ในรถยนต์โตโยต้า ระบบปรับอากาศ (แอร์) ถือว่ายอดเยี่ยมมาก หากไม่มีการขัดข้องใด ๆ เกิดขึ้น ผู้ใช้รถยนต์โตโยต้าส่วนใหญ่ยอมรับตรงจุดนี้ว่าดี จริง ๆ ระบบปรับอากาศ (แอร์) จำเป็นมากสำหรับรถยนต์ที่ใช้ในเมืองไทย เพราะประเทศไทยตลอดทั้งปี จะมีอากาศร้อนถึงร้อนมาก หลายคนต่างบ่นออกมาว่ามีอากาศที่ร้อน กับ โ-ตรร้อน ดังนั้น นอกจากตัวรถยนต์จะต้องพร้อมใช้งานแล้ว ระบบปรับอากาศ ( แอร์ ) ก็เช่นเดียวกันจะต้องพร้อมใช้งานตลอดเวลาและที่สำคัญจะต้องทำงานได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน สมัยก่อนรถยนต์โตโยต้าบางรุ่น จะถูกติดตั้งระบบทำความร้อนมาด้วยพร้อมกับตัวรถยนต์ ( ไม่รู้ให้มาทำไม ) หากเปิดใช้งานลองคิดดูว่า เมืองไทยเมืองร้อน แล้วยังเปิดระบบทำความร้อนอีก แต่ผู้เขียนเชื่อเหลือเกินว่า ไม่มีใครเปิดอย่างแน่นอน ยกเว้นเปิดโดยไม่ตั้งใจ
คราวนี้กลับมาเรื่องระบบปรับอากาศ ( แอร์ ) ขึ้นชื่อว่าแอร์ จะต้องทำความเย็นแน่นอน ระบบทำความเย็นก็เหมือนกับของใช้อื่น ๆ ที่ถูกใช้งานย่อมมีการสึกหรอ ความเสียหาย ความทรุดโทรม เป็นต้น การบำรุงรักษา การตรวจสอบ การซ่อมแซม ถือเป็นเรื่องที่จำเป็น น้อยมากที่เจ้าของรถระบบเป็นปกติดี แต่อยากให้ทำความสะอาดทั้งระบบแอร์เพราะบางท่านคิดว่าแอร์ในรถยนต์ก็เหมือนกับแอร์บ้าน จะต้องทำความสะอาดบ่อยจะช่วยให้ระบบปรับอากาศมีการสึกหรอน้อยลง และประสิทธิภาพคงเดิม ถ้าทุกท่านคิดอย่างนี้ ถือว่าดีมากครับ ปัจจุบันนี้มีการทำความสะอาดตู้แอร์ ( คอยล์แอร์ ) ชนิดไม่ต้องถอดตู้ ไว้บริการแล้ว ค่าบริการก็ไม่แพงมากนัก ผิดกับการถอดตู้แอร์ออกมา ต้องใช้เวลามากแล้วยังมีราคาค่าใช้จ่ายที่สูงอีก แต่สิ่งที่ได้คือ ทั้งระบบจะมีความสะอาดเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ถึงอย่างไร หากเจ้าของรถมีความเอาใจใส่ต่อระบบปรับอากาศเป็นต้นว่า รักษาความสะอาดภายในรถยนต์, สังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น จากการใช้งานที่ปกติเพราะปัญหาที่ร้ายแรงอาจจะมาจากสาเหตุเล็ก ๆ ก็เป็นได้จริงอยู่ว่าระบบปรับอากาศไม่ทำงาน ก็สามารถขับรถยนต์ได้อยู่แล้ว ช่วงเวลาตอนเช้า ก็ยังพอรับได้ แต่ถ้าเป็นช่วงเวลากลางวันและช่วงเวลาบ่าย ลองคิดดูว่า เหมือนตู้อบเคลื่อนที่อย่างใดอย่างนั้นเลย เหมือนกับโฆษณาฟิล์มกรองแสงยี่ห้อหนึ่งที่สามารถทำไก่ย่างได้ ดั้งนั้น ผู้ขับขี่หากมีการสังเกตอาการเบื้องต้นได้ ก็จะเป็นผลดีต่อระบบรถยนต์ของท่านและระบบปรับอากาศอย่างแน่นอน ดังตัวอย่างที่คอยสังเกตดังต่อไปนี้
