนิคของเราได้ในเวลาทำการครับ ท้ายนี้ขอให้ผู้อ่านทุกท่าน สุขภาพอนามัยแข็งแรง ร่ำรวยกันถ้วนหน้าครับ

donate your car today | donate your vehicle | donating a car for taxes | donating car in california | donating my car tax deduction | donating used cars to charity | donation for cars | how donate car | how to donate a car | how to donate a car in california | how to donate my car | how to donate your car | i want to donate my car | junk car donation | places to donate cars | sacramento car donation | tax break for donating a car | tax deduction car donation | tax deduction for car donation | vehicle donate | vehicle donation | where can i donate my car | where to donate a car | where to donate car | where to donate my car

หมวดหมู่ยานยนต์

 
Support : A | B | C
Copyright © 2016. เทคโนโลยียานยนต์ - All Rights Reserved