1. งบประมาณที่มีอยู่ : จะซื้อรถหรือซื้ออะไรก็ตาม ก็ควรจะเหมาะสมกับกำลังที่มี มิใช่ซื้อมาแล้วต้องมามีชีวิตยากลำบาก หรือ ซื้อมาได้ไม่นานก็ถูกยึดไป ในส่วนของงบประมาณมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ดังนี้
- เงินสดที่ต้องใช้ : เงินสดสำหรับรถทั้งคันหรือ เงินดาว์น รวมทั้งค่าประกันภัย , ค่าทะเบียนและ ค่าอุปกรณ์ต่างๆ
- เงินที่จะต้องผ่อนแต่ละเดือน : สำหรับท่านที่ซื้อรถเงินผ่อนซึ่งนอกจากเงินผ่อนแล้ว อย่าลืมค่าน้ำมันเชื้อเพลิง , ค่าบำรุง รักษาต่างๆ , ค่าประกันภัย และค่าทะเบียนปีต่อๆไปด้วย ( ใน Web site : www.phithan-toyota.com มีสูตรคำนวน เงินผ่อนแต่ละเดือนให้ด้วย ใช้สะดวกมาก)
2. วัตถุประสงค์ใช้งาน : จะต้องถามตัวเองก่อนว่า เราซื้อรถมาใช้ประโยชน์อะไร มีการใช้งานปกติอย่างไร มีข้อจำกัดในการใช้งานอย่างไรบ้าง ฯลฯ เมื่อทราบแล้วจึงดูว่า ในตลาดรถยี่ห้อใดรุ่นใดบ้าง ที่เหมาะกับการใช้งานของท่าน โดยทั่วๆ ไปจะมี คำถามที่เกี่ยวกับการใช้งานดังนี้
2.1 ใช้รถในกรุงเทพฯ หรือ ออกต่างจังหวัดเป็นส่วนมาก หรือ ทั้งสองอย่าง
- รถสำหรับใช้ในกรุงเทพฯ มักเรียกกันว่า City Car เป็นรถที่มีขนาดกระทัดรัด มีความคล่องตัวสูง มีอัตราเร่งดีตอนออกตัว ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงมากเป็นพิเศษ
- รถใช้เดินทางต่างจังหวัด ควรเป็นรถขนาดกลางหรือใหญ่มีการทรงตัวดี เครื่องยนต์มีกำลังเร่งทั้งที่รอบต่ำและรอบสูง เป็นรถที่แข็งแรงทนทาน
2.2 จำนวนผู้โดยสารประจำ
2.3 ความจำเป็นต้องใช้บรรทุกของมากน้อย และบ่อยแค่ไหน
2.4 ความจำเป็นต้องใช้การขับเคลื่อน 4 ล้อ โดยปกติแล้วรถขับเคลื่อน 4 ล้อ จะราคาสูงกว่า , สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง มากกว่า , มีค่าบำรุงรักษาสูงกว่า และ ซ่อมแพงกว่าซึ่งถ้าซื้อมาแล้วได้ใช้ประโยชน์คุ้มค่าก็ถือเป็นเรื่องดี และ ถ้าซื้อมาแล้ว ไม่ได้ใช้ขับเคลื่อน 4 ล้อเลย ก็ถือว่าเป็นเรื่องน่าเสียดาย
2.5 ใช้ลุยน้ำท่วมหรือไม่ ถ้าต้องลุยน้ำท่วมก็ควรเป็นรถที่ยกสูงซึ่งมีทั้งขับเคลื่อน 4 ล้อและ ขับเคลื่อน 2 ล้อ
2.6 อุปนิสัยการขับรถ ช้าหรือเร็ว ถ้าเป็นคนที่ขับรถช้า ขับไปเรื่อยๆ ก็คงไม่ต้องพิจารณาอะไรให้มากนัก แต่ถ้าเป็นคนที่ ชอบขับเร็วแล้วสมรรถนะเครื่องยนต์ , ระบบช่วงล่าง , เกียร์ , ระบบเบรค , ขนาดล้อและยาง , อุปกรณ์ความปลอดภัย ฯลฯ คงต้องนำมาพิจารณากันซึ่งถ้าจะให้มีครบ ก็ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น ครับ
2.7 ความสะดวกสบายและหรูหรา ข้อนี้คงพิจารณาได้ง่ายเพราะขึ้นกับเงินในกระเป๋าเป็นหลัก
2.8 ข้อจำกัดในการใช้งานอื่นๆ