1.ปริมาณความเย็นที่ออกมาจากช่องแอร์เหมือนเดิมหรือไม จากที่ทำการเปิดความเย็นเท่าเดิมและแรงลมเทาเดิม แต่ก็มีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นอยู่ ๆ แรงดันแอร์ลดลงเป็นไปได้ว่าตู้แอร์เป็นน้ำแข็งเนื่องจากตัวควบคุมอุณหภูมิไม่ตัดการทำงานขณะความเย็นถึงระดับกำหนด ดังนั้น ถ้าเป็นเช่นนี้ไห้ลดปริมาณความเย็นลงหรือทำการปิดแอร์ชั่วคราวก่อน ก็เป็นการแก้ไขเบื้องต้นได้หลังจากนั้นมีเวลาก็นำรถเข้าซ่อมต่อไป
2.ความร้อนเครื่องยนต์ขึ้นสูง ( สังเกตจากมาตรวัด ) บางคนสังเกตว่าส่งผลถึงระบบแอร์ด้วย หรือ เกิดขึ้นได้แน่นอน หากเครื่องยนต์มีความร้อนเพิ่มมากขึ้นไม่ว่ามาจากชิ้นส่วนใดก็ตาม เช่นหม้อน้ำอุดตัน ไม่ว่าจะภายในหรือภายนอกหม้อน้ำก็ตาม , พัดลมระบายความร้อนไม่ทำงาน หรือทำงานผิดปกติ เพราะระบบปรับอากาศจะมีการควบแน่นด้อยลง คือ การระบายความร้อนที่รังผึ้งหม้อน้ำ และแผงคอนแดนเซอร์แอร์ไม่ดี เลยทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นได้ นอกจากนั้น การรั่วของน้ำในระบบหล่อเย็นก็เช่นกัน ผลกระทบต่อเครื่องยนต์โดยตรง แล้วยังส่งผลไปยังแอร์ได้เหมือนกัน ดังนั้น ควรสังเกตมาตรวัดควบคู่กันไปก็จะได้ประโยชน์หลายด้านครับ
3.เปิดระบบปรับอากาศแล้วมีเสียงดังเกิดขึ้น บริเวณ ตู้แอร์ หรือ โบว์เวอร์แอร์ เลียงดังกล่าวอาจแสดงว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งติดอยู่บริเวณนั้น ไม่ว่าจะเป็น ใบไม้ , ใบไผ่ , ใบมะขาม เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะ มีการเปิดอากาศภายนอกเข้ามา ( ทางหน้าต่าง ) ดังนั้นสิ่งเหล่านั้นจึงหลุดเข้ามาได้ ไม่เพียงแต่ใบไม้ พวกถุงพลาสติก, กระดาษชำระ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวได้เช่นกัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ หากติดอยู่บริเวณโบว์เวอร์ ก็แล้วไป ยังเอาออกหรือทำความสะอาดได้โดยง่าย แต่ถ้าหลุดไปถึงตู้แอร์ก็เป็นเรื่องใหญ่เลยเพราะนอกจากไปอุดตันแล้วยังสามารถทำให้เกิดเชื้อโรคได้โดยง่าย ไหนจะแอร์ไม่เย็นอีกดังนั้น เหตุการณ์ลักษณะนี้ต้องเริ่มต้นจากผู้ขับขี่ เช่น ไม่เปิดช่องทางอากาศภายนอกเข้า เพราะไม่สามารถรู้ได้ว่ามีอะไรอยู่ตรงหน้าต่างแอร์บ้าง ไม่นำวัสดุที่สามารถถูกดูดโดยโบเวอร์แอร์ได้ไว้บริเวณนั้น เป็นต้น
ตามที่กล่าวมาทั้ง 3 อย่างนั้น เป็นการสังเกตได้โดยง่ายของเจ้าของรถ ยังมีสิ่งอื่น ๆ อีกที่ผู้ขับขี่ไม่สามารถสังเกตได้โดยง่าย ดังนั้น วิธีที่แนะนำมาทุก ๆ ท่านนำไปปฏิบัติได้อย่างแน่นอนครับ นอกจากนั้นการสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วแจ้งอาการตรงประเด็นเจ้าหน้าที่ก็จะทำการแก้ไข หรือซ่อมแซมได้ตรงจุดและรวดเร็วอีกด้วย ผลที่ตามมา รถยนต์ของท่านก็ใช้งานได้เร็วและดีนั้นเอง ท้ายนี้ขอให้ผู้อ่านทุกท่านมีความสุขและสุขภาพแข็งแรงครับ