- ขนาดของประตูบ้าน , ที่จอดรถ และซอยเข้าบ้าน
- ส่วนสูงของผู้ขับ
- ความปลอดภัยของที่ที่จอดรถเป็นประจำ
- ฯลฯ
3. การประหยัด
3.1 อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง :รถที่ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง มักเป็นรถขนาดเล็ก , เครื่องยนต์ขนาดเล็ก , เครื่องยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ , ตัวถังออกแบบให้ลู่ลมมากกว่า , เครื่องยนต์ดีเซล มักจะมีอัตราสิ้นเปลือง น้ำมันเชื้อเพลิงน้อยกว่าเครื่องเบนซิน ฯลฯ
3.2 ค่าบำรุงรักษา : หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารถ เมื่อใช้งานถึงระยะทาง หรือ ระยะเวลาที่ผู้ผลิตได้กำหนดไว้ อาทิเช่น น้ำมันหล่อลื่นชนิดต่างๆ , ไส้กรองชนิดต่างๆ , หัวเทียน , สายพานต่างๆ , ยาง ฯลฯ รวมทั้งค่าแรง
3.3 ค่าซ่อม : หมายถึง ค่าแรงและค่าอะไหล่ของชิ้นส่วนที่หมดอายุการใช้งานหรือชำรุดโดยทั่วไปมักมีการแยกอะไหล เป็นกลุ่มดังนี้
- อะไหล่ลิ้นเปลือง หรือ อะไหล่ที่ต้องมีการเปลี่ยนบ่อยๆ เช่น ผ้าเบรค , ยางปัดน้ำฝนอะไหล่ ที่เปลี่ยนเมื่อใช้งานครบระยะทาง หรือระยะเวลา ฯลฯ
- อะไหล่ทั่วไป ซึ่งจะเปลี่ยนเมื่อตรวจพบว่าชำรุด
- อะไหล่ตัวถัง
3.4 ความทนทาน : ยิ่งซื้อรถไปเพื่อใช้งานหนัก หรือใช้มากเท่าใด ความทนทานก็ยิ่งมีความสำคัญมากเท่านั้น เพราะจะมี ผลอย่างมากต่อค่าใช้จ่าย และเวลาที่ต้องเสียไปกับการซ่อมบำรุงหากต้องการทราบว่ารถรุ่นไหนยี่ห้อไหน มีความทนทานมาก วิธีที่ง่ายก็คือ การสอบถาม จากผู้มีประสบการณ์หากเป็นรุ่นใหม่ในตลาดก็คงต้องดูที่ยี่ห้อว่าเป็นผู้ผลิตรถที่มี ความทนทานหรือไม่ นอกจากนี้สำหรับผู้เชี่ยวชาญทางวิศวกรรมยานยนต์ ก็อาจพอบอกได้จากการออกแบบ
3.5 การดูแลและการบำรุงรักษาด้วยตนเองหรือคนสนิท : เลือกรถที่สามารถดูแล และบำรุงรักษา ตลอดจนซ่อมบำรุงได้ด้วยตนเอง หรือ โดยคนสนิทที่คิดค่าใช้จ่ายถูกๆ ก็จะช่วยให้ประหยัดได้ไม่น้อย
3.6 ราคาขายต่อมือสอง : จะมีความสำคัญขึ้นมาเมื่อท่านต้องการเปลี่ยนรถ
4. การบริการหลังการขาย
4.1 มีศูนย์บริการอยู่ทั่วไป , หาง่าย , มีการบริการที่ดีได้มาตรฐาน และ ซื่อสัตย์
4.2 ความพร้อมของอะไหล่ : อะไหล่หาง่ายไม่ต้องรอนาน มีครบทุกชิ้น ในขณะที่มีรถบางรุ่นอาจต้องรออะไหล่เป็นเดือน
4.3 เงื่อนไขการรับประกัน ระยะเวลา และความสะดวกในการทำเคลม
4.4 การดูแลเอาใจใส่ของตัวแทนจำหน่าย และพนักงานขายหลังจากซื้อรถมาแล้ว ข้อมูลเกี่ยวกับการบริการหลังการขาย คงต้องมาจากประสบการณ์ของท่าน ของคนรู้จัก หรือ อ่านจากหนังสือต่างๆ หรือ ภาพพจน์ชื่อเสียงที่ผ่านมา
5. ความชอบและความพอใจของผู้ซื้อ สำหรับข้อนี้ก็แล้วแต่ผู้ซื้อครับ